ฝ่ายสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
MJU Corporate Communication Center

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ดำเนินการคัดเลือกข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ พนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการ และพนักงานราชการดีเด่น ประจำปี 2561 โดยมีแนวทางการพิจารณา ตามหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดมาใหม่ โดยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีจำนวนข้าราชการ และลูกจ้างประจำ จำนวน 1 – 300 คน ซึ่ง คณะกรรมการบริหารงานบุคคุลมหาวิทยาลัยแม่โจ้ (ก.บ.ม.) สามารถคัดเลือกข้าราชการ และลูกจ้างประจำดีเด่น ประจำปี 2561 ได้ไม่เกิน 1 คน (โดยไม่จำเป็นว่าต้องมีทุกกลุ่ม) เสนอต่อกระทรวงศึกษาธิการ และพิจารณาผลการคัดเลือกพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการดีเด่น ประจำปี 2561 จำนวน 1 ราย และพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนดีเด่น ประจำปี 2561 จำนวน 1 ราย และพนักงานราชการดีเด่น ประจำปี 2561 จำนวน 1 ราย  โดยได้พิจารณาและดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดแล้วอาศัยอำนาจในมาตรา 32 และมาตรา 38(2) แห่งพระราชบัญญัตริมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พ.ศ. 2560 ประกอบกับมติคณะกรรมการบริหารงานบุคคลมหาวิทยาลัยแม่โจ้ (ก.บ.ม.) ในการประชุมครั้งที่ 3/2562 เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2561  ซึ่งผลการคัดเลือก มีดังนี้

ลูกจ้างประจำดีเด่น

นายชัยยุทธ  อินทชัย 

ตำแหน่ง ช่างเขียนระดับ 4    สังกัด กองอาคารและสถานที่ สำนักมหาวิทยาลัย

ข้อคิดในการทำงาน “ซื่อกินไม่หมด  คดกินไม่นาน”

สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ศศ.บ.(ออกแบบนิเทศศิลป์) จากสถาบันราชภัฏเชียงใหม่ มีผลงานดีเด่นและภาคภูมิใจคือ สร้างตู้ถ่ายบล็อกซิลสกรีน ขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 1.40 เมตร สูง 20 ซ.ม. เขียนสมุดลงพระนามในการเสด็จพระราชทานปริญญาบัตร แบบอักษรลายอาลักษณ์ และได้รับรางวัลต่าง ๆ อีกมากมาย เป็นผู้ที่ประพฤติปฏิบัติตนในการครองตน ครองคน และครองงาน อีกทั้งปฏิบัติราชการด้วยความมานะ อดทน เสียสละ มีความซื่อสัตย์สุจริต จนเป็นผลดีแก่ทางราชการอย่างยิ่ง และเป็นที่รักใคร่ของผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน จึงสมควรได้รับการคัดเลือกให้เป็นข้าราชการดีเด่น ประจำปี 2561

พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการดีเด่น 

รองศาสตราจารย์ ดร.นิวุฒิ  หวังชัย

ตำแหน่ง รองคณบดีคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำฝ่ายวิจัยและการต่างประเทศ  สังกัด คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ

ข้อคิดในการทำงาน “ทำงานอย่างมีความสุข จัดลำดับความสำคัญของงาน และมองปัญหาเป็นความท้าทาย”

สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก วุฒิ Ph.D.(Applied Biochemistry) จาก University of Tsukuba มีผลงานดีเด่นและภาคภูมิใจคือ สร้างผลงานวิจัย ในฐาน ISI และ SCOPUS ได้ทุนวิจัยและบริการวิชาการ เป็นผู้ประสานงาน มหาวิทยาลัยต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น สาธารณรัฐ ประชาชนลาว 6 สร้างนวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสมัยใหม่ที่เน้นการผลิตสัตว์น้ำอย่างปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์และมีความยั่งยืนที่สอดคล้องกับพันธกิจของมหาวิทยาลัย และได้รับรางวัลต่าง ๆ อีกมากมาย เป็นผู้ที่ประพฤติปฏิบัติตนในการครองตน ครองคน และครองงานอีกทั้งปฏิบัติราชการด้วยความมานะ อดทน เสียสละ มีความซื่อสัตย์สุจริต จนเป็นผลดีแก่ทางราชการอย่างยิ่ง และเป็นที่รักใคร่ของผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน จึงสมควรได้รับการคัดเลือกให้เป็นพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการดีเด่น ประจำปี 2561

พนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการดีเด่น

นางธัญรัศมิ์  ธวัชมงคลศักดิ์

ตำแหน่ง เลขานุการสำนัก  สังกัด สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร

ข้อคิดในการทำงาน “การเปลี่ยนแปลงจะมาพร้อมกับสิ่งที่ดีเสมอ ในการพัฒนาตนเองและองค์กร”

สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท วุฒิ ทษ.ม. (เศรษฐศาสตร์และสหกรณ์) จากสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ มีผลงานดีเด่นและภาคภูมิใจคือ ขับเคลื่อน และผลักดัน ในการสร้างระบบและกลไกงานวิจัยและบริการวิชาการจากแหล่งทุนภายนอก เพื่อเป็นแนวปฏิบัติที่ดีแก่นักวิจัยและองค์กร และงานบริหารสนับสนุนการดำเนินการตามภารกิจของสำนักวิจัยฯ ด้านบริหารจัดการวิจัยและบริการวิชาการ และได้รับรางวัลต่าง ๆ อีกมากมาย เป็นผู้ที่ประพฤติปฏิบัติตนในการครองตน ครองคน และครองงาน อีกทั้งปฏิบัติราชการด้วยความมานะ อดทน เสียสละ มีความซื่อสัตย์สุจริต จนเป็นผลดีแก่ทางราชการอย่างยิ่ง และเป็นที่รักใคร่ของผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน จึงสมควรได้รับการคัดเลือกให้เป็นพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการดีเด่น ประจำปี 2561

พนักงานราชการดีเด่น

นางสุมาลี  ปานสีสด

ตำแหน่ง ผู้ปฏิบัติงานบริหาร สังกัด กองกิจการนักศึกษา สำนักงานมหาวิทยาลัย

ข้อคิดในการทำงาน “คิดดี พูดดี ทำดี แล้วสิ่งดีๆ จะเกิดขึ้นกับเรา”

สำเร็จการศึกษาระดับ ปวส. (การตลาด) จากโรงเรียนโปลิเทคนิคลานนา มีผลงานดีเด่นและภาคภูมิใจคือ การปฏิบัติงาน ด้วยใจรัก ซื่อสัตย์  ต่อมหาวิทยาลัยแม่โจ้มาเป็นระยะเวลา ๖ ปี ดูแลนักศึกษาใหม่ที่พักในหอพัก โดยงานที่ปฏิบัติได้สำเร็จลุล่วงเป็นไปตามแผนที่วางไว้ และได้รับรางวัลต่าง ๆ อีกมากมาย เป็นผู้ที่ประพฤติปฏิบัติตนในการครองตน ครองคน และครองงาน อีกทั้งปฏิบัติราชการด้วยความมานะ อดทน เสียสละ มีความซื่อสัตย์สุจริต จนเป็นผลดีแก่ทางราช การอย่างยิ่ง และเป็นที่รักใคร่ของผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน จึงสมควรได้รับการคัดเลือกให้เป็นพนักงานราชการดีเด่น ประจำปี 2561

ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเป็นลูกจ้างประจำดีเด่น ได้เข้าพิธีรับเกียรติบัตร เข็มเชิดชูเกียรติ(ครุฑทองคำ) ในวันข้าราชการพลเรือน เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2562 และผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเป็นพนักงานดีเด่นทั้ง 3 ท่าน จะเข้าพิธีรับโล่รางวัลและประกาศเกียรติคุณจากอธิการบดีในพิธีไหว้ครู ประจำปีการศึกษา 2562 วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม 2562 ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้เล็งเห็นความสำคัญ ในการสร้างขวัญกำลังใจให้แก่บุคลากรทุกแขนง เพราะทุกคนคือฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนให้มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มุ่งสู่เป้าหมายที่วางไว้

ปรับปรุงข้อมูล : 25/7/2562 15:07:07     ที่มา : ฝ่ายสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 537

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวประชาสัมพันธ์

ข่าวล่าสุด

นศ.บริหารธุรกิจ ม.แม่โจ้ รับรางวัล “นำเสนอดี” งานประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 8 พัฒนาระบบตรวจนับครุภัณฑ์แบบคิวอาร์โค้ด ช่วยให้งานตรวจนับครุภัณฑ์เป็นเรื่องง่ายๆ
นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้รับรางวัล “นำเสนอดี” ภาคบรรยาย จากผลงาน การพัฒนาระบบตรวจนับครุภัณฑ์โดยใช้คิวอาร์โค้ด : กรณีศึกษาสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ  ในการประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 8  ซึ่งจัดขึ้นโดยคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพฯการพัฒนาระบบตรวจนับครุภัณฑ์โดยใช้คิวอาร์โค้ด :  กรณีศึกษาสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ” ผลงานของ นางสาวขวัญจิรา ชมภู และ นางสาวสวิณี มูลฟอง นักศึกษาสาขาระบบสารสนเทศทางธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฉัตร ชูชื่น อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต  เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา  โดยระบบนี้เป็นการเก็บข้อมูลจากปัญหา (Pain Point) ที่เกิดขึ้นและความต้องการ (requirement) จากผู้ใช้งานจริงมาพัฒนาชิ้นงานจนได้ทำการพัฒนาเป็นระบบตรวจนับครุภัณฑ์ โดยใช้เทคโนโลยี  QrCode  ลดความยุ่งยากซับซ้อน ที่ช่วยในเรื่องของการตรวจนับได้อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องจดบันทึกลงเล่มครุภัณฑ์ มีความแม่นยำในการตรวจนับ มีการแสดงข้อมูลครุภัณฑ์ที่สแกนได้ทันที สามารถสแกนทำการตรวจนับได้ทุกที่ รวมถึงการเรียกดูข้อมูลที่ง่ายขึ้นและข้อมูลเป็นแบบเรียลไทม์ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฉัตร ชูชื่น อาจารย์ที่ปรึกษา กล่าวเพิ่มเติมว่า “การพัฒนาระบบตรวจนับครุภัณฑ์โดยใช้คิวอาร์โค้ด  กรณีศึกษาสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ  เป็นผลงานที่ให้นักศึกษาได้นำความรู้ที่เรียนมาต่อยอดจากงานที่พัฒนาในรายวิชาสหกิจศึกษาและรายวิชาโครงงานระบบสารสนเทศทางธุรกิจ โดยได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากปัญหา รวมถึงความต้องการ จากผู้ใช้งานจริงมาพัฒนาชิ้นงานดังกล่าวนี้ออกมา จนได้ทำการพัฒนาระบบที่สามารถนำไปใช้ได้จริงในการทำงาน และยังสามารถเป็นต้นแบบในการพัฒนาระบบเพื่อปรับใช้กับงานอื่นๆ ได้อีกด้วย รางวัลในครั้งนี้จึงเป็นเหมือนแรงบันดาลใจให้นักศึกษาได้พัฒนาผลงานอื่นๆ ต่อเนื่องไปได้อีกเรื่อย ๆ ช่วยให้นักศึกษาพัฒนาศักยภาพของตนเองได้อีกทางหนึ่ง” ฝ่ายสื่อสารองค์กร ม.แม่โจ้ // รายงาน
21 มีนาคม 2567     |      483
เด็กวิศวะฯ การยางฯ ม.แม่โจ้ คว้า 2 เหรียญทอง I-New Gen Award 2024 สร้างสรรค์นวัตกรรมทางการเกษตร สร้างรายได้ ลดใช้พลังงาน รักษ์โลก
 นักศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ คว้า 2 รางวัลเหรียญทอง จากการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม “Thailand New Gen Inventors Award 2024” (I-New Gen Award 2024) จัดขึ้นโดย สํานักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา  ซึ่งมีการแสดงผลงานสิ่งประดิษฐ์จากนักประดิษฐ์รุ่นใหม่ 3 ระดับ ได้แก่ ระดับมัธยม อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา ในปีนี้คัดเลือกผลงานจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ จากทั่วประเทศกว่า 1,000 ผลงาน จาก 330 สถาบันทั่วประเทศ  และมหาวิทยาลัยแม่โจ้สามารถคว้ามาได้ถึง  2 เหรียญทอง ในระดับอุดมศึกษา ได้แก่รางวัลเหรียญทอง กลุ่มเกษตร จากการคิดค้นนวัตกรรม “พอรัส มัลซ์ (ผ้ายางคลุมดินอัจฉริยะ)” โดย นางสาวรัชนี จิระพาณิชย์ และ นางสาวศศินิภา บุญมา  นักศึกษาชั้นปีที่ 1“พอรัส มัลซ์ (ผ้ายางคลุมดินอัจฉริยะ)” เป็นนวัตกรรมผ้ายางคลุมดินที่ช่วยระบายอากาศและน้ำได้ดี ลดการเกิดเชื้อโรค พืชเจริญเติบโตดี ลดการใช้พลังงานในการแปรรูป ลดการเกิดไมโครพลาสติกที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและมนุษย์ ใช้เทคโนโลยี IOT ควบคุมอุณหภูมิและความชื้นในดิน เหมาะแก่การใช้งานปลูกพืชอินทรีย์รางวัลเหรียญทอง กลุ่มพลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ จากการคิดค้นนวัตกรรม “กรีนโกร์ว (ถุงเพาะชำยางรักษ์โลก)” โดย นายวรพงศ์ ชูใจ นักศึกษาชั้นปีที่ 1“กรีนโกร์ว (ถุงเพาะชำยางรักษ์โลก)” เป็นถุงเพาะชำที่สามารถย่อยสลายได้โดยธรรมชาติ พืชเจริญเติบโตได้ดี ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ใช้เทคนิคพิเศษในการผสมยางพารากับแป้งมาเคลือบถุงกระดาษคราฟท์ที่ทำจากเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ช่วยลดการเผา ลด PM 2.5 และช่วยลดปริมาณขยะพลาสติกได้ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิวโรฒ บุญราศรี อาจารย์ที่ปรึกษาจากหลักสูตรเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวเพิ่มเติมว่า “สำหรับทั้ง 2 ผลงานที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้ นอกจากจะเป็นเวทีให้นักศึกษาได้ใช้ความรู้ คิดค้นนวัตกรรมต่างๆ ที่มาช่วยแก้ปัญหาด้านการเกษตรในมิติต่าง ๆ แล้วยังช่วยเพิ่มช่องทางสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับยางพาราซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของประเทศ ช่วยเกษตรกรชาวสวนยางให้มีรายได้เพิ่มขึ้นจากเดิม   ซึ่งผลงานนวัตกรรมดังกล่าว ขณะนี้อยู่ในกระบวนการจดสิทธิบัตร เตรียมต่อยอดขยายผลเผยแพร่องค์ความรู้ให้กับเกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจชุมหรือผู้ประกอบการ เพื่อให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงนวัตกรรมนี้ได้อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น”สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ หลักสูตรเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทร. 053 875000  และ  090 519 4926 ฝ่ายสื่อสารองค์กร ม.แม่โจ้ // รายงาน
12 มีนาคม 2567     |      1284
คณะวิศวะฯ ม.แม่โจ้ นำร่อง “ลดเผา ลดควัน แป๋งปุ๋ยบนดอย” ชูนวัตกรรมปุ๋ยหมักไม่พลิกกลับกองฯ จัดการเศษข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เหลือทิ้งจากการเก็บเกี่ยวบนพื้นที่สูงลดการเผา ลดฝุ่น PM2.5
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำโดย อาจารย์ ดร.แสนวสันต์ ยอดคำ รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและกิจการพิเศษ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนวัฒน์ นิทัศน์วิจิตร อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร  ร่วมกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ่อแก้ว ลัวฉือนี ต.บ่อแก้ว อ.สะเมิง จ. เชียงใหม่ ได้ดำเนินโครงการ ลดเผา ลดควัน แป๋งปุ๋ยบนดอย โดยได้นำร่องรับซื้อเศษข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ ราคากิโลกรัมละ 1 บาท จำนวนกว่า 40,000 กิโลกรัม (40 ตัน) เพื่อนำมาทำปุ๋ยอินทรีย์ลดการเผา โดยใช้ วิธีการหมักปุ๋ยอินทรีย์แบบไม่พลิกกลับกอง วิธีวิศวกรรมแม่โจ้ 1 ที่เป็นนวัตกรรมองค์ความรู้ของอาจารย์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ให้เป็นพื้นที่ต้นแบบในการลดปัญหาการเผาเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ลดปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศ (PM2.5) ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเผาที่ส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อนนอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมให้ชุมชนมีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ที่มีคุณภาพใช้ในพื้นที่ เพื่อลดต้นทุนการผลิต และสามารถต่อยอดจำหน่ายเชิงพาณิชย์เพื่อสร้างรายได้ให้แก่กลุ่มวิสาหกิจ ซึ่งถือเป็นการแก้ปัญหาการเผาตั้งแต่ต้นทาง และเป็นการสร้างมูลค่าจากเศษวัสดุเหลือทิ้ง ตามแนวทางโมเดลการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อความยั่งยืนของประเทศไทย (BCG Model) และเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา นายวิโรจน์ ดวงสุวรรณ์นายอำเภอสะเมิง ได้เข้าเยี่ยมชมการดำเนินกิจกรรมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อลดการเผาของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ่อแก้ว ลัวฉือนี ต.บ่อแก้ว  อ.สะเมิง จ. เชียงใหม่ พร้อมทั้งในกำลังใจทีมงานให้การดำเนินโครงการประสบความสำเร็จอาจารย์ ดรแสนวสันต์ ยอดคำ รองคณบดีฯ คณะวิศวะกรรมฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า วิธีการหมักปุ๋ยอินทรีย์แบบไม่พลิกกลับกอง วิธีวิศวกรรมแม่โจ้ 1 เป็นนวัตกรรมที่ไม่ซับซ้อน เพียงแค่นำเศษพืชผลเหลือทิ้งทางการเกษตรมาหมักรวมกับมูลสัตว์ แล้วดูแลความชื้นในกองให้เหมาะสม ไม่ต้องพลิกกลับกองปุ๋ยให้ยุ่งยาก โดยใช้เวลาหมักเพียง 2 เดือนเท่านั้น  ซึ่งจากโครงการในครั้งนี้เราจะได้ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีคุณภาพตามมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ตามเกณฑ์ของกรมวิชาการเกษตรประมาณ 60 ตัน มีมูลค่าประมาณ 480,000 บาท เกษตรกรสามารถนำไปใช้ในพื้นที่การเกษตรของตนเองเพื่อลดต้นทุน หรือนำไปจำหน่ายได้ โดยหวังว่าโครงการนี้จะเป็นพื้นที่ต้นแบบในการจัดการเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร หรือจากการเก็บเกี่ยวเพื่อลดการเผา ลดฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศ PM2.5) ได้อย่างเป็นรูปธรรม”สำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน หรือหน่วยงานต่างๆ ที่สนใจนวัตกรรมการหมักปุ๋ยอินทรีย์แบบไม่พลิกกลับกอง วิธีวิศวกรรมแม่โจ้ 1 สามารถติดต่อรายละเอียดได้ที่  คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทรศัพท์ 0-5387-5000 ถึง 15 ฝ่ายสื่อสารองค์กร ม.แม่โจ้ // รายงาน
8 มีนาคม 2567     |      739
ม. แม่โจ้ คว้าอันดับ 9 ของมหาวิทยาลัยไทย การจัดอันดับ SCImago Institution Rankings 2023 องค์กรที่มีผลงานวิจัยระดับโลก
วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2567  SciMago Institutions Rankings  สถาบันการจัดอันดับที่เน้นให้ความสำคัญกับการทำวิจัยและคุณภาพทางวิชาการในเวทีโลก เปิดเผยข้อมูลการจัดอันดับองค์กรที่มีผลงานวิจัยระดับโลก ประจำปี 2023 ซึ่ง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ คว้าอันดับที่ 9 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย SciMago Institutions Rankings เป็นระบบการจัดอันดับที่ได้รับความนับถือจากทั่วโลก โดยมีการประเมินมหาวิทยาลัยตามเกณฑ์ต่าง ๆ เช่น ผลการวิจัย ความร่วมมือระหว่างประเทศ และผลกระทบระดับสากล ระบบการจัดอันดับของ SciMago Institutions Rankings นอกจากใช้วิธีการพิจารณาปริมาณงานวิจัย แต่ยังมีการประเมินคุณภาพของงานวิจัยอีกด้วยวิธีการจัดอันดับ SciMago Institutions Rankings:ผลการวิจัย: SciMago วิเคราะห์ปริมาณผลงานวิจัยที่มหาวิทยาลัยผลิต ซึ่งรวมถึงบทความทางวิทยาศาสตร์ บทความที่นำเสนอในการประชุม และงานวิจัยทางวิชาการอื่น ๆความร่วมมือระหว่างประเทศ: ระดับของความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและนักวิจัยนานาชาติมีผลกระทบมากที่สุดต่อการจัดอันดับ ดังนั้นสถาบันที่มีเครือข่ายทั่วโลกและมีความร่วมมือที่แข็งแกร่งมักได้รับคะแนนสูงนวัตกรรมและผลกระทบ: SciMago พิจารณาผลกระทบของงานวิจัยโดยการวัดการอ้างอิง (Citation) และการมีผลต่องานวิจัยในวรรณกรรมทางวิทยาศาสตร์ (Impact) มหาวิทยาลัยที่ผลิตงานวิจัยที่มีผลกระทบ (Impact) จะได้รับคะแนนสูงการตีพิมพ์เผยแพร่เป็นสาธารณะ: ระบบการจัดอันดับให้ความสำคัญมหาวิทยาลัยที่ส่งเสริมการเผยแพร่งานวิจัย ดังนั้นสถาบันที่สนับสนุนการกระจายความรู้ไปยังสาธารณะจะได้รับคะแนนสูงความเป็นเลิศในวารสาร: SciMago ประเมินคุณภาพของวารสารที่มหาวิทยาลัยเผยแพร่งานวิจัย วารสารที่ได้รับการจัดอันดับสูงมีผลทำให้ได้คะแนนสูงความสำเร็จของมหาวิทยาลัยแม่โจซึ่งได้รับอันดับที่ 9 จากสถาบันการศึกษาในประเทศไทย ใน SciMago Institutions Rankings ไม่เพียงสะท้อนถึงการทุ่มเทในการวิจัยคุณภาพสูง ความร่วมมือระหว่างประเทศ และนวัตกรรมทางวิชาการ แต่ยังส่งเสริมให้สถาบันการศึกษาของไทยเป็นที่นับถือในเวทีวิชาการในระดับโลกอ้างอิง : https://www.scimagoir.com/institution.php?idp=8229
13 กุมภาพันธ์ 2567     |      1283