ฝ่ายสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
MJU Corporate Communication Center

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยคณะเศรษฐศาสตร์ จะจัดให้มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กับ ธนาคาร ยูโอบี จำกัด (มหาชน) ในวันอังคารที่ 2๙ สิงหาคม  2560 เวลา 09.๐๐ น. ณ ห้องประชุมเศรษฐนิทัศน์ (EC 304) ชั้น 3 อาคารยรรยง  สิทธิชัย  คณะเศรษฐศาสตร์  มหาวิทยาลัยแม่โจ้

รองศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ  จรรยาสุภาพ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ กล่าวว่า “เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของทั้งสองหน่วยงานให้สามารถปฏิบัติงานในหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ร่วมกันดำเนินกิจกรรมทางวิชาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการศึกษาให้เกิดขึ้นอย่างยั่งยืน รวมถึงสนับสนุนการพัฒนาวิจัย และการพัฒนาบุคลากรอย่างจริงจัง และให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม ร่วมกันดำเนินกิจกรรมทางวิชาการ ในด้านการเผยแพร่ความรู้ทางการศึกษาเกี่ยวกับการบริหารงานธนาคาร การพัฒนาบุคลากรของธนาคาร พัฒนาศักยภาพของบุคลากรของธนาคารและมหาวิทยาลัย และการส่งเสริมให้บุคลากรของธนาคารและนักศึกษาได้มีโอกาสศึกษาหาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานธนาคาร และเกิดความร่วมมือทางวิชาการในด้านการบริหารงานธนาคารอย่างเป็นระบบระหว่างธนาคารและมหาวิทยาลัย  ดังนั้น  ธนาคาร ยูโอบี จำกัด (มหาชน) และมหาวิทยาลัยแม่โจ้โดยคณะเศรษฐศาสตร์  จึงได้จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ดังกล่าวขึ้น”

การบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการในครั้งนี้ ได้กำหนดขอบเขตในข้อตกลงว่า ธนาคาร และ มหาวิทยาลัย จะสนับสนุน ส่งเสริมให้นักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์และบุคลากรของธนาคาร เข้าร่วมกิจกรรมทางวิชาการ โดยมหาวิทยาลัยจะให้โอกาสทางการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาแก่บุคลากรธนาคาร  ตามเงื่อนไขและดุลพินิจของคณะเศรษฐศาสตร์  ธนาคารจะพิจารณาคัดเลือกนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัย เพื่อทำงานในธนาคาร ภายใต้เงื่อนไขและดุลยพินิจการคัดเลือกของธนาคาร นอกจากนั้น มหาวิทยาลัยโดยคณะเศรษฐศาสตร์ ร่วมกับธนาคาร จัดทำหลักสูตรการศึกษาอบรมร่วมกันเป็นการเฉพาะสำหรับบุคลากรธนาคารในทุกระดับ และ/หรือ ธนาคารจะจัดหาบุคลากรที่มีประสบการณ์เพื่อถ่ายทอดความรู้แก่นักศึกษาทางด้านการบริหารจัดการการเงิน การธนาคาร ตามความเห็นชอบของทั้งสองฝ่าย  และธนาคารยินดีที่จะรับนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์เข้าร่วมกิจกรรมฝึกประสบการณ์ทางวิชาชีพ (สหกิจศึกษา) เพื่อเพิ่มทักษะ และประสบการณ์ทำงานให้กับนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ก่อนสำเร็จการศึกษา ซึ่งบันทึกข้อตกลงความร่วมมือวิชการการฉบับนี้ มีผลบังคับใช้เป็นเวลา 5 ปี นับจากวันลงนามเป็นต้นไป

พิธีบันทึกลงนามความร่วมมือในครั้งนี้  จะมี นางสาวศศิวิมล  อารยวัฒนาพงษ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ทรัพยากรบุคคล ธนาคาร ยูโอบี จำกัด (มหาชน) และ รองศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ  จรรยาสุภาพ คณบดี  คณะเศรษฐศาสตร์  เป็นผู้แทนลงนาม ทั้งสองฝ่าย 

ปรับปรุงข้อมูล : 25/8/2560 15:17:09     ที่มา : ฝ่ายสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 1003

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวกิจกรรม

ข่าวล่าสุด

ศูนย์ Agri Inno ม.แม่โจ้ ร่วมผู้ประกอบการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ คว้า 3 รางวัลนานาชาติ ARCHIMEDES – 2025 กรุงมอสโกว์ ประเทศรัสเซีย
AgriINNOหรือ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัดกรรมทางการเกษตรสำหรับบัณฑิตผู้ประกอบการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมมือผู้ประกอบการทั้ง 3 บริษัท คือ บริษัท ออล อะเบ๊าท์ เอ็กซ์แทรกท์ จำกัด บริษัท เซนทอล จำกัด และ บริษัท เอเวอร์มอร์ จำกัด โดยมี  รศ.ดร.ดวงพร อมรเลิศพิศาล หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศ ฯ เป็นที่ปรึกษาโครงการวิจัย ได้ร่วมกันพัฒนาและส่งผลงานนวัตกรรมจากผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเข้าประกวดในงาน  XXVII Moscow International Salon of Inventions and Innovation Technologies 2025>> ซึ่งมีผลงาน จาก 26 ประเทศ เป็นผลงานของรัสเซีย 340 นวัตกรรม และต่างชาติ 215 นวัตกรรม ส่งผลงานเข้าร่วมประกวด  ณ กรุงมอสโกว์ ประเทศรัสเซีย  โดยทีมมหาวิทยาลัยแม่โจ้ คว้ารางวัลระดับนานาชาติ 3 รางวัล ได้แก่เหรียญทองจากผลงาน  Bioblend+: Probiotics and Prebiotics For Good Gut,  Good Life ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแบรนด์ไบโอเบลนด์พลัส ที่มีส่วนผสมของ โพรไบโอติกส์สายพันธุ์ไทยและพรีไบโอติกส์จากจมูกข้าวและมัลเบอรี่ของไทย เพื่อดูแลลำไส้สู่คุณภาพชีวิตที่ดี ร่วมกับ บริษัท ออล อะเบ๊าท์ เอ็กซ์แทรกท์ จำกัด  เหรียญทองจากผลงาน CANCERA Pro PSK Plus ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีส่วนผสมหลักจากเห็ดทางยา 4 ชนิด ร่วมกับโพรไบโอติกส์สายพันธุ์ไทย แบรนด์ แคนเซอรา โปร พี เอส เค พลัส ร่วมกับ บริษัท เซนทอล จำกัด เหรียญเงินจากผลงาน KenKi Curcumin Gummy ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแบรนด์ เคนกิ เคอร์คูมิน กัมมี่ ที่มีส่วนผสมหลักจากสารสกัดขมิ้นและพริกไทยดำ ร่วมกับ บริษัท เอเวอร์มอร์ จำกัดรศ.ดร.ดวงพร อมรเลิศพิศาล หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศ ฯ กล่าวว่า “ศูนย์ AgriINNO แม่โจ้ เป็น service provider ที่ยกระดับงานวิจัยสู่ระดับ global ตามเป้า มหาวิทยาลัยกลุ่ม 2 แบบชัดเจน Innovation & Entrepreneurs สิ่งที่ศูนย์ AgriINNO ดำเนินการคือการวิจัยในระดับเซลล์เพาะเลี้ยงของมนุษย์เพื่อประเมินฤทธิ์และกลไกการออกฤทธิ์หรือประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ที่ผู้ประกอบการมาขอคำปรึกษา และเรายังได้ร่วมทุนหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ในการทำวิจัยในมนุษย์ เพื่อประเมินผลทางคลินิกต่อไป และการเข้าร่วมประกวดในครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมการประกวดโดยสมาคมส่งเสริมนวัตกรรมและการประดิษฐ์ไทย ATIP Thailand ถือเป็นการทำงานร่วมกันเพื่อการส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมในเชิงพาณิชย์ในอย่างเป็นรูปธรรมและเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ” ฝ่ายสื่อสารองค์กร ม.แม่โจ้ / รายงาน 
8 เมษายน 2568     |      55
ม.แม่โจ้มุ่งสู่สากลติดอันดับโลก World University Rankings - SCImago Institutions Rankings
           มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้รับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของโลกโดย Times Higher Education World University Rankings 2025  เป็นอันดับ 9 ของประเทศไทย โดยเป็นอันดับที่ 3 จาก 10 มหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพด้านการวิจัยที่ดีที่สุดในประเทศไทยปี 2025  และเป็นอันดับที่ 9  ของมหาวิทยาลัยไทย อันดับที่ 401-475 ของโลก ด้านเกษตรศาสตร์และป่าไม้  ซึ่งเป็นผลมาจากผลงานโดดเด่นจาก 5 ตัวชี้วัดในการจัดอันดับมหาวิทยาลัย ได้แก่ การเรียนการสอน  การจัดการระบบนิเวศการวิจัย  คุณภาพการวิจัย รายได้จากผลงานลิขสิทธิ์นวัตกรรม และความเป็นสากลนานาชาติ          ล่าสุด SCImago Institutions Rankings (SIR) ได้เผยแพร่ผลการจัดอันดับสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาทั่วโลก ประจำปี 2025 โดย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อยู่ในอันดับ 13  จาก 15 มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในไทย ปี 2025 และเป็นอันดับที่ 11 จาก 15 มหาวิทยาลัยไทยที่โดดเด่นด้าน Chemistry โดยปีนี้มีเพียง 33 มหาวิทยาลัยของไทยเท่านั้นที่ได้รับการจัดอันดับจาก SIR ซึ่งได้รับการยอมรับจากทั่วโลก และการจัดอันดับในแต่ละครั้งจะบ่งบอกถึงความก้าวหน้า และการพัฒนาในกระบวนการ “การวิจัย” องค์ความรู้ด้านต่าง ๆ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการวิจัยและการพัฒนา ซึ่งจะทำให้ต่อยอดไปสู่การพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ ให้กับสังคมโลกได้อีกด้วย           นอกจากนั้น มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ยังติดอันดับที่ 12 ของมหาวิทยาลัยไทย อันดับ top 401 – 600 ของโลก มหาวิทยาลัยที่มีการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) หรือ “THE Impact Rankings” ปี 2024  อีกทั้ง ได้รับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียว เป็นอันดับที่ 11 ของประเทศและอันดับที่ 143 ของโลก  และยังอยู่ในระดับ Top 10 ของมหาวิทยาลัยรัฐที่มีผู้สนใจเข้าศึกษาต่อมาโดยตลอด ปัจจุบันมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีนักศึกษาประมาณ 20,000 คน  มีการจัดการเรียนการสอน 15 คณะ 3 วิทยาลัย  ทั้งหลักสูตรปกติและหลักสูตรนานาชาติ  และมีคณะที่ทำการเปิดสอนล่าสุด ได้แก่ คณะพยาบาลศาสตร์ และคณะสัตว-แพทยศาสตร์  และจากการจัดอันดับ มหาวิทยาลัยสุขภาวะ Healthy University Rating  โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุน  การสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มหาวิทยาลัยแม่โจ้  ติด 1 ใน 10 ที่ได้ระดับ 4-5 ดาว “มหาวิทยาลัยสุขภาวะ Healthy University Rating 2023  ด้วยการประเมินจาก 42 ตัวชี้วัดด้านนโยบาย ระบบและโครงสร้างพื้นฐานการลดความเสี่ยงและปัญหาสุขภาพ และกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ มุ่งสู่การเป็น “มหาวิทยาลัยส่งเสริมสุขภาพ” ในระดับนานาชาติ            รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล  ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า “ในปี 2025  Maejo Next Step มหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมก้าวสู่ยุทธศาสตร์ Intelligence Well – being AgricultureIWA)  การเกษตรอัจฉริยะเพื่อสุขภาวะที่ดี  จะผสมผสาน Local Wisdom Innovation ก่อให้เกิดนวัตกรรมต่อยอด เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยในอนาคต และมีการจัดวิพากย์ศาสตร์ด้านการเกษตรหลักที่เป็นจุดเน้นในการพัฒนามหาวิทยาลัย ด้วยเป้าหมายการพัฒนาคุณภาพการศึกษา การวิจัยและนวัตกรรม บัณฑิตผู้ประกอบการ  การจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ และการส่งเสริมสุขภาพสร้างเครือข่ายความร่วมมืออย่างยั่งยืนต่อไป” ฝ่ายสื่อสารองค์กร ม.แม่โจ้ //รายงาน
21 มีนาคม 2568     |      313
คณะผลิตฯ  ม.แม่โจ้ อบรมเพาะเลี้ยง "ไข่ผำ" นำร่องส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชย์”
ฝ่ายกิจการพิเศษและหารายได้ คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ "การเพาะเลี้ยงและการใช้ประโยชน์จากไข่ผำเพื่อเพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชย์" รุ่นที่ 1 โดยมีเกษตรกรและผู้ประกอบการจากหลายจังหวัดทั่วประเทศเข้าร่วมอย่างคึกคัก เมื่อวันที่ วันที่ 8  มีนาคม 2568   ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้โครงการนี้มุ่งเน้นให้ความรู้ด้านเทคนิคการเพาะเลี้ยงไข่ผำในระบบอินทรีย์ แนวทางการตลาด และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ เพื่อต่อยอดการสร้างมูลค่าเพิ่ม และพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารและเกษตรกรรมสมัยใหม่ โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญร่วมถ่ายทอดองค์ความรู้  ได้แก่ อาจารย์ ดร.ศุภชัย สุทธิเจริญ และ ว่าที่ ร.ต. ณัฏฐ์ศรันย์ ศรีกิจ จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม  และ ผศ.ดร.จอมสุดา ดวงวงษา จากคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้อาจารย์ ดร.วงค์พันธ์  พรหมวงศ์ รองคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษและหารายได้ คณะผลิตกรรมการเกษตร ในฐานะผู้จัดโครงการฯ กล่าวว่า  “โครงการนี้ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากเกษตรกรและผู้ประกอบการด้านไข่ผำจากหลายจังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสนใจในการพัฒนาอุตสาหกรรมไข่ผำให้เติบโตอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมยังได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ พร้อมทั้งศึกษาตัวอย่างแนวทางการนำไข่ผำไปใช้เชิงพาณิชย์  ซึ่งด้วยศักยภาพของไข่ผำในฐานะโปรตีนทางเลือก และโอกาสในการขยายตัวของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ   การอบรมเครั้งนี้จึงถือเป็นก้าวสำคัญในการผลักดันให้ “ไข่ผำ” กลายเป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจที่มีบทบาทสำคัญต่ออุตสาหกรรมอาหารและเกษตรกรรมในอนาคต เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างเครือข่ายผู้เพาะเลี้ยงไข่ผำและนักพัฒนาเทคโนโลยีด้านนี้  ที่สามารถนำไปพัฒนาการผลิตและการตลาด เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจให้เติบโตอย่างเป็นรูปธรรม และช่วยยกระดับผลิตภัณฑ์ไข่ผำให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดระดับสากล" สำหรับผู้ที่สนใจข้อมูลรายละเอียดการฝึกอบรมเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่ ฝ่ายกิจการพิเศษและหารายได้ คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทร. 0 5387 5600 ในวันและเวลาทำการ
11 มีนาคม 2568     |      466
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ หนุนความร่วมมือภาคธุรกิจ พัฒนาเกษตรและปศุสัตว์ไทยด้วยนวัตกรรม
วันที่ 6 มีนาคม 2568 – มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สนับสนุนความร่วมมือระหว่าง บริษัท อนิ โปรดัก จำกัด ซึ่งเป็นบริษัท spin-off จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และ บริษัท นิวทริเมด จำกัด ในพิธีลงนามความร่วมมือเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ตลาดและความต้องการของผู้บริโภค โอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วยผู้บริหารมหาวิทยาลัยร่วมเป็นสักขีพยาน ในพิธีลงนามความร่วมมือทางวืชาการในครั้งนี้ โดยมี คุณพรพิมล บุญโคตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท อนิ โปรดัก จำกัด และ คุณวิสูตร วิสุทธิไกรสีห์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท นิวทริเมด จำกัด เป็นผู้แทนลงนาม ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัย ชั้น 5 สำนักงานมกาวิทยาลัยแม่โจ้ความร่วมมือนี้มุ่งเน้นการบูรณาการ เทคโนโลยีและงานวิจัยสู่ภาคเกษตรและปศุสัตว์ โดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้จะร่วมมือกับภาคเอกชนในการพัฒนานวัตกรรมที่ส่งผลกระทบเชิงบวกต่ออุตสาหกรรมเกษตรไทย เช่น ผลิตภัณฑ์จุ่มเคลือบเต้านมโคจากธรรมชาติ. , ผลิตภัณฑ์ป้องกันแมลงในสัตว์เลี้ยง. และอีกหลายผลิตภัณฑ์ที่อยู่ระหว่างการวิจัยและพัฒนา. คาดว่า จะช่วยยกระดับมาตรฐานการผลิต และเสริมศักยภาพการแข่งขันของประเทศได้
7 มีนาคม 2568     |      301