ฝ่ายสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
MJU Corporate Communication Center

คลินิกรักษาสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เปิดให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า(โรคกลัวน้ำ) ให้กับสัตว์เลี้ยง สุนัข แมว โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งเป็นกิจกรรมบริการวิชาการของคณะสัตวแพทยศาสตร์ ในงานเกษตรแม่โจ้ ออนไลน์ 2564 ระหว่างวันที่  22 -29 ธันวาคม 2564  ณ คลิกนิกรักษาสัตว์ เฟส 1

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บัญญัติ มนเทียรอาสน์ รองอธิการบดี ผู้ดูแลกำกับการขับเคลื่อนคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า “มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นมหาวิทยาลัยด้านการเกษตร ใกล้ชิดกับเกษตรกรและมุ่งผลิตบัณฑิตที่เป็นนักปฏิบัติดูแลชุมชนมานานร่วม 88 ปี ประกอบกับสถานการณ์ความขาดแคลนสัตวแพทย์ในประเทศไทย  จึงทำให้ สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี  มีพระปณิธานให้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้มีส่วนในการผลิตกำลังคนด้านสัตวแพทย์ เพื่อเชื่อมต่อกับการดำเนินงานให้บริการด้านสัตวแพทย์และสัตวศาสตร์ ได้ร่วมขับเคลื่อนโครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้าตามพระปณิธานฯ ดังนั้น สภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ จึงได้มีมติเห็นชอบในหลักการเพื่อจัดตั้ง คณะสัตวแพทยศาสตร์ เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2559  จากนั้นจึงมีคำสั่งมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการโครงการจัดตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่ 191/2560 สั่ง ณ วันที่ 31 มกราคม 2561 คณะกรรมการฯ จึงได้ดำเนินการต่อเนื่องมาตามลำดับ และเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2560 สภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีมติเห็นชอบอนุมัติกำหนดพื้นที่การจัดตั้งอาคารเรียนและปฏิบัติการ คณะสัตวแพทยศาสตร์ และอาคารคลินิกรักษาสัตว์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 2 แปลง ต่อมาได้มีประกาศมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรสัตวแพทยศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประกาศ ณ วันที่ 26 ตุลาคม 2561  

จากนั้นก็ได้ดำเนินการขับเคลื่อนเรื่อยมา และเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2563 สภามหาวิทยาลัยแม่โจ้  ได้มีมติเห็นชอบให้จัดตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์ อย่างเป็นทางการ และได้มีประกาศราชกิจจานุเบกษา 22 มีนาคม 2564 ทำให้มีผลบังคับตามกฏหมายตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2564 เป็นต้นมา ได้มีการขับเคลื่อนเพื่อแบ่งส่วนงานภายใน มีการอนุมัติจัดตั้งสำนักงานคณบดี มีบุคลากรสายสนับสนุน บุคลากรสายวิชาการ เพื่อให้สามารถดำเนินงานภายในคณะในส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป” 

ด้าน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ไพโรจน์ พงศ์กิดาการ รก.คณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้  กล่าวเพิ่มเติมว่า  “ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มีภารกิจหลัก คือ ภารกิจด้านการเรียนการสอน  การให้บริการทางวิชาการ ให้บริการรักษาสัตว์ ทั้งนี้ เป็นไปตามกติกาของสัตวแพทยสภา และเป็นไปตาม พ.ร.บ. ซึ่งขณะนี้ ทางคณะฯ ได้ร่วมกับ สัตวแพทยสภาและคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร ในการจัดทำหลักสูตร และเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา ได้มีการทำ MOU ร่วมกับ คณะสัตวแพทยศาสตร์และสัตววิทยาประยุกต์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์เพื่อพัฒนาหลักสูตรตามขั้นตอน  แต่ในนระยะแรกนี้ คณะสัตวแพทยศาสตร์ พร้อมเปิดให้บริการในส่วนของคลินิกรักษาสัตว์แล้วเพื่อรองรับการเปิดรับนักศึกษาในอนาคต”

สำหรับคลินิกรักษาสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (เฟส 1) จะมีการให้บริการสำหรับสัตว์เล็ก  มีการรักษาโรคทั่วไป ผ่าตัด เอ็กซเรย์ อัลตราซาวด์ ตรวจเลือด โดยมีอัตราให้บริการพิเศษ นักศึกษา บุคลากร และศิษย์เก่า และอัตราปกติสำหรับประชาชนทั่วไป

พบกับ..กิจกรรมพิเศษ ในงานวันเกษตรแม่โจ้ออนไลน์ 2564  จะให้บริการฉีดฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และตรวจสุขภาพเบื้องต้น ฟรี.. ในระหว่างวันที่  22 – 29 ธันวาคม 2564 ตั้งแต่เวลา  09.00-16.00 น. ท่านที่สนใจติดต่อลงทะเบียนได้ที่ https://www.bit.ly/clinicmju  หรือ โทรศัพท์  08 1491 4009 , 053 873 128  ด่วน...สิทธิ์นี้มีจำนวนจำกัด

ปรับปรุงข้อมูล : 13/12/2564 15:22:50     ที่มา : ฝ่ายสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 982

กลุ่มข่าวสาร :

ข่าวล่าสุด

เฮลั่น !! ม.แม่โจ้ คว้าแชมป์ งานกีฬาประเพณี4จอบแห่งชาติ ครั้งที่ 39 ครองถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำทีมนักกีฬาทักษะเกษตร จาก 3 คณะได้แก่ คณะผลิตกรรมการเกษตร คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี และ คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาทักษะเกษตร และกีฬาสากล ในงานประเพณี 4 จอบแห่งชาติ ครั้งที่ 39 “เกษตรแดนศิลป์ ถิ่นเมืองพริบพรี” ซึ่งมีสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มีการเรียนการสอนทางด้านการเกษตรจากทั่วประเทศ เข้าร่วมชิงชัย 12 สถาบัน ระหว่างวันที่ 18 - 21 พฤศจิกายน 2567 ณ มหาวิทยาลัยศิลปกร วิทยาเขต สารสนเทศเพชรบุรี ผลการแข่งขัน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับรางวัลชนะเลิศ ครองถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี โดย สามารถกวาดมาได้ 15 เหรียญทอง 4 เหรียญเงิน และ 1 เหรียญเงินกีฬาสาธิต รวม 20 เหรียญ จาก 21 ทักษะ ดังนี้1. การจัดสวนถาด = ทอง 2. การเชตแมลง = ทอง 3. การผลิตแผ่นประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการเกษตร = ทอง 4. การตอนสุกร = ทอง 5. การรีดเต้านมเทียม = ทอง 6. บรรจุพันธ์ปลา = ทอง 7. การประกวดโมเดลธุกิจนวัตกรรมการเกษตร = เงิน 8. การขยายพันธุ์พืช ติดตา-ต่อกิ่ง-ทาบกิ่ง = ทอง 9. การตรวจวัดสมบัติดินภาคสนาม และการใช้ข้อมูลดินเพื่อการจัดการดินแบบแม่นยำ = ทอง 10. การพูดส่งเสริมการเกษตร = ทอง 11. การตัดแต่งซากสัตว์ปีก = ทอง 12. การวินิจฉัยโรคพืช = เงิน 13. โครงงานทางการเกษตร = ทอง 14. การคำนวณอัตราการใช้ และพ่นสารกำจัดวัชพืช = ทอง 15. การทอดแห = ทอง 16. การตัดขวางชิ้นเนื้อเยื่อโรคพืช = เงิน (กีฬาสาธิต) 17. การกรอกวัสดุปลูกใส่ถุง = ทอง 18. การเข้าด้ามจอบเตรียมแปลง = ทอง 19. การวิเคราะห์อาหารสัตว์ = เงิน 20. การตอบปัญหาทางการเกษตร = เงินนอกจากนี้ นางสาวแสงเทียน ได้ตั้งใจนึก นักศึกษาคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี ยังได้รับรางวัล "คนดีศรีเกษตร" ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบให้กับนักศึกษาที่มีผลงานดีเด่นอย่างต่อเนื่อง หลากหลายและเป็นประจักษ์ในวงกว้าง ยกย่องผู้ที่มีความประพฤติดีเด่น และเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักศึกษาในด้านการศึกษา คุณธรรม และความเสียสละ อีกด้วยทั้งนี้ งานประเพณี 4 จอบจัดขึ้นเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างนิสิตนักศึกษาจากสถาบันต่าง ๆ ที่มีการเรียนการสอนด้านการเกษตร 4 ภูมิภาค คือ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และทักษะทางวิชาการสาขาเกษตรศาสตร์ อันจะนำไปสู่การสร้างความร่วมมือทางวิชาการและการพัฒนาเทคโนโลยีการเกษตรของประเทศไทยในอนาคต โดยกำหนดให้มีการจัดงานขึ้นทุกปีอนึ่ง เมื่อครั้งที่มีการจัดงานประเพณี 4 จอบ ครั้งที่ 21 เมื่อปี 2546 ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นเจ้าภาพจัดงานได้รับพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี (พระอิสริยยศในขณะนั้น) พระราชทานถ้วยรางวัลคะแนนรวมในการแข่งขันกีฬาทักษะทางการเกษตร ถือเป็นกรุณาธิคุณแก่ผู้เข้าร่วมการแข่งขันทุกสถาบันเป็นล้นพ้น การแข่งขันในปีถัดจากนั้นมา สถาบันที่ได้รับรางวัลคะแนนรวมการแข่งขันกีฬาทักษะเกษตร จึงได้ครองถ้วยพระราชทานสืบต่อกันมา ฝ่ายสื่อสารองค์กร ม.แม่โจ้ // รายงาน
22 พฤศจิกายน 2567     |      198
“ในน้ำมีปลา ในนามีปู” ม.แม่โจ้ คว้ารางวัลชนะเลิศ Best of the Best ระดับประเทศ ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น 2567
“บ้านปูนา อ่องปูนา" ผลงานของ ทีม “ในน้ำมีปลา ในนามีปู” คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ คว้ารางวัล ชนะเลิศ ประเภท “กินดี” Best of the Best ระดับประเทศ ในโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น 2567 ซึ่งจัดขึ้นโดยธนาคารออมสินที่เปิดเวทีในนักศึกษาได้เรียนรู้ บูรณาการพัฒนาร่วมกับชุมชน เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากสู่ความยั่งยืน โดยในปีนี้มีผู้เข้าร่วมแข่งขันทั่วประเทศกว่า 67 สถาบันการศึกษา ทั้งนี้ ได้เข้ารับโล่รางวัล พร้อมเงินรางวัล 50,000 บาท เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2567 ณ โรงแรมแกรนด์ริชมอนด์ นนทบุรี ทีม “ในน้ำมีปลา ในนามีปู” เป็นนักศึกษาคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ ได้แก่ นางสาวไอยเรศ เสาร์คำ , นายสรวิชญ์ จันทร์แดง , นางสาวไอซามี พงษ์จิระสกุลชัย , นางสาวเกวลิน กรแก้ว นางสาวภัสสิรา สิงห์อูป โดยมี อาจารย์ ดร.นงพงา แสงเจริญ , ผศ.ดร.ดารชาต์ เทียมเมือง และอาจารย์ ดร.วาธิณี อินทรพงษ์นุวัฒน์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา “บ้านปูนา อ่องปูนา" เป็นการทำงานร่วมกับวิสาหกิจชุมชนศูนย์เรียนรู้การเพาะเลี้ยงปูนาสันทราย ต.หนองแหย่ง อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ โดยนำความรู้มาศึกษาปัญหาเดิมของกลุ่มฯ ปรับปรุงพัฒนาและต่อยอดผลิตภัณฑ์ “อ่องปูนา แท้ 100 % สดใหม่ ส่งตรงจากฟาร์ม” ตามความต้องการของกลุ่มฯ ช่วยยกระดับผลิตภัณฑ์อ่องปูนาให้มีอายุการเก็บนาน 1 ปี ในอุณหภูมิห้อง ทำให้อ่องปูนาซึ่งเป็นอาหารพื้นเมืองอันเป็นเอกลักษณ์ของภาคเหนือเป็นที่รู้จักมากขึ้น สามารถแข่งกับสินค้าอื่นๆ ได้ เพิ่มมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ ปรับปรุงบรรจุภัณฑ์ให้เป็นที่สนใจ สะดวกต่อการรับประทาน และสามารถจัดจำหน่ายใน modern trade ได้ เป็นการส่งเสริมผลักดันให้มีคนในพื้นที่ได้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น เกิดการจ้างงานในชุมชน ลดปัญหาแรงงานย้ายถิ่นเข้าสู่เมืองหลวง และผลสุดท้ายคือประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ด้าน ผศ. ดร.อรพินธุ์ สฤษดิ์นำ ผู้รับผิดชอบโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า “จากการเข้าร่วมโครงการฯ ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เห็นได้ว่า นักศึกษาเราประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับประเทศต่อเนื่อง 3 ปี ซ้อน คือปี 2565 ทีม เด็กโจ้อาสา พัฒนาธุรกิจชุมชน “น้ำพริกหมูฝอย” ประเภทกินดี คณะเศรษฐศาสตร์ปี 2566 ทีม ไพรรภัจน์ “สมุนไพรเพื่อสุขภาพ” ประเภทใช้ดี คณะผลิตกรรมการเกษตรปี 2567 ทีม ในน้ำมีปลา ในนามีปู “บ้านปูนา อ่องปูนา" ประเภท กินดี คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำถือเป็นการส่งเสริมให้นักศึกษาได้พัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 และทักษะการเป็นผู้ประกอบการมืออาชีพ ตามบริบทของแต่ละคณะ ที่มุ่งหวังจะพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น และสร้างความเข้มแข็งให้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มผู้ประกอบการ OTOP องค์กรชุมชน กลุ่มอาชีพในชุมชน ให้ก้าวไปสู่การเป็นธุรกิจที่มีความเข้มแข็ง เติบโตและยั่งยืน” ฝ่ายสื่อสารองค์กร ม.แม่โจ้ // รายงาน
11 พฤศจิกายน 2567     |      267
ขอเชิญร่วมระลึกถึง ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย อธิการบดีคนแรก คนต้นแบบลูกแม่โจ้
งานหนัก ไม่เคยฆ่าคนใครที่ตายเพราะทำงานหนัก ครูจะสร้างอนุสาวรีย์ ไว้ให้แม่โจ้"อมตะโอวาทศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย อธิการบดีคนแรก คนต้นแบบลูกแม่โจ้  ชาวแม่โจ้ ร่วม“ระลึกถึง ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย” วันพุธที่ 30 ตุลาคม 2567ณ ลานอนุสาวรีย์ฯ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่น 1 อธิการบดีคนแรกของแม่โจ้ เป็นชาวจังหวัดแพร่ เกิดเมื่อวันที่ 12  มีนาคม 2459  หลังจากสอบไล่ได้มัธยมปีที่ 6 จากโรงเรียนพิริยาลัย จ.แพร่ก็ได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จ.เชียงใหม่และย้ายมาเรียนที่โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมแม่โจ้ เมื่อปี 2477  ซึ่งถือเป็นรุ่น 1 รุ่นบุกเบิกและสร้างแม่โจ้เมื่อจบจากแม่โจ้ท่านสอบชิงทุนหลวงไปศึกษาต่อมหาวิทยาลัยในฟิลิปปินส์จนจบปริญญาตรี ปี พ.ศ. 2484  จึงกลับมารับราชการเป็นอาจารย์ที่แม่โจ้ ตำแหน่งอาจารย์ผู้ปกครองนาน 6 ปี จากนั้นท่านไปลงสมัครผู้แทนราษฎร 2 ครั้ง  พอถึงปี พ.ศ. 2497 ท่านกลับเข้ารับราชการเป็นอาจารย์ใหญ่ชั้นเอกของโรงเรียนเกษตรกรรมแม่โจ้ จวบจนกระทั่งได้เป็นอธิการบดีคนแรกของสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ถึง 2 สมัยศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย ท่านเป็นนักประชาธิปไตยตัวอย่าง เป็นผู้มีเมตตาธรรม เป็นผู้ริเริ่มและพัฒนางานใหม่ๆเสมอ เป็นนักพัฒนาชนบท เป็นนักปกครองที่ดีเยี่ยม เป็นครู”ที่ประเสริฐ จากการทำงานหนักและผ่านประสบการณ์ต่างๆ ทำให้ชีวิตท่านแข็งแกร่ง ทรหดอดทน ไม่ท้อถอยและยอมแพ้ต่อปัญหา การดำเนินชีวิตที่ผ่านอุปสรรคมาได้ทำให้เกิดปรัชญาความจริงของชีวิต  ท่านได้ตระหนักถึงการเรียนและฝึกอบรมนักเรียนเกษตรต้องให้มีความอดทน ไม่ท้อถอย จึงจะสู้งานได้ทุกอย่างเป็นการหล่อหลอมนิสัยให้ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถเผชิญกับอุปสรรคและสามารถแก้ปัญหาลุล่วงได้ต่อไปจึงนับเป็นช่วงสำคัญของการพัฒนาแม่โจ้สู่มิติใหม่ นักเรียนต้องมีความพร้อมและต้องการเรียนเกษตรจริง ๆ ซึ่งท่านได้กล่าวแสดงความยินดีต่อนักศึกษาที่ผ่านการทดสอบว่าการเรียนเกษตรที่แม่โจ้นี้ ต้องฝึกความทรหดสู้งานทุกอย่างได้ ไม่ท้อถอย เพื่อจะได้เป็นลูกแม่โจ้ที่อดทน เข้มแข็ง ไม่กลัวงานหนัก งานหนักไม่เคยฆ่าคน ใครตายเพราะงานหนัก ครูจะสร้างอนุสาวรีย์ไว้ให้ที่แม่โจ้” ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต  บุญศรีวังซ้ายได้ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่  30 ตุลาคม 2527  บรรดาศิษย์เก่าแม่โจ้ สมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จึงได้กำหนดวันที่ 30 ตุลาคม ให้เป็น “วันวิภาต บุญศรี วังซ้าย” เพื่อรำลึกถึงคุณงามความดีที่ท่านได้สร้างและพัฒนาแม่โจ้ให้เจริญ เป็นผู้มีคุณูปการต่อวงการอาชีวเกษตรของประเทศไทย ผู้เป็นต้นแบบนักต่อสู้เอาชนะอุปสรรค และปลดแอกข้อจำกัดของวงการอาชีวเกษตรในอดีต เป็นคนต้นแบบลูกแม่โจ้ ตามปรัชญางานหนักไม่เคยฆ่าคน”อันเป็นคติพจน์ประจำใจของ ลูกแม่โจ้จวบจนปัจจุบันขอเรียนเชิญคณาจารย์  นักศึกษา บุคลากร และศิษย์แม่โจ้ทุกรุ่นร่วมงานระลึกถึง ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย”ในวันพุธที่ 30 ตุลาคม 2567ตั้งแต่เวลา 07.30 น. เป็นต้นไป  ณ  ลานอนุสาวรีย์ ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้ายหน้าสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ หมายเหตุ : การแต่งกายชุดพื้นเมือง หรือชุดสุภาพ
28 ตุลาคม 2567     |      155
คณะกรรมการส่งเสริมมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ร่วมขับเคลื่อนประเทศไทย มุ่งสู่ Net Zero 2065
มหาวิทยาลัยแม่โจ้  และคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสัมมนาคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ครั้งที่ 9 “บทบาทคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย มุ่งสู่ Net Zero 2065” ระหว่างวันที่ 1 – 3 พฤศจิกายน  2567  ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และโรงแรมแชงกรี-ลา  จ.เชียงใหม่ การประชุมสัมมนาฯ ในครั้งนี้ เพื่อเป็นการร่วมระดมความคิดของคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยจาก 148 แห่ง ทั่วประเทศ ร่วมกันขับเคลื่อนประเทศไทย สู่ Net Zero ผสานกลยุทธ์การวิจัย การเรียนการสอนและบริหารจัดการวิชาการเข้ากับแนวคิด Green University  รวมถึงการปรับตัวสานกลยุทธ์ธุรกิจ สู่ Net  Zero เพื่อรับมือกับข้อกำหนดทางการค้าและเงื่อนไขตลาดทุนโลก ได้รับเกียรติจาก ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เป็นประธานในพิธีเปิดงาน พร้อมทั้ง มอบนโยบายที่เกี่ยวข้องในการร่วมกันขับเคลื่อนประเทศไทยเพื่อมุ่งสู่ Net Zero ได้อย่างเป็นรูปธรรม และยังได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิร่วมบรรยายพิเศษ และร่วมเวทีเสวนา ในประเด็นที่น่าสนใจ  ได้แก่ -  เรื่อง“มหาวิทยาลัยแม่โจ้กับการขับเคลื่อนประเทศไทย สู่ Net Zero” , ผสานกลยุทธ์การวิจัย การเรียนการสอนและบริหารจัดการวิชาการเข้ากับแนวคิด Green University การอยู่ร่วมกับธรรมชาติ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล  ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้   - เรื่อง “Climate Change วิกฤตของโลก และทางออกของเรา” ความรู้และงานวิจัยเกี่ยวกับวิกฤติโลกร้อน ความร่วมมือระหว่างประเทศ และนวัตกรรมที่จะนำพาโลกสู่สภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น และแนวทางที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยในการมุ่งสู่ Net Zero โดย รองศาสตราจารย์ ดร.เศรษฐ์ สัมภัตตะกุล รักษาการแทนผู้อำนวยการสำนักบริการวิชาการ (UNISERV) และหัวหน้าหน่วยวิจัยเพื่อการจัดการพลังงานและเศรษฐนิเวศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - เรื่อง “ทศวรรษแห่งการปรับตัว สานกลยุทธ์ธุรกิจสู่ Net Zero” กลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่เพื่อรับมือกับข้อกำหนดทางการค้า และเงื่อนไขตลาดทุนโลกและมุมมองเกี่ยวกับการพัฒนากลยุทธ์ธุรกิจในทศวรรษที่ผ่านมาและในอนาคต โดย นายธีรพงศ์  จันศิริ  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)การเสวนา เรื่อง “บทบาทของคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยกับการพัฒนามหาวิทยาลัย” โดยผู้แทนคณะกรรมการส่งเสริมจากทุกกลุ่มสถาบันการศึกษาที่เข้าร่วมการประชุมสัมมนานอกจากนั้น  จะมีการเยี่ยมชมศึกษาดูงานโครงการต่างๆ ของมหาวิทยาลัย  ฟาร์มมหาวิทยาลัย โรงเรือนไส้เดือนดินกำจัดขยะอินทรีย์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย การผลิตปุ๋ยอินทรีย์  การผลิตกัญชาอินทรีย์เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์  ศูนย์การเรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ และเกษตรอัจฉริยะ Smart Fishery พร้อมทั้งเยี่ยมชมศึกษาดูงาน  บริษัท ซันสวีท จำกัด (มหาชน)  บริษัท ปลูกผักเพระรักแม่โ จำกัด (มหาชน) (โอ้กะจู๋) และ บริษัท กรีนไดมอนด์ จำกัด (บุญสมฟาร์มสาหร่ายเกลียวทอง)  ซึ่งเป็นภาคีภาคธุรกิจที่มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้  รวมถึงการศึกษาดูงานด้านศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ล้านนา และด้านหัตถกรรมและเศรษฐกิจท้องถิ่น  ดร.วรพงศ์ นันทาภิวัฒน์ ประธานกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า “ขอเชิญชวนคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยทุกท่านเข้าร่วมการประชุมสัมมนาในครั้งนี้ เพราะคณะกรรมการส่งเสริมฯ คือผู้เกี่ยวข้องในวงการธุรกิจและการศึกษา เราจะได้มีส่วนร่วมในการหารือและหาข้อแนะนำในการที่จะทำให้ประเทศเราบรรลุการเป็น Net Zero ในปี 2065 ได้”  การประชุมสัมมนาคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ครั้งที่ 9 นอกจากเผยแพร่ภาพลักษณ์และสร้างชื่อเสียงที่ดีให้แก่มหาวิทยาลัย และจังหวัดเชียงใหม่ แล้ว ยังเป็นกิจกรรมการสร้างความสัมพันธ์และส่งเสริมเครือข่ายของมหาวิทยาลัยทุกภาคส่วนให้สามารถพัฒนาขีดความสามารถที่เกิดประโยชน์ต่อสังคม เศรษฐกิจและชุมชนในทุกมิติต่อไป
21 ตุลาคม 2567     |      199