ฝ่ายสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
MJU Corporate Communication Center

ทีม Agro-Power มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตัวแทนทีมจากภาคเหนือ  คว้า 2 รางวัล จากการร่วมจัดแสดงผลงานและนำเสนอ โครงการพัฒนาที่ยั่งยืนของนิสิตนักศึกษา ระดับประเทศ ประจำปี 2567 หรือ Rakkaew Foundation National Exposition University Sustainability Showcase  จัดโดย มูลนิธิรากแก้ว เพื่อเปิดโอกาสให้นิสิตนักศึกษาจากสถาบันการศึกษาทั่วประเทศได้แสดงผลของโครงการที่ได้ร่วมดำเนินงานกับชุมชน นำไปพัฒนาต่อยอดให้เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืนกับชุมชนมากยิ่งขึ้น ซึ่งมีทีมจากสถาบันการศึกษาทั่วประเทศเข้าร่วมโครงการ 26 ทีม  ระหว่างวันที่ 23-24 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา ณ ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์  กรุงเทพมหานคร

 

สำหรับ ทีม Agro-Power นำเสนอโครงการภายใต้ชื่อ "พลังเกษตรเปลี่ยนขยะเศษอาหารเป็นทุนชีวิต"  เป็นผลงานที่มุ่งเน้นแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน  โดยนำเศษอาหารเหลือทิ้งจากโรงพยาบาล จากชุมชน มาเลี้ยงหนอนแมลงวันทหารดำซึ่งมีคุณสมบัติย่อยขยะสดได้ดี แล้วนำตัวหนอนที่มีโปรตีนสูงไปเป็นอาหารสัตว์ เลี้ยงเปิด เลี้ยงไก่ นำมูลของหนอนไปเป็นวัสดุปลูกพืชผัก จากนั้นจึงเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ได้มาใช้ในชีวิตประจำวัน และยังสร้างรายได้เพิ่มต่อไป  ซึ่งโครงการนี้ได้สร้างความประทับใจด้วยแนวทางการเปลี่ยนแปลงขยะเศษอาหารให้เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า ได้รับการยอมรับจากคณะกรรมการและผู้ร่วมงานทั้งในด้านนวัตกรรมและผลกระทบต่อสังคม  ทำให้ทีม Agro-Power จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ สามารถคว้ารางวัลเหรียญเงิน ประเภท โครงการใหม่ประจำปี 2567 และ รางวัลโครงการดีเด่นประจำภาคเหนือ (Outstanding Project Regional North)

 

ทีม Agro-Power  เป็นการรวมตัวของนักศึกษา 2 คณะ มีสมาชิก 6 คน   ได้แก่

  1. นายณัฐวัตร แซ่เซียว คณะผลิตกรรมการเกษตร
  2. นางสาวจุฑามาศ เกิดโต คณะผลิตกรรมการเกษตร
  3. นายธนพล ต๋าคำ คณะผลิตกรรมการเกษตร
  4. นายเอกพล แก้วบุญเรือง คณะผลิตกรรมการเกษตร
  5. นายรัตติเทพ เครืออินทร์ วิทยาลัยพลังงานทดแทน
  6. นางสาวอรนิชา ทิพย์ชัย วิทยาลัยพลังงานทดแทน

โดยมี  อาจารย์ ดร.วงค์พันธ์ พรหมวงศ์  และ นายพิชิตพงษ์ ไชยโยชน์  เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

อาจารย์ ดร.วงค์พันธ์ พรหมวงศ์ อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการฯ กล่าวว่า "รางวัลนี้เป็นเครื่องยืนยันถึงความสามารถและความมุ่งมั่นของนักศึกษาในการพัฒนาสังคม กิจกรรมนี้ไม่เพียงแต่เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงผลงานและศักยภาพของเยาวชนไทยเท่านั้น แต่ยังเป็นแรงบันดาลใจที่สำคัญในการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนในสังคมไทยในอนาคต นอกจากนี้ โครงการยังเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามเป้าหมาย SDGs ซึ่งมหาวิทยาลัยแม่โจ้มีแผนจะต่อยอดและขยายผลโครงการนี้ไปยังชุมชนต่าง ๆ ในอนาคตต่อไป"

.................................
ฝ่ายสื่อสารองค์กร  ม.แม่โจ้ // รายงาน

ปรับปรุงข้อมูล : 29/8/2567 11:54:29     ที่มา : ฝ่ายสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 137

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวกิจกรรม ข่าวประชาสัมพันธ์

ข่าวล่าสุด

ทีม Agro-Power ม.แม่โจ้ เปลี่ยนขยะเศษอาหารเป็นทุนชีวิต คว้า 2 รางวัลระดับประเทศ จากมูลนิธิรากแก้ว
ทีม Agro-Power มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตัวแทนทีมจากภาคเหนือ  คว้า 2 รางวัล จากการร่วมจัดแสดงผลงานและนำเสนอ โครงการพัฒนาที่ยั่งยืนของนิสิตนักศึกษา ระดับประเทศ ประจำปี 2567 หรือ Rakkaew Foundation National Exposition University Sustainability Showcase  จัดโดย มูลนิธิรากแก้ว เพื่อเปิดโอกาสให้นิสิตนักศึกษาจากสถาบันการศึกษาทั่วประเทศได้แสดงผลของโครงการที่ได้ร่วมดำเนินงานกับชุมชน นำไปพัฒนาต่อยอดให้เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืนกับชุมชนมากยิ่งขึ้น ซึ่งมีทีมจากสถาบันการศึกษาทั่วประเทศเข้าร่วมโครงการ 26 ทีม  ระหว่างวันที่ 23-24 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา ณ ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์  กรุงเทพมหานครสำหรับ ทีม Agro-Power นำเสนอโครงการภายใต้ชื่อ "พลังเกษตรเปลี่ยนขยะเศษอาหารเป็นทุนชีวิต"  เป็นผลงานที่มุ่งเน้นแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน  โดยนำเศษอาหารเหลือทิ้งจากโรงพยาบาล จากชุมชน มาเลี้ยงหนอนแมลงวันทหารดำซึ่งมีคุณสมบัติย่อยขยะสดได้ดี แล้วนำตัวหนอนที่มีโปรตีนสูงไปเป็นอาหารสัตว์ เลี้ยงเปิด เลี้ยงไก่ นำมูลของหนอนไปเป็นวัสดุปลูกพืชผัก จากนั้นจึงเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ได้มาใช้ในชีวิตประจำวัน และยังสร้างรายได้เพิ่มต่อไป  ซึ่งโครงการนี้ได้สร้างความประทับใจด้วยแนวทางการเปลี่ยนแปลงขยะเศษอาหารให้เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า ได้รับการยอมรับจากคณะกรรมการและผู้ร่วมงานทั้งในด้านนวัตกรรมและผลกระทบต่อสังคม  ทำให้ทีม Agro-Power จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ สามารถคว้ารางวัลเหรียญเงิน ประเภท โครงการใหม่ประจำปี 2567 และ รางวัลโครงการดีเด่นประจำภาคเหนือ (Outstanding Project Regional North)ทีม Agro-Power  เป็นการรวมตัวของนักศึกษา 2 คณะ มีสมาชิก 6 คน   ได้แก่ นายณัฐวัตร แซ่เซียว คณะผลิตกรรมการเกษตรนางสาวจุฑามาศ เกิดโต คณะผลิตกรรมการเกษตรนายธนพล ต๋าคำ คณะผลิตกรรมการเกษตรนายเอกพล แก้วบุญเรือง คณะผลิตกรรมการเกษตรนายรัตติเทพ เครืออินทร์ วิทยาลัยพลังงานทดแทนนางสาวอรนิชา ทิพย์ชัย วิทยาลัยพลังงานทดแทนโดยมี  อาจารย์ ดร.วงค์พันธ์ พรหมวงศ์  และ นายพิชิตพงษ์ ไชยโยชน์  เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาอาจารย์ ดร.วงค์พันธ์ พรหมวงศ์ อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการฯ กล่าวว่า "รางวัลนี้เป็นเครื่องยืนยันถึงความสามารถและความมุ่งมั่นของนักศึกษาในการพัฒนาสังคม กิจกรรมนี้ไม่เพียงแต่เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงผลงานและศักยภาพของเยาวชนไทยเท่านั้น แต่ยังเป็นแรงบันดาลใจที่สำคัญในการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนในสังคมไทยในอนาคต นอกจากนี้ โครงการยังเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามเป้าหมาย SDGs ซึ่งมหาวิทยาลัยแม่โจ้มีแผนจะต่อยอดและขยายผลโครงการนี้ไปยังชุมชนต่าง ๆ ในอนาคตต่อไป" ฝ่ายสื่อสารองค์กร  ม.แม่โจ้ // รายงาน
29 สิงหาคม 2567     |      138
งานวิจัยแม่โจ้ สู่ สินค้าคุณภาพ โชว์งาน อว.แฟร์ 2024 พร้อมจัดจำหน่าย
 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมทางการเกษตรสำหรับบัณฑิตผู้ประกอบการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (Agri Inno) นำทีมผู้ประกอบการภายใต้ความร่วมมือของศูนย์ Agri inno มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ได้ส่งเสริม ผลักดันผู้ประกอบการที่ได้รับการสนับสนุนการนำงานวิจัยออกไปใช้ประโยชน์ (Licensing)จากมหาวิทยาลัยออกสู่เชิงพาณิชย์ และงานที่ได้รับทุนสนับสนุนผ่านกลไกรายภูมิภาค Regional Innovation Business Platform ของ NIA  เข้าร่วมงานมหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์ อววน. เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืนด้วยพลังสหวิทยาการ หรือ งาน อว.แฟร์  2024  ที่จัดขึ้นโดยกระทรวง อว. ผสานพลังความร่วมมือกับทุกภาคส่วนจัดงาน  ระหว่างวันที่ 22-28 ก.ค.2567  ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์  กรุงเทพฯรศ.ดร.ดวงพร  อมรเลิศพิศาล  หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมทางการเกษตรสำหรับบัณฑิตผู้ประกอบการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า  “ ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมจัดแสดงผลงานและนวัตกรรม ในงาน อว.แฟร์ 2024  มีผลิตภัณฑ์ที่มาจากผลงานวิจัยของนักวิจัยมหาวิทยาลัยแม่โจ้  4 ผลงาน ได้แก่ผลิตภัณฑ์ ImuneUp  ของ  บริษัท BIST Inno Reform เป็นผลิตภัณฑ์จากเห็ดมีสรรพคุณทางยาทำหน้าที่เสริมภูมิคุ้มกันในระดับเซลล์ (CELL based Immune Boosting Ingredient) ป้องกันโรคกลุ่ม NCDs ผ่านทดสอบระสิทธิภาพและความปลอดภัยในมนุษย์ ผลิตภัณฑ์แบรนด์ Vetnova  ของ บริษัท Ani Pproduct   นวัตกรรมเกี่ยวกับสัตว์  ได้แก่ DipDip ฟิล์มเคลือบจุ่มเต้านมโคจากธรรมชาติ และ Petty สเปรย์ป้องกัน และกำจัดปรสิตภายนอก ในสัตว์เลี้ยง โดยมีส่วนผสมจากสมุนไพร และใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีสีเขียว (Green technology) เพื่อลดการใช้สารเคมี และเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันที่ยาวนาน ผลิตภัณฑ์ Pre, Pro, Postbiotics แบรนด์ Bioblend ของ บริษัท All About Extract ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพลำไส้ มีส่วนผสมสำคัญจากสารประกอบเชิงหน้าที่เสริมภูมิคุ้มกัน(Functional Ingredients) ได้แก่ พรีไบโอติกส์ โพรไบโอติกส์ โพสไบโอติกส์ ส่งเสริมสุขภาวะที่ดีทั้งร่ายกายและจิตใจ ผลิตภัณฑ์น้ำหอมแบรนด์  JOH ของ บริษัท BSN Life นวัตกรรมน้ำหอมผสานน้ำมันสกัดจาก Crocodile Oil  ทำหน้าที่เป็นสารตรึงกลิ่นหอมขึ้นให้กับน้ำหอมของ JOH  ทำให้ความหอมติดทนยาวนานพร้อมบำรุงผิว ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองแม้ผิวบอบบางนอกจากนั้น ยังมีผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการต่อยอดโดยผู้ประกอบการที่ร่วมทุนและผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการที่ ศูนย์ Agri inno แม่โจ้ ช่วยพัฒนาโครงการนวัตกรรมให้กับผู้ประกอบการโดยนำงานวิจัยของนักวิจัยที่มีศักยภาพมาต่อยอดเชิงพาณิชย์ ร่วมจัดแสดงในงานนี้อีกมากกว่า 10 ราย  ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่เข้าร่วมจัดแสดง ในงาน อ.ว.แฟร์ 2024  ครั้งนี้ ได้รับความสนใจ และการตอบรับเป็นอย่างดี  ถือเป็นก้าวสำคัญในการสนับสนุนผู้ประกอบการที่นำงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ไปต่อยอดเชิงพาณิชย์ได้ อย่างเป็นรูปธรรม” ฝ่ายสื่อสารองค์กร ม.แม่โจ้ // รายงาน
6 สิงหาคม 2567     |      526
ม.แม่โจ้ จัดพิธีรับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ต่อไปอีกวาระหนึ่ง  
วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม 2567 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดพิธีรับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้ง รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา เป็นอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และพิธีประทานแจกันดอกไม้ จากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์  โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์พาวิน  มะโนชัย รักษาการ แทนรองอธิการบดี เป็นผู้เชิญประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และ รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์  ศรีเงินยวง รักษาการแทนรองอธิการบดีอ่านประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีฯ จากนั้น อธิการบดี ได้กล่าวสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ความว่า...พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ข้าพระพุทธเจ้า นายวีระพล ทองมา ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายน 2567 นั้น ข้าพระพุทธเจ้ารู้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และนับเป็นเกียรติอันสูงยิ่งต่อตนเองและวงศ์ตระกูลอย่างหาที่สุดมิได้ ข้าพระพุทธเจ้าตระหนักดีว่า การดำรงตำแหน่งอธิการบดีนั้น ถือเป็นหน้าที่สำคัญต่อการพัฒนาชาติ ซึ่งต้องใช้ความรู้ความสามารถ และความทุ่มเท เสียสละอย่างมาก เพื่อให้มหาวิทยาลัยแม่โจ้ยังประโยชน์สูงสุดแก่ชุมชน ท้องถิ่น เสริมสร้างพลังปัญญาของแผ่นดิน เพื่อให้ชุมชนและท้องถิ่นมีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน ตามเจตนารมณ์ของการก่อตั้งมหาวิทยาลัยที่มีมากว่า 9 ทศวรรษมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นแหล่งภูมิปัญญาด้านการเกษตรของแผ่นดินที่สั่งสมและตกผลึกมาจากพลังแห่งคุณธรรมความดีงาม ความมุ่งมั่นของเหล่าบรรพชนแม่โจ้จากรุ่นสู่รุ่น กอปรด้วยการสำนึกในการทำงานเพื่อประชาชนที่ฝังแน่นในจิตใจของทุกคน ทำให้องค์ความรู้ได้ถูกส่งผ่านออกไปเป็นผลงานสร้างสรรค์ที่มีคุณค่า ตอบสนองการพัฒนาชาติในทุกมิติ พร้อมกับการเป็นแหล่งเรียนรู้ ที่มีความพร้อมในการมอบทักษะ ประสบการณ์ หล่อหลอมความคิด และจิตใจอันดีงามออกสู่สังคมให้พัฒนาอย่างยั่งยืนตลอดระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง ข้าพระพุทธเจ้า และคณะผู้บริหารทุกคน จะตั้งใจอย่างแน่วแน่ ในการพัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์ ซึ่งได้ให้ไว้ต่อสภามหาวิทยาลัยและประชาคม ให้ไปสู่สัมฤทธิผลสูงสุดอย่างเต็มกำลังความสามารถ มุ่งสู่วิสัยทัศน์การเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำด้านการเกษตรในระดับนานาชาติ ปฏิบัติภารกิจเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนท้องถิ่นและชุมชนด้วยพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมในครั้งนี้ ข้าพระพุทธเจ้าขอให้สัตย์ปฏิญาณว่า จะปฏิบัติหน้าที่ทุกภารกิจอย่างเต็มกำลังความสามารถ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ยึดมั่นในหลักธรรมาภิบาล คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง โดยน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวปฏิบัติ ร่วมสืบสาน  รักษา และต่อยอดกิจการต่างๆ ตามพระราชดำริ เพื่อนำความก้าวหน้ามาสู่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สู่สังคม และประเทศชาติสืบไป ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ”โอกาสนี้ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เชิญแจกันดอกไม้ประทานให้แก่อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้  เนื่องในโอกาสได้รับพระราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ต่อไปอีกวาระหนึ่งรองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา เกิดเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2505 จบการศึกษาระดับปริญญาตรี เทคโนโลยีการเกษตรบัณฑิต (เกียรตินิยม อันดับ 1) สาขาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมอาหาร จาก สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ (ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่น 49) ระดับปริญญาโท เทคโนโลยีการเกษตรมหาบัณฑิต สาขาส่งเสริมการเกษตร จาก สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ ระดับปริญญาเอก Doctor of Philosophy สาขา Extension Education/ Development Management จาก University of the Philippines Los Baños ประเทศสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ได้รับแต่งตั้งให้เป็น ศาสตราจารย์กิตติมศักดิ์ ปี 2559 จาก National Chin- Yi University of Technology (NCUT), Taiwan และ ศาสตราจารย์กิตติมศักดิ์ ปี 2561 จาก Vanung University (VNU), Taiwan ท่านดำรงตำแหน่งทางวิชาการ  รองศาสตราจารย์ ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นมหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)ในการนี้ คณะผู้บริหาร ผู้แทนศิษย์เก่า ผู้นำนักศึกษาเข้าร่วมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและแสดงเจตนารมณ์ในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมโดยพร้อมเพรียงกัน ณ ห้องอินทนิล ชั้น 2 สำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ฝ่ายสื่อสารองค์กร ม.แม่โจ้ // รายงาน
12 กรกฎาคม 2567     |      748
ม.แม่โจ้ ประกาศรายชื่อบุคลากรสายสนับสนุนดีเด่น ปี 2566 เตรียมมอบโล่ประกาศเกียรติคุณ
ม.แม่โจ้ ประกาศรายชื่อบุคลากรสายสนับสนุนดีเด่น ปี 2566 เตรียมมอบโล่ประกาศเกียรติคุณมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยสภาพนักงาน ได้ดำเนินการพิจารณาคัดเลือก บุคลากรสายสนับสนุนดีเด่น ประจำปี 2566 ซึ่งเป็นบุคลากรอันทรงคุณค่าของมหาวิทยาลัย ผู้ปฏิบัติหน้าที่ของตนเป็นอย่างดี อุทิศตนให้แก่หน่วยงาน องค์กร และสังคมอย่างเต็มกำลังความสามารถ  ประพฤติปฏิบัติตนดี มีผลงานเชิงประจักษ์ดีเด่นเป็นที่ยอมรับ มีความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวมเป็นอย่างดี  เป็นแบบอย่างที่ดีสมควรได้รับการยกย่องเชิดชู  ซึ่งคณะกรรมการได้พิจารณาตามหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกที่วางไว้  ซึ่งมีผู้ผ่านการพิจารณาได้รับการ จำนวน 4 ราย  ตามประกาศมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เรื่อง รายชื่อบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการดีเด่นของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปี 2566 ลงวันที่ 2 กรกฎาคม 2567 ดังนี้บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการดีเด่น ด้านบริการดีเด่น ได้แก่  นางเยาวภา เขื่อนคํา สังกัด สำนักหอสมุดบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการดีเด่น ด้านวิชาชีพดีเด่น ได้แก่ นางสาววัชรินทร์ จันทวรรณ์ สังกัด สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตรบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการดีเด่น ด้านนวัตกรรมดีเด่น ได้แก่ นางสาวช่อทิพย์ สิทธิ  สังกัด คณะวิทยาศาสตร์บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการดีเด่น ลูกจ้างของมหาวิทยาลัยผู้มีผลงานดีเด่น ได้แก่ นายนันทวัฒน์ รักษ์เผ่าสุวรรณ สังกัด คณะวิทยาศาสตร์ทั้งนี้ ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกทั้ง 4  ท่าน จะเข้ารับโล่ประกาศเกียรติคุณและรางวัลเข็มเพชรแม่โจ้เชิดชูเกียรติ จาก อธิการบดี ในพิธีไหว้ครูประจำปี 2567  วันที่ 15 สิงหาคม 2567  ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ต่อไป
5 กรกฎาคม 2567     |      2088