ฝ่ายสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
MJU Corporate Communication Center

มหาวิทยาลัยแม่โจ้  เตรียมจัดงานแถลงข่าว “งานเกษตรแม่โจ้ 90 ปี : เกษตร | อาหาร | สุขภาพ”  อธิการบดีนำทีมผู้บริหาร ยกทัพจัดโชว์เคสผลงานเด่น เรียกน้ำย่อยลองไฟก่อนพบงานจริงยิ่งใหญ่ปลายปี ย่อส่วนงานเกษตรแม่โจ้ ไปพบกับพ่อแม่พี่น้องประชาชนให้ร่วมกิจกรรม ชม ชิม ช้อป และรับของรางวัล  ในวันอังคารที่ 28 พฤศจิกายน 2566  ณ ลานโปรโมชั่น 2 ชั้น 1 เซ็นทรัลเฟสติวัล เชียงใหม่

 งานแถลงข่าวในครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆ ของงานเกษตรแม่โจ้ 90 ปี : เกษตร | อาหาร | สุขภาพ”  ที่จะจัดอย่างยิ่งใหญ่ ระหว่างวันที่ 16-24 ธันวาคม 2566  ณ มหาวิท-ยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่  นำทีมโดย   รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล       ทองมา  อธิการบดีมหาวิทยลัยแม่โจ้  พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร คณะกรรมการจัดงาน ร่วมแถลงข่าวสร้างการรับรู้แก่คณะสื่อมวลชนและประชาชน  มีการจัดนิทรรศการโชว์ผลงานเด่น 9 ไฮไลต์ ทั้งด้านการปรับปรุงพันธุ์พืช ได้แก่ กำเนิดข้าวหอมแม่โจ้  ข้าวเหนียวหอมพันธุ์ใหม่สำหรับผู้บริโภค  กล้วยไม้รองเท้านารีพันธุ์ใหม่ของโลก ปทุมมาสายพันธุ์ล่าสุดสำหรับตลาดไม้ดอกเพื่อการส่งออก และพันธุ์ผักชื่อพระราชทานที่ได้รับการส่งต่อสู่เกษตรกร นอกจากนี้ ยังมีการค้นพบสายพันธุ์ใหม่ของโลกทั้งสัตว์และประมง  ได้แก่ การค้นพบปลาค้อแสดงถึงระบบนิเวศน์ที่สมบูรณ์ของป่าต้นน้ำ  การค้นพบตั๊กแตนแม่โจ้-แพร่  รวมถึงองค์ความรู้เกษตรและนวัตกรรมอื่น ๆ ที่ส่งเสริมภาคเศรษฐกิจของประชาชนในทุกมิติเชื่อมโยงไปสู่เทรนด์ใหม่ของโลกด้วยนวัตกรรมอีกมากมายที่ต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ  ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของผลงานจากแม่โจ้ที่ได้รับการเผยแพร่และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อภาคการเกษตรไทย พร้อมมีกิจกรรมให้ผู้ร่วมงานได้มีส่วนร่วมทั้ง ชม ชิม ช้อป การแสดงดนตรีของศิลปินรับเชิญ  และกิจกรรมร่วมสนุกรับของรางวัลพิเศษภายในงาน

ขอเชิญท่านที่สนใจเข้าร่วมงานแถลงข่าว “งานเกษตรแม่โจ้ 90 ปี : เกษตร | อาหาร | สุขภาพ ในวันอังคารที่ 28 พฤศจิกายน  2566 ตั้งแต่เวลา 10.00 – 19.30 น. ณ ลานโปรโมชั่น 2 ชั้น 1 เซ็นทรัลเฟสติวัล เชียงใหม่

ปรับปรุงข้อมูล : 27/11/2566 20:04:18     ที่มา : ฝ่ายสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 7641

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวประชาสัมพันธ์

ข่าวล่าสุด

ขอเชิญร่วมระลึกถึง ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย อธิการบดีคนแรก คนต้นแบบลูกแม่โจ้
งานหนัก ไม่เคยฆ่าคนใครที่ตายเพราะทำงานหนัก ครูจะสร้างอนุสาวรีย์ ไว้ให้แม่โจ้"อมตะโอวาทศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย อธิการบดีคนแรก คนต้นแบบลูกแม่โจ้  ชาวแม่โจ้ ร่วม“ระลึกถึง ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย” วันพุธที่ 30 ตุลาคม 2567ณ ลานอนุสาวรีย์ฯ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่น 1 อธิการบดีคนแรกของแม่โจ้ เป็นชาวจังหวัดแพร่ เกิดเมื่อวันที่ 12  มีนาคม 2459  หลังจากสอบไล่ได้มัธยมปีที่ 6 จากโรงเรียนพิริยาลัย จ.แพร่ก็ได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จ.เชียงใหม่และย้ายมาเรียนที่โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมแม่โจ้ เมื่อปี 2477  ซึ่งถือเป็นรุ่น 1 รุ่นบุกเบิกและสร้างแม่โจ้เมื่อจบจากแม่โจ้ท่านสอบชิงทุนหลวงไปศึกษาต่อมหาวิทยาลัยในฟิลิปปินส์จนจบปริญญาตรี ปี พ.ศ. 2484  จึงกลับมารับราชการเป็นอาจารย์ที่แม่โจ้ ตำแหน่งอาจารย์ผู้ปกครองนาน 6 ปี จากนั้นท่านไปลงสมัครผู้แทนราษฎร 2 ครั้ง  พอถึงปี พ.ศ. 2497 ท่านกลับเข้ารับราชการเป็นอาจารย์ใหญ่ชั้นเอกของโรงเรียนเกษตรกรรมแม่โจ้ จวบจนกระทั่งได้เป็นอธิการบดีคนแรกของสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ถึง 2 สมัยศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย ท่านเป็นนักประชาธิปไตยตัวอย่าง เป็นผู้มีเมตตาธรรม เป็นผู้ริเริ่มและพัฒนางานใหม่ๆเสมอ เป็นนักพัฒนาชนบท เป็นนักปกครองที่ดีเยี่ยม เป็นครู”ที่ประเสริฐ จากการทำงานหนักและผ่านประสบการณ์ต่างๆ ทำให้ชีวิตท่านแข็งแกร่ง ทรหดอดทน ไม่ท้อถอยและยอมแพ้ต่อปัญหา การดำเนินชีวิตที่ผ่านอุปสรรคมาได้ทำให้เกิดปรัชญาความจริงของชีวิต  ท่านได้ตระหนักถึงการเรียนและฝึกอบรมนักเรียนเกษตรต้องให้มีความอดทน ไม่ท้อถอย จึงจะสู้งานได้ทุกอย่างเป็นการหล่อหลอมนิสัยให้ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถเผชิญกับอุปสรรคและสามารถแก้ปัญหาลุล่วงได้ต่อไปจึงนับเป็นช่วงสำคัญของการพัฒนาแม่โจ้สู่มิติใหม่ นักเรียนต้องมีความพร้อมและต้องการเรียนเกษตรจริง ๆ ซึ่งท่านได้กล่าวแสดงความยินดีต่อนักศึกษาที่ผ่านการทดสอบว่าการเรียนเกษตรที่แม่โจ้นี้ ต้องฝึกความทรหดสู้งานทุกอย่างได้ ไม่ท้อถอย เพื่อจะได้เป็นลูกแม่โจ้ที่อดทน เข้มแข็ง ไม่กลัวงานหนัก งานหนักไม่เคยฆ่าคน ใครตายเพราะงานหนัก ครูจะสร้างอนุสาวรีย์ไว้ให้ที่แม่โจ้” ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต  บุญศรีวังซ้ายได้ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่  30 ตุลาคม 2527  บรรดาศิษย์เก่าแม่โจ้ สมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จึงได้กำหนดวันที่ 30 ตุลาคม ให้เป็น “วันวิภาต บุญศรี วังซ้าย” เพื่อรำลึกถึงคุณงามความดีที่ท่านได้สร้างและพัฒนาแม่โจ้ให้เจริญ เป็นผู้มีคุณูปการต่อวงการอาชีวเกษตรของประเทศไทย ผู้เป็นต้นแบบนักต่อสู้เอาชนะอุปสรรค และปลดแอกข้อจำกัดของวงการอาชีวเกษตรในอดีต เป็นคนต้นแบบลูกแม่โจ้ ตามปรัชญางานหนักไม่เคยฆ่าคน”อันเป็นคติพจน์ประจำใจของ ลูกแม่โจ้จวบจนปัจจุบันขอเรียนเชิญคณาจารย์  นักศึกษา บุคลากร และศิษย์แม่โจ้ทุกรุ่นร่วมงานระลึกถึง ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย”ในวันพุธที่ 30 ตุลาคม 2567ตั้งแต่เวลา 07.30 น. เป็นต้นไป  ณ  ลานอนุสาวรีย์ ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้ายหน้าสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ หมายเหตุ : การแต่งกายชุดพื้นเมือง หรือชุดสุภาพ
28 ตุลาคม 2567     |      84
คณะกรรมการส่งเสริมมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ร่วมขับเคลื่อนประเทศไทย มุ่งสู่ Net Zero 2065
มหาวิทยาลัยแม่โจ้  และคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสัมมนาคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ครั้งที่ 9 “บทบาทคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย มุ่งสู่ Net Zero 2065” ระหว่างวันที่ 1 – 3 พฤศจิกายน  2567  ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และโรงแรมแชงกรี-ลา  จ.เชียงใหม่ การประชุมสัมมนาฯ ในครั้งนี้ เพื่อเป็นการร่วมระดมความคิดของคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยจาก 148 แห่ง ทั่วประเทศ ร่วมกันขับเคลื่อนประเทศไทย สู่ Net Zero ผสานกลยุทธ์การวิจัย การเรียนการสอนและบริหารจัดการวิชาการเข้ากับแนวคิด Green University  รวมถึงการปรับตัวสานกลยุทธ์ธุรกิจ สู่ Net  Zero เพื่อรับมือกับข้อกำหนดทางการค้าและเงื่อนไขตลาดทุนโลก ได้รับเกียรติจาก ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เป็นประธานในพิธีเปิดงาน พร้อมทั้ง มอบนโยบายที่เกี่ยวข้องในการร่วมกันขับเคลื่อนประเทศไทยเพื่อมุ่งสู่ Net Zero ได้อย่างเป็นรูปธรรม และยังได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิร่วมบรรยายพิเศษ และร่วมเวทีเสวนา ในประเด็นที่น่าสนใจ  ได้แก่ -  เรื่อง“มหาวิทยาลัยแม่โจ้กับการขับเคลื่อนประเทศไทย สู่ Net Zero” , ผสานกลยุทธ์การวิจัย การเรียนการสอนและบริหารจัดการวิชาการเข้ากับแนวคิด Green University การอยู่ร่วมกับธรรมชาติ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล  ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้   - เรื่อง “Climate Change วิกฤตของโลก และทางออกของเรา” ความรู้และงานวิจัยเกี่ยวกับวิกฤติโลกร้อน ความร่วมมือระหว่างประเทศ และนวัตกรรมที่จะนำพาโลกสู่สภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น และแนวทางที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยในการมุ่งสู่ Net Zero โดย รองศาสตราจารย์ ดร.เศรษฐ์ สัมภัตตะกุล รักษาการแทนผู้อำนวยการสำนักบริการวิชาการ (UNISERV) และหัวหน้าหน่วยวิจัยเพื่อการจัดการพลังงานและเศรษฐนิเวศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - เรื่อง “ทศวรรษแห่งการปรับตัว สานกลยุทธ์ธุรกิจสู่ Net Zero” กลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่เพื่อรับมือกับข้อกำหนดทางการค้า และเงื่อนไขตลาดทุนโลกและมุมมองเกี่ยวกับการพัฒนากลยุทธ์ธุรกิจในทศวรรษที่ผ่านมาและในอนาคต โดย นายธีรพงศ์  จันศิริ  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)การเสวนา เรื่อง “บทบาทของคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยกับการพัฒนามหาวิทยาลัย” โดยผู้แทนคณะกรรมการส่งเสริมจากทุกกลุ่มสถาบันการศึกษาที่เข้าร่วมการประชุมสัมมนานอกจากนั้น  จะมีการเยี่ยมชมศึกษาดูงานโครงการต่างๆ ของมหาวิทยาลัย  ฟาร์มมหาวิทยาลัย โรงเรือนไส้เดือนดินกำจัดขยะอินทรีย์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย การผลิตปุ๋ยอินทรีย์  การผลิตกัญชาอินทรีย์เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์  ศูนย์การเรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ และเกษตรอัจฉริยะ Smart Fishery พร้อมทั้งเยี่ยมชมศึกษาดูงาน  บริษัท ซันสวีท จำกัด (มหาชน)  บริษัท ปลูกผักเพระรักแม่โ จำกัด (มหาชน) (โอ้กะจู๋) และ บริษัท กรีนไดมอนด์ จำกัด (บุญสมฟาร์มสาหร่ายเกลียวทอง)  ซึ่งเป็นภาคีภาคธุรกิจที่มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้  รวมถึงการศึกษาดูงานด้านศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ล้านนา และด้านหัตถกรรมและเศรษฐกิจท้องถิ่น  ดร.วรพงศ์ นันทาภิวัฒน์ ประธานกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า “ขอเชิญชวนคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยทุกท่านเข้าร่วมการประชุมสัมมนาในครั้งนี้ เพราะคณะกรรมการส่งเสริมฯ คือผู้เกี่ยวข้องในวงการธุรกิจและการศึกษา เราจะได้มีส่วนร่วมในการหารือและหาข้อแนะนำในการที่จะทำให้ประเทศเราบรรลุการเป็น Net Zero ในปี 2065 ได้”  การประชุมสัมมนาคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ครั้งที่ 9 นอกจากเผยแพร่ภาพลักษณ์และสร้างชื่อเสียงที่ดีให้แก่มหาวิทยาลัย และจังหวัดเชียงใหม่ แล้ว ยังเป็นกิจกรรมการสร้างความสัมพันธ์และส่งเสริมเครือข่ายของมหาวิทยาลัยทุกภาคส่วนให้สามารถพัฒนาขีดความสามารถที่เกิดประโยชน์ต่อสังคม เศรษฐกิจและชุมชนในทุกมิติต่อไป
21 ตุลาคม 2567     |      122
ม.แม่โจ้ จัดงานแสดงกตเวทิตาจิตผู้เกษียณอายุ ประจำปี 2567 “กตเวทิตาจิต ร้อยดวงใจสานสายใยชาวแม่โจ้”
มหาวิทยาลัยแม่โจ้จัดงานแสดงกตเวทิตาจิตผู้เกษียณอายุราชการ ประจำปี 2567  “กตเวทิตาจิต ร้อยดวงใจสานสายใยชาวแม่โจ้” เพื่อเป็นการแสดงความขอบคุณ ตระหนักถึงความสำคัญและความเสียสละของบุคลากรทุกท่าน และร่วมน้อมคารวะต่อผู้อาวุโสที่ครบวาระเกษียณอายุ ผู้สร้างคุณูปการต่อองค์กรและต่อสังคม  ในวันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน 2567  เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป  ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ  มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งในปีนี้ มีจำนวน 31 ท่าน  แบ่งเป็น ข้าราชการ  จำนวน 4 รายรองศาสตราจารย์ ดร.วิจิตรา  แดงปรก ตำแหน่ง รองศาสตราจารย์  สังกัดคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตรผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตตินุช  ชุลิกาวิทย์ ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์  สังกัดคณะบริหารธุรกิจผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสาวลักษณ์  ชายทวีป ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สังกัดคณะศิลปศาสตร์นางศรีกุล  นันทะชมภู ตำแหน่ง นักวิชาการคอมพิวเตอร์เชี่ยวชาญ  สังกัดสำนักงานมหาวิทยาลัย ลูกจ้างประจำ  จำนวน 2 รายนายศรชัย  ยาวิชัย  ตำแหน่ง ช่างฝีมือโรงงาน ระดับ ช 4 สังกัดงานระบบสาธารณูปโภค กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม สำนักงานมหาวิทยาลัยนายสมใจ  ปงหาญ ตำแหน่ง พนักงานขับเครื่องจักรกลขนาดเบา ระดับ ช 2 สังกัดฟาร์มมหาวิทยาลัย   พนักงานมหาวิทยาลัย  จำนวน 22 รายรองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์  ศรีเงินยวง ตำแหน่ง รองศาสตราจารย์ สังกัดคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม  ตำแหน่งบริหาร รองอธิการบดีผู้ช่วยศาสตราจารย์พาวิน  มะโนชัย ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สังกัดคณะผลิตกรรมการเกษตร ตำแหน่งบริหาร รองอธิการบดีอาจารย์ ดร.ชัชวิจก์  ถนอมถิ่น ตำแหน่ง อาจารย์ สังกัดคณะผลิตกรรมการเกษตรผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรีย์วัลย์  เมฆกมล ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สังกัดคณะผลิตกรรมการเกษตร   5. นางพิกุล นิลวาส ตำแหน่ง ตำแหน่ง หัวหน้างานคลังและพัสดุ สังกัดงานคลังและพัสดุ สำนักงานคณบดี คณะผลิตกรรมการเกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร   6. รองศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ  ข้ามสี่ ตำแหน่ง รองศาสตราจารย์ สังกัดคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร   7. อาจารย์ ดร.ภานาถ  แสงเจริญรัตน์ ตำแหน่ง อาจารย์ สังกัดคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร   8. อาจารย์ชัช  พชรธรรมกุล ตำแหน่ง อาจารย์ สังกัดคณะพัฒนาการท่องเที่ยว   9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เมธี  วงศ์วีระพันธุ์ ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สังกัดคณะศิลปศาสตร์  10.นางสาวรดาพร ทองมา ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานคณบดีวิทยาลัยนานาชาติ สังกัดสำนักงานคณบดี วิทยาลัยนานาชาติ  วิทยาลัยนานาชาติ  11. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอกพิชญ์  ชินะข่าย ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สังกัดวิทยาลัยบริหารศาสตร์  12.นางผ่องรักษ์ ยศเดช ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปชำนาญการ สังกัดงานอำนวยการ  กองพัฒนานักศึกษา สำนักงานมหาวิทยาลัย  13. นางสุพรรณ์ ดวงบาล ตำแหน่ง นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ สังกัดงานบริหารการเงิน 1 กองคลัง สำนักงานมหาวิทยาลัย  14. นายพิจักษณ์ อนุสรณ์รัชดา ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ สังกัดงานการกีฬา กองพัฒนานักศึกษา สำนักงานมหาวิทยาลัย  15. ดร.ชาญวิทยายุทธ์ อินทร์แก้ว ตำแหน่ง หัวหน้างานการกีฬา สังกัดงานการกีฬา กองพัฒนานักศึกษา สำนักงานมหาวิทยาลัย  16. นายประศาสน์ ก้องสมุทร ตำแหน่ง ผู้อำนวยการกองตรวจสอบภายใน สังกัดกองตรวจสอบภายใน สำนักงานมหาวิทยาลัย  17. นางสาวรุ่งทิวา เลขะวัฒนะ ตำแหน่ง ผู้ปฏิบัติงานบริหารปฏิบัติงาน สังกัดงานอำนวยการ กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม สำนักงานมหาวิทยาลัย  18. นางสาวนวลนิตย์ ปิ่นนิกร ตำแหน่ง ผู้อำนวยการกองเลขานุการสภามหาวิทยาลัย สังกัดกองเลขานุการ สภามหาวิทยาลัย สำนักงานสภามหาวิทยาลัย  19. นางสาวพรินทร บุญเรือง ตำแหน่ง ผู้อำนวยการกองบริหารงานสำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ  สังกัดกองบริหารงานสำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ  20. นายยุทธนา ชำนาญ ตำแหน่ง พนักงานขับรถปฏิบัติงาน สังกัดงานบริหารและธุรการ กองบริหารงานสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร  21. นางสาวรังสิมา อัมพวัน ตำแหน่ง นักวิจัยชำนาญการพิเศษ  สังกัดงานปรับปรุงและขยายพันธุ์พืชและสัตว์ กองบริหารงานบริการวิชาการ สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร  22.นางจิณาภา ใคร้มา ตำแหน่ง นักเอกสารสนเทศชำนาญการพิเศษ สังกัดฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุดพนักงานส่วนงาน  จำนวน 3 รายนางอัมพร ปาวิน ตำแหน่ง ผู้ปฏิบัติงานบริหาร สังกัดงานอำนวยการ กองพัฒนานักศึกษา สำนักงานมหาวิทยาลัยนายเชาวรัตน์ แสงคำ ตำแหน่ง ช่างเทคนิค สังกัดงานการกีฬา กองพัฒนานักศึกษา สำนักงานมหาวิทยาลัยสิบตรีสมจิตร์  พรหมมา ตำแหน่ง พนักงานขับรถ สังกัดงานบริหารและธุรการ สำนักงานคณบดี วิทยาลัยบริหารศาสตร์ วิทยาลัยบริหารศาสตร์ โอกาสนี้  ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล  ทองมา  อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวขอบคุณและอวยพร  พร้อมทั้งมอบโล่ประกาศเกียรติคุณให้กับผู้เกษียณอายุ ตามกำหนดการ ดังนี้ เวลา 13.00 นลงทะเบียนรับหนังสือที่ระลึกเวลา 13.30 นผู้ร่วมงานพร้อมกัน ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้เวลา 13.45 นพิธีกรแจ้งกำหนดการเวลา 13.50 นชมการแสดง จาก กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมเวลา 14.00 นนำเสนอ Presentation ประวัติและผลงานของผู้เกษียณอายุเวลา 14.10 นรองอธิการบดีรองศาสตราจารย์จักรพงษ์  พิมพ์พิมลกล่าวรายงานเวลา 14.20 นอธิการบดีมอบโล่และประกาศเกียรติคุณแด่ผู้เกษียณเวลา 15.20 นอธิการบดีกล่าวขอบคุณและอวยพรแด่ผู้เกษียณอายุเวลา 15.30 น.    ผู้แทนผู้เกษียณอายุกล่าวแสดงความรู้สึกผู้ช่วยศาสตราจารย์พาวิน  มะโนชัย)เวลา 15.40 นบันทึกภาพร่วมกันเวลา 16.30 นเสร็จพิธี ขอเชิญชาวแม่โจ้ร่วมแสดงกตเวทิตาจิตผู้เกษียณอายุ ในวันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน 2567 ตั้งแต่เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป ณ  ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  กองบริหารทรัพยากรบุคคล  สำนักงานมหาวิทยาลัย โทร. 0 5387 3133หมายเหตุ 1. ส่วนงาน/หน่วยงานต่าง ๆ มอบของที่ระลึกแด่ผู้เกษียณอายุ ก่อนหรือหลังพิธีการตามอัธยาศัยสำหรับผู้เกษียณอายุท่านใดต้องการไฟล์ Presentation และไฟล์รูปภาพในงานดังกล่าว                    ให้ติดต่อขอรับได้ที่ งานทะเบียนประวัติ กองบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานมหาวิทยาลัยการแต่งกาย ชุดผ้าไทย หรือชุดพื้นเมือง
9 กันยายน 2567     |      593
ทีม Agro-Power ม.แม่โจ้ เปลี่ยนขยะเศษอาหารเป็นทุนชีวิต คว้า 2 รางวัลระดับประเทศ จากมูลนิธิรากแก้ว
ทีม Agro-Power มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตัวแทนทีมจากภาคเหนือ  คว้า 2 รางวัล จากการร่วมจัดแสดงผลงานและนำเสนอ โครงการพัฒนาที่ยั่งยืนของนิสิตนักศึกษา ระดับประเทศ ประจำปี 2567 หรือ Rakkaew Foundation National Exposition University Sustainability Showcase  จัดโดย มูลนิธิรากแก้ว เพื่อเปิดโอกาสให้นิสิตนักศึกษาจากสถาบันการศึกษาทั่วประเทศได้แสดงผลของโครงการที่ได้ร่วมดำเนินงานกับชุมชน นำไปพัฒนาต่อยอดให้เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืนกับชุมชนมากยิ่งขึ้น ซึ่งมีทีมจากสถาบันการศึกษาทั่วประเทศเข้าร่วมโครงการ 26 ทีม  ระหว่างวันที่ 23-24 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา ณ ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์  กรุงเทพมหานครสำหรับ ทีม Agro-Power นำเสนอโครงการภายใต้ชื่อ "พลังเกษตรเปลี่ยนขยะเศษอาหารเป็นทุนชีวิต"  เป็นผลงานที่มุ่งเน้นแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน  โดยนำเศษอาหารเหลือทิ้งจากโรงพยาบาล จากชุมชน มาเลี้ยงหนอนแมลงวันทหารดำซึ่งมีคุณสมบัติย่อยขยะสดได้ดี แล้วนำตัวหนอนที่มีโปรตีนสูงไปเป็นอาหารสัตว์ เลี้ยงเปิด เลี้ยงไก่ นำมูลของหนอนไปเป็นวัสดุปลูกพืชผัก จากนั้นจึงเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ได้มาใช้ในชีวิตประจำวัน และยังสร้างรายได้เพิ่มต่อไป  ซึ่งโครงการนี้ได้สร้างความประทับใจด้วยแนวทางการเปลี่ยนแปลงขยะเศษอาหารให้เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า ได้รับการยอมรับจากคณะกรรมการและผู้ร่วมงานทั้งในด้านนวัตกรรมและผลกระทบต่อสังคม  ทำให้ทีม Agro-Power จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ สามารถคว้ารางวัลเหรียญเงิน ประเภท โครงการใหม่ประจำปี 2567 และ รางวัลโครงการดีเด่นประจำภาคเหนือ (Outstanding Project Regional North)ทีม Agro-Power  เป็นการรวมตัวของนักศึกษา 2 คณะ มีสมาชิก 6 คน   ได้แก่ นายณัฐวัตร แซ่เซียว คณะผลิตกรรมการเกษตรนางสาวจุฑามาศ เกิดโต คณะผลิตกรรมการเกษตรนายธนพล ต๋าคำ คณะผลิตกรรมการเกษตรนายเอกพล แก้วบุญเรือง คณะผลิตกรรมการเกษตรนายรัตติเทพ เครืออินทร์ วิทยาลัยพลังงานทดแทนนางสาวอรนิชา ทิพย์ชัย วิทยาลัยพลังงานทดแทนโดยมี  อาจารย์ ดร.วงค์พันธ์ พรหมวงศ์  และ นายพิชิตพงษ์ ไชยโยชน์  เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาอาจารย์ ดร.วงค์พันธ์ พรหมวงศ์ อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการฯ กล่าวว่า "รางวัลนี้เป็นเครื่องยืนยันถึงความสามารถและความมุ่งมั่นของนักศึกษาในการพัฒนาสังคม กิจกรรมนี้ไม่เพียงแต่เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงผลงานและศักยภาพของเยาวชนไทยเท่านั้น แต่ยังเป็นแรงบันดาลใจที่สำคัญในการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนในสังคมไทยในอนาคต นอกจากนี้ โครงการยังเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามเป้าหมาย SDGs ซึ่งมหาวิทยาลัยแม่โจ้มีแผนจะต่อยอดและขยายผลโครงการนี้ไปยังชุมชนต่าง ๆ ในอนาคตต่อไป" ฝ่ายสื่อสารองค์กร  ม.แม่โจ้ // รายงาน
29 สิงหาคม 2567     |      483