ฝ่ายสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
MJU Corporate Communication Center

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 40 มหาวิทยาลัยแม่โจ้

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์  อัครราชกุมารี  เสด็จแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้  ประจำปีการศึกษา 2559-2560 (ครั้งที่ 40)  ณ  มหาวิทยาลัยแม่โจ้  อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่   ในวันอาทิตย์ที่ 18 และวันจันทร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2561 ซึ่งในปีนี้มีบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร จำนวน 4,019 ราย  แยกเป็น ระดับบัณฑิตศึกษา (ป.โท-ป.เอก) จำนวน 191 ราย และระดับบัณฑิต (ป.ตรี)  จำนวน  3,828 ราย 

ในการนี้  สภามหาวิทยาลัยแม่โจ้มีมติอนุมัติปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จำนวน 10 ราย  มหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จำนวน 2 ราย ให้แก่ผู้สร้างคุณประโยชน์ต่อองค์กรและสังคมประเทศชาติมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดี  และศิษย์เก่าแม่โจ้ดีเด่นเพื่อเข้ารับพระราชทานโล่ศิษย์เก่าแม่โจ้ดีเด่น  จำนวน  6  ราย  ดังนี้

พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง  รองนายกรัฐมนตรี

  • ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาสหวิทยาการเกษตร 

พลเอก ธีรเดช มีเพียร   สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

  • ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์  อดีตรองนายกรัฐมนตรี

  • ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการตลาด 

นายฉัตรกมล มุ่งพยาบาล  (แม่โจ้ รุ่น 54) เจ้าของกิจการสมเกียรติการเกษตร, ฉัตรกมลฟาร์ม ผู้พิพากษาสมทบ ศาลเยาวชนและครอบครัว

  • ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพัฒนาทรัพยากรและส่งเสริมการเกษตร

นายวสิษฐ แต้ไพสิฐพงษ์  กรรมการผู้จัดการใหญ่  เครือเบทาโกร

  • ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ

นายสุขวัฒน์ ด่านเสริมสุข ประธานคณะผู้บริหารธุรกิจอาหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) CEO

เครือเจริญโภคภัณฑ์

  • ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร

 นายชัดชาญ เอกชัยพัฒนกุล  กรรมการผู้จัดการ บริษัทเชียงใหม่วนัสนันท์  จำกัด

  • ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ

นายปิยะ โรจนเพียรสถิต รองประธานบริษัทในเครือประวิทย์กรุ๊ป

  • ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพัฒนาทรัพยากรและส่งเสริมการเกษตร

นายสุรชัย ศิริจรรยา (แม่โจ้ รุ่น 49) รองกรรมการผู้จัดการ บริษัทซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ธุรกิจไก่เนื้อ ภาคเหนือ

  • ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาสัตวศาสตร์

นายนรินทร์ พูลเพิ่ม (แม่โจ้ รุ่น 34)  ข้าราชการเกษียณอายุ (นักวิจัยและพัฒนาพืชสวน)

  • ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพืชสวน

ผู้ได้รับปริญญามหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จำนวน 2 ราย 

นายสุทัศน์ บุญมาภิ  นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ทราย อำเภอร้องกวาง  จังหวัดแพร่

  • รัฐศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชารัฐศาสตร์

นายสุรศักดิ์ จโนภาษ (แม่โจ้ รุ่น 37) ผู้จัดการบริษัท สามปอยดง, ผู้จัดการบริษัท สวนผักเชียงใหม่

  • เทคโนโลยีมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาเทคโนโลยีภูมิทัศน์

 

ผู้ได้รับโล่ศิษย์เก่าแม่โจ้ดีเด่น ประจำปี  2560 จำนวน  6 ราย 

  • นายสุรพันธ์ เด็ดขาด         ศิษย์เก่าแม่โจ้  รุ่นที่ 33 อดีตรองผู้อำนวยการฝ่ายกิจการสาขาภาคตะวันตก  ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
  • นายนิกร กิจการค้า           ศิษย์เก่าแม่โจ้  รุ่นที่ 36 ประธานกรรมการบริษัท อนิมา เฮิร์บ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
  • นายจำรอง ดาวเรือง         ศิษย์เก่าแม่โจ้   รุ่นที่ 47 ผู้อำนวยการระดับสูงสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่
  • นายบรรจง สมบูรณ์ชัย      ศิษย์เก่าแม่โจ้  รุ่นที่ 50  อาจารย์สังกัดคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้  ผู้ก่อตั้งอาสาสมัครหมอต้นไม้ จังหวัดเชียงใหม่
  • นายพิบูล โพธิ์ศรี              ศิษย์เก่าแม่โจ้  รุ่นที่ 54  เจ้าของกิจการพิบูลฟาร์ม  ประธานกรรมการ สหกรณ์โคนมพัฒนานิคม จำกัด จังหวัดลพบุรี
  • นางสาววินิตรา ลีละพัฒนา  ศิษย์เก่าแม่โจ้  รุ่นที่ 69  อาจารย์ประจำคณะพัฒนาการท่องเที่ยว, ผู้อำนวยการสถานบริการฝึกอบรมและให้คำปรึกษาด้านการท่องเที่ยว 

 

โดยให้บัณฑิต  มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต มารายงานตัวยืนยันการเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรด้วยตนเองอีกครั้ง ในวันพฤหัสบดีที่ 15 กุมภาพันธ์ 2561  เวลา  08.00 – 12.00 น. ณ ลานอนันต์  ปัญญาวีร์ ศูนย์กิจการนักศึกษา อาคารอำนวย  ยศสุข   พร้อมเข้ารับฟังคำชี้แจงและมีกำหนดฝึกซ้อม ในวันระหว่างที่ 15 - 17  กุมภาพันธ์  25611  ณ ศูนย์กีฬากาญจนาภิเษก สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ตามคู่มือการฝึกซ้อม  และที่ www.stu.mju.ac.th/bunditmaejo

ปรับปรุงข้อมูล : 16/2/2561 9:31:32     ที่มา : ฝ่ายสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 1449

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวประชาสัมพันธ์

ข่าวล่าสุด

นศ.บริหารธุรกิจ ม.แม่โจ้ รับรางวัล “นำเสนอดี” งานประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 8 พัฒนาระบบตรวจนับครุภัณฑ์แบบคิวอาร์โค้ด ช่วยให้งานตรวจนับครุภัณฑ์เป็นเรื่องง่ายๆ
นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้รับรางวัล “นำเสนอดี” ภาคบรรยาย จากผลงาน การพัฒนาระบบตรวจนับครุภัณฑ์โดยใช้คิวอาร์โค้ด : กรณีศึกษาสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ  ในการประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 8  ซึ่งจัดขึ้นโดยคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพฯการพัฒนาระบบตรวจนับครุภัณฑ์โดยใช้คิวอาร์โค้ด :  กรณีศึกษาสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ” ผลงานของ นางสาวขวัญจิรา ชมภู และ นางสาวสวิณี มูลฟอง นักศึกษาสาขาระบบสารสนเทศทางธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฉัตร ชูชื่น อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต  เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา  โดยระบบนี้เป็นการเก็บข้อมูลจากปัญหา (Pain Point) ที่เกิดขึ้นและความต้องการ (requirement) จากผู้ใช้งานจริงมาพัฒนาชิ้นงานจนได้ทำการพัฒนาเป็นระบบตรวจนับครุภัณฑ์ โดยใช้เทคโนโลยี  QrCode  ลดความยุ่งยากซับซ้อน ที่ช่วยในเรื่องของการตรวจนับได้อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องจดบันทึกลงเล่มครุภัณฑ์ มีความแม่นยำในการตรวจนับ มีการแสดงข้อมูลครุภัณฑ์ที่สแกนได้ทันที สามารถสแกนทำการตรวจนับได้ทุกที่ รวมถึงการเรียกดูข้อมูลที่ง่ายขึ้นและข้อมูลเป็นแบบเรียลไทม์ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฉัตร ชูชื่น อาจารย์ที่ปรึกษา กล่าวเพิ่มเติมว่า “การพัฒนาระบบตรวจนับครุภัณฑ์โดยใช้คิวอาร์โค้ด  กรณีศึกษาสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ  เป็นผลงานที่ให้นักศึกษาได้นำความรู้ที่เรียนมาต่อยอดจากงานที่พัฒนาในรายวิชาสหกิจศึกษาและรายวิชาโครงงานระบบสารสนเทศทางธุรกิจ โดยได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากปัญหา รวมถึงความต้องการ จากผู้ใช้งานจริงมาพัฒนาชิ้นงานดังกล่าวนี้ออกมา จนได้ทำการพัฒนาระบบที่สามารถนำไปใช้ได้จริงในการทำงาน และยังสามารถเป็นต้นแบบในการพัฒนาระบบเพื่อปรับใช้กับงานอื่นๆ ได้อีกด้วย รางวัลในครั้งนี้จึงเป็นเหมือนแรงบันดาลใจให้นักศึกษาได้พัฒนาผลงานอื่นๆ ต่อเนื่องไปได้อีกเรื่อย ๆ ช่วยให้นักศึกษาพัฒนาศักยภาพของตนเองได้อีกทางหนึ่ง” ฝ่ายสื่อสารองค์กร ม.แม่โจ้ // รายงาน
21 มีนาคม 2567     |      470
เด็กวิศวะฯ การยางฯ ม.แม่โจ้ คว้า 2 เหรียญทอง I-New Gen Award 2024 สร้างสรรค์นวัตกรรมทางการเกษตร สร้างรายได้ ลดใช้พลังงาน รักษ์โลก
 นักศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ คว้า 2 รางวัลเหรียญทอง จากการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม “Thailand New Gen Inventors Award 2024” (I-New Gen Award 2024) จัดขึ้นโดย สํานักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา  ซึ่งมีการแสดงผลงานสิ่งประดิษฐ์จากนักประดิษฐ์รุ่นใหม่ 3 ระดับ ได้แก่ ระดับมัธยม อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา ในปีนี้คัดเลือกผลงานจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ จากทั่วประเทศกว่า 1,000 ผลงาน จาก 330 สถาบันทั่วประเทศ  และมหาวิทยาลัยแม่โจ้สามารถคว้ามาได้ถึง  2 เหรียญทอง ในระดับอุดมศึกษา ได้แก่รางวัลเหรียญทอง กลุ่มเกษตร จากการคิดค้นนวัตกรรม “พอรัส มัลซ์ (ผ้ายางคลุมดินอัจฉริยะ)” โดย นางสาวรัชนี จิระพาณิชย์ และ นางสาวศศินิภา บุญมา  นักศึกษาชั้นปีที่ 1“พอรัส มัลซ์ (ผ้ายางคลุมดินอัจฉริยะ)” เป็นนวัตกรรมผ้ายางคลุมดินที่ช่วยระบายอากาศและน้ำได้ดี ลดการเกิดเชื้อโรค พืชเจริญเติบโตดี ลดการใช้พลังงานในการแปรรูป ลดการเกิดไมโครพลาสติกที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและมนุษย์ ใช้เทคโนโลยี IOT ควบคุมอุณหภูมิและความชื้นในดิน เหมาะแก่การใช้งานปลูกพืชอินทรีย์รางวัลเหรียญทอง กลุ่มพลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ จากการคิดค้นนวัตกรรม “กรีนโกร์ว (ถุงเพาะชำยางรักษ์โลก)” โดย นายวรพงศ์ ชูใจ นักศึกษาชั้นปีที่ 1“กรีนโกร์ว (ถุงเพาะชำยางรักษ์โลก)” เป็นถุงเพาะชำที่สามารถย่อยสลายได้โดยธรรมชาติ พืชเจริญเติบโตได้ดี ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ใช้เทคนิคพิเศษในการผสมยางพารากับแป้งมาเคลือบถุงกระดาษคราฟท์ที่ทำจากเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ช่วยลดการเผา ลด PM 2.5 และช่วยลดปริมาณขยะพลาสติกได้ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิวโรฒ บุญราศรี อาจารย์ที่ปรึกษาจากหลักสูตรเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวเพิ่มเติมว่า “สำหรับทั้ง 2 ผลงานที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้ นอกจากจะเป็นเวทีให้นักศึกษาได้ใช้ความรู้ คิดค้นนวัตกรรมต่างๆ ที่มาช่วยแก้ปัญหาด้านการเกษตรในมิติต่าง ๆ แล้วยังช่วยเพิ่มช่องทางสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับยางพาราซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของประเทศ ช่วยเกษตรกรชาวสวนยางให้มีรายได้เพิ่มขึ้นจากเดิม   ซึ่งผลงานนวัตกรรมดังกล่าว ขณะนี้อยู่ในกระบวนการจดสิทธิบัตร เตรียมต่อยอดขยายผลเผยแพร่องค์ความรู้ให้กับเกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจชุมหรือผู้ประกอบการ เพื่อให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงนวัตกรรมนี้ได้อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น”สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ หลักสูตรเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทร. 053 875000  และ  090 519 4926 ฝ่ายสื่อสารองค์กร ม.แม่โจ้ // รายงาน
12 มีนาคม 2567     |      1280
คณะวิศวะฯ ม.แม่โจ้ นำร่อง “ลดเผา ลดควัน แป๋งปุ๋ยบนดอย” ชูนวัตกรรมปุ๋ยหมักไม่พลิกกลับกองฯ จัดการเศษข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เหลือทิ้งจากการเก็บเกี่ยวบนพื้นที่สูงลดการเผา ลดฝุ่น PM2.5
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำโดย อาจารย์ ดร.แสนวสันต์ ยอดคำ รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและกิจการพิเศษ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนวัฒน์ นิทัศน์วิจิตร อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร  ร่วมกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ่อแก้ว ลัวฉือนี ต.บ่อแก้ว อ.สะเมิง จ. เชียงใหม่ ได้ดำเนินโครงการ ลดเผา ลดควัน แป๋งปุ๋ยบนดอย โดยได้นำร่องรับซื้อเศษข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ ราคากิโลกรัมละ 1 บาท จำนวนกว่า 40,000 กิโลกรัม (40 ตัน) เพื่อนำมาทำปุ๋ยอินทรีย์ลดการเผา โดยใช้ วิธีการหมักปุ๋ยอินทรีย์แบบไม่พลิกกลับกอง วิธีวิศวกรรมแม่โจ้ 1 ที่เป็นนวัตกรรมองค์ความรู้ของอาจารย์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ให้เป็นพื้นที่ต้นแบบในการลดปัญหาการเผาเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ลดปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศ (PM2.5) ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเผาที่ส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อนนอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมให้ชุมชนมีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ที่มีคุณภาพใช้ในพื้นที่ เพื่อลดต้นทุนการผลิต และสามารถต่อยอดจำหน่ายเชิงพาณิชย์เพื่อสร้างรายได้ให้แก่กลุ่มวิสาหกิจ ซึ่งถือเป็นการแก้ปัญหาการเผาตั้งแต่ต้นทาง และเป็นการสร้างมูลค่าจากเศษวัสดุเหลือทิ้ง ตามแนวทางโมเดลการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อความยั่งยืนของประเทศไทย (BCG Model) และเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา นายวิโรจน์ ดวงสุวรรณ์นายอำเภอสะเมิง ได้เข้าเยี่ยมชมการดำเนินกิจกรรมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อลดการเผาของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ่อแก้ว ลัวฉือนี ต.บ่อแก้ว  อ.สะเมิง จ. เชียงใหม่ พร้อมทั้งในกำลังใจทีมงานให้การดำเนินโครงการประสบความสำเร็จอาจารย์ ดรแสนวสันต์ ยอดคำ รองคณบดีฯ คณะวิศวะกรรมฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า วิธีการหมักปุ๋ยอินทรีย์แบบไม่พลิกกลับกอง วิธีวิศวกรรมแม่โจ้ 1 เป็นนวัตกรรมที่ไม่ซับซ้อน เพียงแค่นำเศษพืชผลเหลือทิ้งทางการเกษตรมาหมักรวมกับมูลสัตว์ แล้วดูแลความชื้นในกองให้เหมาะสม ไม่ต้องพลิกกลับกองปุ๋ยให้ยุ่งยาก โดยใช้เวลาหมักเพียง 2 เดือนเท่านั้น  ซึ่งจากโครงการในครั้งนี้เราจะได้ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีคุณภาพตามมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ตามเกณฑ์ของกรมวิชาการเกษตรประมาณ 60 ตัน มีมูลค่าประมาณ 480,000 บาท เกษตรกรสามารถนำไปใช้ในพื้นที่การเกษตรของตนเองเพื่อลดต้นทุน หรือนำไปจำหน่ายได้ โดยหวังว่าโครงการนี้จะเป็นพื้นที่ต้นแบบในการจัดการเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร หรือจากการเก็บเกี่ยวเพื่อลดการเผา ลดฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศ PM2.5) ได้อย่างเป็นรูปธรรม”สำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน หรือหน่วยงานต่างๆ ที่สนใจนวัตกรรมการหมักปุ๋ยอินทรีย์แบบไม่พลิกกลับกอง วิธีวิศวกรรมแม่โจ้ 1 สามารถติดต่อรายละเอียดได้ที่  คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทรศัพท์ 0-5387-5000 ถึง 15 ฝ่ายสื่อสารองค์กร ม.แม่โจ้ // รายงาน
8 มีนาคม 2567     |      734
ม. แม่โจ้ คว้าอันดับ 9 ของมหาวิทยาลัยไทย การจัดอันดับ SCImago Institution Rankings 2023 องค์กรที่มีผลงานวิจัยระดับโลก
วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2567  SciMago Institutions Rankings  สถาบันการจัดอันดับที่เน้นให้ความสำคัญกับการทำวิจัยและคุณภาพทางวิชาการในเวทีโลก เปิดเผยข้อมูลการจัดอันดับองค์กรที่มีผลงานวิจัยระดับโลก ประจำปี 2023 ซึ่ง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ คว้าอันดับที่ 9 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย SciMago Institutions Rankings เป็นระบบการจัดอันดับที่ได้รับความนับถือจากทั่วโลก โดยมีการประเมินมหาวิทยาลัยตามเกณฑ์ต่าง ๆ เช่น ผลการวิจัย ความร่วมมือระหว่างประเทศ และผลกระทบระดับสากล ระบบการจัดอันดับของ SciMago Institutions Rankings นอกจากใช้วิธีการพิจารณาปริมาณงานวิจัย แต่ยังมีการประเมินคุณภาพของงานวิจัยอีกด้วยวิธีการจัดอันดับ SciMago Institutions Rankings:ผลการวิจัย: SciMago วิเคราะห์ปริมาณผลงานวิจัยที่มหาวิทยาลัยผลิต ซึ่งรวมถึงบทความทางวิทยาศาสตร์ บทความที่นำเสนอในการประชุม และงานวิจัยทางวิชาการอื่น ๆความร่วมมือระหว่างประเทศ: ระดับของความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและนักวิจัยนานาชาติมีผลกระทบมากที่สุดต่อการจัดอันดับ ดังนั้นสถาบันที่มีเครือข่ายทั่วโลกและมีความร่วมมือที่แข็งแกร่งมักได้รับคะแนนสูงนวัตกรรมและผลกระทบ: SciMago พิจารณาผลกระทบของงานวิจัยโดยการวัดการอ้างอิง (Citation) และการมีผลต่องานวิจัยในวรรณกรรมทางวิทยาศาสตร์ (Impact) มหาวิทยาลัยที่ผลิตงานวิจัยที่มีผลกระทบ (Impact) จะได้รับคะแนนสูงการตีพิมพ์เผยแพร่เป็นสาธารณะ: ระบบการจัดอันดับให้ความสำคัญมหาวิทยาลัยที่ส่งเสริมการเผยแพร่งานวิจัย ดังนั้นสถาบันที่สนับสนุนการกระจายความรู้ไปยังสาธารณะจะได้รับคะแนนสูงความเป็นเลิศในวารสาร: SciMago ประเมินคุณภาพของวารสารที่มหาวิทยาลัยเผยแพร่งานวิจัย วารสารที่ได้รับการจัดอันดับสูงมีผลทำให้ได้คะแนนสูงความสำเร็จของมหาวิทยาลัยแม่โจซึ่งได้รับอันดับที่ 9 จากสถาบันการศึกษาในประเทศไทย ใน SciMago Institutions Rankings ไม่เพียงสะท้อนถึงการทุ่มเทในการวิจัยคุณภาพสูง ความร่วมมือระหว่างประเทศ และนวัตกรรมทางวิชาการ แต่ยังส่งเสริมให้สถาบันการศึกษาของไทยเป็นที่นับถือในเวทีวิชาการในระดับโลกอ้างอิง : https://www.scimagoir.com/institution.php?idp=8229
13 กุมภาพันธ์ 2567     |      1272