ฝ่ายสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
MJU Corporate Communication Center

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดงานแม่โจ้แฟร์ (Maejo Fair 2017)  มหกรรมนิทรรศการองค์ความรู้ MJU Showreal ครั้งแรกที่ผู้ประกอบการจะได้ซื้องานวิจัยไปต่อยอดเชิงพาณิชย์  พร้อม การประชุมวิชาการ ประจำปี 2560 และ งาน 40 ปี พืชผักแม่โจ้  "รวมพลคนตระกูลแตง" ระหว่างวันที่ 7-8 ธันวาคม 2560  ณ  มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ผู้ช่วยศาสตราจารย์พาวิน  มะโนชัย  รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า “สำหรับงานแม่โจ้แฟร์ ในครั้งนี้ เป็นการผนวก 3 กิจกรรมหลักๆ ไว้ด้วยกัน  ได้แก่ การจัดประชุมวิชาการประจำปี 2560 ที่มีนักวิชาการมารวมตัวกันเพื่อนำเสนอผลงานมากมาย พร้อมทั้งมีเวทีเสวนาทางวิชาการและการบรรยายพิเศษจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิระดับประเทศ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของพืชวงศ์แตง ส่วนที่สองคือ งาน 40 ปีพืชผักแม่โจ้ ครั้งยิ่งใหญ่ เตรียมเปิดแปลงโชว์พันธุ์แตงกว่า 20 บริษัทยักษ์ใหญ่ของไทย เพื่อกระตุ้นด้านเมล็ดพันธุ์แตงของไทยให้กว้างขวาง  พร้อมเชิญคนพืชผักแม่โจ้คืนถิ่น และส่วนที่สามคือ มหกรรมนิทรรศการองค์ความรู้ MJU Showreal  ทั้งด้านการวิจัย  นวัตกรรม  บริการวิชาการ  เกษตรอินทรีย์แม่โจ้  โดยเปิดให้ผู้ประกอบการได้พบกับนักวิจัยโดยตรงและสามารถซื้องานวิจัยไปต่อยอดเชิงพาณิชย์ได้  รวมถึงการจำหน่ายสินค้าจาก กาดแม่โจ้ 2477 และกลุ่มเครือข่ายเกษตรอินทรีย์มากมาย  งานนี้จึงเป็นอีกงานสำคัญของชาวเชียงใหม่ที่ไม่ควรพลาด”

สำหรับผลงานเด่นที่น่าสนใจ ของมหกรรมนิทรรศการองค์ความรู้ Maejo Fair 2017 อาทิ ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมขั้นสูงสำหรับไบโอรีแอคเตอร์จมชั่วคราวเพื่อการผลิตต้นพันธุ์พืชระดับอุตสาหกรรม, การใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรอินทรีย์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นสู่มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน , การจัดการระบบน้ำโดยใช้ Application, ผลิตภัณฑ์สารสกัดสมุนไพรไทยสำหรับปศุสัตว์และสัตว์น้ำ, นวัตกรรมอาหารสุขภาพและเครื่องสำอางจากทรัพยากรน้ำ, วัสดุเรียบแบบเซรามิกจากส่วนผสมของดินและน้ำยาง, เครื่องสับกิ่งไม้หยอดเหรียญ, การผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วแดงหลวง, วัสดุปลูกย่อยสลายได้  โดยจะจัดแสดงตลอดทั้งวัน ตั้งแต่เวลา 08.30 – 17.30 น. ณ บริเวณอาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

ด้าน รองศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ  ข้ามสี่  ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้  กล่าวเพิ่มเติมว่า “ในส่วนของสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตรเป็นหน่วยงานหลักในการจัดงานประชุมวิชาการ ประจำปี 2560 เพื่อส่งเสริมและเปิดโอกาสให้ นักวิชาการ  คณาจารย์ นักวิจัย นิสิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา รวมถึงผู้สนใจทั่วไปเข้าร่วมประชุมและเสนอผลงานวิชาการในสาขาวิชาต่างๆ จำนวน 4 กลุ่ม ได้แก่สาขาเกษตรศาสตร์  สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสาขาวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตรและสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์  รวมทั้งแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ทั้งภายในและต่างประเทศ ซึ่งจะนำไปสู่แนวทางการวิจัยและพัฒนาการแก้ปัญหาและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ มีผู้สนใจจากหน่วยงานองค์กรต่างๆ  จำนวน  138  เรื่อง และยังจัดให้มีการบรรยายพิเศษ โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ อาทิ เรื่อง  งานวิจัยกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 โดย รองศาสตราจารย์  ดร.พีระพงศ์ ทีฆสกุล รองอธิการบดีฝ่ายระบบวิจัยและบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ในช่วงบ่ายของวันที่ 7 ธันวาคม 2560 จะมีการบรรยายพิเศษ เรื่อง “สถานการณ์พืชวงศ์แตงของประเทศไทย”, เรื่อง “สถานการณ์อุตสาหกรรมการแปรรูปแตงกวาดองในตลาดโลก”,  เรื่อง “เทคโนโลยีจีโนมิกส์เพื่อการปรับปรุงพันธุ์พืชตระกูลแตง”, เรื่อง “กระเทย : เพศเปลี่ยนโฉมหน้าลูกผสมแตงกวา”

ส่วนในวันที่ 8 ธันวาคม  2560 นอกจากการนำเสนอผลงานวิชาการตามกลุ่มสาขาวิชาต่างๆ แล้ว ยังมีการบรรยายพิเศษ เรื่อง  “ฝ่ากับดัก สายพันธุ์ โรงเรือน วิธีการปลูก สู่ฟาร์มเมลอนไทยที่ยั่งยืน” ซึ่งกิจกรรมในช่วงบ่ายของทั้ง 2 วัน ท่านที่สนใจเข้ารับฟังการบรรยายสามารถเข้าร่วมงานได้..ฟรี  ณ ห้องข้าวหอมมะลิ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ”

สำหรับงาน 40 ปีพืชผักแม่โจ้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ฉันทนา  วิชรัตน์ อาจารย์ประจำสาขาพืชผัก คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้  ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า “นับจากปี 2520 ที่ได้มีการก่อตั้งสาขาพืชผักเป็นครั้ง จวบจนปัจจุบัน สาขาพืชผักแม่โจ้ได้ผลิตบัณฑิตคนพืชผัก กระจายตัวอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ กว่า 1,500 คน สร้างคน สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างประโยชน์ต่อสังคมในมิติต่างๆ มากมาย  สำหรับงานครบรอบ 40 ปีพืชผักในครั้งนี้มหาวิทยาลัยได้ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.), และบริษัทเอกชนกว่า 20 บริษัท จัดให้มีขึ้นเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์สาขาพืชผักแม่โจ้  ให้ศิษย์เก่าได้กลับมาพบเจอกันและได้ตอบแทนสถาบัน รวมถึงการเผยแพร่องค์ความรู้สู่สังคมอีกด้วย

นอกเหนือจากการบรรยายพิเศษเกี่ยวกับพืชวงศ์แตงแล้ว ยังมีงานมหกรรมแสดงพันธุ์แตงกวาและแตงร้าน  ซึ่งเป็นการแสดงพันธุ์แตงโดยบริษัทเมล็ดพันธุ์แตงกวา แตงร้าน ชื่อดังจากทั่วประเทศ จำนวน  22 บริษัทเอกชน และ 2 หน่วยงานราชการ ร่วมจัดแสดงปลูกสาธิต จำนวนกว่า 140 สายพันธุ์ เพื่อให้เกษตรกรและผู้ร่วมงานได้เห็นถึงความหลากหลายของพันธุ์พืช ตลอดจนนักปรับปรุงพันธุ์ของภาครัฐและเอกชนได้พัฒนาปรับปรุงพันธุ์ให้ตรงกับความต้องการของตลาดและผู้บริโภค พร้อมมีกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมาย อาทิ เมนูอาหารสุดสร้างสรรค์จากแตงกวา โดยทีมงานคณะพัฒนาการท่องเที่ยว  นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมงานจะได้รับเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์อีกด้วย ณ แปลงสาขาพืชผัก คณะผลิตกรรมการเกษตร

ในส่วนของกิจกรรมศิษย์เก่าแม่โจ้คืนถึน จะจัดขึ้นในวันที่ 9 ธันวาคม 2560 ช่วงเช้าจะเป็นพิธีทำบุญทางศาสนาเพื่อความเป็นสิริมงคล และอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้กับครูบาจารย์และศิษย์ที่ล่วงลับ ในช่วงบ่ายจะเป็นเวทีเสวนา      หัวข้อ “เรียน + สอนกันอย่างไร ในยุค Thai 4.0 ในสายตาศิษย์เก่าพืชผักแม่โจ้” และในช่วงเย็น ตั้งแต่เวลา 17.00 น. เป็นต้นไป จะเป็นกิจกรรมฉลอง 40 ปี พืชผัก และศิษย์เก่าพืชผักแม่โจ้คืนถิ่น  ณ ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่”

ขอเชิญท่านที่สนใจเข้าร่วมงาน Maejo Fair 2017  ได้ฟรี  ณ  มหาวิทยาลัยแม่โจ้แม่โจ้  จ.เชียงใหม่  สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร  โทรศัพท์ 0 5387 3410 – 1  

 

ปรับปรุงข้อมูล : 20/11/2560 16:28:00     ที่มา : ฝ่ายสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 1119

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวประชาสัมพันธ์

ข่าวล่าสุด

นศ.บริหารธุรกิจ ม.แม่โจ้ รับรางวัล “นำเสนอดี” งานประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 8 พัฒนาระบบตรวจนับครุภัณฑ์แบบคิวอาร์โค้ด ช่วยให้งานตรวจนับครุภัณฑ์เป็นเรื่องง่ายๆ
นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้รับรางวัล “นำเสนอดี” ภาคบรรยาย จากผลงาน การพัฒนาระบบตรวจนับครุภัณฑ์โดยใช้คิวอาร์โค้ด : กรณีศึกษาสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ  ในการประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 8  ซึ่งจัดขึ้นโดยคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพฯการพัฒนาระบบตรวจนับครุภัณฑ์โดยใช้คิวอาร์โค้ด :  กรณีศึกษาสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ” ผลงานของ นางสาวขวัญจิรา ชมภู และ นางสาวสวิณี มูลฟอง นักศึกษาสาขาระบบสารสนเทศทางธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฉัตร ชูชื่น อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต  เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา  โดยระบบนี้เป็นการเก็บข้อมูลจากปัญหา (Pain Point) ที่เกิดขึ้นและความต้องการ (requirement) จากผู้ใช้งานจริงมาพัฒนาชิ้นงานจนได้ทำการพัฒนาเป็นระบบตรวจนับครุภัณฑ์ โดยใช้เทคโนโลยี  QrCode  ลดความยุ่งยากซับซ้อน ที่ช่วยในเรื่องของการตรวจนับได้อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องจดบันทึกลงเล่มครุภัณฑ์ มีความแม่นยำในการตรวจนับ มีการแสดงข้อมูลครุภัณฑ์ที่สแกนได้ทันที สามารถสแกนทำการตรวจนับได้ทุกที่ รวมถึงการเรียกดูข้อมูลที่ง่ายขึ้นและข้อมูลเป็นแบบเรียลไทม์ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฉัตร ชูชื่น อาจารย์ที่ปรึกษา กล่าวเพิ่มเติมว่า “การพัฒนาระบบตรวจนับครุภัณฑ์โดยใช้คิวอาร์โค้ด  กรณีศึกษาสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ  เป็นผลงานที่ให้นักศึกษาได้นำความรู้ที่เรียนมาต่อยอดจากงานที่พัฒนาในรายวิชาสหกิจศึกษาและรายวิชาโครงงานระบบสารสนเทศทางธุรกิจ โดยได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากปัญหา รวมถึงความต้องการ จากผู้ใช้งานจริงมาพัฒนาชิ้นงานดังกล่าวนี้ออกมา จนได้ทำการพัฒนาระบบที่สามารถนำไปใช้ได้จริงในการทำงาน และยังสามารถเป็นต้นแบบในการพัฒนาระบบเพื่อปรับใช้กับงานอื่นๆ ได้อีกด้วย รางวัลในครั้งนี้จึงเป็นเหมือนแรงบันดาลใจให้นักศึกษาได้พัฒนาผลงานอื่นๆ ต่อเนื่องไปได้อีกเรื่อย ๆ ช่วยให้นักศึกษาพัฒนาศักยภาพของตนเองได้อีกทางหนึ่ง” ฝ่ายสื่อสารองค์กร ม.แม่โจ้ // รายงาน
21 มีนาคม 2567     |      463
เด็กวิศวะฯ การยางฯ ม.แม่โจ้ คว้า 2 เหรียญทอง I-New Gen Award 2024 สร้างสรรค์นวัตกรรมทางการเกษตร สร้างรายได้ ลดใช้พลังงาน รักษ์โลก
 นักศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ คว้า 2 รางวัลเหรียญทอง จากการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม “Thailand New Gen Inventors Award 2024” (I-New Gen Award 2024) จัดขึ้นโดย สํานักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา  ซึ่งมีการแสดงผลงานสิ่งประดิษฐ์จากนักประดิษฐ์รุ่นใหม่ 3 ระดับ ได้แก่ ระดับมัธยม อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา ในปีนี้คัดเลือกผลงานจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ จากทั่วประเทศกว่า 1,000 ผลงาน จาก 330 สถาบันทั่วประเทศ  และมหาวิทยาลัยแม่โจ้สามารถคว้ามาได้ถึง  2 เหรียญทอง ในระดับอุดมศึกษา ได้แก่รางวัลเหรียญทอง กลุ่มเกษตร จากการคิดค้นนวัตกรรม “พอรัส มัลซ์ (ผ้ายางคลุมดินอัจฉริยะ)” โดย นางสาวรัชนี จิระพาณิชย์ และ นางสาวศศินิภา บุญมา  นักศึกษาชั้นปีที่ 1“พอรัส มัลซ์ (ผ้ายางคลุมดินอัจฉริยะ)” เป็นนวัตกรรมผ้ายางคลุมดินที่ช่วยระบายอากาศและน้ำได้ดี ลดการเกิดเชื้อโรค พืชเจริญเติบโตดี ลดการใช้พลังงานในการแปรรูป ลดการเกิดไมโครพลาสติกที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและมนุษย์ ใช้เทคโนโลยี IOT ควบคุมอุณหภูมิและความชื้นในดิน เหมาะแก่การใช้งานปลูกพืชอินทรีย์รางวัลเหรียญทอง กลุ่มพลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ จากการคิดค้นนวัตกรรม “กรีนโกร์ว (ถุงเพาะชำยางรักษ์โลก)” โดย นายวรพงศ์ ชูใจ นักศึกษาชั้นปีที่ 1“กรีนโกร์ว (ถุงเพาะชำยางรักษ์โลก)” เป็นถุงเพาะชำที่สามารถย่อยสลายได้โดยธรรมชาติ พืชเจริญเติบโตได้ดี ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ใช้เทคนิคพิเศษในการผสมยางพารากับแป้งมาเคลือบถุงกระดาษคราฟท์ที่ทำจากเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ช่วยลดการเผา ลด PM 2.5 และช่วยลดปริมาณขยะพลาสติกได้ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิวโรฒ บุญราศรี อาจารย์ที่ปรึกษาจากหลักสูตรเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวเพิ่มเติมว่า “สำหรับทั้ง 2 ผลงานที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้ นอกจากจะเป็นเวทีให้นักศึกษาได้ใช้ความรู้ คิดค้นนวัตกรรมต่างๆ ที่มาช่วยแก้ปัญหาด้านการเกษตรในมิติต่าง ๆ แล้วยังช่วยเพิ่มช่องทางสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับยางพาราซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของประเทศ ช่วยเกษตรกรชาวสวนยางให้มีรายได้เพิ่มขึ้นจากเดิม   ซึ่งผลงานนวัตกรรมดังกล่าว ขณะนี้อยู่ในกระบวนการจดสิทธิบัตร เตรียมต่อยอดขยายผลเผยแพร่องค์ความรู้ให้กับเกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจชุมหรือผู้ประกอบการ เพื่อให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงนวัตกรรมนี้ได้อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น”สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ หลักสูตรเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทร. 053 875000  และ  090 519 4926 ฝ่ายสื่อสารองค์กร ม.แม่โจ้ // รายงาน
12 มีนาคม 2567     |      1280
คณะวิศวะฯ ม.แม่โจ้ นำร่อง “ลดเผา ลดควัน แป๋งปุ๋ยบนดอย” ชูนวัตกรรมปุ๋ยหมักไม่พลิกกลับกองฯ จัดการเศษข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เหลือทิ้งจากการเก็บเกี่ยวบนพื้นที่สูงลดการเผา ลดฝุ่น PM2.5
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำโดย อาจารย์ ดร.แสนวสันต์ ยอดคำ รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและกิจการพิเศษ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนวัฒน์ นิทัศน์วิจิตร อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร  ร่วมกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ่อแก้ว ลัวฉือนี ต.บ่อแก้ว อ.สะเมิง จ. เชียงใหม่ ได้ดำเนินโครงการ ลดเผา ลดควัน แป๋งปุ๋ยบนดอย โดยได้นำร่องรับซื้อเศษข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ ราคากิโลกรัมละ 1 บาท จำนวนกว่า 40,000 กิโลกรัม (40 ตัน) เพื่อนำมาทำปุ๋ยอินทรีย์ลดการเผา โดยใช้ วิธีการหมักปุ๋ยอินทรีย์แบบไม่พลิกกลับกอง วิธีวิศวกรรมแม่โจ้ 1 ที่เป็นนวัตกรรมองค์ความรู้ของอาจารย์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ให้เป็นพื้นที่ต้นแบบในการลดปัญหาการเผาเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ลดปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศ (PM2.5) ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเผาที่ส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อนนอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมให้ชุมชนมีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ที่มีคุณภาพใช้ในพื้นที่ เพื่อลดต้นทุนการผลิต และสามารถต่อยอดจำหน่ายเชิงพาณิชย์เพื่อสร้างรายได้ให้แก่กลุ่มวิสาหกิจ ซึ่งถือเป็นการแก้ปัญหาการเผาตั้งแต่ต้นทาง และเป็นการสร้างมูลค่าจากเศษวัสดุเหลือทิ้ง ตามแนวทางโมเดลการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อความยั่งยืนของประเทศไทย (BCG Model) และเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา นายวิโรจน์ ดวงสุวรรณ์นายอำเภอสะเมิง ได้เข้าเยี่ยมชมการดำเนินกิจกรรมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อลดการเผาของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ่อแก้ว ลัวฉือนี ต.บ่อแก้ว  อ.สะเมิง จ. เชียงใหม่ พร้อมทั้งในกำลังใจทีมงานให้การดำเนินโครงการประสบความสำเร็จอาจารย์ ดรแสนวสันต์ ยอดคำ รองคณบดีฯ คณะวิศวะกรรมฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า วิธีการหมักปุ๋ยอินทรีย์แบบไม่พลิกกลับกอง วิธีวิศวกรรมแม่โจ้ 1 เป็นนวัตกรรมที่ไม่ซับซ้อน เพียงแค่นำเศษพืชผลเหลือทิ้งทางการเกษตรมาหมักรวมกับมูลสัตว์ แล้วดูแลความชื้นในกองให้เหมาะสม ไม่ต้องพลิกกลับกองปุ๋ยให้ยุ่งยาก โดยใช้เวลาหมักเพียง 2 เดือนเท่านั้น  ซึ่งจากโครงการในครั้งนี้เราจะได้ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีคุณภาพตามมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ตามเกณฑ์ของกรมวิชาการเกษตรประมาณ 60 ตัน มีมูลค่าประมาณ 480,000 บาท เกษตรกรสามารถนำไปใช้ในพื้นที่การเกษตรของตนเองเพื่อลดต้นทุน หรือนำไปจำหน่ายได้ โดยหวังว่าโครงการนี้จะเป็นพื้นที่ต้นแบบในการจัดการเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร หรือจากการเก็บเกี่ยวเพื่อลดการเผา ลดฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศ PM2.5) ได้อย่างเป็นรูปธรรม”สำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน หรือหน่วยงานต่างๆ ที่สนใจนวัตกรรมการหมักปุ๋ยอินทรีย์แบบไม่พลิกกลับกอง วิธีวิศวกรรมแม่โจ้ 1 สามารถติดต่อรายละเอียดได้ที่  คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทรศัพท์ 0-5387-5000 ถึง 15 ฝ่ายสื่อสารองค์กร ม.แม่โจ้ // รายงาน
8 มีนาคม 2567     |      734
ม. แม่โจ้ คว้าอันดับ 9 ของมหาวิทยาลัยไทย การจัดอันดับ SCImago Institution Rankings 2023 องค์กรที่มีผลงานวิจัยระดับโลก
วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2567  SciMago Institutions Rankings  สถาบันการจัดอันดับที่เน้นให้ความสำคัญกับการทำวิจัยและคุณภาพทางวิชาการในเวทีโลก เปิดเผยข้อมูลการจัดอันดับองค์กรที่มีผลงานวิจัยระดับโลก ประจำปี 2023 ซึ่ง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ คว้าอันดับที่ 9 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย SciMago Institutions Rankings เป็นระบบการจัดอันดับที่ได้รับความนับถือจากทั่วโลก โดยมีการประเมินมหาวิทยาลัยตามเกณฑ์ต่าง ๆ เช่น ผลการวิจัย ความร่วมมือระหว่างประเทศ และผลกระทบระดับสากล ระบบการจัดอันดับของ SciMago Institutions Rankings นอกจากใช้วิธีการพิจารณาปริมาณงานวิจัย แต่ยังมีการประเมินคุณภาพของงานวิจัยอีกด้วยวิธีการจัดอันดับ SciMago Institutions Rankings:ผลการวิจัย: SciMago วิเคราะห์ปริมาณผลงานวิจัยที่มหาวิทยาลัยผลิต ซึ่งรวมถึงบทความทางวิทยาศาสตร์ บทความที่นำเสนอในการประชุม และงานวิจัยทางวิชาการอื่น ๆความร่วมมือระหว่างประเทศ: ระดับของความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและนักวิจัยนานาชาติมีผลกระทบมากที่สุดต่อการจัดอันดับ ดังนั้นสถาบันที่มีเครือข่ายทั่วโลกและมีความร่วมมือที่แข็งแกร่งมักได้รับคะแนนสูงนวัตกรรมและผลกระทบ: SciMago พิจารณาผลกระทบของงานวิจัยโดยการวัดการอ้างอิง (Citation) และการมีผลต่องานวิจัยในวรรณกรรมทางวิทยาศาสตร์ (Impact) มหาวิทยาลัยที่ผลิตงานวิจัยที่มีผลกระทบ (Impact) จะได้รับคะแนนสูงการตีพิมพ์เผยแพร่เป็นสาธารณะ: ระบบการจัดอันดับให้ความสำคัญมหาวิทยาลัยที่ส่งเสริมการเผยแพร่งานวิจัย ดังนั้นสถาบันที่สนับสนุนการกระจายความรู้ไปยังสาธารณะจะได้รับคะแนนสูงความเป็นเลิศในวารสาร: SciMago ประเมินคุณภาพของวารสารที่มหาวิทยาลัยเผยแพร่งานวิจัย วารสารที่ได้รับการจัดอันดับสูงมีผลทำให้ได้คะแนนสูงความสำเร็จของมหาวิทยาลัยแม่โจซึ่งได้รับอันดับที่ 9 จากสถาบันการศึกษาในประเทศไทย ใน SciMago Institutions Rankings ไม่เพียงสะท้อนถึงการทุ่มเทในการวิจัยคุณภาพสูง ความร่วมมือระหว่างประเทศ และนวัตกรรมทางวิชาการ แต่ยังส่งเสริมให้สถาบันการศึกษาของไทยเป็นที่นับถือในเวทีวิชาการในระดับโลกอ้างอิง : https://www.scimagoir.com/institution.php?idp=8229
13 กุมภาพันธ์ 2567     |      1270