ฝ่ายสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
MJU Corporate Communication Center

ข่าวประชาสัมพันธ์และกิจกรรม

2 ผลงานวิจัย ม.แม่โจ้ คว้า 3 รางวัลระดับโลก งาน The 16th International Invention and Innovation show (INTARG 2023) ณ สาธารณรัฐโปแลนด์
2 ผลงานวิจัยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับการคัดเลือกจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมระดับนานาชาติ  ในงาน The 16th International Invention and Innovation show (INTARG 2023) ซึ่งจัดโดย  Eurobusiness-Haller ณ  เมืองคาโตไวซ์ สาธารณรัฐโปแลนด์ โดยมีประเทศต่างๆ ในภูมิภาคยุโรปและเอเชีย นำผลงานเข้าร่วมจัดแสดงมากกว่า 30 ประเทศ โดยผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับ 3 รางวัล ได้แก่ รางวัล เหรียญทอง ผลงานวิจัย เรื่อง "เทคโนโลยีเฮอร์เดิลด้วยโอโซนและเคมีเพื่อลดปริมาณไวรัสโคโรน่าปนเปื้อนในทุเรียนส่งออก"  โดย รศ. ดร.จตุรภัทร วาฤทธิ์  ประธานหลักสูตรวิศวกรรมอาหาร  คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ รศ.ดร.จตุรภัทร วาฤทธิ์   กว่าวว่า “เนื่องจากประเทศไทยส่งออกทุเรียนไปต่างประเทศ มากกว่า 5 แสนตัน/ปี ซึ่งเป็นผลไม้หลักในการส่งออก แต่ด้วยสถานการณ์ Covid-19 ประเทศจีนมีนโยบาย Zero-CoVid  ดังนั้นหากมีการตรวจพบการปนเปื้อนเชื้อ Covid-19 ที่ทุเรียน จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกทุเรียนไทยอย่างรุนแรง ทำให้ประเทศอาจสูญเสียรายได้ เกษตรกรได้รับผลกระทบ  ซึ่งเทคโนโลยีเฮอร์เดิลด้วยโอโซนและเคมี  หรือ เทคโนโลยีผสมผสาน โดยการใช้แก๊สโอโซน ร่วมกับสเปรย์โซเดี่ยม ไฮโปครอไรด์  เพื่อลดปริมาณไวรัสโคโรน่าปนเปื้อนในทุเรียนส่งออก เป็นการพัฒนาเทคโนโลยีเฮอร์เดิลระหว่างก๊าซโอโซนและสารเคมี เพื่อลดปริมาณไวรัสโคโรน่าที่ตกค้างปนเปื้อนในผลทุเรียน พบว่าการใช้สเปรย์ NaOCl และตามด้วยการรมก๊าซโอโซนที่ 900 ppm แล้วเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 13 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 12 ชั่วโมง สามารถลดปริมาณไวรัส PEDV ที่ตกค้างให้ต่ำกว่าเกณฑ์วัดขั้นต่ำ cut-off ของชุดทดลองที่ค่า Ct>36=negative ซึ่งถือว่าเป็นการลดปริมาณไวรัสปนเปื้อนได้ 100%   ผลทุเรียนที่ทดสอบมีอัตราสุกตามปกติ  ไม่มีผลกระทบต่อคุณภาพของทุเรียน ผู้บริโภคทุเรียนปลอดภัย สร้างความเชื่อมั่นในการส่งออกผลไม้ไปยังต่างประเทศอีกครั้ง”รางวัล เหรียญทองแดง และ รางวัล certificate of appreciation proudly presentation จาก Research Institute of creative education, Vietnam  ผลงานวิจัย เรื่อง "ต้นแบบการพัฒนาระบบผลิตน้ำเพื่อการเกษตรจากอากาศโดยใช้ความเย็นพื้นดินร่วมกับพลังงานแสงอาทิตย์"  โดย ผศ.ดร.นิกราน หอมดวง คณบดีวิทยาลัยพลังงานทดแทน และ ผศ. ดร.กิตติกร สาสุจิตต์ รองคณบดี วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผศ.ดร.นิกราน หอมดวง  ให้ข้อมูลว่า  “ต้นแบบระบบผลิตน้ำจากอากาศเป็นนวัตกรรมเพื่อสกัดน้ำในชั้นบรรยากาศ ช่วยปัญหาด้านภัยแล้งของเกษตรกร และส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อย รวมไปถึงการพัฒนาต่อยอดในการผลิตน้ำดื่มในพื้นที่โรงเรียนตระเวนชายแดน หรือพื้นที่ชุมชนบนพื้นที่สูง โดยนวัตกรรมดังกล่าวสามารถสกัดน้ำในชั้นบรรยากาศได้ในอัตรา 100-200 ลิตรต่อวัน และใช้พลังงานแสงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานหลักให้กับระบบนวัตกรรมดังกล่าว ทำให้สามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้อีกทางหนึ่ง”ด้าน ผศ. ดร.กิตติกร สาสุจิตต์ กล่าวเพิ่มเติมว่า  “ผลสำเร็จของโครงการได้มีการติตดั้งระบบทดสอบจริงให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านขุนคง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ และในปีถัดไปมีเป้าหมายการติดตั้งระบบให้กับโรงเรียนและชุมชนบนพื้นที่สูงในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อสำหรับการผลิตน้ำดื่มเพื่อการอุปโภคและบริโภค เพื่อให้สามารถลดค่าใช้จ่ายในการซื้อน้ำและน้ำที่ได้จากนวัตกรรมนี้มีผ่านการตรวจค่ามาตรฐานของน้ำดื่ม ก็อยู่ในเกณฑ์ที่บริโภคและอุปโภคได้ ซึ่งงานวิจัยนี้มีประโยชน์ต่อพื้นที่ไม่มีแหล่งน้ำ หรือมีน้ำน้อย ซึ่งพบในหลายพื้นที่ของประเทศไทย”
1 มิถุนายน 2566
ม.แม่โจ้ ชวนรักษ์โลก จัด Big Cleaning Day แยกขยะ ปลูกผัก เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดกิจกรรมรณรงค์วันสิ่งแวดล้อมโลก และ MJU Big cleaning day ของส่วนงาน เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลกแสดงถึงความร่วมมือ สร้างความตระหนักในการรักษาสิ่งแวดล้อม  ให้ทุกคนได้มีส่วนในการร่วมขับเคลื่อน Green Office  และ Green University ในวันศุกร์ที่ 2 มิถุนายน  2564 พร้อมรับของที่ระลึกรักษ์โลก  ณ บริเวณโถงชั้น 1 อาคารสำนักงานมหาวิทยาลัย   เนื่องด้วยวันที่ 5 มิถุนายน ของทุกปีถือว่าเป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก”เพื่อตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัว ทั้งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ที่มีการเกื้อหนุนซึ่งกันละกัน เป็นวงจรและวัฏจักรที่เกี่ยวข้องกันทุกระบบ สร้างเข้าใจถึงผลกระทบจากปัญหาสิ่งแวดล้อม  สำหรับกิจกรรมจัดให้มีการส่งเสริม รณรงค์ลดขยะ ใช้ภาชนะจากใบไม้  กิจกรรมการให้ความรู้การคัดแยกขยะ การจัดการขยะในสำนักงาน กิจกรรม Big cleaning day โดยรอบสำนักงาน  กิจกรรมย่อยกระดาษรีไซเคิลก่อนจำหน่าย และกิจกรรมร่วมใจปิดไฟพร้อมกัน เวลา 11.00 – 13.00 น.(2 ชม.)   นอกจากนั้น ยังจัดให้มีกิจกรรม “ปลูกผักเพราะรักแม่(โจ้)” เพื่อให้บุคลากรมีผักสดปลอดภัยไว้บริโภค ขอเชิญทุกท่านเข้าร่วมกิจกรรม ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม  ในวันศุกร์ที่ 2 มิถุนายน 2566 ตั้งแต่เวลา 0900 น.เป็นต้นไป พร้อมรับของที่ระลึกรักษ์โลก  ณ บริเวณโถงชั้น 1 อาคารสำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม สำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 0 5387 3241
1 มิถุนายน 2566
สถาปนาแม่โจ้ 89 ปี พร้อมก้าวสู่...ทศวรรษใหม่
ตามรอยคุณพระช่วงฯ บิดาเกษตรแม่โจ้   89 ปี ก่อนจะเป็นมหาวิทยาลัยแม่โจ้ในปัจจุบัน14 สิงหาคม 2476 คุณพระช่วงเกษตรศิลปการ ยืมม้าจากนายอำเภอสันทราย บุกเข้าดงแม่โจ้ พร้อมคนนำทางมุ่งหน้าต่อไปตามทางเกวียนใช้เวลาชั่วโมงกว่าถึงดงไม้และป่าโปร่งที่เรียกว่า “ดงแม่โจ้” มีพื้นที่ประมาณ 800 ไร่ มีหมู่บ้านเล็กๆอยู่ชายป่าประมาณ 10 หลังคาเรือน ถึงแม้ผืนดินแห่งนี้จะมีสภาพเป็นดินเลว  แต่มีแหล่งน้ำเพียงพอที่สามารถปรับแก้ไขสภาพดินให้ดีขึ้นได้ ท่านจึงสร้างสถานีกสิกรรมภาคพายัพขึ้นบนผืนดินแห่งนี้ต้นเดือนเมษายน 2477 เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี รมต.กระทรวงธรรมการ(สมัยนั้น) มีบัญชาให้จัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมประจำภาคเหนือขึ้นที่ ดงแม่โจ้ ติดพื้นที่ด้านทิศใต้ของสถานีทดลองกสิกรรมภาคพายัพ แต่งตั้งให้ พระช่วงเกษตรศิลปการ ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่17 พฤษภาคม 2477 นักเรียนรุ่นแรกเดินทางมารายงานตัวครบทั้ง 46 คน(ภายหลังมาอีก 2 คน รวมเป็น 48คน)7 มิถุนายน 2477 ได้เปิดการเรียนการสอนครั้งแรก โดยคุณพระช่วงเกษตรศิลปการ บิดาเกษตรแม่โจ้ ผู้บุกเบิกและก่อตั้ง แม่โจ้ พร้อมทั้งจัดให้มีพิธีไหว้ครูขึ้นในวันนี้ได้เชิญข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ข้าหลวงประจำจังหวัดและธรรมการจังหวัดมาร่วมให้โอวาท ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนั้นได้ถูกจารึกเป็นประวัติศาสตร์อันสำคัญของแม่โจ้ ถือเป็นจุดกำเนิดแม่โจ้และพัฒนามาจนถึงปัจจุบันจวบจนวันนี้ 89 ปี จากโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมภาคเหนือ ได้บุกเบิก ฝ่าฟัน ต่อสู้ และ เจริญเติบโต สั่งสมประสบการณ์ บันทึกประวัติศาสตร์ด้านการเกษตรของไทย  สู่…มหาวิทยาลัยแม่โจ้  มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ก้าวสู่ทศวรรษใหม่แห่งการเปลี่ยนแปลงการเป็นมหาวิทยาลัย กลุ่มที่ 2 ที่มุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม เพื่อตอบโจทย์ของประเทศในการพัฒนาเกษตรกรรม  อุตสาหกรรม และบริการด้วยแผนพัฒนาความเป็นเลิศ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ พ.ศ.2566-2570 “พลิกโฉมมหาวิทยาลัยสู่การสร้างบัณฑิตผู้ประกอบการเศรษฐกิจสร้างคุณค่าด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรสมัยใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในระดับนานาชาติ”7 มิถุนายน 2566 แม่โจ้ครบ 89 ปี มหาวิทยาลัยจัดให้มีพิธีทำบุญวันคล้ายสถาปนาโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม ภาคเหนือ ประจำปี 2566 โดยจะมีกิจกรรมดังนี้เวลา 09 น. พิธีบวงสรวงพระพิรุณทรงนาค นำโดยนายกสภามหาวิทยาลัย นายกสมาคมศิษย์เก่า อธิการบดีพร้อมคณะผู้บริหาร ณ ประติมากรรมพระพิรุณทรงนาค เวลา 0845 น. พิธีทำบุญทางศาสนา ณ อาคารแผ่พืชน์เวลา 09.30 น. เป็นต้นไป พิธีวางพวงมาลาอนุสาวรีย์คุณพระช่วงเกษตรศิลปการ “บิดาเกษตรแม่โจ้” ผู้บุกเบิกก่อตั้งแม่โจ้ และได้รับเกียรติจาก ทายาทพระช่วงเกษตรศิลปการ เข้าร่วมพิธีเวลา 11.15 น. กิจกรรมปล่อยกล้วยไม้ 99 ต้น ร่วมฉลองแม่โจ้ 90 ปี ณ อุทยานกล้วยไม้ไทย เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี บริเวณศาลเจ้าแม่ แม่โจ้ ขอเชิญชาวแม่โจ้พร้อมใจกัน เข้าร่วมกิจกรรมวันคล้ายวันสถาปนาโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม ภาคเหนือ ประจำปี 2566 ในวันพุธที่ 7 มิถุนายน 2566 ตั้งแต่เวลา 0845 น.เป็นต้นไป มาร่วมกันแสดงพลังสามัคคี ร่วมรำลึกถึงเส้นทางการก้าวย่างของแม่โจ้ พร้อมก้าวสู่ทศวรรษใหม่แห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างภาคภูมิแม่โจ้: มหาวิทยาลัยแห่งชีวิต”**(ภาพประกอบจากแฟ้มภาพ)by ฝ่ายสื่อสารองค์กร ม.แม่โจ้ สอบถามเพิ่มเติม กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม 0 5387 3305สั่งจองพวงมาลา สมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้  0 53353140
30 พฤษภาคม 2566
ม.แม่โจ้ เตรียมรับอินทนิลช่อที่ 88 สู่รั้วอินทนิล บ้านหลังที่สองที่ให้ทั้งวิชาการและวิชาชีวิต
“มหาวิทยาลัยแม่โจ้” สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มีรากฐานทางการเกษตรเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ   มีประวัติศาสตร์ทางการศึกษายาวนาน นับจากปี 2477  ถึงวันนี้มีก้าวสู่ 90 ปี  ได้พัฒนาปรับเปลี่ยนสู่การเป็นมหาวิทยาลัย  กลุ่ม 2  กลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม ที่พร้อมผลิตบัณฑิตสู่ความเป็นผู้อุดมด้วยปัญญา อดทน สู้งาน เป็นผู้มีคุณธรรม และจริยธรรมเพื่อความเจริญรุ่งเรืองวัฒนาของสังคมไทยที่มีการเกษตรเป็นรากฐาน และอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย คือ “การพัฒนานักศึกษาให้เป็นนักปฏิบัติทันต่อการเปลี่ยนแปลงและเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชา”   นอกจากด้านการผลิตบัณฑิตแล้ว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ยังได้สนับสนุนและส่งเสริมด้านการวิจัยที่ต่อยอดองค์ความรู้จนเกิดเป็นรูปธรรม เป็นที่ยอมรับในเวทีระดับชาติและนานาชาติ สามารถนำไปช่วยเหลือ พัฒนาสังคมได้อย่างแท้จริง จนได้รับความไว้วางใจจากผู้ปกครองให้บุตรหลานเลือกเข้ามาศึกษาต่อ ณ สถาบันการศึกษาแห่งนี้ เรียนรู้การใช้ชีวิตในบ้านหลังที่สองที่พร้อมจะให้ทั้งวิชาการและวิชาชีวิตแก่ศิษย์แม่โจ้ทุกคนปีการศึกษา 2566 นักศึกษาใหม่จากทั่วทุกสารทิศ ทั้งแม่โจ้-แพร่ฯ และแม่โจ้-ชุมพร จำนวนกว่า 5,000 คน   กำลังจะก้าวเข้าสู่รั้วอินทนิล ในฐานะอินทนิลช่อที่ 88 ที่พร้อมจะเบ่งบานและเติบโตอย่างแข็งแกร่ง ซึ่งในปีนี้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้มีการจัดเตรียมกิจกรรมต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวก และเตรียมความพร้อมเสริมสร้างอัตลักษณ์ลูกแม่โจ้ หลากหลายกิจกรรม เริ่มตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2566  มีรายละเอียดดังนี้วันที่ 23-25 มิถุนายน 2566 เวลา 06.00 น. เป็นต้นไป โครงการต้อนรับอินทนิลช่อใหม่สู่บ้านหลังที่ 2 ได้จัดเตรียมรถคอยรับ-ส่ง อำนวยความ สะดวกให้กับน้อง ๆ และพ่อแม่ผู้ปกครอง  ณ สถานีรถไฟเชียงใหม่ สถานีขนส่งเชียงใหม่(อาเขต) และสนามบิน เดินทางสู่มหาวิทยาลัยแม่โจ้  และให้น้อง ๆ ได้รายงานตัวเข้าหอพักนักศึกษาที่ทางมหาวิทยาลัยจัดเตรียมไว้ให้ต่อไป (ข้อมูลเพิ่มเติมงานหอพัก 0 5387 3085/งานพัฒนานักศึกษาฯ 0 5387 3067-8)เวลา 12.30 – 15.30 น. โครงการผู้บริหารพบผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองได้รู้จักและรับทราบถึงนโยบายของมหาวิทยาลัยและแนวทางการใช้ชีวิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัยตลอดหลักสูตร รวมถึงรายละเอียดเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาแบ่งเบาภาระผู้ปกครอง ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ (ข้อมูลเพิ่มเติม งานทุนการศึกษาฯ  0 5387 3183)เวลา 17.00-22.00 น. กิจกรรมตลาดนัดรวมใจอินทนิล เพื่อจัดจำหน่ายสินค้าราคาประหยัดจากร้านค้านักศึกษา กิจกรรมให้ข้อมูลกิจกรรมนักศึกษา และกิจกรรมบันเทิง ณ ลานกิจกรรมหอพักนักศึกษาวันที่ 24-25 มิถุนายน 2566 เวลา 09.00 น.เป็นต้นไป  นักศึกษาใหม่เข้าร่วมกิจกรรม “เดินฐานตามรอยคุณพระช่วงเกษตรศิลปการ” บิดาการเกษตรแม่โจ้ ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกและก่อตั้งแม่โจ้ จนได้ชื่อว่า “ไม่มีพระช่วงฯ ไม่มีแม่โจ้วันที่ 26 มิถุนายน  2566  เวลา 08.00 - 12.00 น. โครงการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่(ทุกคน ทุกหลักสูตร)           ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ  และในเวลา 13.00 - 16.30 น. ปฐมนิเทศนักศึกษาตามคณะ/วิทยาลัย ที่นักศึกษาสังกัดวันที่ 27 มิถุนายน  2566 เวลา 08.00 – 12.00 น. กิจกรรม “แม่โจ้จิตอาสาพัฒนาชุมชนและกิจกรรม Big cleaning day ” (ภายใน/ภายนอก) เพื่อให้นักศึกษาใหม่ ได้มีส่วนร่วมในการดูแล พัฒนามหาวิทยาลัย  สังคม และชุมชนเวลา 17.00-22.00 น. นักศึกษาใหม่ทุกคน ทุกวิทยาเขต  จะเข้าร่วมงานเลี้ยงขันโตกต้อนรับนักศึกใหม่ อินทนิลช่อที่ 88“สู่รั้วอินทนิล” ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติวันที่ 28 มิถุนายน 2566 เวลา 12.00 – 17.30 น. กิจกรรมอบรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ให้กับนักศึกษาใหม่ เพื่อเรียนรู้ ป้องกัน บรรเทา หากเกิดภัยพิบัติ ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติวันที่ 29 มิถุนายน  2566  เวลา 05.00 – 12.00  น.  นักศึกษาใหม่ร่วมกิจกรรมประเพณีเดินวิ่ง แม่โจ้- สันทราย  เพื่อเข้าคารวะนายอำเภอสันทราย  และหัวหน้าส่วนราชการต่างๆ รวมทั้งฝากเนื้อฝากตัวกับพี่น้องชาวอำเภอสันทราย โดยมีชาวอำเภอสันทรายมาคอยต้อนรับตลอดเส้นทางอย่างอบอุ่นตลอดสองข้างทางวันที่ 30 มิถุนายน  2566 เวลา 09.00 - 20.00 น. นักศึกษาใหม่เข้าร่วมโครงการ เสริมสร้างอัตลักษณ์ลูกแม่โจ้ ได้เรียนรู้ วิถีแม่โจ้ ลูกแม่โจ้: เลิศน้ำใจ วินัยดี เชิดชูประเพณี สามัคคี อาวุโส เรียนรู้บทเพลงประจำสถาบัน  พร้อมการเชื่อมต่อความสัมพันธ์กับศิษย์เก่าแม่โจ้ มีคณาจารย์ ศิษย์เก่า ร่วมต้อนรับ เจิมหน้าผากอย่างอบอุ่น ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ  ทุกกิจกรรมที่ทางมหาวิทยาลัยได้จัดเตรียมไว้ก็เพื่อให้นักศึกษาใหม่ อินทนิลช่อที่ 88 ได้พัฒนาศักยภาพ รู้จักการปรับตัวในการใช้ชีวิตการเป็นนักศึกษาเพื่อทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุดตลอดหลักสูตรจนกว่าจะสำเร็จการศึกษา  ซึ่งคือเป้าหมายสำคัญของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพเพราะแม่โจ้  คือ แม่โจ้  ถึงแม้กาลเวลาจะล่วงผ่านมาจนมีอายุก้าวสู่ 90 ปี บรรดาเพื่อนพ้องน้องพี่ ลูกแม่โจ้ ก็ยังคงกอดคอ ประคอง ช่วยเหลือ ผลักดัน รักและผูกพัน ดูแลซึ่งกันและกันตลอดไป ช่วยกันฟูมฟักอินทนิลช่อใหม่ให้เติบใหญ่อย่างมั่นคงมหาวิทยาลัยแม่โจ้ : มหาวิทยาลัยแห่งชีวิต(**ภาพประกอบจากแฟ้มภาพ)
1 มิถุนายน 2566
ม.แม่โจ้ ประกาศยกย่องอาจารย์ดีเด่น ประจำปี 2565 เตรียมมอบรางวัลเข็มเพชรแม่โจ้เชิดชูเกียรติ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ดำเนินการพิจารณาคัดเลือกอาจารย์ดีเด่น ประจำปี 2565 ซึ่งเป็นบุคลากรอันทรงคุณค่าของมหาวิทยาลัย ผู้ปฏิบัติหน้าที่ของตนเป็นอย่างดี มีความสามารถในการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ อุทิศตนให้แก่มหาวิทยาลัยแม่โจ้และสังคมอย่างเต็มกำลังความสามารถ ค้นคว้าวิจัย ถ่ายทอดความรู้แก่นักศึกษาและชุมชนอย่างเต็มที่ พร้อมกับประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นตัวอย่างแก่เพื่อนร่วมงานและนักศึกษา มีความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวมเป็นอย่างดี มหาวิทยาลัยได้ประกาศรายชื่ออาจารย์ดีเด่นของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อเป็นการประกาศเกียรติคุณยกย่อง สร้างขวัญกำลังใจในการทำงาน โดยมีผู้ผ่านการพิจารณาได้รับการคัดเลือกเป็นอาจารย์ดีเด่น ประจำปี 2565 ตามหลักเกณฑ์ที่วางไว้ จำนวน 3 ท่าน ดังนี้1. อาจารย์ดีเด่นด้านการเรียนการสอน ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์พันธ์ศักดิ์ ภักดี สังกัด คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ สิ่งแวดล้อม2. อาจารย์ดีเด่นด้านการวิจัยและนวัตกรรม ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.วีรนันท์ ไชยมณี สังกัด มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ3. อาจารย์ดีเด่นด้านบริการวิชาการ ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.นัฐพร ไชยญาติ สังกัด วิทยาลัยพลังงานทดแทนทั้งนี้ ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกทั้ง 3 ท่าน จะเข้ารับโล่ประกาศเกียรติคุณและเข็มเพชรแม่โจ้ จาก อธิการบดี ในพิธีไหว้ครูประจำปี 2566 ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมีคณะผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษากว่า ร่วมเชื่นชมยินดี กับการได้รับรางวัลอันทรงคุณค่าในครั้งนี้
27 เมษายน 2566
ม.แม่โจ้ ผนึกกำลังเครือข่ายสื่อสารองค์กรมหาวิทยาลัย จัด KM “Reinventing U. สู่การเป็นมหาวิทยาลัยกลุ่ม 2 และเสริมทักษะเทคนิคพิธีกรดำเนินรายการ”
ฝ่ายสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เตรียมจัดโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เครือข่ายสื่อสารองค์กรมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปี 2566 (KM)  “Reinventing U. สู่การเป็นมหาวิทยาลัยกลุ่ม 2 และการเสริมทักษะเทคนิคพิธีกรดำเนินรายการ ในวันศุกร์ที่ 24 มีนาคม 2566 ณ Co-working Space คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อมการสื่อสารองค์กรและการประชาสัมพันธ์ ถือเป็นกลยุทธ์สำคัญในการผลักดันนโยบายตามแนวยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยให้บรรลุผลสำเร็จได้เป็นอย่างดี และยังเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์และสร้างการรับรู้ให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อก่อให้เกิดความผูกพันต่อองค์กรต่อยอดไปจนถึงการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานตามนโยบายยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยได้ต่อไปการจัดโครงการฯครั้งนี้ จึงเป็นการสร้างการรับรู้ข้อมูลนโยบายยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย Reinventing U. สู่การเป็นมหาวิทยาลัยกลุ่ม 2  ในทิศทางเดียวกัน พร้อมทั้งเป็นการเสริมทักษะเทคนิคพิธีกรดำเนินรายการให้กับคณะกรรมการเครือข่ายสื่อสารองค์ของมหาวิทยาลัยเพื่อขยายผลการสื่อสารในวงกว้างอย่างทั่วถึงต่อไป โดยได้รับเกียรติจาก คุณวรุณสิริ  สุจินดา  หัวหน้างานยุทธศาสตร์และติดตามประเมินผล กองแผนงาน และ คุณจิตร ศรีจันทร์ดร พร้อมทีมงานพิธีกรชายเชียงใหม่ ให้เกียรติมาเป็นวิทยากร ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำงานให้กับผู้เข้าร่วมโครงการฯ ได้ร่วมพูดคุยและฝึกปฏิบัติการเสมือนจริงนอกจากนั้นโครงการในครั้งนี้ยังเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีให้กับคณะกรรมการเครือข่ายสื่อสารองค์กรของมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นตัวแทนจากทุกคณะ/สำนัก ได้ร่วมกันทำงานเพื่อองค์กรได้ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
20 มีนาคม 2566
พิธีพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ครั้งที่ 45 ประจำปีการศึกษา 2564-2565
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีการศึกษา 2564-2565 (ครั้งที่ 45 ) ในวันที่ 17 - 18 กุมภาพันธ์ 2566 โดยมีบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต จำนวน 2,639 ราย พระดุษฎีบัณฑิต จำนวน 1 รูป เข้าร่วมพิธี ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ในการนี้  สภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีมติอนุมัติปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ให้แก่ผู้สร้างคุณประโยชน์ต่อองค์กรและสังคมประเทศชาติมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดี และศิษย์เก่าแม่โจ้ดีเด่น เพื่อเข้ารับพระราชทานโล่ศิษย์เก่าแม่โจ้ดีเด่น ประจำปี 2565  รวมจำนวน 10 ราย  ดังนี้ผู้ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จำนวน 5  ราย  นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ (แม่โจ้รุ่น 51 )อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ดิจิทัลและการสหกรณ์พลตำรวจโท ปิยะ ต๊ะวิชัยผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาบริหารศาสตร์นายรุ่งอรุณ การรัตน์ (แม่โจ้รุ่น 59ประธานกรรมการบริษัท และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร  บริษัท ซิลเวอร์ ฟาร์ม เซ็นเตอร์ จำกัด และ บริษัท โกลเดนท์ ฟาร์ม เซ็นเตอร์ จำกัดปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์  สาขาวิชาสัตวศาสตร์Zhu Guiling (นางจู กุ้ยหลิน) Chairman of Guangxi University of Foreign Languagesปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์  สาขาวิชาบริหารศาสตร์ Chen-Ming Cho (นาง เฉิน-หมิง จั๋ว) ประธานกรรมการ Toucheng Leisure Farmปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวผู้ได้รับโล่ศิษย์เก่าแม่โจ้ดีเด่น ประจำปี 2565 จำนวน  5 ราย   1.  นายสุรเดช ปรีชาหาญ ศิษย์เก่าแม่โจ้รุ่นที่  45 เจ้าของธุรกิจเคมีภัณฑ์ทางการเกษตร / ทำสวนทุเรียนเพื่อการส่งออก   2.  นายเทพนคร เปี่ยมเพ็ชร์ ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่นที่ 47  ที่ปรึกษา สำนักวางแผนผลิตภัณฑ์และโครงการพิเศษ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โปรดิ๊วส จำกัด เครือเจริญโภคภัณฑ์    3. นางณิชสาคร พรมลี  ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่นที่ 54 กรรมการบริหาร บริษัท สยามสตาร์ ซีดส์ จำกัด และบริษัท บ้านนอกคอกนา จำกัด    4. นายสุวัฒน์ มัตราช  ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่นที่ 55ปศุสัตว์จังหวัด อำนวยการระดับสูง (ผู้อำนวยการเฉพาะด้าน (วิชาการสัตวบาล)) สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเลย   5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร.นิโรจน์ สินณรงค์  ศิษย์เก่าแม่โจ้รุ่นที่ 64 ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้สำหรับ บัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต สามารถตรวจสอบรายชื่อและพิมพ์แบบฟอร์มสำหรับยืนยันตัวตน ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2566 ที่เว็บไซต์ http://www.education.mju.ac.th/graduate/ และให้มารายงานตัวด้วยตนเองตามกำหนดการอีกครั้ง  ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.education.mju.ac.th/graduate/    หรือ โทรศัพท์  0 5387 3459 ในวันและเวลาทำการ(ฝ่ายสื่อสารองค์กร ม.แม่โจ้// รายงาน)
30 มกราคม 2566
2 ผลงานวิจัย ม.แม่โจ้ คว้า 3 รางวัลระดับโลก งาน The 16th International Invention and Innovation show (INTARG 2023) ณ สาธารณรัฐโปแลนด์
2 ผลงานวิจัยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับการคัดเลือกจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมระดับนานาชาติ  ในงาน The 16th International Invention and Innovation show (INTARG 2023) ซึ่งจัดโดย  Eurobusiness-Haller ณ  เมืองคาโตไวซ์ สาธารณรัฐโปแลนด์ โดยมีประเทศต่างๆ ในภูมิภาคยุโรปและเอเชีย นำผลงานเข้าร่วมจัดแสดงมากกว่า 30 ประเทศ โดยผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับ 3 รางวัล ได้แก่ รางวัล เหรียญทอง ผลงานวิจัย เรื่อง "เทคโนโลยีเฮอร์เดิลด้วยโอโซนและเคมีเพื่อลดปริมาณไวรัสโคโรน่าปนเปื้อนในทุเรียนส่งออก"  โดย รศ. ดร.จตุรภัทร วาฤทธิ์  ประธานหลักสูตรวิศวกรรมอาหาร  คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ รศ.ดร.จตุรภัทร วาฤทธิ์   กว่าวว่า “เนื่องจากประเทศไทยส่งออกทุเรียนไปต่างประเทศ มากกว่า 5 แสนตัน/ปี ซึ่งเป็นผลไม้หลักในการส่งออก แต่ด้วยสถานการณ์ Covid-19 ประเทศจีนมีนโยบาย Zero-CoVid  ดังนั้นหากมีการตรวจพบการปนเปื้อนเชื้อ Covid-19 ที่ทุเรียน จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกทุเรียนไทยอย่างรุนแรง ทำให้ประเทศอาจสูญเสียรายได้ เกษตรกรได้รับผลกระทบ  ซึ่งเทคโนโลยีเฮอร์เดิลด้วยโอโซนและเคมี  หรือ เทคโนโลยีผสมผสาน โดยการใช้แก๊สโอโซน ร่วมกับสเปรย์โซเดี่ยม ไฮโปครอไรด์  เพื่อลดปริมาณไวรัสโคโรน่าปนเปื้อนในทุเรียนส่งออก เป็นการพัฒนาเทคโนโลยีเฮอร์เดิลระหว่างก๊าซโอโซนและสารเคมี เพื่อลดปริมาณไวรัสโคโรน่าที่ตกค้างปนเปื้อนในผลทุเรียน พบว่าการใช้สเปรย์ NaOCl และตามด้วยการรมก๊าซโอโซนที่ 900 ppm แล้วเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 13 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 12 ชั่วโมง สามารถลดปริมาณไวรัส PEDV ที่ตกค้างให้ต่ำกว่าเกณฑ์วัดขั้นต่ำ cut-off ของชุดทดลองที่ค่า Ct>36=negative ซึ่งถือว่าเป็นการลดปริมาณไวรัสปนเปื้อนได้ 100%   ผลทุเรียนที่ทดสอบมีอัตราสุกตามปกติ  ไม่มีผลกระทบต่อคุณภาพของทุเรียน ผู้บริโภคทุเรียนปลอดภัย สร้างความเชื่อมั่นในการส่งออกผลไม้ไปยังต่างประเทศอีกครั้ง”รางวัล เหรียญทองแดง และ รางวัล certificate of appreciation proudly presentation จาก Research Institute of creative education, Vietnam  ผลงานวิจัย เรื่อง "ต้นแบบการพัฒนาระบบผลิตน้ำเพื่อการเกษตรจากอากาศโดยใช้ความเย็นพื้นดินร่วมกับพลังงานแสงอาทิตย์"  โดย ผศ.ดร.นิกราน หอมดวง คณบดีวิทยาลัยพลังงานทดแทน และ ผศ. ดร.กิตติกร สาสุจิตต์ รองคณบดี วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผศ.ดร.นิกราน หอมดวง  ให้ข้อมูลว่า  “ต้นแบบระบบผลิตน้ำจากอากาศเป็นนวัตกรรมเพื่อสกัดน้ำในชั้นบรรยากาศ ช่วยปัญหาด้านภัยแล้งของเกษตรกร และส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อย รวมไปถึงการพัฒนาต่อยอดในการผลิตน้ำดื่มในพื้นที่โรงเรียนตระเวนชายแดน หรือพื้นที่ชุมชนบนพื้นที่สูง โดยนวัตกรรมดังกล่าวสามารถสกัดน้ำในชั้นบรรยากาศได้ในอัตรา 100-200 ลิตรต่อวัน และใช้พลังงานแสงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานหลักให้กับระบบนวัตกรรมดังกล่าว ทำให้สามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้อีกทางหนึ่ง”ด้าน ผศ. ดร.กิตติกร สาสุจิตต์ กล่าวเพิ่มเติมว่า  “ผลสำเร็จของโครงการได้มีการติตดั้งระบบทดสอบจริงให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านขุนคง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ และในปีถัดไปมีเป้าหมายการติดตั้งระบบให้กับโรงเรียนและชุมชนบนพื้นที่สูงในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อสำหรับการผลิตน้ำดื่มเพื่อการอุปโภคและบริโภค เพื่อให้สามารถลดค่าใช้จ่ายในการซื้อน้ำและน้ำที่ได้จากนวัตกรรมนี้มีผ่านการตรวจค่ามาตรฐานของน้ำดื่ม ก็อยู่ในเกณฑ์ที่บริโภคและอุปโภคได้ ซึ่งงานวิจัยนี้มีประโยชน์ต่อพื้นที่ไม่มีแหล่งน้ำ หรือมีน้ำน้อย ซึ่งพบในหลายพื้นที่ของประเทศไทย”
1 มิถุนายน 2566
ขอเชิญผู้ที่สนใจเข้าประกวดคลิปทำอาหาร "MJU Green & Clean Food" เมนูรักษ์โลก สะอาด ปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดย คณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University) ขอเชิญชวนผู้ที่สนใจส่งผลงานเข้าประกวดคลิปทำอาหาร ภายใต้หัวข้อ “MJU Green & Clean Food” เมนูรักษ์โลก สะอาด ปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ เพื่อส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่ หันมาใส่ใจสุขภาพและสิ่งแวดล้อม โดยนำเสนอเป็นคลิปวิดีโอผ่านการเล่าเรื่อง “อาหาร” มีรายละเอียดการส่งผลงานดังนี้บุคคลทั่วไป ไม่จำกัดเพศ / อายุผู้เข้าประกวดสามารถส่งผลงานได้ 1 ชิ้น ต่อ 1 ผลงงานเท่านั้นความยาวไม่เกิน 3 นาที ไม่จำกัดรูปแบบการถ่ายทำ และเทคนิคการนำเสนอขอบเขตของเนื้อหาในคลิปที่ส่งเข้าประกวดภายใต้ หัวข้อ MJU Green & Clean Food จะต้องมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว และแสดงถึงการสร้างจิตสำนึก การส่งเสริมกิจกรรม ตามเกณฑ์ต่างๆ ของมหาวิทยาลัยสีเขียว (เลือกมาหนึ่งประเด็นหรือมากกว่าได้) โดยหาความรู้เพิ่มเติมที่ https://green.mju.ac.th/ หรือ https://sdg.mju.ac.th/MainPage.aspxผลงานคลิป ต้องไม่ใช้ถ้อยคำที่เป็นการดูถูกดูหมิ่น เสียดสีและก่อให้เกิดความแตกแยกในสังคม รวมถึงต้องไม่กระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศผลงานการประกวดต้องมีความละเอียดไม่ต่ำกว่า HD (1280x720) คลิปผลงานต้องไม่เคยเผยแพร่ หรือส่งประกวดที่อื่นมาก่อนผู้เข้าประกวดต้องรับผิดชอบต่อลิขสิทธิ์ของข้อมูล ได้แก่ เนื้อหา ภาพ เสียง คลิปวิดีโอ ซอฟต์แวร์ หรืออื่นใดที่ใช้ในการผลิตผลงาน โดยต้องไม่ละเมิดกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ และทรัพย์สินทางปัญญา และมีการอ้างอิงถึงแหล่งที่มาอย่างชัดเจน ทางผู้จัดโครงการฯ ไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น ในกรณีที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์ผลงานที่ส่งเข้าประกวดถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ทางช่องทางต่างๆ ได้ตามความเหมาะสมผู้เข้าประกวดต้องส่งผลงานโดยบันทึกเป็น VDO Clip และ Upload ผ่าน youtube.com โดยใส่ชื่อคลิป พร้อมติด #MJUgreenandcleanfood จากนั้นส่ง URL Link พร้อมชื่อ-นามสกุล เบอร์โทรศัพท์ และเขียนอธิบายแนวคิดการนำเสนอมาสั้นๆ ไม่เกิน 5 บรรทัด ส่งมาที่อีเมล prmaejo@gmaejo.mju.ac.thสามารถส่งผลงานได้ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2565ประกาศผลรางวัลภายในวันที่ 15 กันยายน 2565ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุดประเภทรางวัลการประกวดรางวัลชนะเลิศ ได้รับเงินรางวัล จำนวน 10,000 บาทรางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 1 ได้รับเงินรางวัล จำนวน 8,000 บาทรางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 2 ได้รับเงินรางวัล จำนวน 5,000 บาทรางวัล Popular Vote (จากยอด view ใน youtube) ได้รับเงินรางวัล จำนวน 2,000 บาทเกณฑ์การพิจารณาตัดสินผลงานแนวคิดและเนื้อหา                                ความคิดสร้างสรรค์ ความน่าสนใจ และเทคนิคการเล่าเรื่อง            ความถูกต้องของข้อมูล                        
1 กันยายน 2565
ขอเชิญร่วมทำบุญทอดกฐินสามัคคีชาวแม่โจ้ ประจำปี 2562
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับ สมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ จัดทอดกฐินสามัคคี ประจำปีพุทธศักราช 2562ทอดถวาย ณ วัดทิพวนาราม  ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย  จังหวัดเชียงใหม่ ในวันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2562 เพื่อนำจตุปัจจัยสมทบทุนการบูรณะพระธาตุเจดีย์และอุโบสถของวัด ขอเชิญทุกท่านร่วมพิธีถวายองค์กฐินตามกำหนดการดังนี้เวลา 08.30 น ร่วมแต่งดาองค์กฐิน ณ อาคารพุทธมิ่งมงคลเวลา 09.30 นเคลื่อนขบวนกฐินออกเดินทางออกจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ไปวัดทิพวนารามเวลา 1009  นประกอบพิธีถวายองค์กฐิน โดยมีอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในพิธีขอเชิญพุทธศาสนิกชน ชาวแม่โจ้ ศิษย์เก่าและผู้มีจิตศรัทธาทั้งหลายร่วมบริจาคบำเพ็ญกุศลในครั้งนี้ตามศรัทธา โดยสามารถส่งเงินร่วมทำบุญได้ทางธนาณัติ สั่งจ่ายไปรษณีย์แม่โจ้ในนามของ ผู้อำนวยการกองคลัง สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ต.หนองหาร อสันทราย จเชียงใหม่ 50290  หรือสั่งจ่ายเช็คในนาม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตหนองหาร อสันทราย จเชียงใหม่ 50290 หรือ โอนเข้าเลขที่บัญชี 678-006118-7 ธนาคารกรุงเทพ สาขาย่อย มแม่โจ้ ชื่อบัญชีมหาวิทยาลัยแม่โจ้โครงการกฐินสามัคคีสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทร. 0 5387 3300-1 ขออานุภาพแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย และบุญกุศลที่ท่านได้บำเพ็ญในครั้งนี้ ได้โปรดดลบันดาลให้ ท่านพร้อมครอบครัว จงประสบแต่ความสุขความเจริญ และสัมฤทธิ์ผลในสิ่งอันพึงปรารถนาทุกประการ
16 ตุลาคม 2562
ขอเชิญร่วมงาน “วันวิภาต บุญศรี วังซ้าย” ร่วมรำลึกชาตกาล 103 ปี อธิการบดีคนแรก คนต้นแบบลูกแม่โจ้
“งานหนัก ไม่เคยฆ่าคน” อมตะโอวาทที่ลูกแม่โจ้ ได้ยึดถือปฏิบัติ โดยปูชนียบุคคลของชาวแม่โจ้ ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย เป็นผู้ให้ไว้ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี  วังซ้ายอธิการบดีคนแรกของแม่โจ้  เกิดเมื่อวันที่ 12มีนาคม 2459  ที่บ้านสันกลาง  ต.ในเวียง อ.เมืองแพร่ จ.แพร่ เป็นบุตรคนที่ 7 ของ นายบุญมา และ นางบัวเกี๋ยง วังซ้าย มีพี่น้องทั้งหมด 8 คน สมรสกับ นางสมจินต์  ตุงคผลิน มีบุตร ธิดารวม  4 คน เมื่อวัยเยาว์นั้นท่านได้เริ่มเข้าเรียนในชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดหลวง อ.เมือง  จ.แพร่ ส่วนชั้นมัธยมศึกษานั้นเรียนที่โรงเรียนพิริยาลัย จ.แพร่ เนื่องจากครอบครัวท่านเป็นผู้มีฐานะดีประกอบกับท่านเองก็เรียนหนังสือเก่งเป็นทุนอยู่แล้ว เมื่อจบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากจังหวัดแพร่ ท่านจึงเดินทางมาจังหวัดเชียงใหม่ และเข้าเรียนต่อโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2476 ท่านเรียนอยู่ที่โรงเรียนยุพราชวิทยาลัยได้เพียงปีเดียวก็ได้มีการจัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมขึ้นที่แม่โจ้ท่านจึงย้ายมาเรียนที่โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม     แม่โจ้ เป็นรุ่นแรกเมื่อปี 2477 ซึ่งถือเป็นรุ่นบุกเบิกและสร้างแม่โจ้ และจบจากแม่โจ้ เมื่อปี พ.ศ. 2478 ก็ได้เข้าบรรจุทำงานเป็นพนักงานยางที่หาดใหญ่  จ.สงขลา 1 ปีในปีถัดมารัฐบาลได้ประกาศให้มีการสอบชิงทุนหลวงไปศึกษาต่อต่างประเทศ ท่านได้ไปศึกษาในมหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์  เมืองลอสบานโยส  สาขาเศรษฐศาสตร์ จนจบปริญญาตรีเมื่อพ.ศ. 2484 จึงได้กลับมารับราชการเป็นอาจารย์ที่แม่โจ้โดยรับตำแหน่งเป็นอาจารย์ผู้ปกครอง พ.ศ. 2489 ท่านได้ลงสมัครแข่งขันเป็นผู้แทนราษฎร 2 ครั้ง และได้รับการคัดเลือกในครั้งที่ 2 พอถึงปี พ.ศ. 2497หลวงปราโมทย์จรรยาวิภาต ซึ่งดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมอาชีวศึกษาขณะนั้นขอให้ท่านไปช่วยแม่โจ้ ด้วยวิชาความรู้ ความสามารถ อยากให้ไปช่วยปรับปรุงแม่โจ้ ท่านจึงรับแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์ใหญ่ชั้นเอก ของโรงเรียนเกษตรกรรมแม่โจ้ ตั้งแต่ พ.ศ. 2497 และในปี 2499 ท่านได้ปรับเลื่อนตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการวิทยาลัยฯ ชั้นพิเศษ จนกระทั่งได้เป็นอธิการบดีคนแรกของสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ถึง 2 สมัยเป็นระยะเวลา 8 ปี (พ.ศ.2518 – พ.ศ. 2526) ตลอดระยะเวลาท่านได้สร้างคุณประโยชน์นานัปการให้กับสถาบันแห่งนี้จึงทำให้ท่านเป็นที่เคารพยิ่งของชาวแม่โจ้สืบต่อมาจากอดีตจวบจนปัจจุบันศาสตราจารย์ ดร.วิภาตบุญศรีวังซ้ายศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่น 1 (คนต้นแบบลูกแม่โจ้)คือปูชนียบุคคล ของชาวแม่โจ้ เป็นผู้ให้อมตะโอวาท งานหนักไม่เคยฆ่าคน ไว้แก่ลูกแม่โจ้ทุกคน และท่านได้ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2527มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จึงร่วมกับสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้  สร้างอนุสาวรีย์ของท่านณ บริเวณลานหน้าสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และกำหนดให้ทุกวันที่ 30 ตุลาคม ของทุกปีเป็นวันวิภาตบุญศรี วังซ้ายเพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้รำลึกขอเรียนเชิญคณาจารย์นักศึกษา บุคลากร และศิษย์แม่โจ้ทุกรุ่นร่วมรำลึก 103 ปี อธิการบดีคนแรกของแม่โจ้  ในงาน วันวิภาต บุญศรีวังซ้าย วันพุธที่ 30 ตุลาคม 2562 โดยมีกำหนดพิธีวางพวงมาลาสักการะตั้งแต่เวลา 08.00 น.เป็นต้นไป ณ ลานอนุสาวรีย์ ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย หน้าสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้
16 ตุลาคม 2562
ICAPS แม่โจ้ จัดอบรมผู้ตรวจประเมินระบบการผลิต GAP และอินทรีย์ สร้างทีมผู้ตรวจประเมินคุณภาพรองรับระบบการผลิต
สถาบันรับรองระบบการผลิตผลิตภัณฑ์การเกษตร  (ICAPS) มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดหลักสูตรฝึกอบรมผู้ตรวจประเมินระบบการผลิต GAP และอินทรีย์ สำหรับข้าวและพืชอาหาร  ปี 2562 รุ่นที่ 1 (สำหรับผู้เกษียณอายุ)  ระหว่างวันที่ 25 กุมภาพันธ์ – 1 มีนาคม 2562 ณ ห้องแคทรียาควีนสิริกิตติ์ ชั้น 5 ตึกกล้วยไม้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้  อบรมฟรี...รับจำนวนจำกัดเพียง 50 คนเท่านั้นผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรัตน์ นักหล่อ ผู้ช่วยอธิการบดี ในฐานะ รักษาการผู้อำนวยการสถาบันรับรองระบบการผลิตผลิตภัณฑ์การเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า  ICAPS เป็นหน่วยตรวจประเมิน และหน่วยรับรองด้านระบบการผลิตสินค้าเกษตรและอาหาร มีความเป็นอิสระและมีความเป็นกลางในการตรวจประเมินและรับรองตามมาตรฐานสากล ISOIEC 170202012 และ ISOIEC 17065:2012  ภายใต้การรับรองระบบงานของสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ซึ่งให้บริการตรวจประเมินและให้การรับรองแก่ลูกค้าหน่วยงานต่างๆทั้งลูกค้ารายบุคคลและนิติบุคคล ปัจจุบันมีผู้เข้ารับบริการในปริมาณที่มากขึ้น แต่ทางสถาบันฯมีจำนวนบุคลากรอย่างจำกัด จึงได้จัดโครงการฝึกอบรมและพัฒนาผู้ตรวจประเมินระบบการผลิตด้านพืช GAP และพืชอินทรีย์ ขึ้น เพื่อเป็นการรองรับปริมาณงานตรวจประเมินระบบการผลิตพืช GAP และพืชอินทรีย์ในอนาคต และพัฒนาผู้ตรวจประเมินระบบการผลิตฯ  ให้มีความรู้ความเข้าใจ สามารถทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจประเมินระบบการผลิตฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเป็นการเก็บข้อมูลเพื่อนำมาพัฒนาฐานข้อมูลที่ใช้ในตรวจประเมิน/รับรอง ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และสามารถนำไปใช้ในการตรวจประเมินตามคู่มือมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (พืชและข้าว) และคู่มือมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (พืชและข้าว) ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อให้การรองรับแก่เกษตรกรต่อไป”การฝึกอบรมในครั้งนี้ เป็นหลักสูตรที่เปิดให้กับผู้เกษียณอายุที่มีคุณสมบัติในการเป็นผู้ตรวจประเมิน คือ มีอายุ  60 ปี ขึ้นไป มีวุฒิการศึกษาระดับ ปว.ส.ขึ้นไป และมีประสบการณ์ทางด้านการเกษตร  ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะได้เรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ตลอดระยะเวลา 5 วัน โดยทีมวิทยากรมืออาชีพจาก กรมวิชาการเกษตร  กรมการข้าว และจากสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) อบรมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ รับจำนวนจำกัดเพียง 50 คนเท่านั้นท่านที่สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันรับรองระบบการผลิตผลิตภัณฑ์การเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทร. 0 5387 5685-6
25 กุมภาพันธ์ 2562
ขอเชิญส่งแรงใจเชียร์ทีมแม่โจ้ยูไนเต็ด ศึกฟุตบอลไทยลีค 4 ฤดูกาล 2019
สโมสรแม่โจ้ยูไนเต็ด พร้อมลุยศึกฟุตบอลไทยลีค 4 ฤดูกาล 2019 เริ่มเปิดฤดูกาลนัดแรก วันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2562  พบกับทีมนครแม่สอด ยูไนเต็ด  เวลา 16.00 น. ณ สนามกีฬาอินทนิล มหาวิทยาลัยแม่โจ้นายณรงค์  สุวภาพ ประธานสโมสรแม่โจ้ยูไนเต็ด กล่าวว่า “สโมสรแม่โจ้ยูไนเต็ด ได้มีการเปิดตัวมาตั้งแต่ปี 2559  มีสโลแกนทีม “งานหนักไม่เคยฆ่าคนพร้อมทั้งตั้งฉายาทีม “คาวบอยแม่โจ้ โดยมี ดร.อำนวย ยศสุข นายกสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จำเนียร ยศราช อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นคณะที่ปรึกษาสโมสร  โดยสโมสรแม่โจ้ยูไนเต็ดได้เข้าร่วมการแข่งขันรายการต่างๆ เรื่อยมา และล่าสุดได้ แชมป์รายการไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก 2018 โซนภาคเหนือ และในปีนี้ทีมสโมสรแม่โจ้ยูไนเต็ดได้เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลอาชีพ ระดับ T4 ประจำปี 2562 หรือฟุตบอลไทยลีค 4 ที่กำลังจะเริ่มเปิดฤดูกาล 2019 ระหว่างเดือนกุมภาพพันธ์ 2562 ถึง เดือนธันวาคม 2562 จึงขอกำลังใจจากแฟนคลับทุกท่านร่วมชม รวมเชียร์ ทุกนัดที่แม่โจ้ยูไนเต็ดลงสนาม สัญญาว่า พวกเราทุกคนจะทำหน้าที่ให้ดีที่สุดไม่ให้แฟนบอลผิดหวัง”สำหรับการแข่งขันไทยลีค 4 ฤดูกาล 2019 นัดแรก เปิดรังเหย้า The Home of cowboysทีมแม่โจ้ยูไนเต็ด ต้อนรับการมาเยือนของ "ราชันตะวันตก"ทีมนครแม่สอด ยูไนเต็ดในวันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2562  ตั้งแต่เวลา 1600 น. ณ สนามอินทนิล มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ขอเชิญร่วมเป็นกำลังใจเชียร์ทีมแม่โจ้ยูไนเต็ดตลอดฤดูกาลแข่งขัน ไปให้ถึงฝันก้าวสู่ลีคระดับชาติ  ติดตามตารางการแข่งขันได้ทาง httpserpmjuacthopenFileaspx?idMzE3MjAw&methodinline
8 กุมภาพันธ์ 2562
มหกรรมแข่งขันนกเขาชวาเสียง ครั้งที่ 13 ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กำหนดจัดงานมหกรรมแข่งขันนกเขาชวาเสียง ครั้งที่ 13  ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี  ในวันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2562  ตั้งแต่เวลา 06.00 น.  ณ สนามแข่งขัน คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยแม่โจ้อาจารย์ไพโรจน์  ศิลมั่น อาจารย์คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวว่า “การแข่งขันนกเขาชวาเสียงครั้งนี้จัดเป็นครั้งที่ 13 มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่กิจกรรมของมหาวิทยาลัย ร่วมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ส่งเสริมให้มีการเลี้ยงนกเขาชวา เพิ่มมูลค่าทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงใหม่  โดยได้รับการโปรดเกล้าฯ จากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี พระราชทานถ้วยรางวัลแก่นกที่ชนะเลิศในแต่ละประเภท  คือ เสียงเล็ก เสียงกลาง เสียงใหญ่และนกดาวรุ่ง  ซึ่งคาดว่าจะมีผู้ส่งนกเขาชวาเสียงทั้งในและต่างประเทศเข้าร่วมการแข่งขันไม่ต่ำกว่า 200 นก พร้อมกิจกรรมพิเศษนิทรรศการเกี่ยวกับการเลี้ยงนกเขาชวา และภูมิปัญญาการทำกรงนกที่มากคุณค่า”เริ่มเปิดรับลงทะเบียนนกที่ส่งเข้าแข่งขันตั้งแต่เวลา 06.00 น.เป็นต้นไป สำหรับพิธีเปิดการแข่งขันได้รับเกียรติจาก อาจารย์รชฏ  เชื้อวิโรจน์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในพิธี ขอเชิญชาวชวาวงศ์เข้าร่วมการแข่งขันและร่วมชม ได้ ณ สนามแข่งขันคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่  สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  อาจารย์ไพโรจน์  ศิลมั่น  โทรศัพท์08 7179 8146 หรือคณะสัตว-ศาสตร์และเทคโนโลยี 0 5387 5432 ** (ภาพประกอบจากแฟ้มข่าว)
11 กุมภาพันธ์ 2562
2 ผลงานวิจัย ม.แม่โจ้ คว้า 3 รางวัลระดับโลก งาน The 16th International Invention and Innovation show (INTARG 2023) ณ สาธารณรัฐโปแลนด์
2 ผลงานวิจัยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับการคัดเลือกจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมระดับนานาชาติ  ในงาน The 16th International Invention and Innovation show (INTARG 2023) ซึ่งจัดโดย  Eurobusiness-Haller ณ  เมืองคาโตไวซ์ สาธารณรัฐโปแลนด์ โดยมีประเทศต่างๆ ในภูมิภาคยุโรปและเอเชีย นำผลงานเข้าร่วมจัดแสดงมากกว่า 30 ประเทศ โดยผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับ 3 รางวัล ได้แก่ รางวัล เหรียญทอง ผลงานวิจัย เรื่อง "เทคโนโลยีเฮอร์เดิลด้วยโอโซนและเคมีเพื่อลดปริมาณไวรัสโคโรน่าปนเปื้อนในทุเรียนส่งออก"  โดย รศ. ดร.จตุรภัทร วาฤทธิ์  ประธานหลักสูตรวิศวกรรมอาหาร  คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ รศ.ดร.จตุรภัทร วาฤทธิ์   กว่าวว่า “เนื่องจากประเทศไทยส่งออกทุเรียนไปต่างประเทศ มากกว่า 5 แสนตัน/ปี ซึ่งเป็นผลไม้หลักในการส่งออก แต่ด้วยสถานการณ์ Covid-19 ประเทศจีนมีนโยบาย Zero-CoVid  ดังนั้นหากมีการตรวจพบการปนเปื้อนเชื้อ Covid-19 ที่ทุเรียน จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกทุเรียนไทยอย่างรุนแรง ทำให้ประเทศอาจสูญเสียรายได้ เกษตรกรได้รับผลกระทบ  ซึ่งเทคโนโลยีเฮอร์เดิลด้วยโอโซนและเคมี  หรือ เทคโนโลยีผสมผสาน โดยการใช้แก๊สโอโซน ร่วมกับสเปรย์โซเดี่ยม ไฮโปครอไรด์  เพื่อลดปริมาณไวรัสโคโรน่าปนเปื้อนในทุเรียนส่งออก เป็นการพัฒนาเทคโนโลยีเฮอร์เดิลระหว่างก๊าซโอโซนและสารเคมี เพื่อลดปริมาณไวรัสโคโรน่าที่ตกค้างปนเปื้อนในผลทุเรียน พบว่าการใช้สเปรย์ NaOCl และตามด้วยการรมก๊าซโอโซนที่ 900 ppm แล้วเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 13 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 12 ชั่วโมง สามารถลดปริมาณไวรัส PEDV ที่ตกค้างให้ต่ำกว่าเกณฑ์วัดขั้นต่ำ cut-off ของชุดทดลองที่ค่า Ct>36=negative ซึ่งถือว่าเป็นการลดปริมาณไวรัสปนเปื้อนได้ 100%   ผลทุเรียนที่ทดสอบมีอัตราสุกตามปกติ  ไม่มีผลกระทบต่อคุณภาพของทุเรียน ผู้บริโภคทุเรียนปลอดภัย สร้างความเชื่อมั่นในการส่งออกผลไม้ไปยังต่างประเทศอีกครั้ง”รางวัล เหรียญทองแดง และ รางวัล certificate of appreciation proudly presentation จาก Research Institute of creative education, Vietnam  ผลงานวิจัย เรื่อง "ต้นแบบการพัฒนาระบบผลิตน้ำเพื่อการเกษตรจากอากาศโดยใช้ความเย็นพื้นดินร่วมกับพลังงานแสงอาทิตย์"  โดย ผศ.ดร.นิกราน หอมดวง คณบดีวิทยาลัยพลังงานทดแทน และ ผศ. ดร.กิตติกร สาสุจิตต์ รองคณบดี วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผศ.ดร.นิกราน หอมดวง  ให้ข้อมูลว่า  “ต้นแบบระบบผลิตน้ำจากอากาศเป็นนวัตกรรมเพื่อสกัดน้ำในชั้นบรรยากาศ ช่วยปัญหาด้านภัยแล้งของเกษตรกร และส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อย รวมไปถึงการพัฒนาต่อยอดในการผลิตน้ำดื่มในพื้นที่โรงเรียนตระเวนชายแดน หรือพื้นที่ชุมชนบนพื้นที่สูง โดยนวัตกรรมดังกล่าวสามารถสกัดน้ำในชั้นบรรยากาศได้ในอัตรา 100-200 ลิตรต่อวัน และใช้พลังงานแสงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานหลักให้กับระบบนวัตกรรมดังกล่าว ทำให้สามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้อีกทางหนึ่ง”ด้าน ผศ. ดร.กิตติกร สาสุจิตต์ กล่าวเพิ่มเติมว่า  “ผลสำเร็จของโครงการได้มีการติตดั้งระบบทดสอบจริงให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านขุนคง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ และในปีถัดไปมีเป้าหมายการติดตั้งระบบให้กับโรงเรียนและชุมชนบนพื้นที่สูงในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อสำหรับการผลิตน้ำดื่มเพื่อการอุปโภคและบริโภค เพื่อให้สามารถลดค่าใช้จ่ายในการซื้อน้ำและน้ำที่ได้จากนวัตกรรมนี้มีผ่านการตรวจค่ามาตรฐานของน้ำดื่ม ก็อยู่ในเกณฑ์ที่บริโภคและอุปโภคได้ ซึ่งงานวิจัยนี้มีประโยชน์ต่อพื้นที่ไม่มีแหล่งน้ำ หรือมีน้ำน้อย ซึ่งพบในหลายพื้นที่ของประเทศไทย”
1 มิถุนายน 2566
ม.แม่โจ้ ชวนรักษ์โลก จัด Big Cleaning Day แยกขยะ ปลูกผัก เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดกิจกรรมรณรงค์วันสิ่งแวดล้อมโลก และ MJU Big cleaning day ของส่วนงาน เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลกแสดงถึงความร่วมมือ สร้างความตระหนักในการรักษาสิ่งแวดล้อม  ให้ทุกคนได้มีส่วนในการร่วมขับเคลื่อน Green Office  และ Green University ในวันศุกร์ที่ 2 มิถุนายน  2564 พร้อมรับของที่ระลึกรักษ์โลก  ณ บริเวณโถงชั้น 1 อาคารสำนักงานมหาวิทยาลัย   เนื่องด้วยวันที่ 5 มิถุนายน ของทุกปีถือว่าเป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก”เพื่อตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัว ทั้งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ที่มีการเกื้อหนุนซึ่งกันละกัน เป็นวงจรและวัฏจักรที่เกี่ยวข้องกันทุกระบบ สร้างเข้าใจถึงผลกระทบจากปัญหาสิ่งแวดล้อม  สำหรับกิจกรรมจัดให้มีการส่งเสริม รณรงค์ลดขยะ ใช้ภาชนะจากใบไม้  กิจกรรมการให้ความรู้การคัดแยกขยะ การจัดการขยะในสำนักงาน กิจกรรม Big cleaning day โดยรอบสำนักงาน  กิจกรรมย่อยกระดาษรีไซเคิลก่อนจำหน่าย และกิจกรรมร่วมใจปิดไฟพร้อมกัน เวลา 11.00 – 13.00 น.(2 ชม.)   นอกจากนั้น ยังจัดให้มีกิจกรรม “ปลูกผักเพราะรักแม่(โจ้)” เพื่อให้บุคลากรมีผักสดปลอดภัยไว้บริโภค ขอเชิญทุกท่านเข้าร่วมกิจกรรม ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม  ในวันศุกร์ที่ 2 มิถุนายน 2566 ตั้งแต่เวลา 0900 น.เป็นต้นไป พร้อมรับของที่ระลึกรักษ์โลก  ณ บริเวณโถงชั้น 1 อาคารสำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม สำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 0 5387 3241
1 มิถุนายน 2566
ม.แม่โจ้ เตรียมรับอินทนิลช่อที่ 88 สู่รั้วอินทนิล บ้านหลังที่สองที่ให้ทั้งวิชาการและวิชาชีวิต
“มหาวิทยาลัยแม่โจ้” สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มีรากฐานทางการเกษตรเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ   มีประวัติศาสตร์ทางการศึกษายาวนาน นับจากปี 2477  ถึงวันนี้มีก้าวสู่ 90 ปี  ได้พัฒนาปรับเปลี่ยนสู่การเป็นมหาวิทยาลัย  กลุ่ม 2  กลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม ที่พร้อมผลิตบัณฑิตสู่ความเป็นผู้อุดมด้วยปัญญา อดทน สู้งาน เป็นผู้มีคุณธรรม และจริยธรรมเพื่อความเจริญรุ่งเรืองวัฒนาของสังคมไทยที่มีการเกษตรเป็นรากฐาน และอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย คือ “การพัฒนานักศึกษาให้เป็นนักปฏิบัติทันต่อการเปลี่ยนแปลงและเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชา”   นอกจากด้านการผลิตบัณฑิตแล้ว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ยังได้สนับสนุนและส่งเสริมด้านการวิจัยที่ต่อยอดองค์ความรู้จนเกิดเป็นรูปธรรม เป็นที่ยอมรับในเวทีระดับชาติและนานาชาติ สามารถนำไปช่วยเหลือ พัฒนาสังคมได้อย่างแท้จริง จนได้รับความไว้วางใจจากผู้ปกครองให้บุตรหลานเลือกเข้ามาศึกษาต่อ ณ สถาบันการศึกษาแห่งนี้ เรียนรู้การใช้ชีวิตในบ้านหลังที่สองที่พร้อมจะให้ทั้งวิชาการและวิชาชีวิตแก่ศิษย์แม่โจ้ทุกคนปีการศึกษา 2566 นักศึกษาใหม่จากทั่วทุกสารทิศ ทั้งแม่โจ้-แพร่ฯ และแม่โจ้-ชุมพร จำนวนกว่า 5,000 คน   กำลังจะก้าวเข้าสู่รั้วอินทนิล ในฐานะอินทนิลช่อที่ 88 ที่พร้อมจะเบ่งบานและเติบโตอย่างแข็งแกร่ง ซึ่งในปีนี้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้มีการจัดเตรียมกิจกรรมต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวก และเตรียมความพร้อมเสริมสร้างอัตลักษณ์ลูกแม่โจ้ หลากหลายกิจกรรม เริ่มตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2566  มีรายละเอียดดังนี้วันที่ 23-25 มิถุนายน 2566 เวลา 06.00 น. เป็นต้นไป โครงการต้อนรับอินทนิลช่อใหม่สู่บ้านหลังที่ 2 ได้จัดเตรียมรถคอยรับ-ส่ง อำนวยความ สะดวกให้กับน้อง ๆ และพ่อแม่ผู้ปกครอง  ณ สถานีรถไฟเชียงใหม่ สถานีขนส่งเชียงใหม่(อาเขต) และสนามบิน เดินทางสู่มหาวิทยาลัยแม่โจ้  และให้น้อง ๆ ได้รายงานตัวเข้าหอพักนักศึกษาที่ทางมหาวิทยาลัยจัดเตรียมไว้ให้ต่อไป (ข้อมูลเพิ่มเติมงานหอพัก 0 5387 3085/งานพัฒนานักศึกษาฯ 0 5387 3067-8)เวลา 12.30 – 15.30 น. โครงการผู้บริหารพบผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองได้รู้จักและรับทราบถึงนโยบายของมหาวิทยาลัยและแนวทางการใช้ชีวิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัยตลอดหลักสูตร รวมถึงรายละเอียดเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาแบ่งเบาภาระผู้ปกครอง ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ (ข้อมูลเพิ่มเติม งานทุนการศึกษาฯ  0 5387 3183)เวลา 17.00-22.00 น. กิจกรรมตลาดนัดรวมใจอินทนิล เพื่อจัดจำหน่ายสินค้าราคาประหยัดจากร้านค้านักศึกษา กิจกรรมให้ข้อมูลกิจกรรมนักศึกษา และกิจกรรมบันเทิง ณ ลานกิจกรรมหอพักนักศึกษาวันที่ 24-25 มิถุนายน 2566 เวลา 09.00 น.เป็นต้นไป  นักศึกษาใหม่เข้าร่วมกิจกรรม “เดินฐานตามรอยคุณพระช่วงเกษตรศิลปการ” บิดาการเกษตรแม่โจ้ ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกและก่อตั้งแม่โจ้ จนได้ชื่อว่า “ไม่มีพระช่วงฯ ไม่มีแม่โจ้วันที่ 26 มิถุนายน  2566  เวลา 08.00 - 12.00 น. โครงการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่(ทุกคน ทุกหลักสูตร)           ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ  และในเวลา 13.00 - 16.30 น. ปฐมนิเทศนักศึกษาตามคณะ/วิทยาลัย ที่นักศึกษาสังกัดวันที่ 27 มิถุนายน  2566 เวลา 08.00 – 12.00 น. กิจกรรม “แม่โจ้จิตอาสาพัฒนาชุมชนและกิจกรรม Big cleaning day ” (ภายใน/ภายนอก) เพื่อให้นักศึกษาใหม่ ได้มีส่วนร่วมในการดูแล พัฒนามหาวิทยาลัย  สังคม และชุมชนเวลา 17.00-22.00 น. นักศึกษาใหม่ทุกคน ทุกวิทยาเขต  จะเข้าร่วมงานเลี้ยงขันโตกต้อนรับนักศึกใหม่ อินทนิลช่อที่ 88“สู่รั้วอินทนิล” ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติวันที่ 28 มิถุนายน 2566 เวลา 12.00 – 17.30 น. กิจกรรมอบรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ให้กับนักศึกษาใหม่ เพื่อเรียนรู้ ป้องกัน บรรเทา หากเกิดภัยพิบัติ ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติวันที่ 29 มิถุนายน  2566  เวลา 05.00 – 12.00  น.  นักศึกษาใหม่ร่วมกิจกรรมประเพณีเดินวิ่ง แม่โจ้- สันทราย  เพื่อเข้าคารวะนายอำเภอสันทราย  และหัวหน้าส่วนราชการต่างๆ รวมทั้งฝากเนื้อฝากตัวกับพี่น้องชาวอำเภอสันทราย โดยมีชาวอำเภอสันทรายมาคอยต้อนรับตลอดเส้นทางอย่างอบอุ่นตลอดสองข้างทางวันที่ 30 มิถุนายน  2566 เวลา 09.00 - 20.00 น. นักศึกษาใหม่เข้าร่วมโครงการ เสริมสร้างอัตลักษณ์ลูกแม่โจ้ ได้เรียนรู้ วิถีแม่โจ้ ลูกแม่โจ้: เลิศน้ำใจ วินัยดี เชิดชูประเพณี สามัคคี อาวุโส เรียนรู้บทเพลงประจำสถาบัน  พร้อมการเชื่อมต่อความสัมพันธ์กับศิษย์เก่าแม่โจ้ มีคณาจารย์ ศิษย์เก่า ร่วมต้อนรับ เจิมหน้าผากอย่างอบอุ่น ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ  ทุกกิจกรรมที่ทางมหาวิทยาลัยได้จัดเตรียมไว้ก็เพื่อให้นักศึกษาใหม่ อินทนิลช่อที่ 88 ได้พัฒนาศักยภาพ รู้จักการปรับตัวในการใช้ชีวิตการเป็นนักศึกษาเพื่อทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุดตลอดหลักสูตรจนกว่าจะสำเร็จการศึกษา  ซึ่งคือเป้าหมายสำคัญของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพเพราะแม่โจ้  คือ แม่โจ้  ถึงแม้กาลเวลาจะล่วงผ่านมาจนมีอายุก้าวสู่ 90 ปี บรรดาเพื่อนพ้องน้องพี่ ลูกแม่โจ้ ก็ยังคงกอดคอ ประคอง ช่วยเหลือ ผลักดัน รักและผูกพัน ดูแลซึ่งกันและกันตลอดไป ช่วยกันฟูมฟักอินทนิลช่อใหม่ให้เติบใหญ่อย่างมั่นคงมหาวิทยาลัยแม่โจ้ : มหาวิทยาลัยแห่งชีวิต(**ภาพประกอบจากแฟ้มภาพ)
1 มิถุนายน 2566
ม.แม่โจ้ ประกาศยกย่องอาจารย์ดีเด่น ประจำปี 2565 เตรียมมอบรางวัลเข็มเพชรแม่โจ้เชิดชูเกียรติ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ดำเนินการพิจารณาคัดเลือกอาจารย์ดีเด่น ประจำปี 2565 ซึ่งเป็นบุคลากรอันทรงคุณค่าของมหาวิทยาลัย ผู้ปฏิบัติหน้าที่ของตนเป็นอย่างดี มีความสามารถในการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ อุทิศตนให้แก่มหาวิทยาลัยแม่โจ้และสังคมอย่างเต็มกำลังความสามารถ ค้นคว้าวิจัย ถ่ายทอดความรู้แก่นักศึกษาและชุมชนอย่างเต็มที่ พร้อมกับประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นตัวอย่างแก่เพื่อนร่วมงานและนักศึกษา มีความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวมเป็นอย่างดี มหาวิทยาลัยได้ประกาศรายชื่ออาจารย์ดีเด่นของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อเป็นการประกาศเกียรติคุณยกย่อง สร้างขวัญกำลังใจในการทำงาน โดยมีผู้ผ่านการพิจารณาได้รับการคัดเลือกเป็นอาจารย์ดีเด่น ประจำปี 2565 ตามหลักเกณฑ์ที่วางไว้ จำนวน 3 ท่าน ดังนี้1. อาจารย์ดีเด่นด้านการเรียนการสอน ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์พันธ์ศักดิ์ ภักดี สังกัด คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ สิ่งแวดล้อม2. อาจารย์ดีเด่นด้านการวิจัยและนวัตกรรม ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.วีรนันท์ ไชยมณี สังกัด มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ3. อาจารย์ดีเด่นด้านบริการวิชาการ ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.นัฐพร ไชยญาติ สังกัด วิทยาลัยพลังงานทดแทนทั้งนี้ ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกทั้ง 3 ท่าน จะเข้ารับโล่ประกาศเกียรติคุณและเข็มเพชรแม่โจ้ จาก อธิการบดี ในพิธีไหว้ครูประจำปี 2566 ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมีคณะผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษากว่า ร่วมเชื่นชมยินดี กับการได้รับรางวัลอันทรงคุณค่าในครั้งนี้
27 เมษายน 2566
ม.แม่โจ้ ผนึกกำลังเครือข่ายสื่อสารองค์กรมหาวิทยาลัย จัด KM “Reinventing U. สู่การเป็นมหาวิทยาลัยกลุ่ม 2 และเสริมทักษะเทคนิคพิธีกรดำเนินรายการ”
ฝ่ายสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เตรียมจัดโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เครือข่ายสื่อสารองค์กรมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปี 2566 (KM)  “Reinventing U. สู่การเป็นมหาวิทยาลัยกลุ่ม 2 และการเสริมทักษะเทคนิคพิธีกรดำเนินรายการ ในวันศุกร์ที่ 24 มีนาคม 2566 ณ Co-working Space คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อมการสื่อสารองค์กรและการประชาสัมพันธ์ ถือเป็นกลยุทธ์สำคัญในการผลักดันนโยบายตามแนวยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยให้บรรลุผลสำเร็จได้เป็นอย่างดี และยังเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์และสร้างการรับรู้ให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อก่อให้เกิดความผูกพันต่อองค์กรต่อยอดไปจนถึงการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานตามนโยบายยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยได้ต่อไปการจัดโครงการฯครั้งนี้ จึงเป็นการสร้างการรับรู้ข้อมูลนโยบายยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย Reinventing U. สู่การเป็นมหาวิทยาลัยกลุ่ม 2  ในทิศทางเดียวกัน พร้อมทั้งเป็นการเสริมทักษะเทคนิคพิธีกรดำเนินรายการให้กับคณะกรรมการเครือข่ายสื่อสารองค์ของมหาวิทยาลัยเพื่อขยายผลการสื่อสารในวงกว้างอย่างทั่วถึงต่อไป โดยได้รับเกียรติจาก คุณวรุณสิริ  สุจินดา  หัวหน้างานยุทธศาสตร์และติดตามประเมินผล กองแผนงาน และ คุณจิตร ศรีจันทร์ดร พร้อมทีมงานพิธีกรชายเชียงใหม่ ให้เกียรติมาเป็นวิทยากร ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำงานให้กับผู้เข้าร่วมโครงการฯ ได้ร่วมพูดคุยและฝึกปฏิบัติการเสมือนจริงนอกจากนั้นโครงการในครั้งนี้ยังเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีให้กับคณะกรรมการเครือข่ายสื่อสารองค์กรของมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นตัวแทนจากทุกคณะ/สำนัก ได้ร่วมกันทำงานเพื่อองค์กรได้ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
20 มีนาคม 2566
พิธีพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ครั้งที่ 45 ประจำปีการศึกษา 2564-2565
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีการศึกษา 2564-2565 (ครั้งที่ 45 ) ในวันที่ 17 - 18 กุมภาพันธ์ 2566 โดยมีบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต จำนวน 2,639 ราย พระดุษฎีบัณฑิต จำนวน 1 รูป เข้าร่วมพิธี ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ในการนี้  สภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีมติอนุมัติปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ให้แก่ผู้สร้างคุณประโยชน์ต่อองค์กรและสังคมประเทศชาติมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดี และศิษย์เก่าแม่โจ้ดีเด่น เพื่อเข้ารับพระราชทานโล่ศิษย์เก่าแม่โจ้ดีเด่น ประจำปี 2565  รวมจำนวน 10 ราย  ดังนี้ผู้ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จำนวน 5  ราย  นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ (แม่โจ้รุ่น 51 )อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ดิจิทัลและการสหกรณ์พลตำรวจโท ปิยะ ต๊ะวิชัยผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาบริหารศาสตร์นายรุ่งอรุณ การรัตน์ (แม่โจ้รุ่น 59ประธานกรรมการบริษัท และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร  บริษัท ซิลเวอร์ ฟาร์ม เซ็นเตอร์ จำกัด และ บริษัท โกลเดนท์ ฟาร์ม เซ็นเตอร์ จำกัดปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์  สาขาวิชาสัตวศาสตร์Zhu Guiling (นางจู กุ้ยหลิน) Chairman of Guangxi University of Foreign Languagesปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์  สาขาวิชาบริหารศาสตร์ Chen-Ming Cho (นาง เฉิน-หมิง จั๋ว) ประธานกรรมการ Toucheng Leisure Farmปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวผู้ได้รับโล่ศิษย์เก่าแม่โจ้ดีเด่น ประจำปี 2565 จำนวน  5 ราย   1.  นายสุรเดช ปรีชาหาญ ศิษย์เก่าแม่โจ้รุ่นที่  45 เจ้าของธุรกิจเคมีภัณฑ์ทางการเกษตร / ทำสวนทุเรียนเพื่อการส่งออก   2.  นายเทพนคร เปี่ยมเพ็ชร์ ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่นที่ 47  ที่ปรึกษา สำนักวางแผนผลิตภัณฑ์และโครงการพิเศษ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โปรดิ๊วส จำกัด เครือเจริญโภคภัณฑ์    3. นางณิชสาคร พรมลี  ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่นที่ 54 กรรมการบริหาร บริษัท สยามสตาร์ ซีดส์ จำกัด และบริษัท บ้านนอกคอกนา จำกัด    4. นายสุวัฒน์ มัตราช  ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่นที่ 55ปศุสัตว์จังหวัด อำนวยการระดับสูง (ผู้อำนวยการเฉพาะด้าน (วิชาการสัตวบาล)) สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเลย   5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร.นิโรจน์ สินณรงค์  ศิษย์เก่าแม่โจ้รุ่นที่ 64 ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้สำหรับ บัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต สามารถตรวจสอบรายชื่อและพิมพ์แบบฟอร์มสำหรับยืนยันตัวตน ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2566 ที่เว็บไซต์ http://www.education.mju.ac.th/graduate/ และให้มารายงานตัวด้วยตนเองตามกำหนดการอีกครั้ง  ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.education.mju.ac.th/graduate/    หรือ โทรศัพท์  0 5387 3459 ในวันและเวลาทำการ(ฝ่ายสื่อสารองค์กร ม.แม่โจ้// รายงาน)
30 มกราคม 2566
อธิการบดี ม.แม่โจ้ ได้รับคัดเลือก “นักเรียนเก่าฟิลิปปินส์ดีเด่น ปี 2565” จากสมาคมนักเรียนเก่าฟิลิปปินส์ในพระบรมราชูปถัมภ์
รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับการคัดเลือกให้เข้ารับโล่เกียรติยศนักเรียนเก่าฟิลิปปินส์ดีเด่น ปี 2565 จากสมาคมนักเรียนเก่าฟิลิปปินส์ในพระบรมราชูปถัมภ์รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา ศิษย์เก่าแม่โจ้รุ่นที่ 49 ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้  สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาวิชา Extension Education, College of Public Affairs and Development จาก University of the Philippines Los Baños ประเทศฟิลิปปินส์ ในปี พ.ศ.2543  เคยได้รับรางวัล UPLBAA Presidential Award ในงาน 103rd  UPLB Loyalty Day ประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นรางวัลสูงสุดของรางวัลทั้งหมด (Best of The Best) ในฐานะศิษย์เก่า UPLB จาก University of the Philippines Los Baños Alumni Association  รวมถึงได้รับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่นประจำปี พ.ศ. 2562 (2019 Outstanding UPLB Alumnus Award) และศิษย์เก่าดีเด่นประจำปี 2562 ในด้านการเป็นผู้นำการศึกษา (2019 College Distinguished Alumnus for Educational Leadership Award) ในงานฉลอง 101st UPLB Loyalty Day ณ มหาวิทยาลัยแห่งชาติประเทศฟิลิปปินส์ (University of the Philippines Los Baños)ในปี 2565  รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับการคัดเลือกให้เข้ารับโล่เกียรติยศนักเรียนเก่าฟิลิปปินส์ดีเด่น ปี 2565 จากสมาคมนักเรียนเก่าฟิลิปปินส์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นรางวัลอันทรงคุณค่าในฐานะนักเรียนเก่าฟิลิปปินส์ที่ได้สร้างผลงานอันเป็นคุณูปการแก่วงการศึกษาไทย   ทั้งนี้  จะเดินทางเข้ารับรางวัลดังกล่าว ในงาน Sampaguita Day วันเสาร์ที่ 14 มกราคม 2566 ณ ห้องมัฆวานรังสรรค์ AB สโมสรกองทัพบก ถนนวิภาวดี กรุงเทพมหานคร
15 ธันวาคม 2565