ฝ่ายสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
MJU Corporate Communication Center

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดการประชุมสัมมนาวิชาการเพื่อส่งเสริมและพัฒนาเครือข่ายมหาวิทยาลัยและส่วนราชการจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน แม่ฮ่องสอน เรื่อง “พลังอุดมศึกษากับการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน” โดยได้รับเกียรติจากพลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานและบรรยายพิเศษ เรื่อง “การพัฒนาจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน แม่ฮ่องสอน เพื่อขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน”   และได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เข้ามอบนโยบายและบรรยายพิเศษ เรื่อง “การปฏิรูปอุดมศึกษาในวิถีชีวิตใหม่ (New nomal) ในวันเสาร์ที่ 24 ตุลาคม 2563  พร้อมกันนี้ ได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสามัญที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย พร้อมการประชุมใหญ่สามัญสมาคม ทปอ.ครั้งที่ 4/2563 ในวันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม 2563 ณ  ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่

รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล  ทองมา  อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า “มหาวิทยาลัยแม่โจ้จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2477 จะมีอายุครบ 100 ปี ใน พ.ศ.2577  ปัจจุบันเปิดการเรียนการสอน ทั้งระดับปริญญาตรี ปริญโท ปริญญาเอก กว่า 100 หลักสูตร โดยได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารจัดการเพื่อให้มีทิศทางการพัฒนาไปสู่เป้าหมายตามกรอบที่วางไว้  ซึ่งการแบ่งกลุ่มสถาบันอุดมศึกษาตามจุดเน้นยุทธศาสตร์ที่สอดคล้องกับทิศทางก ารพัฒนาประเทศ มหาวิทยาลัย  แม่โจ้ จัดอยุ่ในกลุ่มที่ 2 คือกลุ่มการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม ที่มุ่งเน้นการสร้างสรรค์เทคโนโลยีและนวัตกรรม สร้างผู้ประกอบการและต่อยอดสู่ SMEs สตาร์ทอัพ เพื่อไปพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศต่อไป

ตามที่รัฐบาลมีนโยบายในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในภาพรวมของประเทศให้ไปในทิศทางเดียวกันมหาวิทยาลัยจึงได้จัดการสัมมนาวิชาการเพื่อส่งเสริมและพัฒนาเครือข่ายมหาวิทยาลัย และส่วนราชการจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน แม่ฮ่องสอน เรื่อง “พลังอุดมศึกษากับการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน” เพื่อถ่ายทอดนโยบายการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน สู่การปฏิบัติจริงในระดับพื้นที่ผ่านการร่วมระดมความคิดเห็น  แลกเปลี่ยนเรียนรู้และประสบการณ์ระหว่างผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง

ในครั้งนี้ มหาวิทยาลัยยังได้จัดแสดงผลงานวิจัยแห่งชาติ และระดับนานาชาติ พ.ศ.2555-2563 แบ่งเป็น กลุ่มยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้ สู่ปีที่ 100 , กลุ่มผลงานวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรมเด่น , กลุ่มอาหารและยา, กลุ่มโครงการสนับสนุนขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เช่น โครงการจ้างงาน  โครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย โครงการ non-degree โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสู้ภัย COVID-19  เช่น โครงการแม่โจ้ส่งเสริมการปลูกผักสวนครัวทั่วไทยสู้ภัย COVID-19  ซึ่งมหาวิทยาลัยได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติ  “ผู้สนับสนุนการน้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพ-รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สู่แผนปฏิบัติการ 90 วัน ปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร” จากกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2563 นอกจากนั้นยังมีการแสดงผลงานที่ได้รับความร่วมมือกับเครือข่ายด้านการเกษตร โครงการสนองงานพระราชดำริ นิทรรศการด้านเกษตรอินทรีย์และเกษตรธรรมชาติ รวมทั้งสิ้นกว่า 80 ผลงาน  และทุกท่านจะศึกษาดูงานพื้นที่ต้นแบบเกษตรทฤษฎีใหม่ในพระราชดำริ พื้นที่ฟาร์มเกษตรและแปรรูปเพิ่มมูลค่าอย่างครบวงจรนำไปสู่เครือข่ายการทำงานในการขับเคลื่อนการปฏิรูปอุดมศึกษาและพัฒนาประเทศไทยไปด้วยกันให้ประสบความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม”

ผู้เข้าร่วมการสัมมนาในครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา ผู้บริหารส่วนราชการ หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่  ลำพูน แม่ฮ่องสอน และผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการพัฒนานักบริหารมหาวิทยาลัยสายวิชาการระดับสูง(นบม.) รวมจำนวน 200 คน ซึ่งหลังการสัมมนาในครั้งนี้ มหาวิทยาลัยจะได้นำข้อสรุปที่ได้ ถ่ายทอดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม ในการประชุมสามัญที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยและการประชุมใหญ่สามัญสมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 4/2563 ต่อไป

ด้าน นายเจริญฤทธิ์  สงวนสัตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า จังหวัดเชียงใหม่ได้ประชุมเพื่อขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน ร่วมกับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนและยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้นภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และได้แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันระดับจังหวัด ในการติดตาม รับฟัง และแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนเร่งด่วนในจังหวัด และจัดให้มีการตอบสนองความต้องการของประชาชนในจังหวัดให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม รวดเร็วและทันเหตุการณ์ ในกรณีที่เกินขีดความสามารถหรือศักยภาพของจังหวัดให้รายงานรัฐมนตรีที่รับผิดชอบในระดับพื้นที่จังหวัด บูรณาการการทำงานกับทุกภาคส่วนในพื้นที่อย่างเป็นระบบ เพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน และยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน รวมถึงแนวคิดวิถีชีวิตใหม่และการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน อีกทั้งยังสร้างความตระหนักรู้ ความเข้าใจแก่ประชาชน ให้เห็นความจำเป็นในการร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ ตลอดจนติดตามประเมินผลการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน เพื่อสนองต่อความต้องการของประชาชน และได้ร่วมกันหารือในเรื่องการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว และการแก้ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ของจังหวัดเชียงใหม่ โดยบูรณาการการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเ อกชน และภาคประชาชน ทั้งการสร้างกิจกรรมดึงดูดนักท่องเที่ยวภายในประเทศ พร้อมทั้งมาตรการการรองรับในด้านต่างๆ ในขณะเดียวกันยังคงให้ความสำคัญในเรื่องของความปลอดภัยเกี่ยวกับมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อย่างเคร่งครัด ดังนั้นจังหวัดเชียงใหม่พร้อมรับนโยบายและถ่ายทอดสู่การปฏิบัติและร่วมขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน” 

สำหรับการประชุมสามัญที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย(ทปอ.) และการประชุมใหญ่สามัญสมาคม  ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 4/2563  มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดขึ้น ในวันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม 2563 โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง  ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุม ซึ่งจะมีอธิการบดี รองอธิการบดีอีกแห่งละ 2 ท่าน จาก 34 สถาบันสมาชิกเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้  นอกจากนั้นยังได้มีการดำเนินการเลือกตั้งประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยและนายกสมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยในคราวเดียวกันอีกด้วย.

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติม >>> https://erp.mju.ac.th/informationDetail.aspx?newsId=3822

ปรับปรุงข้อมูล : 6/11/2563 16:43:44     ที่มา : ฝ่ายสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 926

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวประชาสัมพันธ์

ข่าวล่าสุด

นศ.บริหารธุรกิจ ม.แม่โจ้ รับรางวัล “นำเสนอดี” งานประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 8 พัฒนาระบบตรวจนับครุภัณฑ์แบบคิวอาร์โค้ด ช่วยให้งานตรวจนับครุภัณฑ์เป็นเรื่องง่ายๆ
นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้รับรางวัล “นำเสนอดี” ภาคบรรยาย จากผลงาน การพัฒนาระบบตรวจนับครุภัณฑ์โดยใช้คิวอาร์โค้ด : กรณีศึกษาสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ  ในการประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 8  ซึ่งจัดขึ้นโดยคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพฯการพัฒนาระบบตรวจนับครุภัณฑ์โดยใช้คิวอาร์โค้ด :  กรณีศึกษาสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ” ผลงานของ นางสาวขวัญจิรา ชมภู และ นางสาวสวิณี มูลฟอง นักศึกษาสาขาระบบสารสนเทศทางธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฉัตร ชูชื่น อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต  เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา  โดยระบบนี้เป็นการเก็บข้อมูลจากปัญหา (Pain Point) ที่เกิดขึ้นและความต้องการ (requirement) จากผู้ใช้งานจริงมาพัฒนาชิ้นงานจนได้ทำการพัฒนาเป็นระบบตรวจนับครุภัณฑ์ โดยใช้เทคโนโลยี  QrCode  ลดความยุ่งยากซับซ้อน ที่ช่วยในเรื่องของการตรวจนับได้อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องจดบันทึกลงเล่มครุภัณฑ์ มีความแม่นยำในการตรวจนับ มีการแสดงข้อมูลครุภัณฑ์ที่สแกนได้ทันที สามารถสแกนทำการตรวจนับได้ทุกที่ รวมถึงการเรียกดูข้อมูลที่ง่ายขึ้นและข้อมูลเป็นแบบเรียลไทม์ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฉัตร ชูชื่น อาจารย์ที่ปรึกษา กล่าวเพิ่มเติมว่า “การพัฒนาระบบตรวจนับครุภัณฑ์โดยใช้คิวอาร์โค้ด  กรณีศึกษาสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ  เป็นผลงานที่ให้นักศึกษาได้นำความรู้ที่เรียนมาต่อยอดจากงานที่พัฒนาในรายวิชาสหกิจศึกษาและรายวิชาโครงงานระบบสารสนเทศทางธุรกิจ โดยได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากปัญหา รวมถึงความต้องการ จากผู้ใช้งานจริงมาพัฒนาชิ้นงานดังกล่าวนี้ออกมา จนได้ทำการพัฒนาระบบที่สามารถนำไปใช้ได้จริงในการทำงาน และยังสามารถเป็นต้นแบบในการพัฒนาระบบเพื่อปรับใช้กับงานอื่นๆ ได้อีกด้วย รางวัลในครั้งนี้จึงเป็นเหมือนแรงบันดาลใจให้นักศึกษาได้พัฒนาผลงานอื่นๆ ต่อเนื่องไปได้อีกเรื่อย ๆ ช่วยให้นักศึกษาพัฒนาศักยภาพของตนเองได้อีกทางหนึ่ง” ฝ่ายสื่อสารองค์กร ม.แม่โจ้ // รายงาน
21 มีนาคม 2567     |      339
เด็กวิศวะฯ การยางฯ ม.แม่โจ้ คว้า 2 เหรียญทอง I-New Gen Award 2024 สร้างสรรค์นวัตกรรมทางการเกษตร สร้างรายได้ ลดใช้พลังงาน รักษ์โลก
 นักศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ คว้า 2 รางวัลเหรียญทอง จากการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม “Thailand New Gen Inventors Award 2024” (I-New Gen Award 2024) จัดขึ้นโดย สํานักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา  ซึ่งมีการแสดงผลงานสิ่งประดิษฐ์จากนักประดิษฐ์รุ่นใหม่ 3 ระดับ ได้แก่ ระดับมัธยม อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา ในปีนี้คัดเลือกผลงานจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ จากทั่วประเทศกว่า 1,000 ผลงาน จาก 330 สถาบันทั่วประเทศ  และมหาวิทยาลัยแม่โจ้สามารถคว้ามาได้ถึง  2 เหรียญทอง ในระดับอุดมศึกษา ได้แก่รางวัลเหรียญทอง กลุ่มเกษตร จากการคิดค้นนวัตกรรม “พอรัส มัลซ์ (ผ้ายางคลุมดินอัจฉริยะ)” โดย นางสาวรัชนี จิระพาณิชย์ และ นางสาวศศินิภา บุญมา  นักศึกษาชั้นปีที่ 1“พอรัส มัลซ์ (ผ้ายางคลุมดินอัจฉริยะ)” เป็นนวัตกรรมผ้ายางคลุมดินที่ช่วยระบายอากาศและน้ำได้ดี ลดการเกิดเชื้อโรค พืชเจริญเติบโตดี ลดการใช้พลังงานในการแปรรูป ลดการเกิดไมโครพลาสติกที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและมนุษย์ ใช้เทคโนโลยี IOT ควบคุมอุณหภูมิและความชื้นในดิน เหมาะแก่การใช้งานปลูกพืชอินทรีย์รางวัลเหรียญทอง กลุ่มพลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ จากการคิดค้นนวัตกรรม “กรีนโกร์ว (ถุงเพาะชำยางรักษ์โลก)” โดย นายวรพงศ์ ชูใจ นักศึกษาชั้นปีที่ 1“กรีนโกร์ว (ถุงเพาะชำยางรักษ์โลก)” เป็นถุงเพาะชำที่สามารถย่อยสลายได้โดยธรรมชาติ พืชเจริญเติบโตได้ดี ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ใช้เทคนิคพิเศษในการผสมยางพารากับแป้งมาเคลือบถุงกระดาษคราฟท์ที่ทำจากเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ช่วยลดการเผา ลด PM 2.5 และช่วยลดปริมาณขยะพลาสติกได้ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิวโรฒ บุญราศรี อาจารย์ที่ปรึกษาจากหลักสูตรเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวเพิ่มเติมว่า “สำหรับทั้ง 2 ผลงานที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้ นอกจากจะเป็นเวทีให้นักศึกษาได้ใช้ความรู้ คิดค้นนวัตกรรมต่างๆ ที่มาช่วยแก้ปัญหาด้านการเกษตรในมิติต่าง ๆ แล้วยังช่วยเพิ่มช่องทางสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับยางพาราซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของประเทศ ช่วยเกษตรกรชาวสวนยางให้มีรายได้เพิ่มขึ้นจากเดิม   ซึ่งผลงานนวัตกรรมดังกล่าว ขณะนี้อยู่ในกระบวนการจดสิทธิบัตร เตรียมต่อยอดขยายผลเผยแพร่องค์ความรู้ให้กับเกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจชุมหรือผู้ประกอบการ เพื่อให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงนวัตกรรมนี้ได้อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น”สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ หลักสูตรเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทร. 053 875000  และ  090 519 4926 ฝ่ายสื่อสารองค์กร ม.แม่โจ้ // รายงาน
12 มีนาคม 2567     |      1110
คณะวิศวะฯ ม.แม่โจ้ นำร่อง “ลดเผา ลดควัน แป๋งปุ๋ยบนดอย” ชูนวัตกรรมปุ๋ยหมักไม่พลิกกลับกองฯ จัดการเศษข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เหลือทิ้งจากการเก็บเกี่ยวบนพื้นที่สูงลดการเผา ลดฝุ่น PM2.5
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำโดย อาจารย์ ดร.แสนวสันต์ ยอดคำ รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและกิจการพิเศษ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนวัฒน์ นิทัศน์วิจิตร อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร  ร่วมกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ่อแก้ว ลัวฉือนี ต.บ่อแก้ว อ.สะเมิง จ. เชียงใหม่ ได้ดำเนินโครงการ ลดเผา ลดควัน แป๋งปุ๋ยบนดอย โดยได้นำร่องรับซื้อเศษข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ ราคากิโลกรัมละ 1 บาท จำนวนกว่า 40,000 กิโลกรัม (40 ตัน) เพื่อนำมาทำปุ๋ยอินทรีย์ลดการเผา โดยใช้ วิธีการหมักปุ๋ยอินทรีย์แบบไม่พลิกกลับกอง วิธีวิศวกรรมแม่โจ้ 1 ที่เป็นนวัตกรรมองค์ความรู้ของอาจารย์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ให้เป็นพื้นที่ต้นแบบในการลดปัญหาการเผาเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ลดปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศ (PM2.5) ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเผาที่ส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อนนอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมให้ชุมชนมีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ที่มีคุณภาพใช้ในพื้นที่ เพื่อลดต้นทุนการผลิต และสามารถต่อยอดจำหน่ายเชิงพาณิชย์เพื่อสร้างรายได้ให้แก่กลุ่มวิสาหกิจ ซึ่งถือเป็นการแก้ปัญหาการเผาตั้งแต่ต้นทาง และเป็นการสร้างมูลค่าจากเศษวัสดุเหลือทิ้ง ตามแนวทางโมเดลการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อความยั่งยืนของประเทศไทย (BCG Model) และเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา นายวิโรจน์ ดวงสุวรรณ์นายอำเภอสะเมิง ได้เข้าเยี่ยมชมการดำเนินกิจกรรมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อลดการเผาของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ่อแก้ว ลัวฉือนี ต.บ่อแก้ว  อ.สะเมิง จ. เชียงใหม่ พร้อมทั้งในกำลังใจทีมงานให้การดำเนินโครงการประสบความสำเร็จอาจารย์ ดรแสนวสันต์ ยอดคำ รองคณบดีฯ คณะวิศวะกรรมฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า วิธีการหมักปุ๋ยอินทรีย์แบบไม่พลิกกลับกอง วิธีวิศวกรรมแม่โจ้ 1 เป็นนวัตกรรมที่ไม่ซับซ้อน เพียงแค่นำเศษพืชผลเหลือทิ้งทางการเกษตรมาหมักรวมกับมูลสัตว์ แล้วดูแลความชื้นในกองให้เหมาะสม ไม่ต้องพลิกกลับกองปุ๋ยให้ยุ่งยาก โดยใช้เวลาหมักเพียง 2 เดือนเท่านั้น  ซึ่งจากโครงการในครั้งนี้เราจะได้ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีคุณภาพตามมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ตามเกณฑ์ของกรมวิชาการเกษตรประมาณ 60 ตัน มีมูลค่าประมาณ 480,000 บาท เกษตรกรสามารถนำไปใช้ในพื้นที่การเกษตรของตนเองเพื่อลดต้นทุน หรือนำไปจำหน่ายได้ โดยหวังว่าโครงการนี้จะเป็นพื้นที่ต้นแบบในการจัดการเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร หรือจากการเก็บเกี่ยวเพื่อลดการเผา ลดฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศ PM2.5) ได้อย่างเป็นรูปธรรม”สำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน หรือหน่วยงานต่างๆ ที่สนใจนวัตกรรมการหมักปุ๋ยอินทรีย์แบบไม่พลิกกลับกอง วิธีวิศวกรรมแม่โจ้ 1 สามารถติดต่อรายละเอียดได้ที่  คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทรศัพท์ 0-5387-5000 ถึง 15 ฝ่ายสื่อสารองค์กร ม.แม่โจ้ // รายงาน
8 มีนาคม 2567     |      594
ม. แม่โจ้ คว้าอันดับ 9 ของมหาวิทยาลัยไทย การจัดอันดับ SCImago Institution Rankings 2023 องค์กรที่มีผลงานวิจัยระดับโลก
วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2567  SciMago Institutions Rankings  สถาบันการจัดอันดับที่เน้นให้ความสำคัญกับการทำวิจัยและคุณภาพทางวิชาการในเวทีโลก เปิดเผยข้อมูลการจัดอันดับองค์กรที่มีผลงานวิจัยระดับโลก ประจำปี 2023 ซึ่ง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ คว้าอันดับที่ 9 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย SciMago Institutions Rankings เป็นระบบการจัดอันดับที่ได้รับความนับถือจากทั่วโลก โดยมีการประเมินมหาวิทยาลัยตามเกณฑ์ต่าง ๆ เช่น ผลการวิจัย ความร่วมมือระหว่างประเทศ และผลกระทบระดับสากล ระบบการจัดอันดับของ SciMago Institutions Rankings นอกจากใช้วิธีการพิจารณาปริมาณงานวิจัย แต่ยังมีการประเมินคุณภาพของงานวิจัยอีกด้วยวิธีการจัดอันดับ SciMago Institutions Rankings:ผลการวิจัย: SciMago วิเคราะห์ปริมาณผลงานวิจัยที่มหาวิทยาลัยผลิต ซึ่งรวมถึงบทความทางวิทยาศาสตร์ บทความที่นำเสนอในการประชุม และงานวิจัยทางวิชาการอื่น ๆความร่วมมือระหว่างประเทศ: ระดับของความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและนักวิจัยนานาชาติมีผลกระทบมากที่สุดต่อการจัดอันดับ ดังนั้นสถาบันที่มีเครือข่ายทั่วโลกและมีความร่วมมือที่แข็งแกร่งมักได้รับคะแนนสูงนวัตกรรมและผลกระทบ: SciMago พิจารณาผลกระทบของงานวิจัยโดยการวัดการอ้างอิง (Citation) และการมีผลต่องานวิจัยในวรรณกรรมทางวิทยาศาสตร์ (Impact) มหาวิทยาลัยที่ผลิตงานวิจัยที่มีผลกระทบ (Impact) จะได้รับคะแนนสูงการตีพิมพ์เผยแพร่เป็นสาธารณะ: ระบบการจัดอันดับให้ความสำคัญมหาวิทยาลัยที่ส่งเสริมการเผยแพร่งานวิจัย ดังนั้นสถาบันที่สนับสนุนการกระจายความรู้ไปยังสาธารณะจะได้รับคะแนนสูงความเป็นเลิศในวารสาร: SciMago ประเมินคุณภาพของวารสารที่มหาวิทยาลัยเผยแพร่งานวิจัย วารสารที่ได้รับการจัดอันดับสูงมีผลทำให้ได้คะแนนสูงความสำเร็จของมหาวิทยาลัยแม่โจซึ่งได้รับอันดับที่ 9 จากสถาบันการศึกษาในประเทศไทย ใน SciMago Institutions Rankings ไม่เพียงสะท้อนถึงการทุ่มเทในการวิจัยคุณภาพสูง ความร่วมมือระหว่างประเทศ และนวัตกรรมทางวิชาการ แต่ยังส่งเสริมให้สถาบันการศึกษาของไทยเป็นที่นับถือในเวทีวิชาการในระดับโลกอ้างอิง : https://www.scimagoir.com/institution.php?idp=8229
13 กุมภาพันธ์ 2567     |      1151