ฝ่ายสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
MJU Corporate Communication Center

ข่าวประชาสัมพันธ์และกิจกรรม

ม.แม่โจ้ คว้ารางวัล "Gold Award" กำเนิดพันธุ์ข้าวหอมแม่โจ้ งาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับรางวัล "Gold Award" จากผลงานวิจัย "กำเนิดพันธุ์ข้าวหอมแม่โจ้" ซึ่งได้ส่งเข้าร่วมประกวดและจัดแสดงในงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566 (Thailand Research Expo 2023)” ภายใต้ แนวคิด งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG ระหว่างวันที่ 7-11 สิงหาคม 2566 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิรด์ กรุงเทพมหานครโอกาสนี้ ช่วงเช้าวันที่ 11 สิงหาคม 2566 ผู้ช่วยศาสตราจารย์พาวิน มะโนชัย รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมนักวิจัย ร่วมเข้าเฝ้ารับเสด็จฯ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และในช่วงบ่ายของวันเดียวกัน รองศาสตราจารย์ ดร. อภินันท์ สุวรรณรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร เป็นตัวแทนมหาวิทยาลัยเข้ารับรางวัล "Golden Award" จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)สำหรับผลงาน "กำเนิดพันธุ์ข้าวหอมแม่โจ้" ผลงานของทีมนักวิจัยหน่วยความเป็นเลิศด้านการปรับปรุงพันธุ์ข้าวมหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำโดย ผศ.ดร.วราภรณ์ แสงทอง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งได้เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2547 ด้วยความมุ่งมั่น ทุ่มเท ของทีมนักวิจัย ในการพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์มาอย่างต่อเนื่อง โดยใช้เทคโนโลยีเครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือกเอาคุณสมบัติเด่นที่ต้องการให้ได้พันธุ์ข้าวหอมคุณภาพเพื่อคนไทย ได้ลงแปลงปลูกกระจายไปทั่วประเทศ และพร้อมที่จะผลิตเมล็ดพันธุ์เพื่อเผยแพร่ออกสู่เกษตรกรต่อไป ซึ่งได้ความสนใจจากคณะกรรมการและผู้ร่วมงานเป็นอย่างมาก ส่งผลให้ ผลงาน "กำเนิดพันธุ์ข้าวหอมแม่โจ้" ได้รับรางวัล Gold Award ในครั้งนี้ สร้างความภาคภูมิใจให้กับทีมงาน และมหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นอย่างมาก??เตรียมพบกับการเปิดตัว "ข้าวพันธุ์ใหม่" ในงานเกษตรแม่โจ้ 90 ปี เกษตร : อาหาร : สุขภาพ ระหว่างวันที่ 16-24 ธันวาคม 2566 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ฝ่ายสื่อสาร ม.แม่โจ้ // รายงาน
15 สิงหาคม 2566
มหาวิทยาลัยแม่โจ้เตรียมจัดพิธีไหว้ครู ประจำปีการศึกษา 2566
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เตรียมจัดพิธีไหว้ครู ประจำปีการศึกษา 2566 ในวันพฤหัสบดีที่ 27 กรกฎาคม  2566   ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้  ตั้งแต่เวลา 08.00 น. เป็นต้นไปครู อาจารย์ เป็นผู้ประสิทธิ์ ประสาทวิชา ความรู้ เป็นปูชนียบุคคลที่เหล่าลูกศิษย์ควรให้ความเคารพ บูชา กตัญญู  กตเวที  พิธีไหว้ครู เป็นพิธีกรรมที่เป็นประเพณีของไทยที่นิยมปฏิบัติมาแต่สมัยโบราณ แสดงถึงความระลึกถึงบุญคุณของครู บูรพาจารย์ การไหว้ครูเป็นการแสดงตนว่าขอเป็นศิษย์ของท่านโดยตรง  ได้แสดงออกถึงความกตัญญู รับฟังโอวาทคำสอนจากอาจารย์“แม่โจ้” ได้มีการจัดพิธีไหว้ครูครั้งแรกเมื่อวันที่  7  มิถุนายน  2477  ซึ่งเป็นวันเปิดเรียนวันแรกของโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมภาคเหนือ(แม่โจ้) ทางโรงเรียนจึงจัดให้มีการไหว้ครูขึ้นที่โรงอาหารของโรงเรียน นักเรียนทุกคนแต่งเครื่องแบบตามระเบียบของโรงเรียนดูสะอาดเรียบร้อยเป็นนักเรียนอย่างเต็มภาคภูมิทางโรงเรียนได้เชิญข้าหลวงประจำจังหวัดและธรรมการจังหวัดมาให้โอวาท มีพระช่วงเกษตรศิลปการ เป็นอาจารย์ใหญ่ อาจารย์สวัสดิ์ วีระเดชะ เป็นอาจารย์ประจำโรงเรียนนายตง วระนันท์นายสนิท ศิริเผ่าและมีนายสีมุ วงศ์จินดารักษ์ เป็นครูรอง   พิธีเปิดเริ่มขึ้นโดยอาจารย์ใหญ่กล่าวชี้แจงการจัดตั้งโรงเรียน กล่าวเชิญผู้มีเกียรติแสดงความคิดเห็นและให้โอวาทแก่นักเรียนทุกคน  แล้วพิธีไหว้ครูก็เริ่มขึ้นโดยหัวหน้านักเรียน (นายบุญนาคมหาเกตุ)เป็นผู้กล่าวนำคำไหว้บูชาครูเมื่อจบแล้วรวบรวมดอกไม้ธูปเทียนของทุกคนใส่ขันโตกแล้วนำไปมอบแก่ท่านอาจารย์ใหญ่และครูอาจารย์ทุกคนพร้อมกันนักเรียนต่างรู้สึกเป็นเกียรติและภาคภูมิใจในเกียรติที่ได้รับในครั้งนี้โดยทั่วกันทุกคนซึ่งเหตุการณ์ครั้งนั้นได้ถูกจารึกเป็นประวัติศาสตร์อันสำคัญของแม่โจ้  ถือเป็นจุดกำเนิดแม่โจ้และพัฒนาเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ในปีนี้มหาวิทยาลัยได้กำหนดจัดพิธีไหว้ครูขึ้นในวันพฤหัสบดีที่    27  กรกรฎาคม  2566 และยังคงมีพิธีระลึกถึงปูชนียบุคคลสำคัญของแม่โจ้  โดยจะมีการวางพานดอกไม้ ธูป เทียน คารวะ อำมาตย์โทพระช่วงเกษตรศิลปการผู้ก่อตั้ง/อาจารย์ใหญ่คนแรก และศาสตราจารย์  ดร.วิภาต  บุญศรี วังซ้ายอธิการบดีคนแรก โดยได้รับเกียรติจาก  รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล  ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้  เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร อาจารย์อาวุโส  คณาจารย์จากทุกคณะ/ทุกวิทยาลัย เข้าร่วมพิธี จากนั้นจะเป็นพิธีมอบโล่เชิดชูเกียรติแก่อาจารย์ดีเด่นและบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการดีเด่นของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นการยกย่องเชิดชูและให้กำลังใจบุคลากร ซึ่งเป็นอีกฟันเฟืองสำคัญที่ร่วมกันขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยให้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง
18 กรกฎาคม 2566
กลับมาอีกครั้ง ประเพณีเดิน – วิ่งการกุศล ที่ไม่เหมือนใคร “ประเพณี เดิน – วิ่งการกุศล แม่โจ้-สันทราย กิจกรรมสร้างสัมพันธ์ชุมชนน้องใหม่แม่โจ้”
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับ  สมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ และองค์กรนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้  จัด โครงการประเพณี เดิน – วิ่ง การกุศล แม่โจ้ สันทราย  ในวันพฤหัสบดีที่ 29 มิถุนายน 2566 เวลา 05.30 น. เป็นต้นไป  ณ จุดปล่อยตัวประตูบางเขน (ข้างปั๊ม ปตท. ถนนสันทรายสายเก่า) มหาวิทยาลัยแม่โจ้  ประเพณี เดิน วิ่ง การกุศล แม่โจ้ สันทราย ได้เริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505 ซึ่งเป็นการสอบรับนักเรียนรุ่น 27 โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต  บุญศรี  วังซ้าย  ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่ (มหาวิทยาลัยแม่โจ้ในปัจจุบัน) เพื่อทดสอบสมรรถภาพความอดทน ของผู้ที่สมัครเข้าเรียนแม่โจ้สมัยนั้น แรกเริ่มเดิมที เป็นการทดสอบ วิ่งทน ของนักเรียนที่จะมาเรียนแม่โจ้ โดยวิ่งจากในเมืองมายังแม่โจ้ ถือเป็นคะแนนพิเศษเพิ่มจากการสอบสัมภาษณ์ เพราะผู้ที่จะทำการเกษตรต้องมีร่างกายแข็งแรงและสมบูรณ์ และเป็นการฝึกความอดทน ตามคติพจน์ของ ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต  บุญศรี  วังซ้าย ที่ว่า “งานหนักไม่เคยฆ่าคน  จนทำให้กิจกรรมการ เดิน วิ่ง การกุศล แม่โจ้ สันทราย  เกิดเป็นประเพณีขึ้นจวบจนปัจจุบัน หากแต่ในปัจจุบันมีวัตถุประสงค์สำคัญอีกประการของกิจกรรมนี้คือให้นักศึกษาใหม่เข้าเยี่ยมคารวะนายอำเภอสันทราย หัวหน้าส่วนราชการในอำเภอสันทราย  ได้แนะนำตัวกับประชาชนชาวอำเภอสันทราย ซึ่งจะมีประชาชนชาวอำเภอสันทราย  ศิษย์เก่าแม่โจ้รุ่นต่างๆ และรุ่นพี่แต่ละคณะ นำอาหาร เครื่องดื่ม ผลไม้ต่าง ๆ มาคอยต้อนรับและให้กำลังใจตลอดเส้นทางประมาณ 10 กิโลเมตร  ตั้งแต่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จนถึง สวนสาธารณเทศบาลตำบลสันทรายหลวง อำเภอสันทราย เป็นบรรยากาศที่อบอุ่น น่ารัก น่าประทับใจในปีการศึกษา 2566 จะมีนักศึกษาใหม่ ทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก (เชียงใหม่, แพร่ฯ,ชุมพร) เข้าร่วมกิจกรรมจำนวนกว่า 6,000  คน  โดยมีการแบ่งประเภทการแข่งขันเป็น  3 ประเภท ได้แก่ ประเภทประชาชนทั่วไป  ประเภทศิษย์เก่าแม่โจ้ และประเภทนักศึกษาใหม่ กิจกรรมเริ่มดังกำหนดการต่อไปนี้    เวลา  05.30 น.  ลงทะเบียนนักกีฬาทุกประเภท ณ  จุดปล่อยตัวประตูบางเขน (ข้างปั๊ม ปตท. ถนนสันทรายสายเก่า)เวลา  05.45 น.  พิธีเปิดการแข่งขันและปล่อยตัวนักกีฬา โดย ดร.อำนวย  ยศสุข  นายกสภามหาวิทยาลัย เวลา  06.00 น.  ปล่อยตัวนักกีฬาเดิน-วิ่ง การกุศลประจำปี 2566เวลา  09.00 น.  พิธีมอบรางวัลผู้ชนะการแข่งขันแต่ละประเภทณ สวนสาธารณะเทศบาลตำบลสันทรายหลวง(ตลอดเส้นทางจะมีประชาชน/ศิษย์เก่าแม่โจ้ นำอาหาร,เครื่องดื่มมาบริการ เป็นระยะ เพื่อคอยต้อนรับและให้กำลังใจ)จากนั้นจะเป็นพิธีการแนะนำหัวหน้าส่วนราชการในอำเภอสันทรายที่มาร่วมต้อนรับนักศึกษาใหม่ โดยได้รับเกียรติจาก นายศิวะ ธมิกานนท์ นายอำเภอสันทราย พร้อมด้วย  พ.ต.อ.สราวุธ  จันมะโน ผู้กำกับสถานีตำรวจภูธรสันทราย และ พ.ต.อ.นฤบาล  จิตทยานนท์  ผู้กำกับสถานีตำรวจภูธรแม่โจ้ มากล่าวต้อนรับ พร้อมให้โอวาทและแนะนำแนวทางการใช้ชีวิตร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข   ขอเชิญนักวิ่ง ศิษย์เก่า และท่านที่สนใจมาร่วมสร้างประวัติศาสตร์การวิ่งการกุศลที่ไม่เหมือนใครอีกครั้ง ร่วมสร้างสัมพันธ์ชุมชนที่มีคนให้กำลังใจนักวิ่งแบบอิ่มเอมตลอดเส้นทาง แล้วพบกันในวันที่ 29 มิถุนายน 2566 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้** สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้  โทร. 0 5335 3140** โปรดหลีกเลี่ยงเส้นทางสัญจรในช่วงวัน และเวลา ดังกล่าว ด้วยความขอบคุณเป็นอย่างสูงมา ณ โอกาสนี้(**ภาพประกอบจากแฟ้มข่าว)
27 มิถุนายน 2566
ม.แม่โจ้จัดปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2566 เตรียมความพร้อม สร้างความเข้าใจให้นักศึกษา
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เตรียมจัดโครงการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2566 ในวันจันทร์ที่ 26 มิถุนายน 2566 ตั้งแต่เวลา 08.00 เป็นต้นไป ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้โครงการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2566  มีนักศึกษาจากทุกวิทยาเขตเข้าร่วมจำนวนกว่า 6,000 คน  ซึ่งงานทุนการศึกษาและให้คำปรึกษา กองพัฒนานักศึกษา จัดขึ้นเพื่อให้นักศึกษาใหม่ได้รู้จักคณะผู้บริหาร คณาจารย์ และรับทราบเกี่ยวกับนโยบายของมหาวิทยาลัย  การพัฒนานักศึกษาในด้านต่างๆ ทั้งด้านวิชาการ กิจกรรมนักศึกษา การให้บริการและสวัสดิการต่างๆ เพื่อสร้างความเข้าใจในการใช้ชีวิตการเป็นนักศึกษา โอกาสนี้ยังได้รับเกียรติจาก จาก รศ.ดร.วีระพล  ทองมา  อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวปฐมโอวาท  แก่นักศึกษา  รศ.ดร.สมชาย  เขียวแดง นายกสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ ร่วมแสดงความยินดีและต้อนรับนักศึกษาใหม่ ในฐานะลูกแม่โจ้รุ่น 88 ,  และยังจัดให้มีการบรรยายพิเศษ  เรื่อง  “การใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยให้มีความสุขและเครือข่ายการพัฒนานักศึกษา” โดย ผศ.ว่าที่ร้อยตรี ดร.นิโรจน์  สินณรงค์ ผู้ช่วยอธิการบดี รวมถึงจะได้รับทราบการแนะนำการใช้ห้องสมุด ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยทีมงานสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้พิเศษไปกว่านั้น น้องๆ นักศึกษาจะได้ทำกิจกรรม #WeAreMaejo โดยฝ่ายสื่อสารองค์กร ซึ่งเป็นกิจกรรมเพื่อสร้างการรับรู้ข่าวสารต่างๆ นักศึกษาได้อัพเดทข้อมูลของมหาวิทยาลัยได้อย่างทันท่วงที พร้อมรับของที่ระลึกมากมาย พร้อมชม Live กิจกรรม #WeAreMaejo ได้ทางเฟสบุ๊คเพจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ https://www.facebook.com/MJUChiangmai/และในช่วงบ่ายของวันเดียวกัน ตั้งแต่เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป  นักศึกษาแต่คณะ/วิทยาลัย จะเข้าร่วมการปฐมนิเทศตามคณะ/วิทยาลัยที่ตนเองสังกัด เพื่อรับฟังโอวาทจากคณบดี และการแนะนำรายละเอียดการเรียนการสอนของหลักสูตรต่างๆ 
23 มิถุนายน 2566
ผู้บริหาร ม.แม่โจ้ เตรียมพบผู้ปกครองนักศึกษาใหม่ ประจำปี 2566
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดโครงการผู้บริหารพบผู้ปกครองนักศึกษาใหม่  ประจำปีการศึกษา 2566  ให้ผู้ปกครองรับทราบแนวคิด นโยบายมหาวิทยลัย สร้างความเข้าใจการใช้ชีวิตของนักศึกษา ระหว่างวันที่ 23 – 25 มิถุนายน  2566  เวลา 12.30 -15.30 น. ณ  ห้องประชุมข้าวหอมมะลิ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่โครงการ ผู้บริหารพบผู้ปกครองนักศึกษาใหม่ จัดขึ้นเพื่อให้ผู้ปกครองได้รับทราบแนวคิดและนโยบายของมหาวิทยาลัยเกี่ยวกับการพัฒนานักศึกษา รับทราบหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเรียนการสอน   การบริการ สวัสดิการ และการใช้ชีวิตของนักศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัย  และรวมถึงรายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ที่จะช่วยแบ่งเบาภาระของผู้ปกครอง ผู้ปกครองจะรู้สึกอบอุ่นใจ  ที่ไว้วางใจส่งบุตรหลานเข้ามาศึกษาต่อมหาวิทยาลัยแม่โจ้  เปรียบเสมือนบ้านหลังที่ 2 ให้บุตรหลานสามารถใช้ชีวิตในการเป็นนักศึกษาได้อย่างมีความสุขและประสบความสำเร็จผู้ปกครองที่เข้าร่วมโครงการจะได้พบปะกับคณะผู้บริหารของมหาวิทยาลัยจากทุกคณะ/วิทยาลัยที่มาร่วมต้อนรับ พร้อมทั้งรับฟังการเสวนา  ในหัวข้อ “ชีวิตนักศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัยแม่โจ้”นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล  ทองมา อธิการบดี, ผู้ช่วยศาสตราจารย์     ว่าที่ร้อยตรี ดร.นิโรจน์  สินณรงค์ ผู้ช่วยอธิการบดี และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สนิท สิทธิ ผู้อำนวยการสำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ ดำเนินรายการโดย ฝ่ายสื่อสารองค์กร สำนักงานมหาวิทยาลัย  จากนั้น จะได้รับฟังรายละเอียด “กองทุน กยศ. : หลักเกณฑ์และวิธีการกู้ยืม และสิ่งที่ผู้ปกครองควรทราบ”  โดย งานทุนการศึกษาและให้คำปรึกษา กองพัฒนานักศึกษา พร้อมทั้งเปิดให้ผู้ปกครองได้ซักถามในทุกๆ เรื่องที่เกี่ยวข้องทั้งนี้  สามารถรับชมการถ่ายทอดสดผ่าน Facebook Live หน้าเพจมหาวิทยาลัยแม่โจ้   https://www.facebook.com/MJUChiangmai  วันที่ 23-25 มิถุนายน  2566  เวลา12.30-15.30 น.สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  งานทุนการศึกษาและให้คำปรึกษา กองพัฒนานักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้  โทร.0 5387 3188-9  ในวันและเวลาทำการ **(ภาพประกอบจากแฟ้มภาพ)
21 มิถุนายน 2566
ม.แม่โจ้ ติดอันดับ 8 ของไทย กลุ่ม 401-600 ของโลก SDG Impact Ranking 2023 รับ 100 คะแนนเต็ม ด้านผลิตบัณฑิตภาคการเกษตรไทย 3 ปีซ้อน
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้รับการจัดอันดับเป็นอันดับที่ 8 ของมหาวิทยาลัยไทยจาก 65 สถาบัน และอยู่ช่วงอันดับที่ 401-600 ของโลกจากมหาวิทยาลัยทั้งหมด 1,591 แห่งทั่วโลก โดยเป็นอันดับ 2 ของประเทศ ใน SDG13 การรับมือจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Action) และ ได้คะแนน 100 เต็ม 3 ปีซ้อน ด้านการผลิตบัณฑิตภาคเกษตรใน SDG2 (ขจัดความหิวโหย) ซึ่ง Times Higher Education (THE) องค์กรจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกได้เผยแพร่ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่มีการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) หรือ THE Impact Rankings 2023 เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา การจัดอันดับอิมแพ็กต์ของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาโดย Times เป็นการจัดอันดับระดับโลกเพียงตารางเดียวที่ประเมินมหาวิทยาลัยโดยเทียบกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ โดยใช้ตัวบ่งชี้ ที่สอบเทียบอย่างระมัดระวังเพื่อให้การเปรียบเทียบที่ครอบคลุมและสมดุลใน 4 ด้านกว้าง ๆ ได้แก่ การวิจัย การดูแล การขยายงาน และการสอน สำหรับในปีนี้มหาวิทยาลัยแม่โจ้ส่งผลการดำเนินงานเพื่อเข้ารับจัดอันดับครบทั้ง 17 เป้าหมายเป็นปีแรก (จากเดิมที่ส่ง 5 เป้าหมาย) ได้รับคะแนนรวมเพิ่มขึ้นจากปี 2022 ร้อยละ 0.3 ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี มีเป้าหมายที่ได้รับการอันดับที่ 101-200 ของโลก ดังนี้ เป้าหมายที่ 6 การจัดการน้ำและสุขาภิบาล (อันดับที่ 6 ของประเทศ) เป้าหมายที่ 7 พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้ (อันดับที่ 8 ของประเทศ) เป้าหมายที่ 13 การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (อันดับที่ 2 ของประเทศ) เป้าหมายที่ 14 การใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล (อันดับที่ 8 ของประเทศ) นอกจากนั้น เป้าหมายที่ได้รับคะแนนสูงสุด 3 อันดับแรกเพื่อเข้ารับการจัดอันดับคือ เป้าหมายที่ 7 เป้าหมายที่ 12 (การผลิตและบริโภคที่รับผิดชอบและยั่งยืน-อันดับที่ 201-300 ของโลก และอันดับที่ 6 ของประเทศ) และเป้าหมายที่ 6 และที่สำคัญยังได้รับคะแนนเต็ม 100 คะแนน ด้านร้อยละของผู้สำเร็จการศึกษาด้านการเกษตร ในเป้าหมายที่ 2 ขจัดความหิวโหย (ได้รับการจัดอันดับเป็นลำดับที่ 201-300 ของโลก และอันดับที่ 9 ของประเทศ) ข้อมูลเพิ่มเติม www.timeshighereducation.com/impactrankingsฝ่ายสื่อสารองค์กร ม.แม่โจ้ // รายงาน
15 มิถุนายน 2566
2 ผลงานวิจัย ม.แม่โจ้ คว้า 3 รางวัลระดับโลก งาน The 16th International Invention and Innovation show (INTARG 2023) ณ สาธารณรัฐโปแลนด์
2 ผลงานวิจัยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับการคัดเลือกจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมระดับนานาชาติ  ในงาน The 16th International Invention and Innovation show (INTARG 2023) ซึ่งจัดโดย  Eurobusiness-Haller ณ  เมืองคาโตไวซ์ สาธารณรัฐโปแลนด์ โดยมีประเทศต่างๆ ในภูมิภาคยุโรปและเอเชีย นำผลงานเข้าร่วมจัดแสดงมากกว่า 30 ประเทศ โดยผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับ 3 รางวัล ได้แก่ รางวัล เหรียญทอง ผลงานวิจัย เรื่อง "เทคโนโลยีเฮอร์เดิลด้วยโอโซนและเคมีเพื่อลดปริมาณไวรัสโคโรน่าปนเปื้อนในทุเรียนส่งออก"  โดย รศ. ดร.จตุรภัทร วาฤทธิ์  ประธานหลักสูตรวิศวกรรมอาหาร  คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ รศ.ดร.จตุรภัทร วาฤทธิ์   กว่าวว่า “เนื่องจากประเทศไทยส่งออกทุเรียนไปต่างประเทศ มากกว่า 5 แสนตัน/ปี ซึ่งเป็นผลไม้หลักในการส่งออก แต่ด้วยสถานการณ์ Covid-19 ประเทศจีนมีนโยบาย Zero-CoVid  ดังนั้นหากมีการตรวจพบการปนเปื้อนเชื้อ Covid-19 ที่ทุเรียน จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกทุเรียนไทยอย่างรุนแรง ทำให้ประเทศอาจสูญเสียรายได้ เกษตรกรได้รับผลกระทบ  ซึ่งเทคโนโลยีเฮอร์เดิลด้วยโอโซนและเคมี  หรือ เทคโนโลยีผสมผสาน โดยการใช้แก๊สโอโซน ร่วมกับสเปรย์โซเดี่ยม ไฮโปครอไรด์  เพื่อลดปริมาณไวรัสโคโรน่าปนเปื้อนในทุเรียนส่งออก เป็นการพัฒนาเทคโนโลยีเฮอร์เดิลระหว่างก๊าซโอโซนและสารเคมี เพื่อลดปริมาณไวรัสโคโรน่าที่ตกค้างปนเปื้อนในผลทุเรียน พบว่าการใช้สเปรย์ NaOCl และตามด้วยการรมก๊าซโอโซนที่ 900 ppm แล้วเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 13 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 12 ชั่วโมง สามารถลดปริมาณไวรัส PEDV ที่ตกค้างให้ต่ำกว่าเกณฑ์วัดขั้นต่ำ cut-off ของชุดทดลองที่ค่า Ct>36=negative ซึ่งถือว่าเป็นการลดปริมาณไวรัสปนเปื้อนได้ 100%   ผลทุเรียนที่ทดสอบมีอัตราสุกตามปกติ  ไม่มีผลกระทบต่อคุณภาพของทุเรียน ผู้บริโภคทุเรียนปลอดภัย สร้างความเชื่อมั่นในการส่งออกผลไม้ไปยังต่างประเทศอีกครั้ง”รางวัล เหรียญทองแดง และ รางวัล certificate of appreciation proudly presentation จาก Research Institute of creative education, Vietnam  ผลงานวิจัย เรื่อง "ต้นแบบการพัฒนาระบบผลิตน้ำเพื่อการเกษตรจากอากาศโดยใช้ความเย็นพื้นดินร่วมกับพลังงานแสงอาทิตย์"  โดย ผศ.ดร.นิกราน หอมดวง คณบดีวิทยาลัยพลังงานทดแทน และ ผศ. ดร.กิตติกร สาสุจิตต์ รองคณบดี วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผศ.ดร.นิกราน หอมดวง  ให้ข้อมูลว่า  “ต้นแบบระบบผลิตน้ำจากอากาศเป็นนวัตกรรมเพื่อสกัดน้ำในชั้นบรรยากาศ ช่วยปัญหาด้านภัยแล้งของเกษตรกร และส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อย รวมไปถึงการพัฒนาต่อยอดในการผลิตน้ำดื่มในพื้นที่โรงเรียนตระเวนชายแดน หรือพื้นที่ชุมชนบนพื้นที่สูง โดยนวัตกรรมดังกล่าวสามารถสกัดน้ำในชั้นบรรยากาศได้ในอัตรา 100-200 ลิตรต่อวัน และใช้พลังงานแสงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานหลักให้กับระบบนวัตกรรมดังกล่าว ทำให้สามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้อีกทางหนึ่ง”ด้าน ผศ. ดร.กิตติกร สาสุจิตต์ กล่าวเพิ่มเติมว่า  “ผลสำเร็จของโครงการได้มีการติตดั้งระบบทดสอบจริงให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านขุนคง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ และในปีถัดไปมีเป้าหมายการติดตั้งระบบให้กับโรงเรียนและชุมชนบนพื้นที่สูงในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อสำหรับการผลิตน้ำดื่มเพื่อการอุปโภคและบริโภค เพื่อให้สามารถลดค่าใช้จ่ายในการซื้อน้ำและน้ำที่ได้จากนวัตกรรมนี้มีผ่านการตรวจค่ามาตรฐานของน้ำดื่ม ก็อยู่ในเกณฑ์ที่บริโภคและอุปโภคได้ ซึ่งงานวิจัยนี้มีประโยชน์ต่อพื้นที่ไม่มีแหล่งน้ำ หรือมีน้ำน้อย ซึ่งพบในหลายพื้นที่ของประเทศไทย”
1 มิถุนายน 2566
มหาวิทยาลัยแม่โจ้เตรียมจัดพิธีไหว้ครู ประจำปีการศึกษา 2566
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เตรียมจัดพิธีไหว้ครู ประจำปีการศึกษา 2566 ในวันพฤหัสบดีที่ 27 กรกฎาคม  2566   ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้  ตั้งแต่เวลา 08.00 น. เป็นต้นไปครู อาจารย์ เป็นผู้ประสิทธิ์ ประสาทวิชา ความรู้ เป็นปูชนียบุคคลที่เหล่าลูกศิษย์ควรให้ความเคารพ บูชา กตัญญู  กตเวที  พิธีไหว้ครู เป็นพิธีกรรมที่เป็นประเพณีของไทยที่นิยมปฏิบัติมาแต่สมัยโบราณ แสดงถึงความระลึกถึงบุญคุณของครู บูรพาจารย์ การไหว้ครูเป็นการแสดงตนว่าขอเป็นศิษย์ของท่านโดยตรง  ได้แสดงออกถึงความกตัญญู รับฟังโอวาทคำสอนจากอาจารย์“แม่โจ้” ได้มีการจัดพิธีไหว้ครูครั้งแรกเมื่อวันที่  7  มิถุนายน  2477  ซึ่งเป็นวันเปิดเรียนวันแรกของโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมภาคเหนือ(แม่โจ้) ทางโรงเรียนจึงจัดให้มีการไหว้ครูขึ้นที่โรงอาหารของโรงเรียน นักเรียนทุกคนแต่งเครื่องแบบตามระเบียบของโรงเรียนดูสะอาดเรียบร้อยเป็นนักเรียนอย่างเต็มภาคภูมิทางโรงเรียนได้เชิญข้าหลวงประจำจังหวัดและธรรมการจังหวัดมาให้โอวาท มีพระช่วงเกษตรศิลปการ เป็นอาจารย์ใหญ่ อาจารย์สวัสดิ์ วีระเดชะ เป็นอาจารย์ประจำโรงเรียนนายตง วระนันท์นายสนิท ศิริเผ่าและมีนายสีมุ วงศ์จินดารักษ์ เป็นครูรอง   พิธีเปิดเริ่มขึ้นโดยอาจารย์ใหญ่กล่าวชี้แจงการจัดตั้งโรงเรียน กล่าวเชิญผู้มีเกียรติแสดงความคิดเห็นและให้โอวาทแก่นักเรียนทุกคน  แล้วพิธีไหว้ครูก็เริ่มขึ้นโดยหัวหน้านักเรียน (นายบุญนาคมหาเกตุ)เป็นผู้กล่าวนำคำไหว้บูชาครูเมื่อจบแล้วรวบรวมดอกไม้ธูปเทียนของทุกคนใส่ขันโตกแล้วนำไปมอบแก่ท่านอาจารย์ใหญ่และครูอาจารย์ทุกคนพร้อมกันนักเรียนต่างรู้สึกเป็นเกียรติและภาคภูมิใจในเกียรติที่ได้รับในครั้งนี้โดยทั่วกันทุกคนซึ่งเหตุการณ์ครั้งนั้นได้ถูกจารึกเป็นประวัติศาสตร์อันสำคัญของแม่โจ้  ถือเป็นจุดกำเนิดแม่โจ้และพัฒนาเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ในปีนี้มหาวิทยาลัยได้กำหนดจัดพิธีไหว้ครูขึ้นในวันพฤหัสบดีที่    27  กรกรฎาคม  2566 และยังคงมีพิธีระลึกถึงปูชนียบุคคลสำคัญของแม่โจ้  โดยจะมีการวางพานดอกไม้ ธูป เทียน คารวะ อำมาตย์โทพระช่วงเกษตรศิลปการผู้ก่อตั้ง/อาจารย์ใหญ่คนแรก และศาสตราจารย์  ดร.วิภาต  บุญศรี วังซ้ายอธิการบดีคนแรก โดยได้รับเกียรติจาก  รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล  ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้  เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร อาจารย์อาวุโส  คณาจารย์จากทุกคณะ/ทุกวิทยาลัย เข้าร่วมพิธี จากนั้นจะเป็นพิธีมอบโล่เชิดชูเกียรติแก่อาจารย์ดีเด่นและบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการดีเด่นของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นการยกย่องเชิดชูและให้กำลังใจบุคลากร ซึ่งเป็นอีกฟันเฟืองสำคัญที่ร่วมกันขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยให้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง
18 กรกฎาคม 2566
2 ผลงานวิจัย ม.แม่โจ้ คว้า 3 รางวัลระดับโลก งาน The 16th International Invention and Innovation show (INTARG 2023) ณ สาธารณรัฐโปแลนด์
2 ผลงานวิจัยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับการคัดเลือกจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมระดับนานาชาติ  ในงาน The 16th International Invention and Innovation show (INTARG 2023) ซึ่งจัดโดย  Eurobusiness-Haller ณ  เมืองคาโตไวซ์ สาธารณรัฐโปแลนด์ โดยมีประเทศต่างๆ ในภูมิภาคยุโรปและเอเชีย นำผลงานเข้าร่วมจัดแสดงมากกว่า 30 ประเทศ โดยผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับ 3 รางวัล ได้แก่ รางวัล เหรียญทอง ผลงานวิจัย เรื่อง "เทคโนโลยีเฮอร์เดิลด้วยโอโซนและเคมีเพื่อลดปริมาณไวรัสโคโรน่าปนเปื้อนในทุเรียนส่งออก"  โดย รศ. ดร.จตุรภัทร วาฤทธิ์  ประธานหลักสูตรวิศวกรรมอาหาร  คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ รศ.ดร.จตุรภัทร วาฤทธิ์   กว่าวว่า “เนื่องจากประเทศไทยส่งออกทุเรียนไปต่างประเทศ มากกว่า 5 แสนตัน/ปี ซึ่งเป็นผลไม้หลักในการส่งออก แต่ด้วยสถานการณ์ Covid-19 ประเทศจีนมีนโยบาย Zero-CoVid  ดังนั้นหากมีการตรวจพบการปนเปื้อนเชื้อ Covid-19 ที่ทุเรียน จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกทุเรียนไทยอย่างรุนแรง ทำให้ประเทศอาจสูญเสียรายได้ เกษตรกรได้รับผลกระทบ  ซึ่งเทคโนโลยีเฮอร์เดิลด้วยโอโซนและเคมี  หรือ เทคโนโลยีผสมผสาน โดยการใช้แก๊สโอโซน ร่วมกับสเปรย์โซเดี่ยม ไฮโปครอไรด์  เพื่อลดปริมาณไวรัสโคโรน่าปนเปื้อนในทุเรียนส่งออก เป็นการพัฒนาเทคโนโลยีเฮอร์เดิลระหว่างก๊าซโอโซนและสารเคมี เพื่อลดปริมาณไวรัสโคโรน่าที่ตกค้างปนเปื้อนในผลทุเรียน พบว่าการใช้สเปรย์ NaOCl และตามด้วยการรมก๊าซโอโซนที่ 900 ppm แล้วเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 13 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 12 ชั่วโมง สามารถลดปริมาณไวรัส PEDV ที่ตกค้างให้ต่ำกว่าเกณฑ์วัดขั้นต่ำ cut-off ของชุดทดลองที่ค่า Ct>36=negative ซึ่งถือว่าเป็นการลดปริมาณไวรัสปนเปื้อนได้ 100%   ผลทุเรียนที่ทดสอบมีอัตราสุกตามปกติ  ไม่มีผลกระทบต่อคุณภาพของทุเรียน ผู้บริโภคทุเรียนปลอดภัย สร้างความเชื่อมั่นในการส่งออกผลไม้ไปยังต่างประเทศอีกครั้ง”รางวัล เหรียญทองแดง และ รางวัล certificate of appreciation proudly presentation จาก Research Institute of creative education, Vietnam  ผลงานวิจัย เรื่อง "ต้นแบบการพัฒนาระบบผลิตน้ำเพื่อการเกษตรจากอากาศโดยใช้ความเย็นพื้นดินร่วมกับพลังงานแสงอาทิตย์"  โดย ผศ.ดร.นิกราน หอมดวง คณบดีวิทยาลัยพลังงานทดแทน และ ผศ. ดร.กิตติกร สาสุจิตต์ รองคณบดี วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผศ.ดร.นิกราน หอมดวง  ให้ข้อมูลว่า  “ต้นแบบระบบผลิตน้ำจากอากาศเป็นนวัตกรรมเพื่อสกัดน้ำในชั้นบรรยากาศ ช่วยปัญหาด้านภัยแล้งของเกษตรกร และส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อย รวมไปถึงการพัฒนาต่อยอดในการผลิตน้ำดื่มในพื้นที่โรงเรียนตระเวนชายแดน หรือพื้นที่ชุมชนบนพื้นที่สูง โดยนวัตกรรมดังกล่าวสามารถสกัดน้ำในชั้นบรรยากาศได้ในอัตรา 100-200 ลิตรต่อวัน และใช้พลังงานแสงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานหลักให้กับระบบนวัตกรรมดังกล่าว ทำให้สามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้อีกทางหนึ่ง”ด้าน ผศ. ดร.กิตติกร สาสุจิตต์ กล่าวเพิ่มเติมว่า  “ผลสำเร็จของโครงการได้มีการติตดั้งระบบทดสอบจริงให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านขุนคง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ และในปีถัดไปมีเป้าหมายการติดตั้งระบบให้กับโรงเรียนและชุมชนบนพื้นที่สูงในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อสำหรับการผลิตน้ำดื่มเพื่อการอุปโภคและบริโภค เพื่อให้สามารถลดค่าใช้จ่ายในการซื้อน้ำและน้ำที่ได้จากนวัตกรรมนี้มีผ่านการตรวจค่ามาตรฐานของน้ำดื่ม ก็อยู่ในเกณฑ์ที่บริโภคและอุปโภคได้ ซึ่งงานวิจัยนี้มีประโยชน์ต่อพื้นที่ไม่มีแหล่งน้ำ หรือมีน้ำน้อย ซึ่งพบในหลายพื้นที่ของประเทศไทย”
1 มิถุนายน 2566
ขอเชิญผู้ที่สนใจเข้าประกวดคลิปทำอาหาร "MJU Green & Clean Food" เมนูรักษ์โลก สะอาด ปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดย คณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University) ขอเชิญชวนผู้ที่สนใจส่งผลงานเข้าประกวดคลิปทำอาหาร ภายใต้หัวข้อ “MJU Green & Clean Food” เมนูรักษ์โลก สะอาด ปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ เพื่อส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่ หันมาใส่ใจสุขภาพและสิ่งแวดล้อม โดยนำเสนอเป็นคลิปวิดีโอผ่านการเล่าเรื่อง “อาหาร” มีรายละเอียดการส่งผลงานดังนี้บุคคลทั่วไป ไม่จำกัดเพศ / อายุผู้เข้าประกวดสามารถส่งผลงานได้ 1 ชิ้น ต่อ 1 ผลงงานเท่านั้นความยาวไม่เกิน 3 นาที ไม่จำกัดรูปแบบการถ่ายทำ และเทคนิคการนำเสนอขอบเขตของเนื้อหาในคลิปที่ส่งเข้าประกวดภายใต้ หัวข้อ MJU Green & Clean Food จะต้องมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว และแสดงถึงการสร้างจิตสำนึก การส่งเสริมกิจกรรม ตามเกณฑ์ต่างๆ ของมหาวิทยาลัยสีเขียว (เลือกมาหนึ่งประเด็นหรือมากกว่าได้) โดยหาความรู้เพิ่มเติมที่ https://green.mju.ac.th/ หรือ https://sdg.mju.ac.th/MainPage.aspxผลงานคลิป ต้องไม่ใช้ถ้อยคำที่เป็นการดูถูกดูหมิ่น เสียดสีและก่อให้เกิดความแตกแยกในสังคม รวมถึงต้องไม่กระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศผลงานการประกวดต้องมีความละเอียดไม่ต่ำกว่า HD (1280x720) คลิปผลงานต้องไม่เคยเผยแพร่ หรือส่งประกวดที่อื่นมาก่อนผู้เข้าประกวดต้องรับผิดชอบต่อลิขสิทธิ์ของข้อมูล ได้แก่ เนื้อหา ภาพ เสียง คลิปวิดีโอ ซอฟต์แวร์ หรืออื่นใดที่ใช้ในการผลิตผลงาน โดยต้องไม่ละเมิดกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ และทรัพย์สินทางปัญญา และมีการอ้างอิงถึงแหล่งที่มาอย่างชัดเจน ทางผู้จัดโครงการฯ ไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น ในกรณีที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์ผลงานที่ส่งเข้าประกวดถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ทางช่องทางต่างๆ ได้ตามความเหมาะสมผู้เข้าประกวดต้องส่งผลงานโดยบันทึกเป็น VDO Clip และ Upload ผ่าน youtube.com โดยใส่ชื่อคลิป พร้อมติด #MJUgreenandcleanfood จากนั้นส่ง URL Link พร้อมชื่อ-นามสกุล เบอร์โทรศัพท์ และเขียนอธิบายแนวคิดการนำเสนอมาสั้นๆ ไม่เกิน 5 บรรทัด ส่งมาที่อีเมล prmaejo@gmaejo.mju.ac.thสามารถส่งผลงานได้ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2565ประกาศผลรางวัลภายในวันที่ 15 กันยายน 2565ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุดประเภทรางวัลการประกวดรางวัลชนะเลิศ ได้รับเงินรางวัล จำนวน 10,000 บาทรางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 1 ได้รับเงินรางวัล จำนวน 8,000 บาทรางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 2 ได้รับเงินรางวัล จำนวน 5,000 บาทรางวัล Popular Vote (จากยอด view ใน youtube) ได้รับเงินรางวัล จำนวน 2,000 บาทเกณฑ์การพิจารณาตัดสินผลงานแนวคิดและเนื้อหา                                ความคิดสร้างสรรค์ ความน่าสนใจ และเทคนิคการเล่าเรื่อง            ความถูกต้องของข้อมูล                        
1 กันยายน 2565
ขอเชิญร่วมทำบุญทอดกฐินสามัคคีชาวแม่โจ้ ประจำปี 2562
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับ สมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ จัดทอดกฐินสามัคคี ประจำปีพุทธศักราช 2562ทอดถวาย ณ วัดทิพวนาราม  ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย  จังหวัดเชียงใหม่ ในวันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2562 เพื่อนำจตุปัจจัยสมทบทุนการบูรณะพระธาตุเจดีย์และอุโบสถของวัด ขอเชิญทุกท่านร่วมพิธีถวายองค์กฐินตามกำหนดการดังนี้เวลา 08.30 น ร่วมแต่งดาองค์กฐิน ณ อาคารพุทธมิ่งมงคลเวลา 09.30 นเคลื่อนขบวนกฐินออกเดินทางออกจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ไปวัดทิพวนารามเวลา 1009  นประกอบพิธีถวายองค์กฐิน โดยมีอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในพิธีขอเชิญพุทธศาสนิกชน ชาวแม่โจ้ ศิษย์เก่าและผู้มีจิตศรัทธาทั้งหลายร่วมบริจาคบำเพ็ญกุศลในครั้งนี้ตามศรัทธา โดยสามารถส่งเงินร่วมทำบุญได้ทางธนาณัติ สั่งจ่ายไปรษณีย์แม่โจ้ในนามของ ผู้อำนวยการกองคลัง สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ต.หนองหาร อสันทราย จเชียงใหม่ 50290  หรือสั่งจ่ายเช็คในนาม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตหนองหาร อสันทราย จเชียงใหม่ 50290 หรือ โอนเข้าเลขที่บัญชี 678-006118-7 ธนาคารกรุงเทพ สาขาย่อย มแม่โจ้ ชื่อบัญชีมหาวิทยาลัยแม่โจ้โครงการกฐินสามัคคีสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทร. 0 5387 3300-1 ขออานุภาพแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย และบุญกุศลที่ท่านได้บำเพ็ญในครั้งนี้ ได้โปรดดลบันดาลให้ ท่านพร้อมครอบครัว จงประสบแต่ความสุขความเจริญ และสัมฤทธิ์ผลในสิ่งอันพึงปรารถนาทุกประการ
16 ตุลาคม 2562
ขอเชิญร่วมงาน “วันวิภาต บุญศรี วังซ้าย” ร่วมรำลึกชาตกาล 103 ปี อธิการบดีคนแรก คนต้นแบบลูกแม่โจ้
“งานหนัก ไม่เคยฆ่าคน” อมตะโอวาทที่ลูกแม่โจ้ ได้ยึดถือปฏิบัติ โดยปูชนียบุคคลของชาวแม่โจ้ ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย เป็นผู้ให้ไว้ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี  วังซ้ายอธิการบดีคนแรกของแม่โจ้  เกิดเมื่อวันที่ 12มีนาคม 2459  ที่บ้านสันกลาง  ต.ในเวียง อ.เมืองแพร่ จ.แพร่ เป็นบุตรคนที่ 7 ของ นายบุญมา และ นางบัวเกี๋ยง วังซ้าย มีพี่น้องทั้งหมด 8 คน สมรสกับ นางสมจินต์  ตุงคผลิน มีบุตร ธิดารวม  4 คน เมื่อวัยเยาว์นั้นท่านได้เริ่มเข้าเรียนในชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดหลวง อ.เมือง  จ.แพร่ ส่วนชั้นมัธยมศึกษานั้นเรียนที่โรงเรียนพิริยาลัย จ.แพร่ เนื่องจากครอบครัวท่านเป็นผู้มีฐานะดีประกอบกับท่านเองก็เรียนหนังสือเก่งเป็นทุนอยู่แล้ว เมื่อจบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากจังหวัดแพร่ ท่านจึงเดินทางมาจังหวัดเชียงใหม่ และเข้าเรียนต่อโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2476 ท่านเรียนอยู่ที่โรงเรียนยุพราชวิทยาลัยได้เพียงปีเดียวก็ได้มีการจัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมขึ้นที่แม่โจ้ท่านจึงย้ายมาเรียนที่โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม     แม่โจ้ เป็นรุ่นแรกเมื่อปี 2477 ซึ่งถือเป็นรุ่นบุกเบิกและสร้างแม่โจ้ และจบจากแม่โจ้ เมื่อปี พ.ศ. 2478 ก็ได้เข้าบรรจุทำงานเป็นพนักงานยางที่หาดใหญ่  จ.สงขลา 1 ปีในปีถัดมารัฐบาลได้ประกาศให้มีการสอบชิงทุนหลวงไปศึกษาต่อต่างประเทศ ท่านได้ไปศึกษาในมหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์  เมืองลอสบานโยส  สาขาเศรษฐศาสตร์ จนจบปริญญาตรีเมื่อพ.ศ. 2484 จึงได้กลับมารับราชการเป็นอาจารย์ที่แม่โจ้โดยรับตำแหน่งเป็นอาจารย์ผู้ปกครอง พ.ศ. 2489 ท่านได้ลงสมัครแข่งขันเป็นผู้แทนราษฎร 2 ครั้ง และได้รับการคัดเลือกในครั้งที่ 2 พอถึงปี พ.ศ. 2497หลวงปราโมทย์จรรยาวิภาต ซึ่งดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมอาชีวศึกษาขณะนั้นขอให้ท่านไปช่วยแม่โจ้ ด้วยวิชาความรู้ ความสามารถ อยากให้ไปช่วยปรับปรุงแม่โจ้ ท่านจึงรับแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์ใหญ่ชั้นเอก ของโรงเรียนเกษตรกรรมแม่โจ้ ตั้งแต่ พ.ศ. 2497 และในปี 2499 ท่านได้ปรับเลื่อนตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการวิทยาลัยฯ ชั้นพิเศษ จนกระทั่งได้เป็นอธิการบดีคนแรกของสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ถึง 2 สมัยเป็นระยะเวลา 8 ปี (พ.ศ.2518 – พ.ศ. 2526) ตลอดระยะเวลาท่านได้สร้างคุณประโยชน์นานัปการให้กับสถาบันแห่งนี้จึงทำให้ท่านเป็นที่เคารพยิ่งของชาวแม่โจ้สืบต่อมาจากอดีตจวบจนปัจจุบันศาสตราจารย์ ดร.วิภาตบุญศรีวังซ้ายศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่น 1 (คนต้นแบบลูกแม่โจ้)คือปูชนียบุคคล ของชาวแม่โจ้ เป็นผู้ให้อมตะโอวาท งานหนักไม่เคยฆ่าคน ไว้แก่ลูกแม่โจ้ทุกคน และท่านได้ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2527มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จึงร่วมกับสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้  สร้างอนุสาวรีย์ของท่านณ บริเวณลานหน้าสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และกำหนดให้ทุกวันที่ 30 ตุลาคม ของทุกปีเป็นวันวิภาตบุญศรี วังซ้ายเพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้รำลึกขอเรียนเชิญคณาจารย์นักศึกษา บุคลากร และศิษย์แม่โจ้ทุกรุ่นร่วมรำลึก 103 ปี อธิการบดีคนแรกของแม่โจ้  ในงาน วันวิภาต บุญศรีวังซ้าย วันพุธที่ 30 ตุลาคม 2562 โดยมีกำหนดพิธีวางพวงมาลาสักการะตั้งแต่เวลา 08.00 น.เป็นต้นไป ณ ลานอนุสาวรีย์ ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย หน้าสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้
16 ตุลาคม 2562
ICAPS แม่โจ้ จัดอบรมผู้ตรวจประเมินระบบการผลิต GAP และอินทรีย์ สร้างทีมผู้ตรวจประเมินคุณภาพรองรับระบบการผลิต
สถาบันรับรองระบบการผลิตผลิตภัณฑ์การเกษตร  (ICAPS) มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดหลักสูตรฝึกอบรมผู้ตรวจประเมินระบบการผลิต GAP และอินทรีย์ สำหรับข้าวและพืชอาหาร  ปี 2562 รุ่นที่ 1 (สำหรับผู้เกษียณอายุ)  ระหว่างวันที่ 25 กุมภาพันธ์ – 1 มีนาคม 2562 ณ ห้องแคทรียาควีนสิริกิตติ์ ชั้น 5 ตึกกล้วยไม้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้  อบรมฟรี...รับจำนวนจำกัดเพียง 50 คนเท่านั้นผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรัตน์ นักหล่อ ผู้ช่วยอธิการบดี ในฐานะ รักษาการผู้อำนวยการสถาบันรับรองระบบการผลิตผลิตภัณฑ์การเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า  ICAPS เป็นหน่วยตรวจประเมิน และหน่วยรับรองด้านระบบการผลิตสินค้าเกษตรและอาหาร มีความเป็นอิสระและมีความเป็นกลางในการตรวจประเมินและรับรองตามมาตรฐานสากล ISOIEC 170202012 และ ISOIEC 17065:2012  ภายใต้การรับรองระบบงานของสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ซึ่งให้บริการตรวจประเมินและให้การรับรองแก่ลูกค้าหน่วยงานต่างๆทั้งลูกค้ารายบุคคลและนิติบุคคล ปัจจุบันมีผู้เข้ารับบริการในปริมาณที่มากขึ้น แต่ทางสถาบันฯมีจำนวนบุคลากรอย่างจำกัด จึงได้จัดโครงการฝึกอบรมและพัฒนาผู้ตรวจประเมินระบบการผลิตด้านพืช GAP และพืชอินทรีย์ ขึ้น เพื่อเป็นการรองรับปริมาณงานตรวจประเมินระบบการผลิตพืช GAP และพืชอินทรีย์ในอนาคต และพัฒนาผู้ตรวจประเมินระบบการผลิตฯ  ให้มีความรู้ความเข้าใจ สามารถทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจประเมินระบบการผลิตฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเป็นการเก็บข้อมูลเพื่อนำมาพัฒนาฐานข้อมูลที่ใช้ในตรวจประเมิน/รับรอง ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และสามารถนำไปใช้ในการตรวจประเมินตามคู่มือมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (พืชและข้าว) และคู่มือมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (พืชและข้าว) ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อให้การรองรับแก่เกษตรกรต่อไป”การฝึกอบรมในครั้งนี้ เป็นหลักสูตรที่เปิดให้กับผู้เกษียณอายุที่มีคุณสมบัติในการเป็นผู้ตรวจประเมิน คือ มีอายุ  60 ปี ขึ้นไป มีวุฒิการศึกษาระดับ ปว.ส.ขึ้นไป และมีประสบการณ์ทางด้านการเกษตร  ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะได้เรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ตลอดระยะเวลา 5 วัน โดยทีมวิทยากรมืออาชีพจาก กรมวิชาการเกษตร  กรมการข้าว และจากสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) อบรมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ รับจำนวนจำกัดเพียง 50 คนเท่านั้นท่านที่สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันรับรองระบบการผลิตผลิตภัณฑ์การเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทร. 0 5387 5685-6
25 กุมภาพันธ์ 2562
ขอเชิญส่งแรงใจเชียร์ทีมแม่โจ้ยูไนเต็ด ศึกฟุตบอลไทยลีค 4 ฤดูกาล 2019
สโมสรแม่โจ้ยูไนเต็ด พร้อมลุยศึกฟุตบอลไทยลีค 4 ฤดูกาล 2019 เริ่มเปิดฤดูกาลนัดแรก วันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2562  พบกับทีมนครแม่สอด ยูไนเต็ด  เวลา 16.00 น. ณ สนามกีฬาอินทนิล มหาวิทยาลัยแม่โจ้นายณรงค์  สุวภาพ ประธานสโมสรแม่โจ้ยูไนเต็ด กล่าวว่า “สโมสรแม่โจ้ยูไนเต็ด ได้มีการเปิดตัวมาตั้งแต่ปี 2559  มีสโลแกนทีม “งานหนักไม่เคยฆ่าคนพร้อมทั้งตั้งฉายาทีม “คาวบอยแม่โจ้ โดยมี ดร.อำนวย ยศสุข นายกสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จำเนียร ยศราช อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นคณะที่ปรึกษาสโมสร  โดยสโมสรแม่โจ้ยูไนเต็ดได้เข้าร่วมการแข่งขันรายการต่างๆ เรื่อยมา และล่าสุดได้ แชมป์รายการไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก 2018 โซนภาคเหนือ และในปีนี้ทีมสโมสรแม่โจ้ยูไนเต็ดได้เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลอาชีพ ระดับ T4 ประจำปี 2562 หรือฟุตบอลไทยลีค 4 ที่กำลังจะเริ่มเปิดฤดูกาล 2019 ระหว่างเดือนกุมภาพพันธ์ 2562 ถึง เดือนธันวาคม 2562 จึงขอกำลังใจจากแฟนคลับทุกท่านร่วมชม รวมเชียร์ ทุกนัดที่แม่โจ้ยูไนเต็ดลงสนาม สัญญาว่า พวกเราทุกคนจะทำหน้าที่ให้ดีที่สุดไม่ให้แฟนบอลผิดหวัง”สำหรับการแข่งขันไทยลีค 4 ฤดูกาล 2019 นัดแรก เปิดรังเหย้า The Home of cowboysทีมแม่โจ้ยูไนเต็ด ต้อนรับการมาเยือนของ "ราชันตะวันตก"ทีมนครแม่สอด ยูไนเต็ดในวันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2562  ตั้งแต่เวลา 1600 น. ณ สนามอินทนิล มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ขอเชิญร่วมเป็นกำลังใจเชียร์ทีมแม่โจ้ยูไนเต็ดตลอดฤดูกาลแข่งขัน ไปให้ถึงฝันก้าวสู่ลีคระดับชาติ  ติดตามตารางการแข่งขันได้ทาง httpserpmjuacthopenFileaspx?idMzE3MjAw&methodinline
8 กุมภาพันธ์ 2562
ม.แม่โจ้ คว้ารางวัล "Gold Award" กำเนิดพันธุ์ข้าวหอมแม่โจ้ งาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับรางวัล "Gold Award" จากผลงานวิจัย "กำเนิดพันธุ์ข้าวหอมแม่โจ้" ซึ่งได้ส่งเข้าร่วมประกวดและจัดแสดงในงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566 (Thailand Research Expo 2023)” ภายใต้ แนวคิด งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG ระหว่างวันที่ 7-11 สิงหาคม 2566 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิรด์ กรุงเทพมหานครโอกาสนี้ ช่วงเช้าวันที่ 11 สิงหาคม 2566 ผู้ช่วยศาสตราจารย์พาวิน มะโนชัย รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมนักวิจัย ร่วมเข้าเฝ้ารับเสด็จฯ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และในช่วงบ่ายของวันเดียวกัน รองศาสตราจารย์ ดร. อภินันท์ สุวรรณรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร เป็นตัวแทนมหาวิทยาลัยเข้ารับรางวัล "Golden Award" จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)สำหรับผลงาน "กำเนิดพันธุ์ข้าวหอมแม่โจ้" ผลงานของทีมนักวิจัยหน่วยความเป็นเลิศด้านการปรับปรุงพันธุ์ข้าวมหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำโดย ผศ.ดร.วราภรณ์ แสงทอง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งได้เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2547 ด้วยความมุ่งมั่น ทุ่มเท ของทีมนักวิจัย ในการพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์มาอย่างต่อเนื่อง โดยใช้เทคโนโลยีเครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือกเอาคุณสมบัติเด่นที่ต้องการให้ได้พันธุ์ข้าวหอมคุณภาพเพื่อคนไทย ได้ลงแปลงปลูกกระจายไปทั่วประเทศ และพร้อมที่จะผลิตเมล็ดพันธุ์เพื่อเผยแพร่ออกสู่เกษตรกรต่อไป ซึ่งได้ความสนใจจากคณะกรรมการและผู้ร่วมงานเป็นอย่างมาก ส่งผลให้ ผลงาน "กำเนิดพันธุ์ข้าวหอมแม่โจ้" ได้รับรางวัล Gold Award ในครั้งนี้ สร้างความภาคภูมิใจให้กับทีมงาน และมหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นอย่างมาก??เตรียมพบกับการเปิดตัว "ข้าวพันธุ์ใหม่" ในงานเกษตรแม่โจ้ 90 ปี เกษตร : อาหาร : สุขภาพ ระหว่างวันที่ 16-24 ธันวาคม 2566 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ฝ่ายสื่อสาร ม.แม่โจ้ // รายงาน
15 สิงหาคม 2566
มหาวิทยาลัยแม่โจ้เตรียมจัดพิธีไหว้ครู ประจำปีการศึกษา 2566
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เตรียมจัดพิธีไหว้ครู ประจำปีการศึกษา 2566 ในวันพฤหัสบดีที่ 27 กรกฎาคม  2566   ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้  ตั้งแต่เวลา 08.00 น. เป็นต้นไปครู อาจารย์ เป็นผู้ประสิทธิ์ ประสาทวิชา ความรู้ เป็นปูชนียบุคคลที่เหล่าลูกศิษย์ควรให้ความเคารพ บูชา กตัญญู  กตเวที  พิธีไหว้ครู เป็นพิธีกรรมที่เป็นประเพณีของไทยที่นิยมปฏิบัติมาแต่สมัยโบราณ แสดงถึงความระลึกถึงบุญคุณของครู บูรพาจารย์ การไหว้ครูเป็นการแสดงตนว่าขอเป็นศิษย์ของท่านโดยตรง  ได้แสดงออกถึงความกตัญญู รับฟังโอวาทคำสอนจากอาจารย์“แม่โจ้” ได้มีการจัดพิธีไหว้ครูครั้งแรกเมื่อวันที่  7  มิถุนายน  2477  ซึ่งเป็นวันเปิดเรียนวันแรกของโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมภาคเหนือ(แม่โจ้) ทางโรงเรียนจึงจัดให้มีการไหว้ครูขึ้นที่โรงอาหารของโรงเรียน นักเรียนทุกคนแต่งเครื่องแบบตามระเบียบของโรงเรียนดูสะอาดเรียบร้อยเป็นนักเรียนอย่างเต็มภาคภูมิทางโรงเรียนได้เชิญข้าหลวงประจำจังหวัดและธรรมการจังหวัดมาให้โอวาท มีพระช่วงเกษตรศิลปการ เป็นอาจารย์ใหญ่ อาจารย์สวัสดิ์ วีระเดชะ เป็นอาจารย์ประจำโรงเรียนนายตง วระนันท์นายสนิท ศิริเผ่าและมีนายสีมุ วงศ์จินดารักษ์ เป็นครูรอง   พิธีเปิดเริ่มขึ้นโดยอาจารย์ใหญ่กล่าวชี้แจงการจัดตั้งโรงเรียน กล่าวเชิญผู้มีเกียรติแสดงความคิดเห็นและให้โอวาทแก่นักเรียนทุกคน  แล้วพิธีไหว้ครูก็เริ่มขึ้นโดยหัวหน้านักเรียน (นายบุญนาคมหาเกตุ)เป็นผู้กล่าวนำคำไหว้บูชาครูเมื่อจบแล้วรวบรวมดอกไม้ธูปเทียนของทุกคนใส่ขันโตกแล้วนำไปมอบแก่ท่านอาจารย์ใหญ่และครูอาจารย์ทุกคนพร้อมกันนักเรียนต่างรู้สึกเป็นเกียรติและภาคภูมิใจในเกียรติที่ได้รับในครั้งนี้โดยทั่วกันทุกคนซึ่งเหตุการณ์ครั้งนั้นได้ถูกจารึกเป็นประวัติศาสตร์อันสำคัญของแม่โจ้  ถือเป็นจุดกำเนิดแม่โจ้และพัฒนาเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ในปีนี้มหาวิทยาลัยได้กำหนดจัดพิธีไหว้ครูขึ้นในวันพฤหัสบดีที่    27  กรกรฎาคม  2566 และยังคงมีพิธีระลึกถึงปูชนียบุคคลสำคัญของแม่โจ้  โดยจะมีการวางพานดอกไม้ ธูป เทียน คารวะ อำมาตย์โทพระช่วงเกษตรศิลปการผู้ก่อตั้ง/อาจารย์ใหญ่คนแรก และศาสตราจารย์  ดร.วิภาต  บุญศรี วังซ้ายอธิการบดีคนแรก โดยได้รับเกียรติจาก  รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล  ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้  เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร อาจารย์อาวุโส  คณาจารย์จากทุกคณะ/ทุกวิทยาลัย เข้าร่วมพิธี จากนั้นจะเป็นพิธีมอบโล่เชิดชูเกียรติแก่อาจารย์ดีเด่นและบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการดีเด่นของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นการยกย่องเชิดชูและให้กำลังใจบุคลากร ซึ่งเป็นอีกฟันเฟืองสำคัญที่ร่วมกันขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยให้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง
18 กรกฎาคม 2566
กลับมาอีกครั้ง ประเพณีเดิน – วิ่งการกุศล ที่ไม่เหมือนใคร “ประเพณี เดิน – วิ่งการกุศล แม่โจ้-สันทราย กิจกรรมสร้างสัมพันธ์ชุมชนน้องใหม่แม่โจ้”
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับ  สมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ และองค์กรนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้  จัด โครงการประเพณี เดิน – วิ่ง การกุศล แม่โจ้ สันทราย  ในวันพฤหัสบดีที่ 29 มิถุนายน 2566 เวลา 05.30 น. เป็นต้นไป  ณ จุดปล่อยตัวประตูบางเขน (ข้างปั๊ม ปตท. ถนนสันทรายสายเก่า) มหาวิทยาลัยแม่โจ้  ประเพณี เดิน วิ่ง การกุศล แม่โจ้ สันทราย ได้เริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505 ซึ่งเป็นการสอบรับนักเรียนรุ่น 27 โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต  บุญศรี  วังซ้าย  ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่ (มหาวิทยาลัยแม่โจ้ในปัจจุบัน) เพื่อทดสอบสมรรถภาพความอดทน ของผู้ที่สมัครเข้าเรียนแม่โจ้สมัยนั้น แรกเริ่มเดิมที เป็นการทดสอบ วิ่งทน ของนักเรียนที่จะมาเรียนแม่โจ้ โดยวิ่งจากในเมืองมายังแม่โจ้ ถือเป็นคะแนนพิเศษเพิ่มจากการสอบสัมภาษณ์ เพราะผู้ที่จะทำการเกษตรต้องมีร่างกายแข็งแรงและสมบูรณ์ และเป็นการฝึกความอดทน ตามคติพจน์ของ ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต  บุญศรี  วังซ้าย ที่ว่า “งานหนักไม่เคยฆ่าคน  จนทำให้กิจกรรมการ เดิน วิ่ง การกุศล แม่โจ้ สันทราย  เกิดเป็นประเพณีขึ้นจวบจนปัจจุบัน หากแต่ในปัจจุบันมีวัตถุประสงค์สำคัญอีกประการของกิจกรรมนี้คือให้นักศึกษาใหม่เข้าเยี่ยมคารวะนายอำเภอสันทราย หัวหน้าส่วนราชการในอำเภอสันทราย  ได้แนะนำตัวกับประชาชนชาวอำเภอสันทราย ซึ่งจะมีประชาชนชาวอำเภอสันทราย  ศิษย์เก่าแม่โจ้รุ่นต่างๆ และรุ่นพี่แต่ละคณะ นำอาหาร เครื่องดื่ม ผลไม้ต่าง ๆ มาคอยต้อนรับและให้กำลังใจตลอดเส้นทางประมาณ 10 กิโลเมตร  ตั้งแต่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จนถึง สวนสาธารณเทศบาลตำบลสันทรายหลวง อำเภอสันทราย เป็นบรรยากาศที่อบอุ่น น่ารัก น่าประทับใจในปีการศึกษา 2566 จะมีนักศึกษาใหม่ ทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก (เชียงใหม่, แพร่ฯ,ชุมพร) เข้าร่วมกิจกรรมจำนวนกว่า 6,000  คน  โดยมีการแบ่งประเภทการแข่งขันเป็น  3 ประเภท ได้แก่ ประเภทประชาชนทั่วไป  ประเภทศิษย์เก่าแม่โจ้ และประเภทนักศึกษาใหม่ กิจกรรมเริ่มดังกำหนดการต่อไปนี้    เวลา  05.30 น.  ลงทะเบียนนักกีฬาทุกประเภท ณ  จุดปล่อยตัวประตูบางเขน (ข้างปั๊ม ปตท. ถนนสันทรายสายเก่า)เวลา  05.45 น.  พิธีเปิดการแข่งขันและปล่อยตัวนักกีฬา โดย ดร.อำนวย  ยศสุข  นายกสภามหาวิทยาลัย เวลา  06.00 น.  ปล่อยตัวนักกีฬาเดิน-วิ่ง การกุศลประจำปี 2566เวลา  09.00 น.  พิธีมอบรางวัลผู้ชนะการแข่งขันแต่ละประเภทณ สวนสาธารณะเทศบาลตำบลสันทรายหลวง(ตลอดเส้นทางจะมีประชาชน/ศิษย์เก่าแม่โจ้ นำอาหาร,เครื่องดื่มมาบริการ เป็นระยะ เพื่อคอยต้อนรับและให้กำลังใจ)จากนั้นจะเป็นพิธีการแนะนำหัวหน้าส่วนราชการในอำเภอสันทรายที่มาร่วมต้อนรับนักศึกษาใหม่ โดยได้รับเกียรติจาก นายศิวะ ธมิกานนท์ นายอำเภอสันทราย พร้อมด้วย  พ.ต.อ.สราวุธ  จันมะโน ผู้กำกับสถานีตำรวจภูธรสันทราย และ พ.ต.อ.นฤบาล  จิตทยานนท์  ผู้กำกับสถานีตำรวจภูธรแม่โจ้ มากล่าวต้อนรับ พร้อมให้โอวาทและแนะนำแนวทางการใช้ชีวิตร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข   ขอเชิญนักวิ่ง ศิษย์เก่า และท่านที่สนใจมาร่วมสร้างประวัติศาสตร์การวิ่งการกุศลที่ไม่เหมือนใครอีกครั้ง ร่วมสร้างสัมพันธ์ชุมชนที่มีคนให้กำลังใจนักวิ่งแบบอิ่มเอมตลอดเส้นทาง แล้วพบกันในวันที่ 29 มิถุนายน 2566 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้** สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้  โทร. 0 5335 3140** โปรดหลีกเลี่ยงเส้นทางสัญจรในช่วงวัน และเวลา ดังกล่าว ด้วยความขอบคุณเป็นอย่างสูงมา ณ โอกาสนี้(**ภาพประกอบจากแฟ้มข่าว)
27 มิถุนายน 2566
ม.แม่โจ้จัดปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2566 เตรียมความพร้อม สร้างความเข้าใจให้นักศึกษา
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เตรียมจัดโครงการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2566 ในวันจันทร์ที่ 26 มิถุนายน 2566 ตั้งแต่เวลา 08.00 เป็นต้นไป ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้โครงการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2566  มีนักศึกษาจากทุกวิทยาเขตเข้าร่วมจำนวนกว่า 6,000 คน  ซึ่งงานทุนการศึกษาและให้คำปรึกษา กองพัฒนานักศึกษา จัดขึ้นเพื่อให้นักศึกษาใหม่ได้รู้จักคณะผู้บริหาร คณาจารย์ และรับทราบเกี่ยวกับนโยบายของมหาวิทยาลัย  การพัฒนานักศึกษาในด้านต่างๆ ทั้งด้านวิชาการ กิจกรรมนักศึกษา การให้บริการและสวัสดิการต่างๆ เพื่อสร้างความเข้าใจในการใช้ชีวิตการเป็นนักศึกษา โอกาสนี้ยังได้รับเกียรติจาก จาก รศ.ดร.วีระพล  ทองมา  อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวปฐมโอวาท  แก่นักศึกษา  รศ.ดร.สมชาย  เขียวแดง นายกสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ ร่วมแสดงความยินดีและต้อนรับนักศึกษาใหม่ ในฐานะลูกแม่โจ้รุ่น 88 ,  และยังจัดให้มีการบรรยายพิเศษ  เรื่อง  “การใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยให้มีความสุขและเครือข่ายการพัฒนานักศึกษา” โดย ผศ.ว่าที่ร้อยตรี ดร.นิโรจน์  สินณรงค์ ผู้ช่วยอธิการบดี รวมถึงจะได้รับทราบการแนะนำการใช้ห้องสมุด ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยทีมงานสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้พิเศษไปกว่านั้น น้องๆ นักศึกษาจะได้ทำกิจกรรม #WeAreMaejo โดยฝ่ายสื่อสารองค์กร ซึ่งเป็นกิจกรรมเพื่อสร้างการรับรู้ข่าวสารต่างๆ นักศึกษาได้อัพเดทข้อมูลของมหาวิทยาลัยได้อย่างทันท่วงที พร้อมรับของที่ระลึกมากมาย พร้อมชม Live กิจกรรม #WeAreMaejo ได้ทางเฟสบุ๊คเพจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ https://www.facebook.com/MJUChiangmai/และในช่วงบ่ายของวันเดียวกัน ตั้งแต่เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป  นักศึกษาแต่คณะ/วิทยาลัย จะเข้าร่วมการปฐมนิเทศตามคณะ/วิทยาลัยที่ตนเองสังกัด เพื่อรับฟังโอวาทจากคณบดี และการแนะนำรายละเอียดการเรียนการสอนของหลักสูตรต่างๆ 
23 มิถุนายน 2566
ผู้บริหาร ม.แม่โจ้ เตรียมพบผู้ปกครองนักศึกษาใหม่ ประจำปี 2566
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดโครงการผู้บริหารพบผู้ปกครองนักศึกษาใหม่  ประจำปีการศึกษา 2566  ให้ผู้ปกครองรับทราบแนวคิด นโยบายมหาวิทยลัย สร้างความเข้าใจการใช้ชีวิตของนักศึกษา ระหว่างวันที่ 23 – 25 มิถุนายน  2566  เวลา 12.30 -15.30 น. ณ  ห้องประชุมข้าวหอมมะลิ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่โครงการ ผู้บริหารพบผู้ปกครองนักศึกษาใหม่ จัดขึ้นเพื่อให้ผู้ปกครองได้รับทราบแนวคิดและนโยบายของมหาวิทยาลัยเกี่ยวกับการพัฒนานักศึกษา รับทราบหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเรียนการสอน   การบริการ สวัสดิการ และการใช้ชีวิตของนักศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัย  และรวมถึงรายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ที่จะช่วยแบ่งเบาภาระของผู้ปกครอง ผู้ปกครองจะรู้สึกอบอุ่นใจ  ที่ไว้วางใจส่งบุตรหลานเข้ามาศึกษาต่อมหาวิทยาลัยแม่โจ้  เปรียบเสมือนบ้านหลังที่ 2 ให้บุตรหลานสามารถใช้ชีวิตในการเป็นนักศึกษาได้อย่างมีความสุขและประสบความสำเร็จผู้ปกครองที่เข้าร่วมโครงการจะได้พบปะกับคณะผู้บริหารของมหาวิทยาลัยจากทุกคณะ/วิทยาลัยที่มาร่วมต้อนรับ พร้อมทั้งรับฟังการเสวนา  ในหัวข้อ “ชีวิตนักศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัยแม่โจ้”นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล  ทองมา อธิการบดี, ผู้ช่วยศาสตราจารย์     ว่าที่ร้อยตรี ดร.นิโรจน์  สินณรงค์ ผู้ช่วยอธิการบดี และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สนิท สิทธิ ผู้อำนวยการสำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ ดำเนินรายการโดย ฝ่ายสื่อสารองค์กร สำนักงานมหาวิทยาลัย  จากนั้น จะได้รับฟังรายละเอียด “กองทุน กยศ. : หลักเกณฑ์และวิธีการกู้ยืม และสิ่งที่ผู้ปกครองควรทราบ”  โดย งานทุนการศึกษาและให้คำปรึกษา กองพัฒนานักศึกษา พร้อมทั้งเปิดให้ผู้ปกครองได้ซักถามในทุกๆ เรื่องที่เกี่ยวข้องทั้งนี้  สามารถรับชมการถ่ายทอดสดผ่าน Facebook Live หน้าเพจมหาวิทยาลัยแม่โจ้   https://www.facebook.com/MJUChiangmai  วันที่ 23-25 มิถุนายน  2566  เวลา12.30-15.30 น.สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  งานทุนการศึกษาและให้คำปรึกษา กองพัฒนานักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้  โทร.0 5387 3188-9  ในวันและเวลาทำการ **(ภาพประกอบจากแฟ้มภาพ)
21 มิถุนายน 2566
ม.แม่โจ้ ติดอันดับ 8 ของไทย กลุ่ม 401-600 ของโลก SDG Impact Ranking 2023 รับ 100 คะแนนเต็ม ด้านผลิตบัณฑิตภาคการเกษตรไทย 3 ปีซ้อน
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้รับการจัดอันดับเป็นอันดับที่ 8 ของมหาวิทยาลัยไทยจาก 65 สถาบัน และอยู่ช่วงอันดับที่ 401-600 ของโลกจากมหาวิทยาลัยทั้งหมด 1,591 แห่งทั่วโลก โดยเป็นอันดับ 2 ของประเทศ ใน SDG13 การรับมือจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Action) และ ได้คะแนน 100 เต็ม 3 ปีซ้อน ด้านการผลิตบัณฑิตภาคเกษตรใน SDG2 (ขจัดความหิวโหย) ซึ่ง Times Higher Education (THE) องค์กรจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกได้เผยแพร่ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่มีการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) หรือ THE Impact Rankings 2023 เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา การจัดอันดับอิมแพ็กต์ของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาโดย Times เป็นการจัดอันดับระดับโลกเพียงตารางเดียวที่ประเมินมหาวิทยาลัยโดยเทียบกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ โดยใช้ตัวบ่งชี้ ที่สอบเทียบอย่างระมัดระวังเพื่อให้การเปรียบเทียบที่ครอบคลุมและสมดุลใน 4 ด้านกว้าง ๆ ได้แก่ การวิจัย การดูแล การขยายงาน และการสอน สำหรับในปีนี้มหาวิทยาลัยแม่โจ้ส่งผลการดำเนินงานเพื่อเข้ารับจัดอันดับครบทั้ง 17 เป้าหมายเป็นปีแรก (จากเดิมที่ส่ง 5 เป้าหมาย) ได้รับคะแนนรวมเพิ่มขึ้นจากปี 2022 ร้อยละ 0.3 ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี มีเป้าหมายที่ได้รับการอันดับที่ 101-200 ของโลก ดังนี้ เป้าหมายที่ 6 การจัดการน้ำและสุขาภิบาล (อันดับที่ 6 ของประเทศ) เป้าหมายที่ 7 พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้ (อันดับที่ 8 ของประเทศ) เป้าหมายที่ 13 การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (อันดับที่ 2 ของประเทศ) เป้าหมายที่ 14 การใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล (อันดับที่ 8 ของประเทศ) นอกจากนั้น เป้าหมายที่ได้รับคะแนนสูงสุด 3 อันดับแรกเพื่อเข้ารับการจัดอันดับคือ เป้าหมายที่ 7 เป้าหมายที่ 12 (การผลิตและบริโภคที่รับผิดชอบและยั่งยืน-อันดับที่ 201-300 ของโลก และอันดับที่ 6 ของประเทศ) และเป้าหมายที่ 6 และที่สำคัญยังได้รับคะแนนเต็ม 100 คะแนน ด้านร้อยละของผู้สำเร็จการศึกษาด้านการเกษตร ในเป้าหมายที่ 2 ขจัดความหิวโหย (ได้รับการจัดอันดับเป็นลำดับที่ 201-300 ของโลก และอันดับที่ 9 ของประเทศ) ข้อมูลเพิ่มเติม www.timeshighereducation.com/impactrankingsฝ่ายสื่อสารองค์กร ม.แม่โจ้ // รายงาน
15 มิถุนายน 2566
2 ผลงานวิจัย ม.แม่โจ้ คว้า 3 รางวัลระดับโลก งาน The 16th International Invention and Innovation show (INTARG 2023) ณ สาธารณรัฐโปแลนด์
2 ผลงานวิจัยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับการคัดเลือกจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมระดับนานาชาติ  ในงาน The 16th International Invention and Innovation show (INTARG 2023) ซึ่งจัดโดย  Eurobusiness-Haller ณ  เมืองคาโตไวซ์ สาธารณรัฐโปแลนด์ โดยมีประเทศต่างๆ ในภูมิภาคยุโรปและเอเชีย นำผลงานเข้าร่วมจัดแสดงมากกว่า 30 ประเทศ โดยผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับ 3 รางวัล ได้แก่ รางวัล เหรียญทอง ผลงานวิจัย เรื่อง "เทคโนโลยีเฮอร์เดิลด้วยโอโซนและเคมีเพื่อลดปริมาณไวรัสโคโรน่าปนเปื้อนในทุเรียนส่งออก"  โดย รศ. ดร.จตุรภัทร วาฤทธิ์  ประธานหลักสูตรวิศวกรรมอาหาร  คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ รศ.ดร.จตุรภัทร วาฤทธิ์   กว่าวว่า “เนื่องจากประเทศไทยส่งออกทุเรียนไปต่างประเทศ มากกว่า 5 แสนตัน/ปี ซึ่งเป็นผลไม้หลักในการส่งออก แต่ด้วยสถานการณ์ Covid-19 ประเทศจีนมีนโยบาย Zero-CoVid  ดังนั้นหากมีการตรวจพบการปนเปื้อนเชื้อ Covid-19 ที่ทุเรียน จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกทุเรียนไทยอย่างรุนแรง ทำให้ประเทศอาจสูญเสียรายได้ เกษตรกรได้รับผลกระทบ  ซึ่งเทคโนโลยีเฮอร์เดิลด้วยโอโซนและเคมี  หรือ เทคโนโลยีผสมผสาน โดยการใช้แก๊สโอโซน ร่วมกับสเปรย์โซเดี่ยม ไฮโปครอไรด์  เพื่อลดปริมาณไวรัสโคโรน่าปนเปื้อนในทุเรียนส่งออก เป็นการพัฒนาเทคโนโลยีเฮอร์เดิลระหว่างก๊าซโอโซนและสารเคมี เพื่อลดปริมาณไวรัสโคโรน่าที่ตกค้างปนเปื้อนในผลทุเรียน พบว่าการใช้สเปรย์ NaOCl และตามด้วยการรมก๊าซโอโซนที่ 900 ppm แล้วเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 13 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 12 ชั่วโมง สามารถลดปริมาณไวรัส PEDV ที่ตกค้างให้ต่ำกว่าเกณฑ์วัดขั้นต่ำ cut-off ของชุดทดลองที่ค่า Ct>36=negative ซึ่งถือว่าเป็นการลดปริมาณไวรัสปนเปื้อนได้ 100%   ผลทุเรียนที่ทดสอบมีอัตราสุกตามปกติ  ไม่มีผลกระทบต่อคุณภาพของทุเรียน ผู้บริโภคทุเรียนปลอดภัย สร้างความเชื่อมั่นในการส่งออกผลไม้ไปยังต่างประเทศอีกครั้ง”รางวัล เหรียญทองแดง และ รางวัล certificate of appreciation proudly presentation จาก Research Institute of creative education, Vietnam  ผลงานวิจัย เรื่อง "ต้นแบบการพัฒนาระบบผลิตน้ำเพื่อการเกษตรจากอากาศโดยใช้ความเย็นพื้นดินร่วมกับพลังงานแสงอาทิตย์"  โดย ผศ.ดร.นิกราน หอมดวง คณบดีวิทยาลัยพลังงานทดแทน และ ผศ. ดร.กิตติกร สาสุจิตต์ รองคณบดี วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผศ.ดร.นิกราน หอมดวง  ให้ข้อมูลว่า  “ต้นแบบระบบผลิตน้ำจากอากาศเป็นนวัตกรรมเพื่อสกัดน้ำในชั้นบรรยากาศ ช่วยปัญหาด้านภัยแล้งของเกษตรกร และส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อย รวมไปถึงการพัฒนาต่อยอดในการผลิตน้ำดื่มในพื้นที่โรงเรียนตระเวนชายแดน หรือพื้นที่ชุมชนบนพื้นที่สูง โดยนวัตกรรมดังกล่าวสามารถสกัดน้ำในชั้นบรรยากาศได้ในอัตรา 100-200 ลิตรต่อวัน และใช้พลังงานแสงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานหลักให้กับระบบนวัตกรรมดังกล่าว ทำให้สามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้อีกทางหนึ่ง”ด้าน ผศ. ดร.กิตติกร สาสุจิตต์ กล่าวเพิ่มเติมว่า  “ผลสำเร็จของโครงการได้มีการติตดั้งระบบทดสอบจริงให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านขุนคง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ และในปีถัดไปมีเป้าหมายการติดตั้งระบบให้กับโรงเรียนและชุมชนบนพื้นที่สูงในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อสำหรับการผลิตน้ำดื่มเพื่อการอุปโภคและบริโภค เพื่อให้สามารถลดค่าใช้จ่ายในการซื้อน้ำและน้ำที่ได้จากนวัตกรรมนี้มีผ่านการตรวจค่ามาตรฐานของน้ำดื่ม ก็อยู่ในเกณฑ์ที่บริโภคและอุปโภคได้ ซึ่งงานวิจัยนี้มีประโยชน์ต่อพื้นที่ไม่มีแหล่งน้ำ หรือมีน้ำน้อย ซึ่งพบในหลายพื้นที่ของประเทศไทย”
1 มิถุนายน 2566