ฝ่ายสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
MJU Corporate Communication Center

ข่าวประชาสัมพันธ์และกิจกรรม

นศ.บริหารธุรกิจ ม.แม่โจ้ รับรางวัล “นำเสนอดี” งานประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 8 พัฒนาระบบตรวจนับครุภัณฑ์แบบคิวอาร์โค้ด ช่วยให้งานตรวจนับครุภัณฑ์เป็นเรื่องง่ายๆ
นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้รับรางวัล “นำเสนอดี” ภาคบรรยาย จากผลงาน การพัฒนาระบบตรวจนับครุภัณฑ์โดยใช้คิวอาร์โค้ด : กรณีศึกษาสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ  ในการประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 8  ซึ่งจัดขึ้นโดยคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพฯการพัฒนาระบบตรวจนับครุภัณฑ์โดยใช้คิวอาร์โค้ด :  กรณีศึกษาสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ” ผลงานของ นางสาวขวัญจิรา ชมภู และ นางสาวสวิณี มูลฟอง นักศึกษาสาขาระบบสารสนเทศทางธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฉัตร ชูชื่น อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต  เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา  โดยระบบนี้เป็นการเก็บข้อมูลจากปัญหา (Pain Point) ที่เกิดขึ้นและความต้องการ (requirement) จากผู้ใช้งานจริงมาพัฒนาชิ้นงานจนได้ทำการพัฒนาเป็นระบบตรวจนับครุภัณฑ์ โดยใช้เทคโนโลยี  QrCode  ลดความยุ่งยากซับซ้อน ที่ช่วยในเรื่องของการตรวจนับได้อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องจดบันทึกลงเล่มครุภัณฑ์ มีความแม่นยำในการตรวจนับ มีการแสดงข้อมูลครุภัณฑ์ที่สแกนได้ทันที สามารถสแกนทำการตรวจนับได้ทุกที่ รวมถึงการเรียกดูข้อมูลที่ง่ายขึ้นและข้อมูลเป็นแบบเรียลไทม์ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฉัตร ชูชื่น อาจารย์ที่ปรึกษา กล่าวเพิ่มเติมว่า “การพัฒนาระบบตรวจนับครุภัณฑ์โดยใช้คิวอาร์โค้ด  กรณีศึกษาสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ  เป็นผลงานที่ให้นักศึกษาได้นำความรู้ที่เรียนมาต่อยอดจากงานที่พัฒนาในรายวิชาสหกิจศึกษาและรายวิชาโครงงานระบบสารสนเทศทางธุรกิจ โดยได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากปัญหา รวมถึงความต้องการ จากผู้ใช้งานจริงมาพัฒนาชิ้นงานดังกล่าวนี้ออกมา จนได้ทำการพัฒนาระบบที่สามารถนำไปใช้ได้จริงในการทำงาน และยังสามารถเป็นต้นแบบในการพัฒนาระบบเพื่อปรับใช้กับงานอื่นๆ ได้อีกด้วย รางวัลในครั้งนี้จึงเป็นเหมือนแรงบันดาลใจให้นักศึกษาได้พัฒนาผลงานอื่นๆ ต่อเนื่องไปได้อีกเรื่อย ๆ ช่วยให้นักศึกษาพัฒนาศักยภาพของตนเองได้อีกทางหนึ่ง” ฝ่ายสื่อสารองค์กร ม.แม่โจ้ // รายงาน
21 มีนาคม 2567
เด็กวิศวะฯ การยางฯ ม.แม่โจ้ คว้า 2 เหรียญทอง I-New Gen Award 2024 สร้างสรรค์นวัตกรรมทางการเกษตร สร้างรายได้ ลดใช้พลังงาน รักษ์โลก
 นักศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ คว้า 2 รางวัลเหรียญทอง จากการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม “Thailand New Gen Inventors Award 2024” (I-New Gen Award 2024) จัดขึ้นโดย สํานักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา  ซึ่งมีการแสดงผลงานสิ่งประดิษฐ์จากนักประดิษฐ์รุ่นใหม่ 3 ระดับ ได้แก่ ระดับมัธยม อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา ในปีนี้คัดเลือกผลงานจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ จากทั่วประเทศกว่า 1,000 ผลงาน จาก 330 สถาบันทั่วประเทศ  และมหาวิทยาลัยแม่โจ้สามารถคว้ามาได้ถึง  2 เหรียญทอง ในระดับอุดมศึกษา ได้แก่รางวัลเหรียญทอง กลุ่มเกษตร จากการคิดค้นนวัตกรรม “พอรัส มัลซ์ (ผ้ายางคลุมดินอัจฉริยะ)” โดย นางสาวรัชนี จิระพาณิชย์ และ นางสาวศศินิภา บุญมา  นักศึกษาชั้นปีที่ 1“พอรัส มัลซ์ (ผ้ายางคลุมดินอัจฉริยะ)” เป็นนวัตกรรมผ้ายางคลุมดินที่ช่วยระบายอากาศและน้ำได้ดี ลดการเกิดเชื้อโรค พืชเจริญเติบโตดี ลดการใช้พลังงานในการแปรรูป ลดการเกิดไมโครพลาสติกที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและมนุษย์ ใช้เทคโนโลยี IOT ควบคุมอุณหภูมิและความชื้นในดิน เหมาะแก่การใช้งานปลูกพืชอินทรีย์รางวัลเหรียญทอง กลุ่มพลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ จากการคิดค้นนวัตกรรม “กรีนโกร์ว (ถุงเพาะชำยางรักษ์โลก)” โดย นายวรพงศ์ ชูใจ นักศึกษาชั้นปีที่ 1“กรีนโกร์ว (ถุงเพาะชำยางรักษ์โลก)” เป็นถุงเพาะชำที่สามารถย่อยสลายได้โดยธรรมชาติ พืชเจริญเติบโตได้ดี ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ใช้เทคนิคพิเศษในการผสมยางพารากับแป้งมาเคลือบถุงกระดาษคราฟท์ที่ทำจากเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ช่วยลดการเผา ลด PM 2.5 และช่วยลดปริมาณขยะพลาสติกได้ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิวโรฒ บุญราศรี อาจารย์ที่ปรึกษาจากหลักสูตรเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวเพิ่มเติมว่า “สำหรับทั้ง 2 ผลงานที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้ นอกจากจะเป็นเวทีให้นักศึกษาได้ใช้ความรู้ คิดค้นนวัตกรรมต่างๆ ที่มาช่วยแก้ปัญหาด้านการเกษตรในมิติต่าง ๆ แล้วยังช่วยเพิ่มช่องทางสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับยางพาราซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของประเทศ ช่วยเกษตรกรชาวสวนยางให้มีรายได้เพิ่มขึ้นจากเดิม   ซึ่งผลงานนวัตกรรมดังกล่าว ขณะนี้อยู่ในกระบวนการจดสิทธิบัตร เตรียมต่อยอดขยายผลเผยแพร่องค์ความรู้ให้กับเกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจชุมหรือผู้ประกอบการ เพื่อให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงนวัตกรรมนี้ได้อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น”สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ หลักสูตรเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทร. 053 875000  และ  090 519 4926 ฝ่ายสื่อสารองค์กร ม.แม่โจ้ // รายงาน
12 มีนาคม 2567
คณะวิศวะฯ ม.แม่โจ้ นำร่อง “ลดเผา ลดควัน แป๋งปุ๋ยบนดอย” ชูนวัตกรรมปุ๋ยหมักไม่พลิกกลับกองฯ จัดการเศษข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เหลือทิ้งจากการเก็บเกี่ยวบนพื้นที่สูงลดการเผา ลดฝุ่น PM2.5
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำโดย อาจารย์ ดร.แสนวสันต์ ยอดคำ รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและกิจการพิเศษ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนวัฒน์ นิทัศน์วิจิตร อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร  ร่วมกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ่อแก้ว ลัวฉือนี ต.บ่อแก้ว อ.สะเมิง จ. เชียงใหม่ ได้ดำเนินโครงการ ลดเผา ลดควัน แป๋งปุ๋ยบนดอย โดยได้นำร่องรับซื้อเศษข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ ราคากิโลกรัมละ 1 บาท จำนวนกว่า 40,000 กิโลกรัม (40 ตัน) เพื่อนำมาทำปุ๋ยอินทรีย์ลดการเผา โดยใช้ วิธีการหมักปุ๋ยอินทรีย์แบบไม่พลิกกลับกอง วิธีวิศวกรรมแม่โจ้ 1 ที่เป็นนวัตกรรมองค์ความรู้ของอาจารย์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ให้เป็นพื้นที่ต้นแบบในการลดปัญหาการเผาเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ลดปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศ (PM2.5) ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเผาที่ส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อนนอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมให้ชุมชนมีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ที่มีคุณภาพใช้ในพื้นที่ เพื่อลดต้นทุนการผลิต และสามารถต่อยอดจำหน่ายเชิงพาณิชย์เพื่อสร้างรายได้ให้แก่กลุ่มวิสาหกิจ ซึ่งถือเป็นการแก้ปัญหาการเผาตั้งแต่ต้นทาง และเป็นการสร้างมูลค่าจากเศษวัสดุเหลือทิ้ง ตามแนวทางโมเดลการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อความยั่งยืนของประเทศไทย (BCG Model) และเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา นายวิโรจน์ ดวงสุวรรณ์นายอำเภอสะเมิง ได้เข้าเยี่ยมชมการดำเนินกิจกรรมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อลดการเผาของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ่อแก้ว ลัวฉือนี ต.บ่อแก้ว  อ.สะเมิง จ. เชียงใหม่ พร้อมทั้งในกำลังใจทีมงานให้การดำเนินโครงการประสบความสำเร็จอาจารย์ ดรแสนวสันต์ ยอดคำ รองคณบดีฯ คณะวิศวะกรรมฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า วิธีการหมักปุ๋ยอินทรีย์แบบไม่พลิกกลับกอง วิธีวิศวกรรมแม่โจ้ 1 เป็นนวัตกรรมที่ไม่ซับซ้อน เพียงแค่นำเศษพืชผลเหลือทิ้งทางการเกษตรมาหมักรวมกับมูลสัตว์ แล้วดูแลความชื้นในกองให้เหมาะสม ไม่ต้องพลิกกลับกองปุ๋ยให้ยุ่งยาก โดยใช้เวลาหมักเพียง 2 เดือนเท่านั้น  ซึ่งจากโครงการในครั้งนี้เราจะได้ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีคุณภาพตามมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ตามเกณฑ์ของกรมวิชาการเกษตรประมาณ 60 ตัน มีมูลค่าประมาณ 480,000 บาท เกษตรกรสามารถนำไปใช้ในพื้นที่การเกษตรของตนเองเพื่อลดต้นทุน หรือนำไปจำหน่ายได้ โดยหวังว่าโครงการนี้จะเป็นพื้นที่ต้นแบบในการจัดการเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร หรือจากการเก็บเกี่ยวเพื่อลดการเผา ลดฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศ PM2.5) ได้อย่างเป็นรูปธรรม”สำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน หรือหน่วยงานต่างๆ ที่สนใจนวัตกรรมการหมักปุ๋ยอินทรีย์แบบไม่พลิกกลับกอง วิธีวิศวกรรมแม่โจ้ 1 สามารถติดต่อรายละเอียดได้ที่  คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทรศัพท์ 0-5387-5000 ถึง 15 ฝ่ายสื่อสารองค์กร ม.แม่โจ้ // รายงาน
8 มีนาคม 2567
ม. แม่โจ้ คว้าอันดับ 9 ของมหาวิทยาลัยไทย การจัดอันดับ SCImago Institution Rankings 2023 องค์กรที่มีผลงานวิจัยระดับโลก
วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2567  SciMago Institutions Rankings  สถาบันการจัดอันดับที่เน้นให้ความสำคัญกับการทำวิจัยและคุณภาพทางวิชาการในเวทีโลก เปิดเผยข้อมูลการจัดอันดับองค์กรที่มีผลงานวิจัยระดับโลก ประจำปี 2023 ซึ่ง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ คว้าอันดับที่ 9 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย SciMago Institutions Rankings เป็นระบบการจัดอันดับที่ได้รับความนับถือจากทั่วโลก โดยมีการประเมินมหาวิทยาลัยตามเกณฑ์ต่าง ๆ เช่น ผลการวิจัย ความร่วมมือระหว่างประเทศ และผลกระทบระดับสากล ระบบการจัดอันดับของ SciMago Institutions Rankings นอกจากใช้วิธีการพิจารณาปริมาณงานวิจัย แต่ยังมีการประเมินคุณภาพของงานวิจัยอีกด้วยวิธีการจัดอันดับ SciMago Institutions Rankings:ผลการวิจัย: SciMago วิเคราะห์ปริมาณผลงานวิจัยที่มหาวิทยาลัยผลิต ซึ่งรวมถึงบทความทางวิทยาศาสตร์ บทความที่นำเสนอในการประชุม และงานวิจัยทางวิชาการอื่น ๆความร่วมมือระหว่างประเทศ: ระดับของความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและนักวิจัยนานาชาติมีผลกระทบมากที่สุดต่อการจัดอันดับ ดังนั้นสถาบันที่มีเครือข่ายทั่วโลกและมีความร่วมมือที่แข็งแกร่งมักได้รับคะแนนสูงนวัตกรรมและผลกระทบ: SciMago พิจารณาผลกระทบของงานวิจัยโดยการวัดการอ้างอิง (Citation) และการมีผลต่องานวิจัยในวรรณกรรมทางวิทยาศาสตร์ (Impact) มหาวิทยาลัยที่ผลิตงานวิจัยที่มีผลกระทบ (Impact) จะได้รับคะแนนสูงการตีพิมพ์เผยแพร่เป็นสาธารณะ: ระบบการจัดอันดับให้ความสำคัญมหาวิทยาลัยที่ส่งเสริมการเผยแพร่งานวิจัย ดังนั้นสถาบันที่สนับสนุนการกระจายความรู้ไปยังสาธารณะจะได้รับคะแนนสูงความเป็นเลิศในวารสาร: SciMago ประเมินคุณภาพของวารสารที่มหาวิทยาลัยเผยแพร่งานวิจัย วารสารที่ได้รับการจัดอันดับสูงมีผลทำให้ได้คะแนนสูงความสำเร็จของมหาวิทยาลัยแม่โจซึ่งได้รับอันดับที่ 9 จากสถาบันการศึกษาในประเทศไทย ใน SciMago Institutions Rankings ไม่เพียงสะท้อนถึงการทุ่มเทในการวิจัยคุณภาพสูง ความร่วมมือระหว่างประเทศ และนวัตกรรมทางวิชาการ แต่ยังส่งเสริมให้สถาบันการศึกษาของไทยเป็นที่นับถือในเวทีวิชาการในระดับโลกอ้างอิง : https://www.scimagoir.com/institution.php?idp=8229
13 กุมภาพันธ์ 2567
คณะวิศวะฯ ม.แม่โจ้ เจ้าภาพเตรียมจัดประชุมวิชาการวิศวกรรมเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 30 “เกษตรปราดเปรื่อง (Intelligent Agriculture)” ยกระดับระบบการเกษตรอย่างยั่งยืน
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นเจ้าภาพจัดประชุมวิชาการวิศวกรรมเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 30 ในหัวข้อ “เกษตรปราดเปรื่อง (Intelligent Agriculture)” เตรียมต้อนรับวิศวกรการเกษตรจาก 13 สถาบันด้านวิศวกรรมเกษตรทั่วประเทศ ร่วมเวทีวิชาการและเปลี่ยนเรียนรู้สู่สังคมวิชาชีพ ระหว่างวันที่ 1-2 กุมภาพันธ์ 2567  ณ  คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ผศ.ดร.กาญจนา  นาคประสม คณบดีคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า  “หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ได้รับเกียรติจาก สมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทยให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการวิศวกรรมเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 30 ขึ้น เพื่อเป็นเวทีให้นักศึกษาในระดับปริญญาตรี สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร ได้มีโอกาสนำเสนอผลงานทางวิชาการ แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ความคิดเห็นทางวิชาการ และการแข่งขันทักษะทางวิชาการ อันจะส่งผลให้นักศึกษาเกิดความกระตือรือร้น ความมุ่งมั่นที่จะศึกษาค้นคว้าและทำโครงงานวิศวกรรมเกษตรให้ดีที่สุด โดยจัดให้มีกิจกรรม  แสดงความสามารถของนักศึกษาในรูปแบบต่างๆ 3 กิจกรรม ได้แก่ การแข่งขันทางวิชาการด้านการนำเสนอโครงงานวิศวกรรมเกษตรภาคบรรยาย  การแข่งขันทางวิชาการด้านการนำเสนอโครงงานวิศวกรรมเกษตรภาคนิทัศน์หรือโปสเตอร์ และการแข่งขันทักษะทางวิศวกรรมเกษตร  ซึ่งจะมีคณาจารย์ บุคลากร นิสิต นักศึกษาจากสถาบันการศึกษาต่างๆ ที่เปิดการสอนด้านวิศวกรรมเกษตร 13 สถาบันจากทั่วประเทศ จำนวนเกือบ 400 คน เข้าร่วมงานในครั้งนี้ จึงเป็นการสร้างความร่วมมือในการสร้างสรรค์เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางวิศวกรรมเกษตร ช่วยยกระดับระบบการเกษตรไทยอย่างยั่งยืน”นอกจากนั้น ยังมีการบรรยายพิเศษในหัวข้อ “ความรู้ เทคโนโลยี การวิจัยและการสร้างนวัตกรรมกรณีนวัตกรรมรถตัดอ้อยของ SMKY โดย ศ.ดร.สุรินทร์ พงศ์ศุภสมิทธิ์ กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ และคุณสามารถ ลี้ธีระนานนท์  กรรมการผู้จัดการ บริษัท สามารถเกษตรยนต์ จำกัด เป็นวิทยากรให้ความรู้และถ่ายทอดประสบการณ์  ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในพิธี และคุณดาเรศร์ กิตติโยภาส นายกสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมงาน ณ ห้องประชุม E101 อาคารเรียนรวมคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่
30 มกราคม 2567
พิธีพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ครั้งที่ 46 ประจำปีการศึกษา 2565-2566
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีการศึกษา 2565-2566 (ครั้งที่ 46) ในวันที่ 18 - 19 กุมภาพันธ์ 2567 โดยมีบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต จำนวน 2,059 ราย เข้าร่วมพิธี ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่    ในการนี้  สภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีมติอนุมัติปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ให้แก่ผู้สร้างคุณประโยชน์ต่อองค์กรและสังคมประเทศชาติมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดี และศิษย์เก่าแม่โจ้ดีเด่น เพื่อเข้ารับพระราชทานโล่ศิษย์เก่าแม่โจ้ดีเด่น ประจำปี 2566 รวมจำนวน 15 ราย ดังนี้ผู้ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จำนวน 9  ราย  ได้แก่  1. นางสาวจารุวรรณ โชติเทวัญประธานสายบัญชี การเงิน ประธานสายการตลาดต่างประเทศ และ เลขานุการประธานกรรมการบริหาร บริษัท สหฟาร์ม จำกัด และบริษัทในเครือ     ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการตลาดดิจิทัล 2. นายเจริญ แก้วสุกใจ   ผู้บริหาร บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด (มหาชน)     ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร นายโชตินรินทร์ เกิดสม (แม่โจ้รุ่น 53)  รองปลัดกระทรวงมหาดไทยปรัชญาดุษฎีบัณฑิตติมศักดิ์  สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ 4. นายถาวร สงคราม (แม่โจ้รุ่น 54)  ประธานกรรมการ บริษัท โอท๊อป-มาดเท่ จำกัดปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ประยุกต์5. นายธีรพงศ์ จันศิริ  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตติมศักดิ์  สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการธุรกิจประมง 6. นายบรรเทิง ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการ กลุ่มมิตรผลปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์  สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ 7. นายประธาน ปิ่นแก้ว (แม่โจ้รุ่น 49) ประธานกรรมการ บริษัท 9 แกลเลอรี่ จำกัดปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์  สาขาวิชาบริหารธุรกิจ 8. พล.ต.อ. มนู เมฆหมอก   กรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิปรัชญาดุษฎีบัณฑิตติมศักดิ์  สาขาวิชาบริหารศาสตร์ 9. นายอนุวัธ วงศ์วรรณ   นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัตแพร่ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการชุมชนผู้ได้รับปริญญามหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จำนวน 1 ราย  ได้แก่ 1. นายสามารถ ลี้ธีระนานนท์กรรมการผู้จัดการ บริษัท สามารถเกษตรยนต์ จำกัดปรัชญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตรผู้ได้รับโล่ศิษย์เก่าแม่โจ้ดีเด่น ประจำปี 2566 จำนวน  5 ราย1. นายกฤษฎา กสิวิวัฒน์ ศิษย์เก่าแม่โจ้รุ่นที่ 47 ประธานฝ่ายปฏิบัติการ (COO) บริษัท พนัสโพลทรี่ กรุ๊ป จำกัด2. นายแสวง ทาวดีศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่นที่ 49  รองผู้อำนวยการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 1 สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษา  กระทรวงศึกษาธิการ  3. นายแดง มาประกอบศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่นที่ 51 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม รับจัดการงานพิธีและวิทยากรท้องถิ่น4. นางรุ่งทิพย์ อินปาศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่นที่ 54กรรมการผู้จัดการ บจก. รุ่งทิพย์ทรานสปอร์ต แอนด์เซอร์วิส5. นายสิทธาไชย์ วัฒนคงเศรษฐ์ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่น 59  ประธานกรรมการ บริษัท สยาม ไทเกอร์  อะโกร จำกัด   สำหรับ บัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต พิมพ์แบบฟอร์มสำหรับยืนยันตัวตน และให้มารายงานตัวด้วย ตนเองอีกครั้ง ในวันพฤหัสบดีที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ http://www.education.mju.ac.th/graduate/
7 กุมภาพันธ์ 2567
ม.แม่โจ้ ยกทัพขึ้นห้าง เตรียมแถลงข่าวงานเกษตรแม่โจ้ 90 ปี 28 พ.ย.66 นี้ พบกันที่ เซ็นทรัลเฟสติวัล เชียงใหม่
มหาวิทยาลัยแม่โจ้  เตรียมจัดงานแถลงข่าว “งานเกษตรแม่โจ้ 90 ปี : เกษตร อาหาร สุขภาพ”  อธิการบดีนำทีมผู้บริหาร ยกทัพจัดโชว์เคสผลงานเด่น เรียกน้ำย่อยลองไฟก่อนพบงานจริงยิ่งใหญ่ปลายปี ย่อส่วนงานเกษตรแม่โจ้ ไปพบกับพ่อแม่พี่น้องประชาชนให้ร่วมกิจกรรม ชม ชิม ช้อป และรับของรางวัล  ในวันอังคารที่ 28 พฤศจิกายน 2566  ณ ลานโปรโมชั่น 2 ชั้น 1 เซ็นทรัลเฟสติวัล เชียงใหม่  งานแถลงข่าวในครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆ ของงานเกษตรแม่โจ้ 90 ปี : เกษตร | อาหาร สุขภาพ”  ที่จะจัดอย่างยิ่งใหญ่ ระหว่างวันที่ 16-24 ธันวาคม 2566  ณ มหาวิท-ยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่  นำทีมโดย   รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล       ทองมา  อธิการบดีมหาวิทยลัยแม่โจ้  พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร คณะกรรมการจัดงาน ร่วมแถลงข่าวสร้างการรับรู้แก่คณะสื่อมวลชนและประชาชน  มีการจัดนิทรรศการโชว์ผลงานเด่น 9 ไฮไลต์ ทั้งด้านการปรับปรุงพันธุ์พืช ได้แก่ กำเนิดข้าวหอมแม่โจ้  ข้าวเหนียวหอมพันธุ์ใหม่สำหรับผู้บริโภค  กล้วยไม้รองเท้านารีพันธุ์ใหม่ของโลก ปทุมมาสายพันธุ์ล่าสุดสำหรับตลาดไม้ดอกเพื่อการส่งออก และพันธุ์ผักชื่อพระราชทานที่ได้รับการส่งต่อสู่เกษตรกร นอกจากนี้ ยังมีการค้นพบสายพันธุ์ใหม่ของโลกทั้งสัตว์และประมง  ได้แก่ การค้นพบปลาค้อแสดงถึงระบบนิเวศน์ที่สมบูรณ์ของป่าต้นน้ำ  การค้นพบตั๊กแตนแม่โจ้-แพร่  รวมถึงองค์ความรู้เกษตรและนวัตกรรมอื่น ๆ ที่ส่งเสริมภาคเศรษฐกิจของประชาชนในทุกมิติเชื่อมโยงไปสู่เทรนด์ใหม่ของโลกด้วยนวัตกรรมอีกมากมายที่ต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ  ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของผลงานจากแม่โจ้ที่ได้รับการเผยแพร่และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อภาคการเกษตรไทย พร้อมมีกิจกรรมให้ผู้ร่วมงานได้มีส่วนร่วมทั้ง ชม ชิม ช้อป การแสดงดนตรีของศิลปินรับเชิญ  และกิจกรรมร่วมสนุกรับของรางวัลพิเศษภายในงานขอเชิญท่านที่สนใจเข้าร่วมงานแถลงข่าว “งานเกษตรแม่โจ้ 90 ปี : เกษตร | อาหาร สุขภาพ ในวันอังคารที่ 28 พฤศจิกายน  2566 ตั้งแต่เวลา 10.00 – 19.30 น. ณ ลานโปรโมชั่น 2 ชั้น 1 เซ็นทรัลเฟสติวัล เชียงใหม่
27 พฤศจิกายน 2566
คณะวิศวะฯ ม.แม่โจ้ นำร่อง “ลดเผา ลดควัน แป๋งปุ๋ยบนดอย” ชูนวัตกรรมปุ๋ยหมักไม่พลิกกลับกองฯ จัดการเศษข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เหลือทิ้งจากการเก็บเกี่ยวบนพื้นที่สูงลดการเผา ลดฝุ่น PM2.5
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำโดย อาจารย์ ดร.แสนวสันต์ ยอดคำ รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและกิจการพิเศษ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนวัฒน์ นิทัศน์วิจิตร อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร  ร่วมกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ่อแก้ว ลัวฉือนี ต.บ่อแก้ว อ.สะเมิง จ. เชียงใหม่ ได้ดำเนินโครงการ ลดเผา ลดควัน แป๋งปุ๋ยบนดอย โดยได้นำร่องรับซื้อเศษข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ ราคากิโลกรัมละ 1 บาท จำนวนกว่า 40,000 กิโลกรัม (40 ตัน) เพื่อนำมาทำปุ๋ยอินทรีย์ลดการเผา โดยใช้ วิธีการหมักปุ๋ยอินทรีย์แบบไม่พลิกกลับกอง วิธีวิศวกรรมแม่โจ้ 1 ที่เป็นนวัตกรรมองค์ความรู้ของอาจารย์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ให้เป็นพื้นที่ต้นแบบในการลดปัญหาการเผาเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ลดปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศ (PM2.5) ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเผาที่ส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อนนอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมให้ชุมชนมีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ที่มีคุณภาพใช้ในพื้นที่ เพื่อลดต้นทุนการผลิต และสามารถต่อยอดจำหน่ายเชิงพาณิชย์เพื่อสร้างรายได้ให้แก่กลุ่มวิสาหกิจ ซึ่งถือเป็นการแก้ปัญหาการเผาตั้งแต่ต้นทาง และเป็นการสร้างมูลค่าจากเศษวัสดุเหลือทิ้ง ตามแนวทางโมเดลการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อความยั่งยืนของประเทศไทย (BCG Model) และเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา นายวิโรจน์ ดวงสุวรรณ์นายอำเภอสะเมิง ได้เข้าเยี่ยมชมการดำเนินกิจกรรมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อลดการเผาของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ่อแก้ว ลัวฉือนี ต.บ่อแก้ว  อ.สะเมิง จ. เชียงใหม่ พร้อมทั้งในกำลังใจทีมงานให้การดำเนินโครงการประสบความสำเร็จอาจารย์ ดรแสนวสันต์ ยอดคำ รองคณบดีฯ คณะวิศวะกรรมฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า วิธีการหมักปุ๋ยอินทรีย์แบบไม่พลิกกลับกอง วิธีวิศวกรรมแม่โจ้ 1 เป็นนวัตกรรมที่ไม่ซับซ้อน เพียงแค่นำเศษพืชผลเหลือทิ้งทางการเกษตรมาหมักรวมกับมูลสัตว์ แล้วดูแลความชื้นในกองให้เหมาะสม ไม่ต้องพลิกกลับกองปุ๋ยให้ยุ่งยาก โดยใช้เวลาหมักเพียง 2 เดือนเท่านั้น  ซึ่งจากโครงการในครั้งนี้เราจะได้ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีคุณภาพตามมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ตามเกณฑ์ของกรมวิชาการเกษตรประมาณ 60 ตัน มีมูลค่าประมาณ 480,000 บาท เกษตรกรสามารถนำไปใช้ในพื้นที่การเกษตรของตนเองเพื่อลดต้นทุน หรือนำไปจำหน่ายได้ โดยหวังว่าโครงการนี้จะเป็นพื้นที่ต้นแบบในการจัดการเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร หรือจากการเก็บเกี่ยวเพื่อลดการเผา ลดฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศ PM2.5) ได้อย่างเป็นรูปธรรม”สำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน หรือหน่วยงานต่างๆ ที่สนใจนวัตกรรมการหมักปุ๋ยอินทรีย์แบบไม่พลิกกลับกอง วิธีวิศวกรรมแม่โจ้ 1 สามารถติดต่อรายละเอียดได้ที่  คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทรศัพท์ 0-5387-5000 ถึง 15 ฝ่ายสื่อสารองค์กร ม.แม่โจ้ // รายงาน
8 มีนาคม 2567
คณะวิศวะฯ ม.แม่โจ้ เจ้าภาพเตรียมจัดประชุมวิชาการวิศวกรรมเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 30 “เกษตรปราดเปรื่อง (Intelligent Agriculture)” ยกระดับระบบการเกษตรอย่างยั่งยืน
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นเจ้าภาพจัดประชุมวิชาการวิศวกรรมเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 30 ในหัวข้อ “เกษตรปราดเปรื่อง (Intelligent Agriculture)” เตรียมต้อนรับวิศวกรการเกษตรจาก 13 สถาบันด้านวิศวกรรมเกษตรทั่วประเทศ ร่วมเวทีวิชาการและเปลี่ยนเรียนรู้สู่สังคมวิชาชีพ ระหว่างวันที่ 1-2 กุมภาพันธ์ 2567  ณ  คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ผศ.ดร.กาญจนา  นาคประสม คณบดีคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า  “หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ได้รับเกียรติจาก สมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทยให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการวิศวกรรมเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 30 ขึ้น เพื่อเป็นเวทีให้นักศึกษาในระดับปริญญาตรี สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร ได้มีโอกาสนำเสนอผลงานทางวิชาการ แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ความคิดเห็นทางวิชาการ และการแข่งขันทักษะทางวิชาการ อันจะส่งผลให้นักศึกษาเกิดความกระตือรือร้น ความมุ่งมั่นที่จะศึกษาค้นคว้าและทำโครงงานวิศวกรรมเกษตรให้ดีที่สุด โดยจัดให้มีกิจกรรม  แสดงความสามารถของนักศึกษาในรูปแบบต่างๆ 3 กิจกรรม ได้แก่ การแข่งขันทางวิชาการด้านการนำเสนอโครงงานวิศวกรรมเกษตรภาคบรรยาย  การแข่งขันทางวิชาการด้านการนำเสนอโครงงานวิศวกรรมเกษตรภาคนิทัศน์หรือโปสเตอร์ และการแข่งขันทักษะทางวิศวกรรมเกษตร  ซึ่งจะมีคณาจารย์ บุคลากร นิสิต นักศึกษาจากสถาบันการศึกษาต่างๆ ที่เปิดการสอนด้านวิศวกรรมเกษตร 13 สถาบันจากทั่วประเทศ จำนวนเกือบ 400 คน เข้าร่วมงานในครั้งนี้ จึงเป็นการสร้างความร่วมมือในการสร้างสรรค์เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางวิศวกรรมเกษตร ช่วยยกระดับระบบการเกษตรไทยอย่างยั่งยืน”นอกจากนั้น ยังมีการบรรยายพิเศษในหัวข้อ “ความรู้ เทคโนโลยี การวิจัยและการสร้างนวัตกรรมกรณีนวัตกรรมรถตัดอ้อยของ SMKY โดย ศ.ดร.สุรินทร์ พงศ์ศุภสมิทธิ์ กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ และคุณสามารถ ลี้ธีระนานนท์  กรรมการผู้จัดการ บริษัท สามารถเกษตรยนต์ จำกัด เป็นวิทยากรให้ความรู้และถ่ายทอดประสบการณ์  ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในพิธี และคุณดาเรศร์ กิตติโยภาส นายกสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมงาน ณ ห้องประชุม E101 อาคารเรียนรวมคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่
30 มกราคม 2567
พิธีพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ครั้งที่ 46 ประจำปีการศึกษา 2565-2566
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีการศึกษา 2565-2566 (ครั้งที่ 46) ในวันที่ 18 - 19 กุมภาพันธ์ 2567 โดยมีบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต จำนวน 2,059 ราย เข้าร่วมพิธี ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่    ในการนี้  สภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีมติอนุมัติปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ให้แก่ผู้สร้างคุณประโยชน์ต่อองค์กรและสังคมประเทศชาติมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดี และศิษย์เก่าแม่โจ้ดีเด่น เพื่อเข้ารับพระราชทานโล่ศิษย์เก่าแม่โจ้ดีเด่น ประจำปี 2566 รวมจำนวน 15 ราย ดังนี้ผู้ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จำนวน 9  ราย  ได้แก่  1. นางสาวจารุวรรณ โชติเทวัญประธานสายบัญชี การเงิน ประธานสายการตลาดต่างประเทศ และ เลขานุการประธานกรรมการบริหาร บริษัท สหฟาร์ม จำกัด และบริษัทในเครือ     ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการตลาดดิจิทัล 2. นายเจริญ แก้วสุกใจ   ผู้บริหาร บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด (มหาชน)     ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร นายโชตินรินทร์ เกิดสม (แม่โจ้รุ่น 53)  รองปลัดกระทรวงมหาดไทยปรัชญาดุษฎีบัณฑิตติมศักดิ์  สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ 4. นายถาวร สงคราม (แม่โจ้รุ่น 54)  ประธานกรรมการ บริษัท โอท๊อป-มาดเท่ จำกัดปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ประยุกต์5. นายธีรพงศ์ จันศิริ  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตติมศักดิ์  สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการธุรกิจประมง 6. นายบรรเทิง ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการ กลุ่มมิตรผลปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์  สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ 7. นายประธาน ปิ่นแก้ว (แม่โจ้รุ่น 49) ประธานกรรมการ บริษัท 9 แกลเลอรี่ จำกัดปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์  สาขาวิชาบริหารธุรกิจ 8. พล.ต.อ. มนู เมฆหมอก   กรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิปรัชญาดุษฎีบัณฑิตติมศักดิ์  สาขาวิชาบริหารศาสตร์ 9. นายอนุวัธ วงศ์วรรณ   นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัตแพร่ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการชุมชนผู้ได้รับปริญญามหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จำนวน 1 ราย  ได้แก่ 1. นายสามารถ ลี้ธีระนานนท์กรรมการผู้จัดการ บริษัท สามารถเกษตรยนต์ จำกัดปรัชญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตรผู้ได้รับโล่ศิษย์เก่าแม่โจ้ดีเด่น ประจำปี 2566 จำนวน  5 ราย1. นายกฤษฎา กสิวิวัฒน์ ศิษย์เก่าแม่โจ้รุ่นที่ 47 ประธานฝ่ายปฏิบัติการ (COO) บริษัท พนัสโพลทรี่ กรุ๊ป จำกัด2. นายแสวง ทาวดีศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่นที่ 49  รองผู้อำนวยการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 1 สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษา  กระทรวงศึกษาธิการ  3. นายแดง มาประกอบศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่นที่ 51 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม รับจัดการงานพิธีและวิทยากรท้องถิ่น4. นางรุ่งทิพย์ อินปาศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่นที่ 54กรรมการผู้จัดการ บจก. รุ่งทิพย์ทรานสปอร์ต แอนด์เซอร์วิส5. นายสิทธาไชย์ วัฒนคงเศรษฐ์ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่น 59  ประธานกรรมการ บริษัท สยาม ไทเกอร์  อะโกร จำกัด   สำหรับ บัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต พิมพ์แบบฟอร์มสำหรับยืนยันตัวตน และให้มารายงานตัวด้วย ตนเองอีกครั้ง ในวันพฤหัสบดีที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ http://www.education.mju.ac.th/graduate/
7 กุมภาพันธ์ 2567
ขอเชิญร่วมระลึกถึง ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย อธิการบดีคนแรก คนต้นแบบลูกแม่โจ้
งานหนัก ไม่เคยฆ่าคน ใครที่ตายเพราะทำงานหนัก ครูจะสร้างอนุสาวรีย์ ไว้ให้แม่โจ้" อมตะโอวาทศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย อธิการบดีคนแรก คนต้นแบบลูกแม่โจ้  ชาวแม่โจ้ ร่วม“ระลึกถึง ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย” วันจันทร์ที่ 30 ตุลาคม 2566  ณ ลานอนุสาวรีย์ฯ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่น 1 อธิการบดีคนแรกของแม่โจ้ เป็นชาวจังหวัดแพร่ เกิดเมื่อวันที่ 12  มีนาคม 2459  หลังจากสอบไล่ได้มัธยมปีที่ 6 จากโรงเรียนพิริยาลัย จ.แพร่ก็ได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จ.เชียงใหม่และย้ายมาเรียนที่โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมแม่โจ้ เมื่อปี 2477  ซึ่งถือเป็นรุ่น 1 รุ่นบุกเบิกและสร้างแม่โจ้เมื่อจบจากแม่โจ้ท่านสอบชิงทุนหลวงไปศึกษาต่อมหาวิทยาลัยในฟิลิปปินส์ จนจบปริญญาตรี ปี พ.ศ. 2484  จึงกลับมารับราชการเป็นอาจารย์ที่แม่โจ้ ตำแหน่งอาจารย์ผู้ปกครองนาน 6 ปี จากนั้นท่านไปลงสมัครผู้แทนราษฎร 2 ครั้ง  พอถึงปี พ.ศ. 2497 ท่านกลับเข้ารับราชการเป็นอาจารย์ใหญ่ชั้นเอกของโรงเรียนเกษตรกรรมแม่โจ้ จวบจนกระทั่งได้เป็นอธิการบดีคนแรกของสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ถึง 2 สมัยศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย ท่านเป็นนักประชาธิปไตยตัวอย่าง เป็นผู้มีเมตตาธรรม เป็นผู้ริเริ่มและพัฒนางานใหม่ๆเสมอ เป็นนักพัฒนาชนบท เป็นนักปกครองที่ดีเยี่ยม เป็นครู”ที่ประเสริฐ จากการทำงานหนักและผ่านประสบการณ์ต่างๆ ทำให้ชีวิตท่านแข็งแกร่ง ทรหดอดทน ไม่ท้อถอยและยอมแพ้ต่อปัญหา การดำเนินชีวิตที่ผ่านอุปสรรคมาได้ทำให้เกิดปรัชญาความจริงของชีวิต  ท่านได้ตระหนักถึงการเรียนและฝึกอบรมนักเรียนเกษตรต้องให้มีความอดทน ไม่ท้อถอย จึงจะสู้งานได้ทุกอย่างเป็นการหล่อหลอมนิสัยให้ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถเผชิญกับอุปสรรคและสามารถแก้ปัญหาลุล่วงได้ต่อไปจึงนับเป็นช่วงสำคัญของการพัฒนาแม่โจ้สู่มิติใหม่ นักเรียนต้องมีความพร้อมและต้องการเรียนเกษตรจริง ๆ ซึ่งท่านได้กล่าวแสดงความยินดีต่อนักศึกษาที่ผ่านการทดสอบว่า  การเรียนเกษตรที่แม่โจ้นี้ ต้องฝึกความทรหดสู้งานทุกอย่างได้ ไม่ท้อถอย เพื่อจะได้เป็นลูกแม่โจ้ที่อดทน เข้มแข็ง ไม่กลัวงานหนัก งานหนักไม่เคยฆ่าคน ใครตายเพราะงานหนัก ครูจะสร้างอนุสาวรีย์ไว้ให้ที่แม่โจ้”ตลอดระยะเวลาท่านได้สร้างการเปลี่ยนแปลงพัฒนาทั้งระบบการปกครอง บุคลากรและนักเรียนแม่โจ้อย่างก้าวกระโดด ท่านได้สร้างคุณประโยชน์นานัปการ  เป็นผู้บุกเบิกและสร้างงานอาชีวเกษตรของประเทศริเริ่มกิจกรรม อกท. (องค์การเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทย) ก่อตั้ง อกท.หน่วยแม่โจ้ เป็นแห่งแรกของประเทศไทย รวมถึง โครงการเกษตรกรหนุ่มแห่งประเทศไทย (Young Farmers Pilot Project of Thailand : YTF จัดให้มีขึ้นครั้งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยขณะนั้นท่านร่วมจัดตั้งโครงการหลวงเกษตรภาคเหนือ  จัดตั้งและสนับสนุนโครงการอาสาพัฒนาแม่โจ้ นำนักศึกษา อาจารย์ ออกพัฒนาชนบท  อึกทั้งยังได้ถวายงานด้านการเกษตรและงานโครงการตามพระราชดำริหลายโครงการ และยังได้ริเริ่มจัดงานเกษตรแม่โจ้อีกทั้งยังได้ริเริ่มระบบการให้โควตาศึกษาต่อระบบปริญญาตรีที่แม่โจ้  ท่านคือผู้สร้างและพัฒนาให้แม่โจ้”เป็นแหล่งความรู้และหล่อหลอมบุคลากรการเกษตรทุกระดับที่มีคุณภาพ เพื่อพัฒนาประเทศชาติให้เจริญยิ่งๆ ขึ้นไปศาสตราจารย์ ดร.วิภาต  บุญศรีวังซ้ายได้ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่  30 ตุลาคม 2527  บรรดาศิษย์เก่าแม่โจ้ สมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จึงได้กำหนดวันที่ 30 ตุลาคม ให้เป็น “วันวิภาต บุญศรี วังซ้าย” เพื่อรำลึกถึงคุณงามความดีที่ท่านได้สร้างและพัฒนาแม่โจ้ให้เจริญ เป็นผู้มีคุณูปการต่อวงการอาชีวเกษตรของประเทศไทย ผู้เป็นต้นแบบนักต่อสู้เอาชนะอุปสรรค และปลดแอกข้อจำกัดของวงการอาชีวเกษตรในอดีต เป็นคนต้นแบบลูกแม่โจ้ ตามปรัชญางานหนักไม่เคยฆ่าคน”อันเป็นคติพจน์ประจำใจของ ลูกแม่โจ้จวบจนปัจจุบันขอเรียนเชิญคณาจารย์  นักศึกษา บุคลากร และศิษย์แม่โจ้ทุกรุ่นร่วมงาน “ระลึกถึง ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย”  ในวันจันทร์ที่ 30 ตุลาคม 2566  ตั้งแต่เวลา 07.30 น. เป็นต้นไป  ณ  ลานอนุสาวรีย์ ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้ายหน้าสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้หมายเหตุ การแต่งกายชุดพื้นเมือง หรือชุดสุภาพข้อมูลอ้างอิงหนังสืออนุสรณ์ 100 ปี ชาตกาลอาจารย์บุญศรี คนต้นแบบลูกแม่โจ้ “งานหนักไม่เคยฆ่าคน”                                                                    2459-2559 และ  http://www.archives.mju.ac.th/web/?p=448)
25 ตุลาคม 2566
มหาวิทยาลัยแม่โจ้เตรียมจัดพิธีไหว้ครู ประจำปีการศึกษา 2566
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เตรียมจัดพิธีไหว้ครู ประจำปีการศึกษา 2566 ในวันพฤหัสบดีที่ 27 กรกฎาคม  2566   ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้  ตั้งแต่เวลา 08.00 น. เป็นต้นไปครู อาจารย์ เป็นผู้ประสิทธิ์ ประสาทวิชา ความรู้ เป็นปูชนียบุคคลที่เหล่าลูกศิษย์ควรให้ความเคารพ บูชา กตัญญู  กตเวที  พิธีไหว้ครู เป็นพิธีกรรมที่เป็นประเพณีของไทยที่นิยมปฏิบัติมาแต่สมัยโบราณ แสดงถึงความระลึกถึงบุญคุณของครู บูรพาจารย์ การไหว้ครูเป็นการแสดงตนว่าขอเป็นศิษย์ของท่านโดยตรง  ได้แสดงออกถึงความกตัญญู รับฟังโอวาทคำสอนจากอาจารย์“แม่โจ้” ได้มีการจัดพิธีไหว้ครูครั้งแรกเมื่อวันที่  7  มิถุนายน  2477  ซึ่งเป็นวันเปิดเรียนวันแรกของโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมภาคเหนือ(แม่โจ้) ทางโรงเรียนจึงจัดให้มีการไหว้ครูขึ้นที่โรงอาหารของโรงเรียน นักเรียนทุกคนแต่งเครื่องแบบตามระเบียบของโรงเรียนดูสะอาดเรียบร้อยเป็นนักเรียนอย่างเต็มภาคภูมิทางโรงเรียนได้เชิญข้าหลวงประจำจังหวัดและธรรมการจังหวัดมาให้โอวาท มีพระช่วงเกษตรศิลปการ เป็นอาจารย์ใหญ่ อาจารย์สวัสดิ์ วีระเดชะ เป็นอาจารย์ประจำโรงเรียนนายตง วระนันท์นายสนิท ศิริเผ่าและมีนายสีมุ วงศ์จินดารักษ์ เป็นครูรอง   พิธีเปิดเริ่มขึ้นโดยอาจารย์ใหญ่กล่าวชี้แจงการจัดตั้งโรงเรียน กล่าวเชิญผู้มีเกียรติแสดงความคิดเห็นและให้โอวาทแก่นักเรียนทุกคน  แล้วพิธีไหว้ครูก็เริ่มขึ้นโดยหัวหน้านักเรียน (นายบุญนาคมหาเกตุ)เป็นผู้กล่าวนำคำไหว้บูชาครูเมื่อจบแล้วรวบรวมดอกไม้ธูปเทียนของทุกคนใส่ขันโตกแล้วนำไปมอบแก่ท่านอาจารย์ใหญ่และครูอาจารย์ทุกคนพร้อมกันนักเรียนต่างรู้สึกเป็นเกียรติและภาคภูมิใจในเกียรติที่ได้รับในครั้งนี้โดยทั่วกันทุกคนซึ่งเหตุการณ์ครั้งนั้นได้ถูกจารึกเป็นประวัติศาสตร์อันสำคัญของแม่โจ้  ถือเป็นจุดกำเนิดแม่โจ้และพัฒนาเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ในปีนี้มหาวิทยาลัยได้กำหนดจัดพิธีไหว้ครูขึ้นในวันพฤหัสบดีที่    27  กรกรฎาคม  2566 และยังคงมีพิธีระลึกถึงปูชนียบุคคลสำคัญของแม่โจ้  โดยจะมีการวางพานดอกไม้ ธูป เทียน คารวะ อำมาตย์โทพระช่วงเกษตรศิลปการผู้ก่อตั้ง/อาจารย์ใหญ่คนแรก และศาสตราจารย์  ดร.วิภาต  บุญศรี วังซ้ายอธิการบดีคนแรก โดยได้รับเกียรติจาก  รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล  ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้  เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร อาจารย์อาวุโส  คณาจารย์จากทุกคณะ/ทุกวิทยาลัย เข้าร่วมพิธี จากนั้นจะเป็นพิธีมอบโล่เชิดชูเกียรติแก่อาจารย์ดีเด่นและบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการดีเด่นของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นการยกย่องเชิดชูและให้กำลังใจบุคลากร ซึ่งเป็นอีกฟันเฟืองสำคัญที่ร่วมกันขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยให้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง
18 กรกฎาคม 2566
2 ผลงานวิจัย ม.แม่โจ้ คว้า 3 รางวัลระดับโลก งาน The 16th International Invention and Innovation show (INTARG 2023) ณ สาธารณรัฐโปแลนด์
2 ผลงานวิจัยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับการคัดเลือกจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมระดับนานาชาติ  ในงาน The 16th International Invention and Innovation show (INTARG 2023) ซึ่งจัดโดย  Eurobusiness-Haller ณ  เมืองคาโตไวซ์ สาธารณรัฐโปแลนด์ โดยมีประเทศต่างๆ ในภูมิภาคยุโรปและเอเชีย นำผลงานเข้าร่วมจัดแสดงมากกว่า 30 ประเทศ โดยผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับ 3 รางวัล ได้แก่ รางวัล เหรียญทอง ผลงานวิจัย เรื่อง "เทคโนโลยีเฮอร์เดิลด้วยโอโซนและเคมีเพื่อลดปริมาณไวรัสโคโรน่าปนเปื้อนในทุเรียนส่งออก"  โดย รศ. ดร.จตุรภัทร วาฤทธิ์  ประธานหลักสูตรวิศวกรรมอาหาร  คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ รศ.ดร.จตุรภัทร วาฤทธิ์   กว่าวว่า “เนื่องจากประเทศไทยส่งออกทุเรียนไปต่างประเทศ มากกว่า 5 แสนตัน/ปี ซึ่งเป็นผลไม้หลักในการส่งออก แต่ด้วยสถานการณ์ Covid-19 ประเทศจีนมีนโยบาย Zero-CoVid  ดังนั้นหากมีการตรวจพบการปนเปื้อนเชื้อ Covid-19 ที่ทุเรียน จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกทุเรียนไทยอย่างรุนแรง ทำให้ประเทศอาจสูญเสียรายได้ เกษตรกรได้รับผลกระทบ  ซึ่งเทคโนโลยีเฮอร์เดิลด้วยโอโซนและเคมี  หรือ เทคโนโลยีผสมผสาน โดยการใช้แก๊สโอโซน ร่วมกับสเปรย์โซเดี่ยม ไฮโปครอไรด์  เพื่อลดปริมาณไวรัสโคโรน่าปนเปื้อนในทุเรียนส่งออก เป็นการพัฒนาเทคโนโลยีเฮอร์เดิลระหว่างก๊าซโอโซนและสารเคมี เพื่อลดปริมาณไวรัสโคโรน่าที่ตกค้างปนเปื้อนในผลทุเรียน พบว่าการใช้สเปรย์ NaOCl และตามด้วยการรมก๊าซโอโซนที่ 900 ppm แล้วเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 13 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 12 ชั่วโมง สามารถลดปริมาณไวรัส PEDV ที่ตกค้างให้ต่ำกว่าเกณฑ์วัดขั้นต่ำ cut-off ของชุดทดลองที่ค่า Ct>36=negative ซึ่งถือว่าเป็นการลดปริมาณไวรัสปนเปื้อนได้ 100%   ผลทุเรียนที่ทดสอบมีอัตราสุกตามปกติ  ไม่มีผลกระทบต่อคุณภาพของทุเรียน ผู้บริโภคทุเรียนปลอดภัย สร้างความเชื่อมั่นในการส่งออกผลไม้ไปยังต่างประเทศอีกครั้ง”รางวัล เหรียญทองแดง และ รางวัล certificate of appreciation proudly presentation จาก Research Institute of creative education, Vietnam  ผลงานวิจัย เรื่อง "ต้นแบบการพัฒนาระบบผลิตน้ำเพื่อการเกษตรจากอากาศโดยใช้ความเย็นพื้นดินร่วมกับพลังงานแสงอาทิตย์"  โดย ผศ.ดร.นิกราน หอมดวง คณบดีวิทยาลัยพลังงานทดแทน และ ผศ. ดร.กิตติกร สาสุจิตต์ รองคณบดี วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผศ.ดร.นิกราน หอมดวง  ให้ข้อมูลว่า  “ต้นแบบระบบผลิตน้ำจากอากาศเป็นนวัตกรรมเพื่อสกัดน้ำในชั้นบรรยากาศ ช่วยปัญหาด้านภัยแล้งของเกษตรกร และส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อย รวมไปถึงการพัฒนาต่อยอดในการผลิตน้ำดื่มในพื้นที่โรงเรียนตระเวนชายแดน หรือพื้นที่ชุมชนบนพื้นที่สูง โดยนวัตกรรมดังกล่าวสามารถสกัดน้ำในชั้นบรรยากาศได้ในอัตรา 100-200 ลิตรต่อวัน และใช้พลังงานแสงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานหลักให้กับระบบนวัตกรรมดังกล่าว ทำให้สามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้อีกทางหนึ่ง”ด้าน ผศ. ดร.กิตติกร สาสุจิตต์ กล่าวเพิ่มเติมว่า  “ผลสำเร็จของโครงการได้มีการติตดั้งระบบทดสอบจริงให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านขุนคง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ และในปีถัดไปมีเป้าหมายการติดตั้งระบบให้กับโรงเรียนและชุมชนบนพื้นที่สูงในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อสำหรับการผลิตน้ำดื่มเพื่อการอุปโภคและบริโภค เพื่อให้สามารถลดค่าใช้จ่ายในการซื้อน้ำและน้ำที่ได้จากนวัตกรรมนี้มีผ่านการตรวจค่ามาตรฐานของน้ำดื่ม ก็อยู่ในเกณฑ์ที่บริโภคและอุปโภคได้ ซึ่งงานวิจัยนี้มีประโยชน์ต่อพื้นที่ไม่มีแหล่งน้ำ หรือมีน้ำน้อย ซึ่งพบในหลายพื้นที่ของประเทศไทย”
1 มิถุนายน 2566
ขอเชิญผู้ที่สนใจเข้าประกวดคลิปทำอาหาร "MJU Green & Clean Food" เมนูรักษ์โลก สะอาด ปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดย คณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University) ขอเชิญชวนผู้ที่สนใจส่งผลงานเข้าประกวดคลิปทำอาหาร ภายใต้หัวข้อ “MJU Green & Clean Food” เมนูรักษ์โลก สะอาด ปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ เพื่อส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่ หันมาใส่ใจสุขภาพและสิ่งแวดล้อม โดยนำเสนอเป็นคลิปวิดีโอผ่านการเล่าเรื่อง “อาหาร” มีรายละเอียดการส่งผลงานดังนี้บุคคลทั่วไป ไม่จำกัดเพศ / อายุผู้เข้าประกวดสามารถส่งผลงานได้ 1 ชิ้น ต่อ 1 ผลงงานเท่านั้นความยาวไม่เกิน 3 นาที ไม่จำกัดรูปแบบการถ่ายทำ และเทคนิคการนำเสนอขอบเขตของเนื้อหาในคลิปที่ส่งเข้าประกวดภายใต้ หัวข้อ MJU Green & Clean Food จะต้องมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว และแสดงถึงการสร้างจิตสำนึก การส่งเสริมกิจกรรม ตามเกณฑ์ต่างๆ ของมหาวิทยาลัยสีเขียว (เลือกมาหนึ่งประเด็นหรือมากกว่าได้) โดยหาความรู้เพิ่มเติมที่ https://green.mju.ac.th/ หรือ https://sdg.mju.ac.th/MainPage.aspxผลงานคลิป ต้องไม่ใช้ถ้อยคำที่เป็นการดูถูกดูหมิ่น เสียดสีและก่อให้เกิดความแตกแยกในสังคม รวมถึงต้องไม่กระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศผลงานการประกวดต้องมีความละเอียดไม่ต่ำกว่า HD (1280x720) คลิปผลงานต้องไม่เคยเผยแพร่ หรือส่งประกวดที่อื่นมาก่อนผู้เข้าประกวดต้องรับผิดชอบต่อลิขสิทธิ์ของข้อมูล ได้แก่ เนื้อหา ภาพ เสียง คลิปวิดีโอ ซอฟต์แวร์ หรืออื่นใดที่ใช้ในการผลิตผลงาน โดยต้องไม่ละเมิดกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ และทรัพย์สินทางปัญญา และมีการอ้างอิงถึงแหล่งที่มาอย่างชัดเจน ทางผู้จัดโครงการฯ ไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น ในกรณีที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์ผลงานที่ส่งเข้าประกวดถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ทางช่องทางต่างๆ ได้ตามความเหมาะสมผู้เข้าประกวดต้องส่งผลงานโดยบันทึกเป็น VDO Clip และ Upload ผ่าน youtube.com โดยใส่ชื่อคลิป พร้อมติด #MJUgreenandcleanfood จากนั้นส่ง URL Link พร้อมชื่อ-นามสกุล เบอร์โทรศัพท์ และเขียนอธิบายแนวคิดการนำเสนอมาสั้นๆ ไม่เกิน 5 บรรทัด ส่งมาที่อีเมล prmaejo@gmaejo.mju.ac.thสามารถส่งผลงานได้ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2565ประกาศผลรางวัลภายในวันที่ 15 กันยายน 2565ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุดประเภทรางวัลการประกวดรางวัลชนะเลิศ ได้รับเงินรางวัล จำนวน 10,000 บาทรางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 1 ได้รับเงินรางวัล จำนวน 8,000 บาทรางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 2 ได้รับเงินรางวัล จำนวน 5,000 บาทรางวัล Popular Vote (จากยอด view ใน youtube) ได้รับเงินรางวัล จำนวน 2,000 บาทเกณฑ์การพิจารณาตัดสินผลงานแนวคิดและเนื้อหา                                ความคิดสร้างสรรค์ ความน่าสนใจ และเทคนิคการเล่าเรื่อง            ความถูกต้องของข้อมูล                        
1 กันยายน 2565
นศ.บริหารธุรกิจ ม.แม่โจ้ รับรางวัล “นำเสนอดี” งานประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 8 พัฒนาระบบตรวจนับครุภัณฑ์แบบคิวอาร์โค้ด ช่วยให้งานตรวจนับครุภัณฑ์เป็นเรื่องง่ายๆ
นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้รับรางวัล “นำเสนอดี” ภาคบรรยาย จากผลงาน การพัฒนาระบบตรวจนับครุภัณฑ์โดยใช้คิวอาร์โค้ด : กรณีศึกษาสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ  ในการประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 8  ซึ่งจัดขึ้นโดยคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพฯการพัฒนาระบบตรวจนับครุภัณฑ์โดยใช้คิวอาร์โค้ด :  กรณีศึกษาสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ” ผลงานของ นางสาวขวัญจิรา ชมภู และ นางสาวสวิณี มูลฟอง นักศึกษาสาขาระบบสารสนเทศทางธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฉัตร ชูชื่น อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต  เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา  โดยระบบนี้เป็นการเก็บข้อมูลจากปัญหา (Pain Point) ที่เกิดขึ้นและความต้องการ (requirement) จากผู้ใช้งานจริงมาพัฒนาชิ้นงานจนได้ทำการพัฒนาเป็นระบบตรวจนับครุภัณฑ์ โดยใช้เทคโนโลยี  QrCode  ลดความยุ่งยากซับซ้อน ที่ช่วยในเรื่องของการตรวจนับได้อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องจดบันทึกลงเล่มครุภัณฑ์ มีความแม่นยำในการตรวจนับ มีการแสดงข้อมูลครุภัณฑ์ที่สแกนได้ทันที สามารถสแกนทำการตรวจนับได้ทุกที่ รวมถึงการเรียกดูข้อมูลที่ง่ายขึ้นและข้อมูลเป็นแบบเรียลไทม์ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฉัตร ชูชื่น อาจารย์ที่ปรึกษา กล่าวเพิ่มเติมว่า “การพัฒนาระบบตรวจนับครุภัณฑ์โดยใช้คิวอาร์โค้ด  กรณีศึกษาสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ  เป็นผลงานที่ให้นักศึกษาได้นำความรู้ที่เรียนมาต่อยอดจากงานที่พัฒนาในรายวิชาสหกิจศึกษาและรายวิชาโครงงานระบบสารสนเทศทางธุรกิจ โดยได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากปัญหา รวมถึงความต้องการ จากผู้ใช้งานจริงมาพัฒนาชิ้นงานดังกล่าวนี้ออกมา จนได้ทำการพัฒนาระบบที่สามารถนำไปใช้ได้จริงในการทำงาน และยังสามารถเป็นต้นแบบในการพัฒนาระบบเพื่อปรับใช้กับงานอื่นๆ ได้อีกด้วย รางวัลในครั้งนี้จึงเป็นเหมือนแรงบันดาลใจให้นักศึกษาได้พัฒนาผลงานอื่นๆ ต่อเนื่องไปได้อีกเรื่อย ๆ ช่วยให้นักศึกษาพัฒนาศักยภาพของตนเองได้อีกทางหนึ่ง” ฝ่ายสื่อสารองค์กร ม.แม่โจ้ // รายงาน
21 มีนาคม 2567
เด็กวิศวะฯ การยางฯ ม.แม่โจ้ คว้า 2 เหรียญทอง I-New Gen Award 2024 สร้างสรรค์นวัตกรรมทางการเกษตร สร้างรายได้ ลดใช้พลังงาน รักษ์โลก
 นักศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ คว้า 2 รางวัลเหรียญทอง จากการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม “Thailand New Gen Inventors Award 2024” (I-New Gen Award 2024) จัดขึ้นโดย สํานักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา  ซึ่งมีการแสดงผลงานสิ่งประดิษฐ์จากนักประดิษฐ์รุ่นใหม่ 3 ระดับ ได้แก่ ระดับมัธยม อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา ในปีนี้คัดเลือกผลงานจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ จากทั่วประเทศกว่า 1,000 ผลงาน จาก 330 สถาบันทั่วประเทศ  และมหาวิทยาลัยแม่โจ้สามารถคว้ามาได้ถึง  2 เหรียญทอง ในระดับอุดมศึกษา ได้แก่รางวัลเหรียญทอง กลุ่มเกษตร จากการคิดค้นนวัตกรรม “พอรัส มัลซ์ (ผ้ายางคลุมดินอัจฉริยะ)” โดย นางสาวรัชนี จิระพาณิชย์ และ นางสาวศศินิภา บุญมา  นักศึกษาชั้นปีที่ 1“พอรัส มัลซ์ (ผ้ายางคลุมดินอัจฉริยะ)” เป็นนวัตกรรมผ้ายางคลุมดินที่ช่วยระบายอากาศและน้ำได้ดี ลดการเกิดเชื้อโรค พืชเจริญเติบโตดี ลดการใช้พลังงานในการแปรรูป ลดการเกิดไมโครพลาสติกที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและมนุษย์ ใช้เทคโนโลยี IOT ควบคุมอุณหภูมิและความชื้นในดิน เหมาะแก่การใช้งานปลูกพืชอินทรีย์รางวัลเหรียญทอง กลุ่มพลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ จากการคิดค้นนวัตกรรม “กรีนโกร์ว (ถุงเพาะชำยางรักษ์โลก)” โดย นายวรพงศ์ ชูใจ นักศึกษาชั้นปีที่ 1“กรีนโกร์ว (ถุงเพาะชำยางรักษ์โลก)” เป็นถุงเพาะชำที่สามารถย่อยสลายได้โดยธรรมชาติ พืชเจริญเติบโตได้ดี ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ใช้เทคนิคพิเศษในการผสมยางพารากับแป้งมาเคลือบถุงกระดาษคราฟท์ที่ทำจากเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ช่วยลดการเผา ลด PM 2.5 และช่วยลดปริมาณขยะพลาสติกได้ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิวโรฒ บุญราศรี อาจารย์ที่ปรึกษาจากหลักสูตรเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวเพิ่มเติมว่า “สำหรับทั้ง 2 ผลงานที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้ นอกจากจะเป็นเวทีให้นักศึกษาได้ใช้ความรู้ คิดค้นนวัตกรรมต่างๆ ที่มาช่วยแก้ปัญหาด้านการเกษตรในมิติต่าง ๆ แล้วยังช่วยเพิ่มช่องทางสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับยางพาราซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของประเทศ ช่วยเกษตรกรชาวสวนยางให้มีรายได้เพิ่มขึ้นจากเดิม   ซึ่งผลงานนวัตกรรมดังกล่าว ขณะนี้อยู่ในกระบวนการจดสิทธิบัตร เตรียมต่อยอดขยายผลเผยแพร่องค์ความรู้ให้กับเกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจชุมหรือผู้ประกอบการ เพื่อให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงนวัตกรรมนี้ได้อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น”สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ หลักสูตรเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทร. 053 875000  และ  090 519 4926 ฝ่ายสื่อสารองค์กร ม.แม่โจ้ // รายงาน
12 มีนาคม 2567
คณะวิศวะฯ ม.แม่โจ้ นำร่อง “ลดเผา ลดควัน แป๋งปุ๋ยบนดอย” ชูนวัตกรรมปุ๋ยหมักไม่พลิกกลับกองฯ จัดการเศษข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เหลือทิ้งจากการเก็บเกี่ยวบนพื้นที่สูงลดการเผา ลดฝุ่น PM2.5
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำโดย อาจารย์ ดร.แสนวสันต์ ยอดคำ รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและกิจการพิเศษ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนวัฒน์ นิทัศน์วิจิตร อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร  ร่วมกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ่อแก้ว ลัวฉือนี ต.บ่อแก้ว อ.สะเมิง จ. เชียงใหม่ ได้ดำเนินโครงการ ลดเผา ลดควัน แป๋งปุ๋ยบนดอย โดยได้นำร่องรับซื้อเศษข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ ราคากิโลกรัมละ 1 บาท จำนวนกว่า 40,000 กิโลกรัม (40 ตัน) เพื่อนำมาทำปุ๋ยอินทรีย์ลดการเผา โดยใช้ วิธีการหมักปุ๋ยอินทรีย์แบบไม่พลิกกลับกอง วิธีวิศวกรรมแม่โจ้ 1 ที่เป็นนวัตกรรมองค์ความรู้ของอาจารย์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ให้เป็นพื้นที่ต้นแบบในการลดปัญหาการเผาเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ลดปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศ (PM2.5) ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเผาที่ส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อนนอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมให้ชุมชนมีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ที่มีคุณภาพใช้ในพื้นที่ เพื่อลดต้นทุนการผลิต และสามารถต่อยอดจำหน่ายเชิงพาณิชย์เพื่อสร้างรายได้ให้แก่กลุ่มวิสาหกิจ ซึ่งถือเป็นการแก้ปัญหาการเผาตั้งแต่ต้นทาง และเป็นการสร้างมูลค่าจากเศษวัสดุเหลือทิ้ง ตามแนวทางโมเดลการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อความยั่งยืนของประเทศไทย (BCG Model) และเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา นายวิโรจน์ ดวงสุวรรณ์นายอำเภอสะเมิง ได้เข้าเยี่ยมชมการดำเนินกิจกรรมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อลดการเผาของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ่อแก้ว ลัวฉือนี ต.บ่อแก้ว  อ.สะเมิง จ. เชียงใหม่ พร้อมทั้งในกำลังใจทีมงานให้การดำเนินโครงการประสบความสำเร็จอาจารย์ ดรแสนวสันต์ ยอดคำ รองคณบดีฯ คณะวิศวะกรรมฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า วิธีการหมักปุ๋ยอินทรีย์แบบไม่พลิกกลับกอง วิธีวิศวกรรมแม่โจ้ 1 เป็นนวัตกรรมที่ไม่ซับซ้อน เพียงแค่นำเศษพืชผลเหลือทิ้งทางการเกษตรมาหมักรวมกับมูลสัตว์ แล้วดูแลความชื้นในกองให้เหมาะสม ไม่ต้องพลิกกลับกองปุ๋ยให้ยุ่งยาก โดยใช้เวลาหมักเพียง 2 เดือนเท่านั้น  ซึ่งจากโครงการในครั้งนี้เราจะได้ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีคุณภาพตามมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ตามเกณฑ์ของกรมวิชาการเกษตรประมาณ 60 ตัน มีมูลค่าประมาณ 480,000 บาท เกษตรกรสามารถนำไปใช้ในพื้นที่การเกษตรของตนเองเพื่อลดต้นทุน หรือนำไปจำหน่ายได้ โดยหวังว่าโครงการนี้จะเป็นพื้นที่ต้นแบบในการจัดการเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร หรือจากการเก็บเกี่ยวเพื่อลดการเผา ลดฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศ PM2.5) ได้อย่างเป็นรูปธรรม”สำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน หรือหน่วยงานต่างๆ ที่สนใจนวัตกรรมการหมักปุ๋ยอินทรีย์แบบไม่พลิกกลับกอง วิธีวิศวกรรมแม่โจ้ 1 สามารถติดต่อรายละเอียดได้ที่  คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทรศัพท์ 0-5387-5000 ถึง 15 ฝ่ายสื่อสารองค์กร ม.แม่โจ้ // รายงาน
8 มีนาคม 2567
ม. แม่โจ้ คว้าอันดับ 9 ของมหาวิทยาลัยไทย การจัดอันดับ SCImago Institution Rankings 2023 องค์กรที่มีผลงานวิจัยระดับโลก
วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2567  SciMago Institutions Rankings  สถาบันการจัดอันดับที่เน้นให้ความสำคัญกับการทำวิจัยและคุณภาพทางวิชาการในเวทีโลก เปิดเผยข้อมูลการจัดอันดับองค์กรที่มีผลงานวิจัยระดับโลก ประจำปี 2023 ซึ่ง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ คว้าอันดับที่ 9 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย SciMago Institutions Rankings เป็นระบบการจัดอันดับที่ได้รับความนับถือจากทั่วโลก โดยมีการประเมินมหาวิทยาลัยตามเกณฑ์ต่าง ๆ เช่น ผลการวิจัย ความร่วมมือระหว่างประเทศ และผลกระทบระดับสากล ระบบการจัดอันดับของ SciMago Institutions Rankings นอกจากใช้วิธีการพิจารณาปริมาณงานวิจัย แต่ยังมีการประเมินคุณภาพของงานวิจัยอีกด้วยวิธีการจัดอันดับ SciMago Institutions Rankings:ผลการวิจัย: SciMago วิเคราะห์ปริมาณผลงานวิจัยที่มหาวิทยาลัยผลิต ซึ่งรวมถึงบทความทางวิทยาศาสตร์ บทความที่นำเสนอในการประชุม และงานวิจัยทางวิชาการอื่น ๆความร่วมมือระหว่างประเทศ: ระดับของความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและนักวิจัยนานาชาติมีผลกระทบมากที่สุดต่อการจัดอันดับ ดังนั้นสถาบันที่มีเครือข่ายทั่วโลกและมีความร่วมมือที่แข็งแกร่งมักได้รับคะแนนสูงนวัตกรรมและผลกระทบ: SciMago พิจารณาผลกระทบของงานวิจัยโดยการวัดการอ้างอิง (Citation) และการมีผลต่องานวิจัยในวรรณกรรมทางวิทยาศาสตร์ (Impact) มหาวิทยาลัยที่ผลิตงานวิจัยที่มีผลกระทบ (Impact) จะได้รับคะแนนสูงการตีพิมพ์เผยแพร่เป็นสาธารณะ: ระบบการจัดอันดับให้ความสำคัญมหาวิทยาลัยที่ส่งเสริมการเผยแพร่งานวิจัย ดังนั้นสถาบันที่สนับสนุนการกระจายความรู้ไปยังสาธารณะจะได้รับคะแนนสูงความเป็นเลิศในวารสาร: SciMago ประเมินคุณภาพของวารสารที่มหาวิทยาลัยเผยแพร่งานวิจัย วารสารที่ได้รับการจัดอันดับสูงมีผลทำให้ได้คะแนนสูงความสำเร็จของมหาวิทยาลัยแม่โจซึ่งได้รับอันดับที่ 9 จากสถาบันการศึกษาในประเทศไทย ใน SciMago Institutions Rankings ไม่เพียงสะท้อนถึงการทุ่มเทในการวิจัยคุณภาพสูง ความร่วมมือระหว่างประเทศ และนวัตกรรมทางวิชาการ แต่ยังส่งเสริมให้สถาบันการศึกษาของไทยเป็นที่นับถือในเวทีวิชาการในระดับโลกอ้างอิง : https://www.scimagoir.com/institution.php?idp=8229
13 กุมภาพันธ์ 2567
พิธีพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ครั้งที่ 46 ประจำปีการศึกษา 2565-2566
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีการศึกษา 2565-2566 (ครั้งที่ 46) ในวันที่ 18 - 19 กุมภาพันธ์ 2567 โดยมีบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต จำนวน 2,059 ราย เข้าร่วมพิธี ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่    ในการนี้  สภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีมติอนุมัติปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ให้แก่ผู้สร้างคุณประโยชน์ต่อองค์กรและสังคมประเทศชาติมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดี และศิษย์เก่าแม่โจ้ดีเด่น เพื่อเข้ารับพระราชทานโล่ศิษย์เก่าแม่โจ้ดีเด่น ประจำปี 2566 รวมจำนวน 15 ราย ดังนี้ผู้ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จำนวน 9  ราย  ได้แก่  1. นางสาวจารุวรรณ โชติเทวัญประธานสายบัญชี การเงิน ประธานสายการตลาดต่างประเทศ และ เลขานุการประธานกรรมการบริหาร บริษัท สหฟาร์ม จำกัด และบริษัทในเครือ     ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการตลาดดิจิทัล 2. นายเจริญ แก้วสุกใจ   ผู้บริหาร บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด (มหาชน)     ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร นายโชตินรินทร์ เกิดสม (แม่โจ้รุ่น 53)  รองปลัดกระทรวงมหาดไทยปรัชญาดุษฎีบัณฑิตติมศักดิ์  สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ 4. นายถาวร สงคราม (แม่โจ้รุ่น 54)  ประธานกรรมการ บริษัท โอท๊อป-มาดเท่ จำกัดปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ประยุกต์5. นายธีรพงศ์ จันศิริ  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตติมศักดิ์  สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการธุรกิจประมง 6. นายบรรเทิง ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการ กลุ่มมิตรผลปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์  สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ 7. นายประธาน ปิ่นแก้ว (แม่โจ้รุ่น 49) ประธานกรรมการ บริษัท 9 แกลเลอรี่ จำกัดปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์  สาขาวิชาบริหารธุรกิจ 8. พล.ต.อ. มนู เมฆหมอก   กรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิปรัชญาดุษฎีบัณฑิตติมศักดิ์  สาขาวิชาบริหารศาสตร์ 9. นายอนุวัธ วงศ์วรรณ   นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัตแพร่ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการชุมชนผู้ได้รับปริญญามหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จำนวน 1 ราย  ได้แก่ 1. นายสามารถ ลี้ธีระนานนท์กรรมการผู้จัดการ บริษัท สามารถเกษตรยนต์ จำกัดปรัชญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตรผู้ได้รับโล่ศิษย์เก่าแม่โจ้ดีเด่น ประจำปี 2566 จำนวน  5 ราย1. นายกฤษฎา กสิวิวัฒน์ ศิษย์เก่าแม่โจ้รุ่นที่ 47 ประธานฝ่ายปฏิบัติการ (COO) บริษัท พนัสโพลทรี่ กรุ๊ป จำกัด2. นายแสวง ทาวดีศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่นที่ 49  รองผู้อำนวยการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 1 สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษา  กระทรวงศึกษาธิการ  3. นายแดง มาประกอบศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่นที่ 51 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม รับจัดการงานพิธีและวิทยากรท้องถิ่น4. นางรุ่งทิพย์ อินปาศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่นที่ 54กรรมการผู้จัดการ บจก. รุ่งทิพย์ทรานสปอร์ต แอนด์เซอร์วิส5. นายสิทธาไชย์ วัฒนคงเศรษฐ์ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่น 59  ประธานกรรมการ บริษัท สยาม ไทเกอร์  อะโกร จำกัด   สำหรับ บัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต พิมพ์แบบฟอร์มสำหรับยืนยันตัวตน และให้มารายงานตัวด้วย ตนเองอีกครั้ง ในวันพฤหัสบดีที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ http://www.education.mju.ac.th/graduate/
7 กุมภาพันธ์ 2567
ม.แม่โจ้ ยกทัพขึ้นห้าง เตรียมแถลงข่าวงานเกษตรแม่โจ้ 90 ปี 28 พ.ย.66 นี้ พบกันที่ เซ็นทรัลเฟสติวัล เชียงใหม่
มหาวิทยาลัยแม่โจ้  เตรียมจัดงานแถลงข่าว “งานเกษตรแม่โจ้ 90 ปี : เกษตร อาหาร สุขภาพ”  อธิการบดีนำทีมผู้บริหาร ยกทัพจัดโชว์เคสผลงานเด่น เรียกน้ำย่อยลองไฟก่อนพบงานจริงยิ่งใหญ่ปลายปี ย่อส่วนงานเกษตรแม่โจ้ ไปพบกับพ่อแม่พี่น้องประชาชนให้ร่วมกิจกรรม ชม ชิม ช้อป และรับของรางวัล  ในวันอังคารที่ 28 พฤศจิกายน 2566  ณ ลานโปรโมชั่น 2 ชั้น 1 เซ็นทรัลเฟสติวัล เชียงใหม่  งานแถลงข่าวในครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆ ของงานเกษตรแม่โจ้ 90 ปี : เกษตร | อาหาร สุขภาพ”  ที่จะจัดอย่างยิ่งใหญ่ ระหว่างวันที่ 16-24 ธันวาคม 2566  ณ มหาวิท-ยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่  นำทีมโดย   รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล       ทองมา  อธิการบดีมหาวิทยลัยแม่โจ้  พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร คณะกรรมการจัดงาน ร่วมแถลงข่าวสร้างการรับรู้แก่คณะสื่อมวลชนและประชาชน  มีการจัดนิทรรศการโชว์ผลงานเด่น 9 ไฮไลต์ ทั้งด้านการปรับปรุงพันธุ์พืช ได้แก่ กำเนิดข้าวหอมแม่โจ้  ข้าวเหนียวหอมพันธุ์ใหม่สำหรับผู้บริโภค  กล้วยไม้รองเท้านารีพันธุ์ใหม่ของโลก ปทุมมาสายพันธุ์ล่าสุดสำหรับตลาดไม้ดอกเพื่อการส่งออก และพันธุ์ผักชื่อพระราชทานที่ได้รับการส่งต่อสู่เกษตรกร นอกจากนี้ ยังมีการค้นพบสายพันธุ์ใหม่ของโลกทั้งสัตว์และประมง  ได้แก่ การค้นพบปลาค้อแสดงถึงระบบนิเวศน์ที่สมบูรณ์ของป่าต้นน้ำ  การค้นพบตั๊กแตนแม่โจ้-แพร่  รวมถึงองค์ความรู้เกษตรและนวัตกรรมอื่น ๆ ที่ส่งเสริมภาคเศรษฐกิจของประชาชนในทุกมิติเชื่อมโยงไปสู่เทรนด์ใหม่ของโลกด้วยนวัตกรรมอีกมากมายที่ต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ  ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของผลงานจากแม่โจ้ที่ได้รับการเผยแพร่และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อภาคการเกษตรไทย พร้อมมีกิจกรรมให้ผู้ร่วมงานได้มีส่วนร่วมทั้ง ชม ชิม ช้อป การแสดงดนตรีของศิลปินรับเชิญ  และกิจกรรมร่วมสนุกรับของรางวัลพิเศษภายในงานขอเชิญท่านที่สนใจเข้าร่วมงานแถลงข่าว “งานเกษตรแม่โจ้ 90 ปี : เกษตร | อาหาร สุขภาพ ในวันอังคารที่ 28 พฤศจิกายน  2566 ตั้งแต่เวลา 10.00 – 19.30 น. ณ ลานโปรโมชั่น 2 ชั้น 1 เซ็นทรัลเฟสติวัล เชียงใหม่
27 พฤศจิกายน 2566
ขอเชิญร่วมระลึกถึง ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย อธิการบดีคนแรก คนต้นแบบลูกแม่โจ้
งานหนัก ไม่เคยฆ่าคน ใครที่ตายเพราะทำงานหนัก ครูจะสร้างอนุสาวรีย์ ไว้ให้แม่โจ้" อมตะโอวาทศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย อธิการบดีคนแรก คนต้นแบบลูกแม่โจ้  ชาวแม่โจ้ ร่วม“ระลึกถึง ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย” วันจันทร์ที่ 30 ตุลาคม 2566  ณ ลานอนุสาวรีย์ฯ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่น 1 อธิการบดีคนแรกของแม่โจ้ เป็นชาวจังหวัดแพร่ เกิดเมื่อวันที่ 12  มีนาคม 2459  หลังจากสอบไล่ได้มัธยมปีที่ 6 จากโรงเรียนพิริยาลัย จ.แพร่ก็ได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จ.เชียงใหม่และย้ายมาเรียนที่โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมแม่โจ้ เมื่อปี 2477  ซึ่งถือเป็นรุ่น 1 รุ่นบุกเบิกและสร้างแม่โจ้เมื่อจบจากแม่โจ้ท่านสอบชิงทุนหลวงไปศึกษาต่อมหาวิทยาลัยในฟิลิปปินส์ จนจบปริญญาตรี ปี พ.ศ. 2484  จึงกลับมารับราชการเป็นอาจารย์ที่แม่โจ้ ตำแหน่งอาจารย์ผู้ปกครองนาน 6 ปี จากนั้นท่านไปลงสมัครผู้แทนราษฎร 2 ครั้ง  พอถึงปี พ.ศ. 2497 ท่านกลับเข้ารับราชการเป็นอาจารย์ใหญ่ชั้นเอกของโรงเรียนเกษตรกรรมแม่โจ้ จวบจนกระทั่งได้เป็นอธิการบดีคนแรกของสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ถึง 2 สมัยศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย ท่านเป็นนักประชาธิปไตยตัวอย่าง เป็นผู้มีเมตตาธรรม เป็นผู้ริเริ่มและพัฒนางานใหม่ๆเสมอ เป็นนักพัฒนาชนบท เป็นนักปกครองที่ดีเยี่ยม เป็นครู”ที่ประเสริฐ จากการทำงานหนักและผ่านประสบการณ์ต่างๆ ทำให้ชีวิตท่านแข็งแกร่ง ทรหดอดทน ไม่ท้อถอยและยอมแพ้ต่อปัญหา การดำเนินชีวิตที่ผ่านอุปสรรคมาได้ทำให้เกิดปรัชญาความจริงของชีวิต  ท่านได้ตระหนักถึงการเรียนและฝึกอบรมนักเรียนเกษตรต้องให้มีความอดทน ไม่ท้อถอย จึงจะสู้งานได้ทุกอย่างเป็นการหล่อหลอมนิสัยให้ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถเผชิญกับอุปสรรคและสามารถแก้ปัญหาลุล่วงได้ต่อไปจึงนับเป็นช่วงสำคัญของการพัฒนาแม่โจ้สู่มิติใหม่ นักเรียนต้องมีความพร้อมและต้องการเรียนเกษตรจริง ๆ ซึ่งท่านได้กล่าวแสดงความยินดีต่อนักศึกษาที่ผ่านการทดสอบว่า  การเรียนเกษตรที่แม่โจ้นี้ ต้องฝึกความทรหดสู้งานทุกอย่างได้ ไม่ท้อถอย เพื่อจะได้เป็นลูกแม่โจ้ที่อดทน เข้มแข็ง ไม่กลัวงานหนัก งานหนักไม่เคยฆ่าคน ใครตายเพราะงานหนัก ครูจะสร้างอนุสาวรีย์ไว้ให้ที่แม่โจ้”ตลอดระยะเวลาท่านได้สร้างการเปลี่ยนแปลงพัฒนาทั้งระบบการปกครอง บุคลากรและนักเรียนแม่โจ้อย่างก้าวกระโดด ท่านได้สร้างคุณประโยชน์นานัปการ  เป็นผู้บุกเบิกและสร้างงานอาชีวเกษตรของประเทศริเริ่มกิจกรรม อกท. (องค์การเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทย) ก่อตั้ง อกท.หน่วยแม่โจ้ เป็นแห่งแรกของประเทศไทย รวมถึง โครงการเกษตรกรหนุ่มแห่งประเทศไทย (Young Farmers Pilot Project of Thailand : YTF จัดให้มีขึ้นครั้งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยขณะนั้นท่านร่วมจัดตั้งโครงการหลวงเกษตรภาคเหนือ  จัดตั้งและสนับสนุนโครงการอาสาพัฒนาแม่โจ้ นำนักศึกษา อาจารย์ ออกพัฒนาชนบท  อึกทั้งยังได้ถวายงานด้านการเกษตรและงานโครงการตามพระราชดำริหลายโครงการ และยังได้ริเริ่มจัดงานเกษตรแม่โจ้อีกทั้งยังได้ริเริ่มระบบการให้โควตาศึกษาต่อระบบปริญญาตรีที่แม่โจ้  ท่านคือผู้สร้างและพัฒนาให้แม่โจ้”เป็นแหล่งความรู้และหล่อหลอมบุคลากรการเกษตรทุกระดับที่มีคุณภาพ เพื่อพัฒนาประเทศชาติให้เจริญยิ่งๆ ขึ้นไปศาสตราจารย์ ดร.วิภาต  บุญศรีวังซ้ายได้ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่  30 ตุลาคม 2527  บรรดาศิษย์เก่าแม่โจ้ สมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จึงได้กำหนดวันที่ 30 ตุลาคม ให้เป็น “วันวิภาต บุญศรี วังซ้าย” เพื่อรำลึกถึงคุณงามความดีที่ท่านได้สร้างและพัฒนาแม่โจ้ให้เจริญ เป็นผู้มีคุณูปการต่อวงการอาชีวเกษตรของประเทศไทย ผู้เป็นต้นแบบนักต่อสู้เอาชนะอุปสรรค และปลดแอกข้อจำกัดของวงการอาชีวเกษตรในอดีต เป็นคนต้นแบบลูกแม่โจ้ ตามปรัชญางานหนักไม่เคยฆ่าคน”อันเป็นคติพจน์ประจำใจของ ลูกแม่โจ้จวบจนปัจจุบันขอเรียนเชิญคณาจารย์  นักศึกษา บุคลากร และศิษย์แม่โจ้ทุกรุ่นร่วมงาน “ระลึกถึง ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย”  ในวันจันทร์ที่ 30 ตุลาคม 2566  ตั้งแต่เวลา 07.30 น. เป็นต้นไป  ณ  ลานอนุสาวรีย์ ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้ายหน้าสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้หมายเหตุ การแต่งกายชุดพื้นเมือง หรือชุดสุภาพข้อมูลอ้างอิงหนังสืออนุสรณ์ 100 ปี ชาตกาลอาจารย์บุญศรี คนต้นแบบลูกแม่โจ้ “งานหนักไม่เคยฆ่าคน”                                                                    2459-2559 และ  http://www.archives.mju.ac.th/web/?p=448)
25 ตุลาคม 2566