ฝ่ายสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
MJU Corporate Communication Center

มหาวิทยาลัยแม่โจ้จัดทำรถกระทงใหญ่  “เชียงใหม่ นครที่เป็นที่สุดแห่งความสง่างามทางวัฒนธรรม”เข้าร่วมสืบสานวัฒนธรรมประเพณีเดือนยี่เป็งเชียงใหม่ ประจำปี 2562   ในวันที่  12  พฤศจิกายน  2562  ณ เทศบาลนครเชียงใหม่

นับจาก พ.ศ. 2512 – 2562   เป็นเวลาเกือบ 50 ปี ที่แม่โจ้ได้จัดทำรถกระทงเข้าร่วมงานเดือนยี่เป็งเชียงใหม่ ร่วมอนุรักษ์และสืบสานประเพณีอันดีงามมาจวบจนปัจจุบัน แสดงให้เห็นว่า “แม่โจ้” เป็นสถาบันการศึกษาที่ให้ความสำคัญกับการทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมอย่างจริงจัง ซึ่งเป็นหนึ่งในพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัยมาโดยตลอด

ปี 2512 ส่งรถกระทงเข้าร่วมงานเป็นครั้งแรก ครั้งยังเป็นวิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่ จากนั้นส่งเข้าร่วมเรื่อยมา

ปี 2518 เริ่มส่งเข้าประกวดครั้งแรก และส่งเข้าประกวดต่อเนื่องเรื่อยมา

ปี 2535-2544 เริ่มได้รับรางวัลชนะเลิศ และได้รับรางวัลต่อเนื่องเรื่อยมา

ปี 2545 -2546 ได้รับถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธรฯ สยามบรมราชกุมารี

ปี 2547 ส่งขบวนรถร่วมสืบสานประเพณี (ไม่ประกวด) โอกาสฉลองมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ครบ 70 ปี

ปี 2548 ได้รับถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธรฯ สยามบรมราชกุมารี

ปี 2549ได้รับรางวัลชนะเลิศ กลุ่ม 2

ปี 2550 ส่งขบวนรถร่วมสืบสานประเพณี (ไม่ประกวด) โอกาสงานวันเกษตรแม่โจ้

ปี 2551 ได้รับถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธรฯ สยามบรมราชกุมารี

ปี 2552 ได้รับถ้วยพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

ปี 2553-2556 ได้รับรางวัลถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

ปี 2557 ส่งขบวนรถร่วมสืบสานประเพณี (ไม่ประกวด)

ปี 2558 ได้รับรางวัลถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

ปี 2559 ส่งขบวนรถเข้าร่วมสืบสานประเพณี (ไม่ประกวด) ร่วมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

ปี 2561 ได้รับรางวัลชนะเลิศถ้วยนายกรัฐมนตรี

ความสำเร็จเหนือสิ่งอื่นใด คือพลังแห่งความสามัคคีของชาวแม่โจ้ เพราะการจัดทำรถกระทงของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นการทำงานหลักโดยนักศึกษาทั้งส่วนการออกแบบ การตกแต่งรายละเอียด  ควบคุมบริหารงานและการ จัดการ ใช้เวลาในการประดิษฐ์แต่ละครั้งประมาณ 3-4 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคม โดยมีการสืบทอดภูมิปัญญาการประดิษฐ์จากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง มีกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมคอยอำนวยความสะดวก มีคณะผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร ศิษย์เก่าคอยให้การสนับสนุน เพื่อช่วยกันสานต่อวัฒนธรรมองค์กรที่ดี และสืบสานวัฒนธรรมประเพณีของไทยเรื่อยมาตลอดระยะเวลาร่วม 50 ปี 

สำหรับในปี 2562 นี้  มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ส่งขบวนรถกระทงใหญ่ เข้าร่วมงานประเพณีเดือนยี่เป็งเชียงใหม่ โดยไม่ประกวด ภายใต้แนวคิด “เชียงใหม่ นครที่เป็นที่สุดแห่งความสง่างามทางวัฒนธรรม” ยังคงใช้พญานาคสัญลักษณ์แห่งการเกษตรและความอุดมสมบูรณ์เป็นอัตลักษณ์แสดงถึงมหาวิทยาลัยแม่โจ้ นกยูงเพื่อแสดงถึงความสง่างามและความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ นอกจากนั้นได้จำลองวัดพระธาตุดอยสุดเทพ เอกลักษณ์ของเชียงใหม่ ประกอบไปด้วยภูเขาที่มีความอุดมสมบูรณ์ของป่า เพื่อแสดงให้เห็นว่าไม่ว่าบ้านเมืองจะพัฒนาไปไกลเพียงใดชาวเชียงใหม่ก็ยังคงรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรม ประเพณี และธรรมชาติ พร้อมทั้งยังแสด งความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ไทย ที่ประดับประดาอย่างวิจิตรประณีต ร่วมด้วยริ้วขบวนแห่ยิ่งใหญ่ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา  รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำทีม คณะผู้บริหาร  คณาจารย์ และนักศึกษา เข้าร่วมขบวน เพื่อแสดงถึงความรัก ความสามัคคีของชาวแม่โจ้ในทุกภาคส่วน ที่ร่วมกันส่งเสริมและสนับสนุนจนประสบความสำเร็จ

ขอเชิญทุกท่านชมความยิ่งใหญ่อลังการ ของขบวนกระทงใหญ่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในงานประเพณียี่เป็งเชียงใหม่ ประจำปี 2562  โดยจะอยู่ในลำดับขบวนที่ 6 เคลื่อนขบวนจากข่วงประตูท่าแพ สู่บริเวณเทศบาลนครเชียงใหม่ เพื่อแสดงผลงานแห่งความภาคภูมิใจสู่สายตาประชาชน ในคืนวันที่ 12 พฤศจิกายน 2562....

(ข้อมูลอ้างอิง....วารสารช่ออินทนิล ปีที่ 1 ช่อที่ 1 พ.ศ. 2561)

-------------------------------------------------------------- 

ฝ่ายสื่อสารองค์ดร สำนักงานมหาวิทยาลัย / รายงาน

โทร 0 5387 3016-8

ปรับปรุงข้อมูล : 11/11/2562 14:50:53     ที่มา : ฝ่ายสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 1294

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวประชาสัมพันธ์

ข่าวล่าสุด

ม.แม่โจ้มุ่งสู่สากลติดอันดับโลก World University Rankings - SCImago Institutions Rankings
           มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้รับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของโลกโดย Times Higher Education World University Rankings 2025  เป็นอันดับ 9 ของประเทศไทย โดยเป็นอันดับที่ 3 จาก 10 มหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพด้านการวิจัยที่ดีที่สุดในประเทศไทยปี 2025  และเป็นอันดับที่ 9  ของมหาวิทยาลัยไทย อันดับที่ 401-475 ของโลก ด้านเกษตรศาสตร์และป่าไม้  ซึ่งเป็นผลมาจากผลงานโดดเด่นจาก 5 ตัวชี้วัดในการจัดอันดับมหาวิทยาลัย ได้แก่ การเรียนการสอน  การจัดการระบบนิเวศการวิจัย  คุณภาพการวิจัย รายได้จากผลงานลิขสิทธิ์นวัตกรรม และความเป็นสากลนานาชาติ          ล่าสุด SCImago Institutions Rankings (SIR) ได้เผยแพร่ผลการจัดอันดับสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาทั่วโลก ประจำปี 2025 โดย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อยู่ในอันดับ 13  จาก 15 มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในไทย ปี 2025 และเป็นอันดับที่ 11 จาก 15 มหาวิทยาลัยไทยที่โดดเด่นด้าน Chemistry โดยปีนี้มีเพียง 33 มหาวิทยาลัยของไทยเท่านั้นที่ได้รับการจัดอันดับจาก SIR ซึ่งได้รับการยอมรับจากทั่วโลก และการจัดอันดับในแต่ละครั้งจะบ่งบอกถึงความก้าวหน้า และการพัฒนาในกระบวนการ “การวิจัย” องค์ความรู้ด้านต่าง ๆ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการวิจัยและการพัฒนา ซึ่งจะทำให้ต่อยอดไปสู่การพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ ให้กับสังคมโลกได้อีกด้วย           นอกจากนั้น มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ยังติดอันดับที่ 12 ของมหาวิทยาลัยไทย อันดับ top 401 – 600 ของโลก มหาวิทยาลัยที่มีการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) หรือ “THE Impact Rankings” ปี 2024  อีกทั้ง ได้รับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียว เป็นอันดับที่ 11 ของประเทศและอันดับที่ 143 ของโลก  และยังอยู่ในระดับ Top 10 ของมหาวิทยาลัยรัฐที่มีผู้สนใจเข้าศึกษาต่อมาโดยตลอด ปัจจุบันมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีนักศึกษาประมาณ 20,000 คน  มีการจัดการเรียนการสอน 15 คณะ 3 วิทยาลัย  ทั้งหลักสูตรปกติและหลักสูตรนานาชาติ  และมีคณะที่ทำการเปิดสอนล่าสุด ได้แก่ คณะพยาบาลศาสตร์ และคณะสัตว-แพทยศาสตร์  และจากการจัดอันดับ มหาวิทยาลัยสุขภาวะ Healthy University Rating  โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุน  การสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มหาวิทยาลัยแม่โจ้  ติด 1 ใน 10 ที่ได้ระดับ 4-5 ดาว “มหาวิทยาลัยสุขภาวะ Healthy University Rating 2023  ด้วยการประเมินจาก 42 ตัวชี้วัดด้านนโยบาย ระบบและโครงสร้างพื้นฐานการลดความเสี่ยงและปัญหาสุขภาพ และกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ มุ่งสู่การเป็น “มหาวิทยาลัยส่งเสริมสุขภาพ” ในระดับนานาชาติ            รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล  ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า “ในปี 2025  Maejo Next Step มหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมก้าวสู่ยุทธศาสตร์ Intelligence Well – being AgricultureIWA)  การเกษตรอัจฉริยะเพื่อสุขภาวะที่ดี  จะผสมผสาน Local Wisdom Innovation ก่อให้เกิดนวัตกรรมต่อยอด เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยในอนาคต และมีการจัดวิพากย์ศาสตร์ด้านการเกษตรหลักที่เป็นจุดเน้นในการพัฒนามหาวิทยาลัย ด้วยเป้าหมายการพัฒนาคุณภาพการศึกษา การวิจัยและนวัตกรรม บัณฑิตผู้ประกอบการ  การจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ และการส่งเสริมสุขภาพสร้างเครือข่ายความร่วมมืออย่างยั่งยืนต่อไป” ฝ่ายสื่อสารองค์กร ม.แม่โจ้ //รายงาน
21 มีนาคม 2568     |      281
คณะผลิตฯ  ม.แม่โจ้ อบรมเพาะเลี้ยง "ไข่ผำ" นำร่องส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชย์”
ฝ่ายกิจการพิเศษและหารายได้ คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ "การเพาะเลี้ยงและการใช้ประโยชน์จากไข่ผำเพื่อเพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชย์" รุ่นที่ 1 โดยมีเกษตรกรและผู้ประกอบการจากหลายจังหวัดทั่วประเทศเข้าร่วมอย่างคึกคัก เมื่อวันที่ วันที่ 8  มีนาคม 2568   ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้โครงการนี้มุ่งเน้นให้ความรู้ด้านเทคนิคการเพาะเลี้ยงไข่ผำในระบบอินทรีย์ แนวทางการตลาด และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ เพื่อต่อยอดการสร้างมูลค่าเพิ่ม และพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารและเกษตรกรรมสมัยใหม่ โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญร่วมถ่ายทอดองค์ความรู้  ได้แก่ อาจารย์ ดร.ศุภชัย สุทธิเจริญ และ ว่าที่ ร.ต. ณัฏฐ์ศรันย์ ศรีกิจ จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม  และ ผศ.ดร.จอมสุดา ดวงวงษา จากคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้อาจารย์ ดร.วงค์พันธ์  พรหมวงศ์ รองคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษและหารายได้ คณะผลิตกรรมการเกษตร ในฐานะผู้จัดโครงการฯ กล่าวว่า  “โครงการนี้ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากเกษตรกรและผู้ประกอบการด้านไข่ผำจากหลายจังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสนใจในการพัฒนาอุตสาหกรรมไข่ผำให้เติบโตอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมยังได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ พร้อมทั้งศึกษาตัวอย่างแนวทางการนำไข่ผำไปใช้เชิงพาณิชย์  ซึ่งด้วยศักยภาพของไข่ผำในฐานะโปรตีนทางเลือก และโอกาสในการขยายตัวของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ   การอบรมเครั้งนี้จึงถือเป็นก้าวสำคัญในการผลักดันให้ “ไข่ผำ” กลายเป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจที่มีบทบาทสำคัญต่ออุตสาหกรรมอาหารและเกษตรกรรมในอนาคต เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างเครือข่ายผู้เพาะเลี้ยงไข่ผำและนักพัฒนาเทคโนโลยีด้านนี้  ที่สามารถนำไปพัฒนาการผลิตและการตลาด เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจให้เติบโตอย่างเป็นรูปธรรม และช่วยยกระดับผลิตภัณฑ์ไข่ผำให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดระดับสากล" สำหรับผู้ที่สนใจข้อมูลรายละเอียดการฝึกอบรมเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่ ฝ่ายกิจการพิเศษและหารายได้ คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทร. 0 5387 5600 ในวันและเวลาทำการ
11 มีนาคม 2568     |      409
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ หนุนความร่วมมือภาคธุรกิจ พัฒนาเกษตรและปศุสัตว์ไทยด้วยนวัตกรรม
วันที่ 6 มีนาคม 2568 – มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สนับสนุนความร่วมมือระหว่าง บริษัท อนิ โปรดัก จำกัด ซึ่งเป็นบริษัท spin-off จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และ บริษัท นิวทริเมด จำกัด ในพิธีลงนามความร่วมมือเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ตลาดและความต้องการของผู้บริโภค โอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วยผู้บริหารมหาวิทยาลัยร่วมเป็นสักขีพยาน ในพิธีลงนามความร่วมมือทางวืชาการในครั้งนี้ โดยมี คุณพรพิมล บุญโคตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท อนิ โปรดัก จำกัด และ คุณวิสูตร วิสุทธิไกรสีห์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท นิวทริเมด จำกัด เป็นผู้แทนลงนาม ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัย ชั้น 5 สำนักงานมกาวิทยาลัยแม่โจ้ความร่วมมือนี้มุ่งเน้นการบูรณาการ เทคโนโลยีและงานวิจัยสู่ภาคเกษตรและปศุสัตว์ โดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้จะร่วมมือกับภาคเอกชนในการพัฒนานวัตกรรมที่ส่งผลกระทบเชิงบวกต่ออุตสาหกรรมเกษตรไทย เช่น ผลิตภัณฑ์จุ่มเคลือบเต้านมโคจากธรรมชาติ. , ผลิตภัณฑ์ป้องกันแมลงในสัตว์เลี้ยง. และอีกหลายผลิตภัณฑ์ที่อยู่ระหว่างการวิจัยและพัฒนา. คาดว่า จะช่วยยกระดับมาตรฐานการผลิต และเสริมศักยภาพการแข่งขันของประเทศได้
7 มีนาคม 2568     |      260
พิธีพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ครั้งที่ 47 ประจำปีการศึกษา 2566-2567
               ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี  กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีการศึกษา 2566-2567 (ครั้งที่ 47) ในวันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ 2568 โดยมีบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต จำนวน 2217 ราย แยกเป็น ระดับบัณฑิตศึกษา (ป.โท - ป.เอก) จำนวน 116 ราย   ระดับปริญญาตรี 2,099 ราย และพระบัณฑิต จำนวน 2 รูป เข้าร่วมพิธี ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่    ในการนี้  สภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีมติอนุมัติปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ให้แก่ผู้สร้างคุณประโยชน์ต่อองค์กรและสังคมประเทศชาติมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดี และศิษย์เก่าแม่โจ้ดีเด่น เพื่อเข้ารับพระราชทานโล่ศิษย์เก่าแม่โจ้ดีเด่น ประจำปี 2567 รวมจำนวน 10 ราย ดังนี้ผู้ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จำนวน 4 ราย  ได้แก่    1. นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน  (แม่โจ้ รุ่น 50)รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์   2.  พระวิสุทธิวัชราภรณ์  พระราชาคณะชั้นสามัญ , รองเจ้าคณะอำเภอแม่ริม, เจ้าอาวาสวัดลัฏฐิวัน (วัดพระนอนขอนตาลศักดิ์สิทธิ์)              ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการชุมชน   3. นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ (แม่โจ้ รุ่น 56)รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมรัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์  สาขาวิชารัฐศาสตร์ นายศุภสิทธิ์ เขื่อนแก้ว  (แม่โจ้ รุ่น 64)เจ้าของฟาร์มโชคอนันต์ฟาร์ม เชียงราย                   ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ ผู้ได้รับโล่ศิษย์เก่าแม่โจ้ดีเด่น ประจำปี 2567 จำนวน  6 ราย ได้แก่    1. นายสมบัติ นิ่มเงิน       ศิษย์เก่าแม่โจ้รุ่น 48  อดีตรองกรรมการผู้จัตการอาวุโส บริษัท เจริญแพลนเตชั่น จำกัด ประเทศกัมพูชา  , บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โปรดิ้วส์ จำกัด ประเทศไทย 2. นายรณชัย บุญรอด    ศิษย์เก่แม่โจ้รุ่น 54  ผู้จัดการฝ่ายการตลาด(แผนกอาหารสัตว์)  บริษัท อาหารสยาม (2513) จำกัดผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทองเลียนบัวจูม ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่นที่ 55  อาจารย์ประจำคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยแม่โจ้  4. นายอุดมศักดิ์ เฉลิมพนาพันธ์ ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่นที่ 56 เจ้าของร้านเสือการเกษตร 5. นายมะนิต สารุณา ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่น 58  ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนา ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครพนม 6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุริยจรัส เตชะตันมีนสกุล ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่น 59 รักษาการแทนรองอธอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้            สำหรับ บัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต ให้มารายงานตัวเพื่อยืนยันตัวตน และเข้าร่วมการฝึกซ้อม ตามกำหนดการดังนี้วันเสาร์ที่     15 กุมภาพันธ์  2568    รายงานตัวยืนยันตัวตน   ณ  อาคารอำนวย  ยศสุข  มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วันอาทิตย์ที่  16 กุมภาพันธ์  2568    ฝึกซ่อมย่อย ณ คณะ/วิทยาลัย ที่สังกัดวันจันทร์ที่    17 กุมภาพันธ์  2568    ฝึกซ้อมใหญ่ ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ทั้งนี้ สามารถศึกษาข้อมูลคู่มือการฝึกซ้อมและ ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ http://www.education.mju.ac.th/graduate/
7 กุมภาพันธ์ 2568     |      2313