ฝ่ายสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
MJU Corporate Communication Center
ม.แม่โจ้ เตรียมรับอินทนิลช่อที่ 88 สู่รั้วอินทนิล บ้านหลังที่สองที่ให้ทั้งวิชาการและวิชาชีวิต
“มหาวิทยาลัยแม่โจ้” สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มีรากฐานทางการเกษตรเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ   มีประวัติศาสตร์ทางการศึกษายาวนาน นับจากปี 2477  ถึงวันนี้มีก้าวสู่ 90 ปี  ได้พัฒนาปรับเปลี่ยนสู่การเป็นมหาวิทยาลัย  กลุ่ม 2  กลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม ที่พร้อมผลิตบัณฑิตสู่ความเป็นผู้อุดมด้วยปัญญา อดทน สู้งาน เป็นผู้มีคุณธรรม และจริยธรรมเพื่อความเจริญรุ่งเรืองวัฒนาของสังคมไทยที่มีการเกษตรเป็นรากฐาน และอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย คือ “การพัฒนานักศึกษาให้เป็นนักปฏิบัติทันต่อการเปลี่ยนแปลงและเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชา”   นอกจากด้านการผลิตบัณฑิตแล้ว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ยังได้สนับสนุนและส่งเสริมด้านการวิจัยที่ต่อยอดองค์ความรู้จนเกิดเป็นรูปธรรม เป็นที่ยอมรับในเวทีระดับชาติและนานาชาติ สามารถนำไปช่วยเหลือ พัฒนาสังคมได้อย่างแท้จริง จนได้รับความไว้วางใจจากผู้ปกครองให้บุตรหลานเลือกเข้ามาศึกษาต่อ ณ สถาบันการศึกษาแห่งนี้ เรียนรู้การใช้ชีวิตในบ้านหลังที่สองที่พร้อมจะให้ทั้งวิชาการและวิชาชีวิตแก่ศิษย์แม่โจ้ทุกคนปีการศึกษา 2566 นักศึกษาใหม่จากทั่วทุกสารทิศ ทั้งแม่โจ้-แพร่ฯ และแม่โจ้-ชุมพร จำนวนกว่า 5,000 คน   กำลังจะก้าวเข้าสู่รั้วอินทนิล ในฐานะอินทนิลช่อที่ 88 ที่พร้อมจะเบ่งบานและเติบโตอย่างแข็งแกร่ง ซึ่งในปีนี้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้มีการจัดเตรียมกิจกรรมต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวก และเตรียมความพร้อมเสริมสร้างอัตลักษณ์ลูกแม่โจ้ หลากหลายกิจกรรม เริ่มตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2566  มีรายละเอียดดังนี้วันที่ 23-25 มิถุนายน 2566 เวลา 06.00 น. เป็นต้นไป โครงการต้อนรับอินทนิลช่อใหม่สู่บ้านหลังที่ 2 ได้จัดเตรียมรถคอยรับ-ส่ง อำนวยความ สะดวกให้กับน้อง ๆ และพ่อแม่ผู้ปกครอง  ณ สถานีรถไฟเชียงใหม่ สถานีขนส่งเชียงใหม่(อาเขต) และสนามบิน เดินทางสู่มหาวิทยาลัยแม่โจ้  และให้น้อง ๆ ได้รายงานตัวเข้าหอพักนักศึกษาที่ทางมหาวิทยาลัยจัดเตรียมไว้ให้ต่อไป (ข้อมูลเพิ่มเติมงานหอพัก 0 5387 3085/งานพัฒนานักศึกษาฯ 0 5387 3067-8)เวลา 12.30 – 15.30 น. โครงการผู้บริหารพบผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองได้รู้จักและรับทราบถึงนโยบายของมหาวิทยาลัยและแนวทางการใช้ชีวิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัยตลอดหลักสูตร รวมถึงรายละเอียดเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาแบ่งเบาภาระผู้ปกครอง ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ (ข้อมูลเพิ่มเติม งานทุนการศึกษาฯ  0 5387 3183)เวลา 17.00-22.00 น. กิจกรรมตลาดนัดรวมใจอินทนิล เพื่อจัดจำหน่ายสินค้าราคาประหยัดจากร้านค้านักศึกษา กิจกรรมให้ข้อมูลกิจกรรมนักศึกษา และกิจกรรมบันเทิง ณ ลานกิจกรรมหอพักนักศึกษาวันที่ 24-25 มิถุนายน 2566 เวลา 09.00 น.เป็นต้นไป  นักศึกษาใหม่เข้าร่วมกิจกรรม “เดินฐานตามรอยคุณพระช่วงเกษตรศิลปการ” บิดาการเกษตรแม่โจ้ ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกและก่อตั้งแม่โจ้ จนได้ชื่อว่า “ไม่มีพระช่วงฯ ไม่มีแม่โจ้วันที่ 26 มิถุนายน  2566  เวลา 08.00 - 12.00 น. โครงการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่(ทุกคน ทุกหลักสูตร)           ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ  และในเวลา 13.00 - 16.30 น. ปฐมนิเทศนักศึกษาตามคณะ/วิทยาลัย ที่นักศึกษาสังกัดวันที่ 27 มิถุนายน  2566 เวลา 08.00 – 12.00 น. กิจกรรม “แม่โจ้จิตอาสาพัฒนาชุมชนและกิจกรรม Big cleaning day ” (ภายใน/ภายนอก) เพื่อให้นักศึกษาใหม่ ได้มีส่วนร่วมในการดูแล พัฒนามหาวิทยาลัย  สังคม และชุมชนเวลา 17.00-22.00 น. นักศึกษาใหม่ทุกคน ทุกวิทยาเขต  จะเข้าร่วมงานเลี้ยงขันโตกต้อนรับนักศึกใหม่ อินทนิลช่อที่ 88“สู่รั้วอินทนิล” ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติวันที่ 28 มิถุนายน 2566 เวลา 12.00 – 17.30 น. กิจกรรมอบรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ให้กับนักศึกษาใหม่ เพื่อเรียนรู้ ป้องกัน บรรเทา หากเกิดภัยพิบัติ ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติวันที่ 29 มิถุนายน  2566  เวลา 05.00 – 12.00  น.  นักศึกษาใหม่ร่วมกิจกรรมประเพณีเดินวิ่ง แม่โจ้- สันทราย  เพื่อเข้าคารวะนายอำเภอสันทราย  และหัวหน้าส่วนราชการต่างๆ รวมทั้งฝากเนื้อฝากตัวกับพี่น้องชาวอำเภอสันทราย โดยมีชาวอำเภอสันทรายมาคอยต้อนรับตลอดเส้นทางอย่างอบอุ่นตลอดสองข้างทางวันที่ 30 มิถุนายน  2566 เวลา 09.00 - 20.00 น. นักศึกษาใหม่เข้าร่วมโครงการ เสริมสร้างอัตลักษณ์ลูกแม่โจ้ ได้เรียนรู้ วิถีแม่โจ้ ลูกแม่โจ้: เลิศน้ำใจ วินัยดี เชิดชูประเพณี สามัคคี อาวุโส เรียนรู้บทเพลงประจำสถาบัน  พร้อมการเชื่อมต่อความสัมพันธ์กับศิษย์เก่าแม่โจ้ มีคณาจารย์ ศิษย์เก่า ร่วมต้อนรับ เจิมหน้าผากอย่างอบอุ่น ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ  ทุกกิจกรรมที่ทางมหาวิทยาลัยได้จัดเตรียมไว้ก็เพื่อให้นักศึกษาใหม่ อินทนิลช่อที่ 88 ได้พัฒนาศักยภาพ รู้จักการปรับตัวในการใช้ชีวิตการเป็นนักศึกษาเพื่อทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุดตลอดหลักสูตรจนกว่าจะสำเร็จการศึกษา  ซึ่งคือเป้าหมายสำคัญของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพเพราะแม่โจ้  คือ แม่โจ้  ถึงแม้กาลเวลาจะล่วงผ่านมาจนมีอายุก้าวสู่ 90 ปี บรรดาเพื่อนพ้องน้องพี่ ลูกแม่โจ้ ก็ยังคงกอดคอ ประคอง ช่วยเหลือ ผลักดัน รักและผูกพัน ดูแลซึ่งกันและกันตลอดไป ช่วยกันฟูมฟักอินทนิลช่อใหม่ให้เติบใหญ่อย่างมั่นคงมหาวิทยาลัยแม่โจ้ : มหาวิทยาลัยแห่งชีวิต(**ภาพประกอบจากแฟ้มภาพ)
1 มิถุนายน 2566     |      449
ม.แม่โจ้ ประกาศยกย่องอาจารย์ดีเด่น ประจำปี 2565 เตรียมมอบรางวัลเข็มเพชรแม่โจ้เชิดชูเกียรติ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ดำเนินการพิจารณาคัดเลือกอาจารย์ดีเด่น ประจำปี 2565 ซึ่งเป็นบุคลากรอันทรงคุณค่าของมหาวิทยาลัย ผู้ปฏิบัติหน้าที่ของตนเป็นอย่างดี มีความสามารถในการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ อุทิศตนให้แก่มหาวิทยาลัยแม่โจ้และสังคมอย่างเต็มกำลังความสามารถ ค้นคว้าวิจัย ถ่ายทอดความรู้แก่นักศึกษาและชุมชนอย่างเต็มที่ พร้อมกับประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นตัวอย่างแก่เพื่อนร่วมงานและนักศึกษา มีความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวมเป็นอย่างดี มหาวิทยาลัยได้ประกาศรายชื่ออาจารย์ดีเด่นของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อเป็นการประกาศเกียรติคุณยกย่อง สร้างขวัญกำลังใจในการทำงาน โดยมีผู้ผ่านการพิจารณาได้รับการคัดเลือกเป็นอาจารย์ดีเด่น ประจำปี 2565 ตามหลักเกณฑ์ที่วางไว้ จำนวน 3 ท่าน ดังนี้1. อาจารย์ดีเด่นด้านการเรียนการสอน ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์พันธ์ศักดิ์ ภักดี สังกัด คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ สิ่งแวดล้อม2. อาจารย์ดีเด่นด้านการวิจัยและนวัตกรรม ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.วีรนันท์ ไชยมณี สังกัด มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ3. อาจารย์ดีเด่นด้านบริการวิชาการ ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.นัฐพร ไชยญาติ สังกัด วิทยาลัยพลังงานทดแทนทั้งนี้ ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกทั้ง 3 ท่าน จะเข้ารับโล่ประกาศเกียรติคุณและเข็มเพชรแม่โจ้ จาก อธิการบดี ในพิธีไหว้ครูประจำปี 2566 ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมีคณะผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษากว่า ร่วมเชื่นชมยินดี กับการได้รับรางวัลอันทรงคุณค่าในครั้งนี้
27 เมษายน 2566     |      537
ม.แม่โจ้ ผนึกกำลังเครือข่ายสื่อสารองค์กรมหาวิทยาลัย จัด KM “Reinventing U. สู่การเป็นมหาวิทยาลัยกลุ่ม 2 และเสริมทักษะเทคนิคพิธีกรดำเนินรายการ”
ฝ่ายสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เตรียมจัดโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เครือข่ายสื่อสารองค์กรมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปี 2566 (KM)  “Reinventing U. สู่การเป็นมหาวิทยาลัยกลุ่ม 2 และการเสริมทักษะเทคนิคพิธีกรดำเนินรายการ ในวันศุกร์ที่ 24 มีนาคม 2566 ณ Co-working Space คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อมการสื่อสารองค์กรและการประชาสัมพันธ์ ถือเป็นกลยุทธ์สำคัญในการผลักดันนโยบายตามแนวยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยให้บรรลุผลสำเร็จได้เป็นอย่างดี และยังเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์และสร้างการรับรู้ให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อก่อให้เกิดความผูกพันต่อองค์กรต่อยอดไปจนถึงการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานตามนโยบายยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยได้ต่อไปการจัดโครงการฯครั้งนี้ จึงเป็นการสร้างการรับรู้ข้อมูลนโยบายยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย Reinventing U. สู่การเป็นมหาวิทยาลัยกลุ่ม 2  ในทิศทางเดียวกัน พร้อมทั้งเป็นการเสริมทักษะเทคนิคพิธีกรดำเนินรายการให้กับคณะกรรมการเครือข่ายสื่อสารองค์ของมหาวิทยาลัยเพื่อขยายผลการสื่อสารในวงกว้างอย่างทั่วถึงต่อไป โดยได้รับเกียรติจาก คุณวรุณสิริ  สุจินดา  หัวหน้างานยุทธศาสตร์และติดตามประเมินผล กองแผนงาน และ คุณจิตร ศรีจันทร์ดร พร้อมทีมงานพิธีกรชายเชียงใหม่ ให้เกียรติมาเป็นวิทยากร ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำงานให้กับผู้เข้าร่วมโครงการฯ ได้ร่วมพูดคุยและฝึกปฏิบัติการเสมือนจริงนอกจากนั้นโครงการในครั้งนี้ยังเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีให้กับคณะกรรมการเครือข่ายสื่อสารองค์กรของมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นตัวแทนจากทุกคณะ/สำนัก ได้ร่วมกันทำงานเพื่อองค์กรได้ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
20 มีนาคม 2566     |      21575
พิธีพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ครั้งที่ 45 ประจำปีการศึกษา 2564-2565
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีการศึกษา 2564-2565 (ครั้งที่ 45 ) ในวันที่ 17 - 18 กุมภาพันธ์ 2566 โดยมีบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต จำนวน 2,639 ราย พระดุษฎีบัณฑิต จำนวน 1 รูป เข้าร่วมพิธี ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ในการนี้  สภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีมติอนุมัติปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ให้แก่ผู้สร้างคุณประโยชน์ต่อองค์กรและสังคมประเทศชาติมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดี และศิษย์เก่าแม่โจ้ดีเด่น เพื่อเข้ารับพระราชทานโล่ศิษย์เก่าแม่โจ้ดีเด่น ประจำปี 2565  รวมจำนวน 10 ราย  ดังนี้ผู้ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จำนวน 5  ราย  นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ (แม่โจ้รุ่น 51 )อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ดิจิทัลและการสหกรณ์พลตำรวจโท ปิยะ ต๊ะวิชัยผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาบริหารศาสตร์นายรุ่งอรุณ การรัตน์ (แม่โจ้รุ่น 59ประธานกรรมการบริษัท และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร  บริษัท ซิลเวอร์ ฟาร์ม เซ็นเตอร์ จำกัด และ บริษัท โกลเดนท์ ฟาร์ม เซ็นเตอร์ จำกัดปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์  สาขาวิชาสัตวศาสตร์Zhu Guiling (นางจู กุ้ยหลิน) Chairman of Guangxi University of Foreign Languagesปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์  สาขาวิชาบริหารศาสตร์ Chen-Ming Cho (นาง เฉิน-หมิง จั๋ว) ประธานกรรมการ Toucheng Leisure Farmปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวผู้ได้รับโล่ศิษย์เก่าแม่โจ้ดีเด่น ประจำปี 2565 จำนวน  5 ราย   1.  นายสุรเดช ปรีชาหาญ ศิษย์เก่าแม่โจ้รุ่นที่  45 เจ้าของธุรกิจเคมีภัณฑ์ทางการเกษตร / ทำสวนทุเรียนเพื่อการส่งออก   2.  นายเทพนคร เปี่ยมเพ็ชร์ ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่นที่ 47  ที่ปรึกษา สำนักวางแผนผลิตภัณฑ์และโครงการพิเศษ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โปรดิ๊วส จำกัด เครือเจริญโภคภัณฑ์    3. นางณิชสาคร พรมลี  ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่นที่ 54 กรรมการบริหาร บริษัท สยามสตาร์ ซีดส์ จำกัด และบริษัท บ้านนอกคอกนา จำกัด    4. นายสุวัฒน์ มัตราช  ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่นที่ 55ปศุสัตว์จังหวัด อำนวยการระดับสูง (ผู้อำนวยการเฉพาะด้าน (วิชาการสัตวบาล)) สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเลย   5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร.นิโรจน์ สินณรงค์  ศิษย์เก่าแม่โจ้รุ่นที่ 64 ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้สำหรับ บัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต สามารถตรวจสอบรายชื่อและพิมพ์แบบฟอร์มสำหรับยืนยันตัวตน ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2566 ที่เว็บไซต์ http://www.education.mju.ac.th/graduate/ และให้มารายงานตัวด้วยตนเองตามกำหนดการอีกครั้ง  ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.education.mju.ac.th/graduate/    หรือ โทรศัพท์  0 5387 3459 ในวันและเวลาทำการ(ฝ่ายสื่อสารองค์กร ม.แม่โจ้// รายงาน)
30 มกราคม 2566     |      8232
อธิการบดี ม.แม่โจ้ ได้รับคัดเลือก “นักเรียนเก่าฟิลิปปินส์ดีเด่น ปี 2565” จากสมาคมนักเรียนเก่าฟิลิปปินส์ในพระบรมราชูปถัมภ์
รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับการคัดเลือกให้เข้ารับโล่เกียรติยศนักเรียนเก่าฟิลิปปินส์ดีเด่น ปี 2565 จากสมาคมนักเรียนเก่าฟิลิปปินส์ในพระบรมราชูปถัมภ์รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา ศิษย์เก่าแม่โจ้รุ่นที่ 49 ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้  สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาวิชา Extension Education, College of Public Affairs and Development จาก University of the Philippines Los Baños ประเทศฟิลิปปินส์ ในปี พ.ศ.2543  เคยได้รับรางวัล UPLBAA Presidential Award ในงาน 103rd  UPLB Loyalty Day ประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นรางวัลสูงสุดของรางวัลทั้งหมด (Best of The Best) ในฐานะศิษย์เก่า UPLB จาก University of the Philippines Los Baños Alumni Association  รวมถึงได้รับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่นประจำปี พ.ศ. 2562 (2019 Outstanding UPLB Alumnus Award) และศิษย์เก่าดีเด่นประจำปี 2562 ในด้านการเป็นผู้นำการศึกษา (2019 College Distinguished Alumnus for Educational Leadership Award) ในงานฉลอง 101st UPLB Loyalty Day ณ มหาวิทยาลัยแห่งชาติประเทศฟิลิปปินส์ (University of the Philippines Los Baños)ในปี 2565  รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับการคัดเลือกให้เข้ารับโล่เกียรติยศนักเรียนเก่าฟิลิปปินส์ดีเด่น ปี 2565 จากสมาคมนักเรียนเก่าฟิลิปปินส์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นรางวัลอันทรงคุณค่าในฐานะนักเรียนเก่าฟิลิปปินส์ที่ได้สร้างผลงานอันเป็นคุณูปการแก่วงการศึกษาไทย   ทั้งนี้  จะเดินทางเข้ารับรางวัลดังกล่าว ในงาน Sampaguita Day วันเสาร์ที่ 14 มกราคม 2566 ณ ห้องมัฆวานรังสรรค์ AB สโมสรกองทัพบก ถนนวิภาวดี กรุงเทพมหานคร
15 ธันวาคม 2565     |      3173
ขอเชิญผู้ที่สนใจเข้าประกวดคลิปทำอาหาร "MJU Green & Clean Food" เมนูรักษ์โลก สะอาด ปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดย คณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University) ขอเชิญชวนผู้ที่สนใจส่งผลงานเข้าประกวดคลิปทำอาหาร ภายใต้หัวข้อ “MJU Green & Clean Food” เมนูรักษ์โลก สะอาด ปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ เพื่อส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่ หันมาใส่ใจสุขภาพและสิ่งแวดล้อม โดยนำเสนอเป็นคลิปวิดีโอผ่านการเล่าเรื่อง “อาหาร” มีรายละเอียดการส่งผลงานดังนี้บุคคลทั่วไป ไม่จำกัดเพศ / อายุผู้เข้าประกวดสามารถส่งผลงานได้ 1 ชิ้น ต่อ 1 ผลงงานเท่านั้นความยาวไม่เกิน 3 นาที ไม่จำกัดรูปแบบการถ่ายทำ และเทคนิคการนำเสนอขอบเขตของเนื้อหาในคลิปที่ส่งเข้าประกวดภายใต้ หัวข้อ MJU Green & Clean Food จะต้องมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว และแสดงถึงการสร้างจิตสำนึก การส่งเสริมกิจกรรม ตามเกณฑ์ต่างๆ ของมหาวิทยาลัยสีเขียว (เลือกมาหนึ่งประเด็นหรือมากกว่าได้) โดยหาความรู้เพิ่มเติมที่ https://green.mju.ac.th/ หรือ https://sdg.mju.ac.th/MainPage.aspxผลงานคลิป ต้องไม่ใช้ถ้อยคำที่เป็นการดูถูกดูหมิ่น เสียดสีและก่อให้เกิดความแตกแยกในสังคม รวมถึงต้องไม่กระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศผลงานการประกวดต้องมีความละเอียดไม่ต่ำกว่า HD (1280x720) คลิปผลงานต้องไม่เคยเผยแพร่ หรือส่งประกวดที่อื่นมาก่อนผู้เข้าประกวดต้องรับผิดชอบต่อลิขสิทธิ์ของข้อมูล ได้แก่ เนื้อหา ภาพ เสียง คลิปวิดีโอ ซอฟต์แวร์ หรืออื่นใดที่ใช้ในการผลิตผลงาน โดยต้องไม่ละเมิดกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ และทรัพย์สินทางปัญญา และมีการอ้างอิงถึงแหล่งที่มาอย่างชัดเจน ทางผู้จัดโครงการฯ ไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น ในกรณีที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์ผลงานที่ส่งเข้าประกวดถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ทางช่องทางต่างๆ ได้ตามความเหมาะสมผู้เข้าประกวดต้องส่งผลงานโดยบันทึกเป็น VDO Clip และ Upload ผ่าน youtube.com โดยใส่ชื่อคลิป พร้อมติด #MJUgreenandcleanfood จากนั้นส่ง URL Link พร้อมชื่อ-นามสกุล เบอร์โทรศัพท์ และเขียนอธิบายแนวคิดการนำเสนอมาสั้นๆ ไม่เกิน 5 บรรทัด ส่งมาที่อีเมล prmaejo@gmaejo.mju.ac.thสามารถส่งผลงานได้ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2565ประกาศผลรางวัลภายในวันที่ 15 กันยายน 2565ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุดประเภทรางวัลการประกวดรางวัลชนะเลิศ ได้รับเงินรางวัล จำนวน 10,000 บาทรางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 1 ได้รับเงินรางวัล จำนวน 8,000 บาทรางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 2 ได้รับเงินรางวัล จำนวน 5,000 บาทรางวัล Popular Vote (จากยอด view ใน youtube) ได้รับเงินรางวัล จำนวน 2,000 บาทเกณฑ์การพิจารณาตัดสินผลงานแนวคิดและเนื้อหา                                ความคิดสร้างสรรค์ ความน่าสนใจ และเทคนิคการเล่าเรื่อง            ความถูกต้องของข้อมูล                        
1 กันยายน 2565     |      1817
ม.แม่โจ้ ร่วมกับ AAACU จัดสัมมนาวิชาการนานาชาติ “การปฏิวัตินวัตกรรมการเกษตรสู่ความยั่งยืนทางสังคม”
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับ The Asian Association of Agricultural Colleges and Universities (AAACU)   จัดโครงการสัมมนาวิชาการนานาชาติของสมาคมวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยการเกษตรแห่งเอเชียและมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ASIAN ASSOCIATION OF AGRICULTURAL COLLEGES AND UNIVERSITIES AND MAEJO UNIVERSITY (AAACU-MU)  ภายใต้หัวข้อเรื่อง “การปฏิวัตินวัตกรรมการเกษตรสู่ความยั่งยืนทางสังคม” ระหว่างวันที่ 4 - 8 กรกฎาคม   2565  ทั้งในรูปแบบ Onsite และ Online  ควบคู่กัน  และได้รับเกียรติจาก นายสุพัฒนพงษ์   พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน บรรยายพิเศษ ในหัวข้อ Revitalizing Agricultural Innovations Towards Social Sustainability” ในวันที่ 5 กรกฎาคม 2565  ณ ห้องประชุมโรงแรมฟูรามาสำหรับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของ ASIAN ASSOCIATION OF AGRICULTURAL COLLEGES AND UNIVERSITIES (AAACU)  เมื่อปี พ.ศ. 2561  ซึ่งในปัจจุบัน รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล  ทองมา  อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานเครือข่าย AAACU   มหาวิทยาลัยแม่โจ้จึงได้รับเกียรติจากสมาชิกของเครือข่ายให้เป็นเจ้าภาพหลักในการจัดสัมมนาในครั้งนี้ เพื่อเป็นเวทีแสดงผลงานวิชาการระดับนานาชาติ และเฉลิมฉลองการจัดตั้งเครือข่ายของ AAACU ครบรอบ 50 ปี  โดยจัดให้มีการบรรยายพิเศษ การเสวนาโต๊ะกลม การจัดการประกวดผลงานวิจัยและนวัตกรรม AAACU International Innovation Award 2022  คัดเลือกผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีศักยภาพ ในระดับนานาชาติ เกี่ยวกับหัวข้อ นวัตกรรมทางการเกษตร ความยั่งยืน การเป็นผู้ประกอบการและการสร้างเครือข่าย โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมวิชาการครั้งนี้  จำนวน 70 คน ของ 29 สถาบันสมาชิก จากประเทศฟิลิปปินส์ ไต้หวัน อินโดนีเซีย สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น อินเดีย ไนจีเรีย เยอรมัน ปากีสถาน มาเลเซีย และไทย ซึ่งจะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านวิชาการ  ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีร่วมกัน ตลอดจนถึงการนำเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่สามารถต่อยอดสู่ผู้ประกอบการหรือสร้างเครือข่ายด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีนานาชาติต่อไป
2 กรกฎาคม 2565     |      463
ตามรอยคุณพระช่วงฯ บิดาเกษตรแม่โจ้ เส้นทางการเติบโตมหาวิทยาลัยแม่โจ้ครบ 88 ปี
ไม่มีพระช่วงฯ...ไม่มีแม่โจ้” หากย้อนเวลากลับไปเมื่อ 88 ปี ก่อนจะเป็นมหาวิทยาลัยแม่โจ้ในปัจจุบัน14 สิงหาคม 2476 คุณพระช่วงเกษตรศิลปการ ยืมม้าจากนายอำเภอสันทราย บุกเข้าดงแม่โจ้ พร้อมคนนำทางมุ่งหน้าต่อไปตามทางเกวียนใช้เวลาชั่วโมงกว่าถึงดงไม้และป่าโปร่งที่เรียกว่า “ดงแม่โจ้” มีพื้นที่ประมาณ 800  ไร่ มีหมู่บ้านเล็กๆอยู่ชายป่าประมาณ 10 หลังคาเรือน ถึงแม้ผืนดินแห่งนี้จะมีสภาพเป็นดินเลว แต่มีแหล่งน้ำเพียงพอที่สามารถปรับแก้ไขสภาพดินให้ดีขึ้นได้ ท่านจึงสร้างสถานีกสิกรรมภาคพายัพขึ้นบนผืนดินแห่งนี้ ต้นเดือนเมษายน 2477 เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี รมต.กระทรวงธรรมการ(สมัยนั้น) มีบัญชาให้จัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมประจำภาคเหนือขึ้นที่  ดงแม่โจ้ ติดพื้นที่ด้านทิศใต้ของสถานีทดลองกสิกรรมภาคพายัพ แต่งตั้งให้ พระช่วงเกษตรศิลปการ ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่17 พฤษภาคม 2477 นักเรียนรุ่นแรกเดินทางมารายงานตัวครบทั้ง ๔๖ คน (ภายหลังมาอีก ๒ คน รวมเป็น ๔๘ คน)7 มิถุนายน 2477ได้เปิดการเรียนการสอนครั้งแรก  โดยคุณพระช่วงเกษตรศิลปการบิดาเกษตรแม่โจ้   ผู้บุกเบิกและก่อตั้งแม่โจ้ พร้อมทั้งจัดให้มีพิธีไหว้ครูขึ้นในวันนี้ได้เชิญข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ข้าหลวงประจำจังหวัดและธรรมการจังหวัดมาร่วมให้โอวาท ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนั้นได้ถูกจารึกเป็นประวัติศาสตร์อันสำคัญของแม่โจ้ ถือเป็นจุดกำเนิดแม่โจ้และพัฒนามาจนถึงปัจจุบัน  88 ปี จากโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมภาคเหนือ  สู่...มหาวิทยาลัยแม่โจ้  มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และได้รับการจัดให้อยู่ในกลุ่มสถาบันอุดมศึกษากลุ่มที่ 2    มุ่งพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม  ในวันนี้   แม่โจ้ได้บุกเบิก ฝ่าฟัน ต่อสู้ และ เจริญเติบโต สั่งสมประสบการณ์ บันทึกประวัติศาสตร์ด้านการเกษตรของไทย ยึดมั่นไว้ซึ่งอุดมการณ์ มุ่งสู่วิสัยทัศน์การ“เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำ ที่มีความเป็นเลิศทางด้านการเกษตรในระดับนานาชาติ” ด้วยปรัชญา “มุ่งมั่นพัฒนาบัณฑิตสู่ความเป็นผู้อุดมด้วยปัญญา  อดทนสู้งานเป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม เพื่อความเจริญรุ่งเรืองวัฒนาของสังคมไทยที่มีการเกษตรเป็นรากฐาน” และพร้อมที่จะเดินหน้าต่อไปด้วยยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้สู่ปีที่ 100 (จาก 24772577)  และหากจะเอ่ยถึงบัณฑิตแม่โจ้ แม้กาลเวลาจะล่วงผ่านมาหลายยุคหลายสมัย บัณฑิตแม่โจ้ก็ยังคงมีอัตลักษณ์ที่โดดเด่น “เป็นนักปฏิบัติที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชา” ด้วยบุคลิกของผู้ที่ “เลิศน้ำใจ  วินัยดี  เชิดชูประเพณี  สามัคคี อาวุโส” ซึ่งแสดงถึงความเป็นลูกแม่โจ้มาจวบจนปัจจุบัน โดยมีบทบัญญัติแม่โจ้เป็นกรอบแนวทางในการปฏิบัติ  ด้วยความเหนียวแน่น กลมเกลียว ชาวแม่โจ้ระลึกถึงคุณแผ่นดิน แม่โจ้จึงยืนหยัดมาจนถึงวันนี้ และพร้อมที่จะก้าวต่อไปด้วยความภาคภูมิ   7 มิถุนายน 2565  แม่โจ้ครบ 88 ปีมหาวิทยาลัยจัดให้มีพิธีทำบุญวันคล้ายสถาปนาโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม ภาคเหนือ ประจำปี 2565   โดยกิจกรรมจะเริ่มตั้งแต่เวลา 08.09 น. เป็นต้นไป มีพิธีบวงสรวงพระพิรุณทรงนาค นำโดยนายกสภามหาวิทยาลัย นายกสมาคมศิษย์เก่า อธิการบดีพร้อมคณะผู้บริหาร ณ อาคารช่วงเกษตรศิลป เวลา 09.00 น. พิธีวางพวงมาลาคารวะอนุสาวรีย์คุณพระช่วงเกษตรศิลปการ “บิดาเกษตรแม่โจ้”  ผู้บุกเบิกก่อตั้งแม่โจ้ และได้รับเกียรติจาก ทายาทพระช่วงเกษตรศิลปการ มาร่วมในพิธี  เวลา 10.00 น. พิธีทำบุญทางศาสนา ณ อาคารแผ่พืชน์ และในเวลา 13.30 น. พิธีสมโภชหอระฆัง ณ หอบริเวณหอระฆังศาลเจ้าพ่อโจ้ชาวแม่โจ้พร้อมใจกันร่วมพิธีทำบุญวันคล้ายวันสถาปนาโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม ภาคเหนือ ประจำปี 2565    มาร่วมกันแสดงพลังสามัคคี  ร่วมรำลึกถึงเส้นทางการก้าวย่างของแม่โจ้ สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มีรากฐานด้านการเกษตรที่เก่าแก่ของไทยมหาวิทยาลัยมุ่งพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม ที่จะสร้างคุณูปการต่อวงการศึกษาไทยให้ก้าวไกลต่อไปในอนาคต “แม่โจ้ มหาวิทยาลัยแห่งชีวิต”(ภาพประกอบจากแฟ้มภาพ)
10 มิถุนายน 2565     |      1035
MJU TALK สัปดาห์นี้ สายมูห้ามพลาด..มาปรับฮวงจุ้ย “ปลูกเรือนถูกทิศชีวิตมีสุข” วาไรตี้ทอล์ค คุยสนุก ดูสบาย ได้สาระ พร้อมรับรางวัล ฟรี !
MJU TALK รายการวาไรตี้ทอล์ค ที่มีกูรูในแต่ละศาสตร์ แต่ละเรื่องราวน่าสนใจของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มาเป็นแขกรับเชิญร่วมพูดคุยในรายการ กับบรรยากาศสบายๆ  เป็นกันเอง ซึ่งจะออกอากาศ  ทาง Youtube Channel MAEJO UNIVERSITY และFacebook Page @MJUChiangmai ทุกเที่ยงวันศุกร์ สัปดาห์นี้มา Talk กับ อาจารย์ ดร.โชคอนันต์ วาณิชย์เลิศธนาสาร คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม ให้เกียรติเป็นแขกรับเชิญร่วมพูดคุย มาปรับฮวงจุ้ยในรายการ  ศาสตร์ด้านการออกแบบสภาพแวดล้อมนั้นสำคัญกับคุณภาพชีวิตอย่างไร  มาทำความรู้จักกับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้เหมือนหรือต่างจากสถาบันอื่นอย่างไร  หลักสูตรการเรียนการสอนของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ฯ การเตรียมตัวเข้าเรียนคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ฯ  พลาดไม่ได้กับประเด็นไฮไลท์ “ปลูกเรือนถูกทิศชีวิตมีสุข” และพบกับทุกคำตอบที่ทุกท่านอยากทราบ...อย่าลืม วันศุกร์ที่ 6 พฤษภาคม 2565 เวลา 12.00 - 13.00 น. ชมรายการ  MJU TALK  พร้อมร่วมกิจกรรมและพูดคุยในรายการผ่านทางYoutube Channelhttps://youtube.com/c/MAEJOUNIVERSITYFacebook Page https://www.facebook.com/MJUChiangmaiและร่วมสนุกกิจกรรมสุดพิเศษในรายการ รับของรางวัลง่ายๆไปเลย บัตรเติมน้ำมันปั๊ม Caltex Maejo มูลค่า 500 บาท  และ 300  บาท พร้อมของรางวัลอื่นๆ อีกมากมายสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม และร่วมสนับสนุนรายการได้ที่ ฝ่ายสื่อสารองค์กร สำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้   0 5387 3016-8
3 พฤษภาคม 2565     |      459
สภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ เตรียมจัดทบทวนงานด้านนโยบาย (Retreat) ประจำปี 2565 “การกำหนดนโยบายและทิศทางการพัฒนามหาวิทยาลัย”
สภามหาวิทยาลัยแม่โจ้  เตรียมจัดโครงการทบทวนด้านนโยบาย (Retreat) ประจำปี 2565 ประเด็นเรื่อง "การกำหนดนโยบายและทิศทางการพัฒนามหาวิทยาลัย” ในวันศุกร์ที่ 4 มีนาคม 2565 เวลา 08.30 - 16.00 น. ณ ห้องข้าวหอมมะลิ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา  มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่ รองศาสตราจารย์ ดร.ญาณิน  โอภาสพัฒนกิจ รองอธิการบดี เลขานุการสภามหาวิทยาลัย  กล่าวว่า  “กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้ออกกฎกระทรวง การจัดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2564 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2564 เพื่อให้เกิดการจัดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา กำหนดมาตรการส่งเสริม สนับสนุน และประเมินคุณภาพ กำกับดูแลและจัดสรรงบประมาณ การพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษา และการผลิตกำลังคนระดับสูงเฉพาะทางตามความต้องการของประเทศ รวมทั้งการพัฒนาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเกิดผลสัมฤทธิ์อย่างแท้จริง  และสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในการประชุมครั้งที่ 2/2564  เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2564 ได้มีมติเห็นชอบการเลือกกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา ให้มหาวิทยาลัยแม่โจ้อยู่ในกลุ่ม 2 พัฒนาเทคโนโลยีและการส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม (Technology Development and Innovation)ดังนั้น เพื่อให้การกำหนดนโยบายซึ่งเป็นความรับผิดชอบของสภามหาวิทยาลัย และฝ่ายบริหารรับผิดชอบการนำนโยบายไปสู่การดำเนินการ ซึ่งควรร่วมกันทบทวนการกำหนดนโยบายเพื่อประเมินความจำเป็นความสอดคล้อง ให้เป้าหมายที่ชัดเจน เพื่อให้ฝ่ายบริหารนำนโยบายของสภามหาวิทยาลัยไปสู่การวางแผนดำเนินการ และปฏิบัติได้ สภามหาวิทยาลัยจึงมีมติเห็นชอบจัดโครงการทบทวนงานด้านนโยบาย Retreat ของสภามหาวิทยาลัย ประจำปี 2565 ประเด็นเรื่อง : การกำหนดนโยบายและทิศทางการพัฒนามหาวิทยาลัย ขึ้น เพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะในการกำหนดนโยบายสภามหาวิทยาลัย และนำผลการ Retreat ของสภามหาวิทยาลัย กำหนดเป็นนโยบาย และให้ฝ่ายบริหารนำไปสู่การวางแผนและดำเนินการให้เป็นรูปธรรมต่อไป”การจัดทบทวนงานด้านนโยบาย (Retreat)  ในครั้งนี้มีการนำเสนอแผนพัฒนาความเป็นเลิศมหาวิทยาลัย (พ.ศ. 2566-2570) โดยผู้บริหาร, มีการบรรยายพิเศษ (ออนไลน์ Zoom) เรื่อง “การพลิกโฉมสถาบันอุดมศึกษา (Reinventing University) และทิศทางอุดมศึกษาไทย โดย ศาสตราจารย์ ดร.ศันสนีย์ ไชยโรจน์ กรรมการคณะอนุกรรมการ กกอ.การพลิกโฉมสถาบัน อุดมศึกษา เป็นวิทยากร  อีกทั้งได้จัดให้มีการประชาพิจารณ์ นโยบายสภามหาวิทยาลัย ทั้ง 9 ด้าน ซึ่งได้รับเกียรติจาก ดร.อำนวย ยศสุขนายกสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในพิธีเปิด รองศาสตราจารย์  ดร.วีระพล  ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมโครงการ,รองศาสตราจารย์ ดร.ญาณิน โอภาสพัฒนกิจ รองอธิการบดี กล่าวรายงานทั้งนี้  มีคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย ผู้บริหารมหาวิทยาลัย คณะกรรมการดำเนินการจัดโครงการทบทวนงานด้านนโยบาย เข้าร่วมโครงการประมาณ 80 คน ณ ห้องข้าวหอมมะลิ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่
2 มีนาคม 2565     |      609
ขอเชิญรวมพลังสามัคคี ปรับปรุงภูมิทัศน์ “จั๋ดแจ๋งแต่งสวนหื้อแม่”
สมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และเครือข่ายศิษย์เก่าแม่โจ้ทั่วประเทศจัด โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์“จั๋ดแจ๋งแต่งสวนหื้อแม่” ณ บริเวณศาลเจ้าแม่แม่โจ้ “ศาลเจ้าแม่แม่โจ้” สิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญอันเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวแม่โจ้ ได้จัดสร้างมาตั้งแต่สมัยครั้ง คุณพระช่วงเกษตรศิลปการ เป็นอาจารย์ใหญ่ ได้มีการปรับปรุงและย้ายสถานที่หลายครั้ง กระทั่งเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2551 ได้มีการก่อสร้างและปรับปรุงภูมิทัศน์ศาลเจ้าแม่แม่โจ้ (ปัจจุบัน) ณ บริเวณอุทยานกล้วยไม้ไทย เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในมหามงคลสมัยทรงเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ วันที่ 2 เมษายน 2534 (ทางเข้าประตูใหญ่มหาวิทยาลัย โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์  “จั๋ดแจ๋งแต่งสวนหื้อแม่” เกิดจากความตั้งใจของศิษย์เก่าแม่โจ้ที่อยากพัฒนาปรับปรุงภูมิทัศน์ บริเวณศาลเจ้าแม่แม่โจ้ให้สวยงามอย่างต่อเนื่อง และเป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านการจัดการภูมิทัศน์ ตลอดจนเป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์พืชหลากชนิด ตามระบบการจัดสวนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในเบื้องต้นได้มีการจัดพิธีบวงสรวงเพื่อเริ่มดำเนินโครงการฯ ไปเมื่อในวันที่ 28 ตุลาคม 2564 ที่ผ่านมา และขณะนี้ได้มีการเตรียมพื้นที่ และสำรวจพื้นที่ส่วนต่างๆ เพื่อเข้าดำเนินการตามแบบที่วางไว้  โดยจะมีการปรับปรุงในส่วนงานวางผัง ปรับระดับ งานสระน้ำ งานลานพื้นทางเข้าหลัก งานระบบน้ำพ่นหมอก งานระบบไฟฟ้า งานน้ำตก ลำธาร และงานปลูกต้นไม้เสริมเพิ่มเติม  ซึ่งแสดงถึงพลังสามัคคีที่ได้ร่วมกันทำ     นุบำรุงสถานที่สำคัญอันเป็นศูนย์รวมจิตใจของทุกคน ขอเชิญชวนทุกท่าน ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ “จั๋ดแจ๋งแต่งสวนหื้อแม่” โดยสามารถร่วมสมทบทุนสนับสนุนโครงการฯ เข้าบัญชี  “โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์จั๋ดแจ๋งแต่งสวนฮื้อแม่โจ้” เลขที่บัญชี 375-3-01757-4 ธนาคารกรุงไทย สาขาแม่โจ้  สอบถามเพิ่มเติมได้ที่สมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้   โทรศัพท์ 0 5335 3140  และ 09 6713 5040  หรือติดต่อสอบถามผู้ประสานงานดร.มนัส ก้อนแก้ว       ประธานอนุกรรมการฝ่ายออกแบบและดำเนินการ  โทร. 08 1916 7429ดร.สมชาย เขียวแดง    ประธานอนุกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์และระดมทุน โทร. 09 2608 9888นายประคอง ยอดหอม  ประธานฝ่ายเลขานุการดำเนินโครงการ  โทร. 08 13877632ด้วยพลังความรักความสามัคคี ของชาวแม่โจ้ และผู้มีจิตศรัทธา เชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า การปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณศาลเจ้าแม่แม่โจ้ "จั๋ดแจ๋งแต่งสวนหื้อแม่จะดำเนินไปด้วยด้วยความเรียบร้อย นำพาชื่อเสียงและความสง่งามมาสู่แม่โจ้ บ้านหลังใหญ่ของเราทุกคน ชม VTR >https://www.youtube.com/watch?v=sYUGX4-VAyI
2 มีนาคม 2565     |      828
ม.แม่โจ้ จัดประชุมวิชาการนานาชาติ ครั้งที่ 3 i-RESEAT 2021
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ครั้งที่ 3 ภายใต้ชื่อ  The 3rd International Conference on Renewable Energy, Sustainable Environmental and AgriTechnological Innovation (i-RESEAT 2021) ในรูปแบบ online และ onsite  ระหว่างวันที่ 22 – 23 ธันวาคม พ.ศ. 2564  ณ ห้อง 80-201 อาคารเรียนรวม 80 ปี  มหาวิทยาลัยแม่โจ้ผู้ชวยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐวุฒิ  ดุษฎี รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า “การจัดประชุมวิชาการในครั้งนี้ ทางคณะกรรมการการจัดงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ร่วมกับ วิทยาลัยพลังงานทดแทน คณะวิทยาศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ คณะผลิตกรรมการเกษตร คณะศิลปศาสตร์ และวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อร่วมส่งเสริมให้บุคลากร นักวิจัย นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไปทั้งในและต่างประเทศได้นำเสนอผลงานทางวิชาการ และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ตลอดจนสร้างความ ร่วมมือกันระหว่างมหาวิทยาลัยและองค์กรต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งผลงานที่นำเสนอมีโอกาสได้รับคัดเลือกให้ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการระดับ ISI อีกด้วย ขณะนี้มีผู้สนใจส่งผลงานเข้าร่วมจำนวน 151 ผลงาน จากทุกทวีป 25 ประเทศทั่วโลก  อีกทั้งยังสอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ยุทธศาสตร์ที่ 3 วิจัยและบริการวิชาการด้านเกษตรสมัยใหม่ระดับสากล และยุทธศาสตร์ที่ 4 สร้างและพัฒนานักเทคโนโลยี นวัตกร และผู้ประกอบการ และทิศทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้ “Go Green, Go Eco and Go Smart” ซึ่งถือเป็นการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยให้เข้าสู่ความเป็นสากล  ผลักดันให้มหาวิทยาลัยก้าวสู่การเป็นมหาวิทยาลัยในกลุ่มการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม (Technology/Innovation) ที่มีความเข้มแข็งด้านวิชาการในระดับนานาชาติมากยิ่งขึ้น”นอกจากการนำเสนอผลงานวิชาการแล้วยังได้จัดให้มีการบรรยายพิเศษโดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิที่มีชื่อเสียงทางด้านวิชาการในระดับนานาชาติในประเด็นที่น่าสนใจ เช่น   ของเสียสู่ของมีค่าการนำทรัพยากรกลับมาใช้อย่างยั่งยืน (Waste to Wealth: Resource Recovery & Sustainability) โดย Dr. Ashok Pandey บรรณาธิการวารสาร Bioresource Technology ระดับ Q1 มี Impact factor 9.46กระบวนการเผาไหม้จากเชื้อเพลิงของแข็ง (Combustion of Solid Biofuels) โดย Dr. Martin Kaltschmitt บรรณาธิการวารสาร Biomass Conversion and Biorefinery ระดับ Q1 มี Impact factor 4.987ผลิตภัณฑ์ชีวภาพและโภชนาการจากสาหร่าย (Bioproducts and nutrition from algae) โดย   Dr. Yusuf Chisti ผู้เชี่ยวชาญด้านสาหร่ายอันดับ 1 ของโลก มีผลงานวิชาการได้รับการอ้างอิงมากกว่า 50000 ครั้งทั้งนี้ ได้กำหนดพิธีเปิดการประชุมในวันพุธที่ 22 ธันวาคม 2564  เวลา 09.00 น.  โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา  อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในพิธี สำหรับท่านที่สนใจสามารถเข้ารับฟังการบรรยายพิเศษจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ และเยี่ยมชมนิทรรศการได้ที่ ห้องประชุม 80-201 อาคารเรียนรวม 80 ปี มหาวิทยาลัยแม่โจ้  กิจกรรมในครั้งนี้ ยังเป็นส่วนหนึ่งของงานวันเกษตรแม่โจ้ออนไลน์ 2564 Kaset Fair @Maejo 2021 >>Next normal “นวัตกรรมเกษตรอัจฉริยะเพื่อความยั่งยืน” (วิถีใหม่) Smart Agricultural Innovation for Sustainability  ซึ่งจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 22 – 29  ธันวาคม 2564 อีกด้วยสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม  ได้ที่ฝ่ายขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และโครงการพิเศษ สำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้  โทรศัพท์ 0 5387 3126 ในวันและเวลาทำการ
17 ธันวาคม 2564     |      515
ทั้งหมด 24 หน้า