ฝ่ายสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
MJU Corporate Communication Center

“มหาวิทยาลัยแม่โจ้” สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มีรากฐานทางการเกษตรเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ   มีประวัติศาสตร์ทางการศึกษายาวนาน นับจากปี 2477  ถึงวันนี้มีก้าวสู่ 90 ปี  ได้พัฒนาปรับเปลี่ยนสู่การเป็นมหาวิทยาลัย  กลุ่ม 2  กลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม ที่พร้อมผลิตบัณฑิตสู่ความเป็นผู้อุดมด้วยปัญญา อดทน สู้งาน เป็นผู้มีคุณธรรม และจริยธรรมเพื่อความเจริญรุ่งเรืองวัฒนาของสังคมไทยที่มีการเกษตรเป็นรากฐาน และอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย คือ “การพัฒนานักศึกษาให้เป็นนักปฏิบัติทันต่อการเปลี่ยนแปลงและเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชา”   นอกจากด้านการผลิตบัณฑิตแล้ว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ยังได้สนับสนุนและส่งเสริมด้านการวิจัยที่ต่อยอดองค์ความรู้จนเกิดเป็นรูปธรรม เป็นที่ยอมรับในเวทีระดับชาติและนานาชาติ สามารถนำไปช่วยเหลือ พัฒนาสังคมได้อย่างแท้จริง จนได้รับความไว้วางใจจากผู้ปกครองให้บุตรหลานเลือกเข้ามาศึกษาต่อ ณ สถาบันการศึกษาแห่งนี้ เรียนรู้การใช้ชีวิตในบ้านหลังที่สองที่พร้อมจะให้ทั้งวิชาการและวิชาชีวิตแก่ศิษย์แม่โจ้ทุกคน

ปีการศึกษา 2566 นักศึกษาใหม่จากทั่วทุกสารทิศ ทั้งแม่โจ้-แพร่ฯ และแม่โจ้-ชุมพร จำนวนกว่า 5,000 คน   กำลังจะก้าวเข้าสู่รั้วอินทนิล ในฐานะอินทนิลช่อที่ 88 ที่พร้อมจะเบ่งบานและเติบโตอย่างแข็งแกร่ง ซึ่งในปีนี้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้มีการจัดเตรียมกิจกรรมต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวก และเตรียมความพร้อมเสริมสร้างอัตลักษณ์ลูกแม่โจ้ หลากหลายกิจกรรม เริ่มตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2566  มีรายละเอียดดังนี้

 

วันที่ 23-25 มิถุนายน 2566

  • เวลา 06.00 น. เป็นต้นไป โครงการต้อนรับอินทนิลช่อใหม่สู่บ้านหลังที่ 2 ได้จัดเตรียมรถคอยรับ-ส่ง อำนวยความ สะดวกให้กับน้อง ๆ และพ่อแม่ผู้ปกครอง  ณ สถานีรถไฟเชียงใหม่ สถานีขนส่งเชียงใหม่(อาเขต) และสนามบิน เดินทางสู่มหาวิทยาลัยแม่โจ้  และให้น้อง ๆ ได้รายงานตัวเข้าหอพักนักศึกษาที่ทางมหาวิทยาลัยจัดเตรียมไว้ให้ต่อไป (ข้อมูลเพิ่มเติมงานหอพัก 0 5387 3085/งานพัฒนานักศึกษาฯ 0 5387 3067-8)

 

  • เวลา 12.30 – 15.30 น. โครงการผู้บริหารพบผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองได้รู้จักและรับทราบถึงนโยบายของมหาวิทยาลัยและแนวทางการใช้ชีวิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัยตลอดหลักสูตร รวมถึงรายละเอียดเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาแบ่งเบาภาระผู้ปกครอง ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ (ข้อมูลเพิ่มเติม งานทุนการศึกษาฯ  0 5387 3183)
  • เวลา 17.00-22.00 น. กิจกรรมตลาดนัดรวมใจอินทนิล เพื่อจัดจำหน่ายสินค้าราคาประหยัดจากร้านค้านักศึกษา กิจกรรมให้ข้อมูลกิจกรรมนักศึกษา และกิจกรรมบันเทิง ณ ลานกิจกรรมหอพักนักศึกษา

                                                                                                                        

วันที่ 24-25 มิถุนายน 2566 เวลา 09.00 น.เป็นต้นไป  นักศึกษาใหม่เข้าร่วมกิจกรรม “เดินฐานตามรอยคุณพระช่วงเกษตรศิลปการ” บิดาการเกษตรแม่โจ้ ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกและก่อตั้งแม่โจ้ จนได้ชื่อว่า “ไม่มีพระช่วงฯ ไม่มีแม่โจ้

 

วันที่ 26 มิถุนายน  2566  เวลา 08.00 - 12.00 น. โครงการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่(ทุกคน ทุกหลักสูตร)           ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ  และในเวลา 13.00 - 16.30 น. ปฐมนิเทศนักศึกษาตามคณะ/วิทยาลัย ที่นักศึกษาสังกัด

วันที่ 27 มิถุนายน  2566

 

  • เวลา 08.00 – 12.00 น. กิจกรรม “แม่โจ้จิตอาสาพัฒนาชุมชนและกิจกรรม Big cleaning day ” (ภายใน/ภายนอก) เพื่อให้นักศึกษาใหม่ ได้มีส่วนร่วมในการดูแล พัฒนามหาวิทยาลัย  สังคม และชุมชน

 

  • เวลา 17.00-22.00 น. นักศึกษาใหม่ทุกคน ทุกวิทยาเขต  จะเข้าร่วมงานเลี้ยงขันโตกต้อนรับนักศึกใหม่ อินทนิลช่อที่ 88    “สู่รั้วอินทนิล” ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ

 

วันที่ 28 มิถุนายน 2566 เวลา 12.00 – 17.30 น. กิจกรรมอบรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ให้กับนักศึกษาใหม่ เพื่อเรียนรู้ ป้องกัน บรรเทา หากเกิดภัยพิบัติ ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ

 

วันที่ 29 มิถุนายน  2566  เวลา 05.00 – 12.00  น.  นักศึกษาใหม่ร่วมกิจกรรมประเพณีเดินวิ่ง แม่โจ้- สันทราย  เพื่อเข้าคารวะนายอำเภอสันทราย  และหัวหน้าส่วนราชการต่างๆ รวมทั้งฝากเนื้อฝากตัวกับพี่น้องชาวอำเภอสันทราย โดยมีชาวอำเภอสันทรายมาคอยต้อนรับตลอดเส้นทางอย่างอบอุ่นตลอดสองข้างทาง

 

วันที่ 30 มิถุนายน  2566 เวลา 09.00 - 20.00 น. นักศึกษาใหม่เข้าร่วมโครงการ เสริมสร้างอัตลักษณ์ลูกแม่โจ้ ได้เรียนรู้ วิถีแม่โจ้ ลูกแม่โจ้: เลิศน้ำใจ วินัยดี เชิดชูประเพณี สามัคคี อาวุโส เรียนรู้บทเพลงประจำสถาบัน  พร้อมการเชื่อมต่อความสัมพันธ์กับศิษย์เก่าแม่โจ้ มีคณาจารย์ ศิษย์เก่า ร่วมต้อนรับ เจิมหน้าผากอย่างอบอุ่น ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ

 ทุกกิจกรรมที่ทางมหาวิทยาลัยได้จัดเตรียมไว้ก็เพื่อให้นักศึกษาใหม่ อินทนิลช่อที่ 88 ได้พัฒนาศักยภาพ รู้จักการปรับตัวในการใช้ชีวิตการเป็นนักศึกษาเพื่อทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุดตลอดหลักสูตรจนกว่าจะสำเร็จการศึกษา  ซึ่งคือเป้าหมายสำคัญของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ

 

เพราะแม่โจ้  คือ แม่โจ้  ถึงแม้กาลเวลาจะล่วงผ่านมาจนมีอายุก้าวสู่ 90 ปี บรรดาเพื่อนพ้องน้องพี่ ลูกแม่โจ้ ก็ยังคงกอดคอ ประคอง ช่วยเหลือ ผลักดัน รักและผูกพัน ดูแลซึ่งกันและกันตลอดไป ช่วยกันฟูมฟักอินทนิลช่อใหม่ให้เติบใหญ่อย่างมั่นคง

 

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ : มหาวิทยาลัยแห่งชีวิต

(**ภาพประกอบจากแฟ้มภาพ)

 

ปรับปรุงข้อมูล : 1/6/2566 15:18:22     ที่มา : ฝ่ายสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 757

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวด้านการศึกษา ข่าวประชาสัมพันธ์

ข่าวล่าสุด

ม.แม่โจ้ จัดพิธีรับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ต่อไปอีกวาระหนึ่ง  
วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม 2567 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดพิธีรับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้ง รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา เป็นอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และพิธีประทานแจกันดอกไม้ จากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์  โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์พาวิน  มะโนชัย รักษาการ แทนรองอธิการบดี เป็นผู้เชิญประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และ รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์  ศรีเงินยวง รักษาการแทนรองอธิการบดีอ่านประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีฯ จากนั้น อธิการบดี ได้กล่าวสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ความว่า...พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ข้าพระพุทธเจ้า นายวีระพล ทองมา ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายน 2567 นั้น ข้าพระพุทธเจ้ารู้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และนับเป็นเกียรติอันสูงยิ่งต่อตนเองและวงศ์ตระกูลอย่างหาที่สุดมิได้ ข้าพระพุทธเจ้าตระหนักดีว่า การดำรงตำแหน่งอธิการบดีนั้น ถือเป็นหน้าที่สำคัญต่อการพัฒนาชาติ ซึ่งต้องใช้ความรู้ความสามารถ และความทุ่มเท เสียสละอย่างมาก เพื่อให้มหาวิทยาลัยแม่โจ้ยังประโยชน์สูงสุดแก่ชุมชน ท้องถิ่น เสริมสร้างพลังปัญญาของแผ่นดิน เพื่อให้ชุมชนและท้องถิ่นมีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน ตามเจตนารมณ์ของการก่อตั้งมหาวิทยาลัยที่มีมากว่า 9 ทศวรรษมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นแหล่งภูมิปัญญาด้านการเกษตรของแผ่นดินที่สั่งสมและตกผลึกมาจากพลังแห่งคุณธรรมความดีงาม ความมุ่งมั่นของเหล่าบรรพชนแม่โจ้จากรุ่นสู่รุ่น กอปรด้วยการสำนึกในการทำงานเพื่อประชาชนที่ฝังแน่นในจิตใจของทุกคน ทำให้องค์ความรู้ได้ถูกส่งผ่านออกไปเป็นผลงานสร้างสรรค์ที่มีคุณค่า ตอบสนองการพัฒนาชาติในทุกมิติ พร้อมกับการเป็นแหล่งเรียนรู้ ที่มีความพร้อมในการมอบทักษะ ประสบการณ์ หล่อหลอมความคิด และจิตใจอันดีงามออกสู่สังคมให้พัฒนาอย่างยั่งยืนตลอดระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง ข้าพระพุทธเจ้า และคณะผู้บริหารทุกคน จะตั้งใจอย่างแน่วแน่ ในการพัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์ ซึ่งได้ให้ไว้ต่อสภามหาวิทยาลัยและประชาคม ให้ไปสู่สัมฤทธิผลสูงสุดอย่างเต็มกำลังความสามารถ มุ่งสู่วิสัยทัศน์การเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำด้านการเกษตรในระดับนานาชาติ ปฏิบัติภารกิจเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนท้องถิ่นและชุมชนด้วยพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมในครั้งนี้ ข้าพระพุทธเจ้าขอให้สัตย์ปฏิญาณว่า จะปฏิบัติหน้าที่ทุกภารกิจอย่างเต็มกำลังความสามารถ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ยึดมั่นในหลักธรรมาภิบาล คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง โดยน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวปฏิบัติ ร่วมสืบสาน  รักษา และต่อยอดกิจการต่างๆ ตามพระราชดำริ เพื่อนำความก้าวหน้ามาสู่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สู่สังคม และประเทศชาติสืบไป ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ”โอกาสนี้ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เชิญแจกันดอกไม้ประทานให้แก่อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้  เนื่องในโอกาสได้รับพระราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ต่อไปอีกวาระหนึ่งรองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา เกิดเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2505 จบการศึกษาระดับปริญญาตรี เทคโนโลยีการเกษตรบัณฑิต (เกียรตินิยม อันดับ 1) สาขาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมอาหาร จาก สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ (ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่น 49) ระดับปริญญาโท เทคโนโลยีการเกษตรมหาบัณฑิต สาขาส่งเสริมการเกษตร จาก สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ ระดับปริญญาเอก Doctor of Philosophy สาขา Extension Education/ Development Management จาก University of the Philippines Los Baños ประเทศสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ได้รับแต่งตั้งให้เป็น ศาสตราจารย์กิตติมศักดิ์ ปี 2559 จาก National Chin- Yi University of Technology (NCUT), Taiwan และ ศาสตราจารย์กิตติมศักดิ์ ปี 2561 จาก Vanung University (VNU), Taiwan ท่านดำรงตำแหน่งทางวิชาการ  รองศาสตราจารย์ ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นมหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)ในการนี้ คณะผู้บริหาร ผู้แทนศิษย์เก่า ผู้นำนักศึกษาเข้าร่วมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและแสดงเจตนารมณ์ในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมโดยพร้อมเพรียงกัน ณ ห้องอินทนิล ชั้น 2 สำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ฝ่ายสื่อสารองค์กร ม.แม่โจ้ // รายงาน
12 กรกฎาคม 2567     |      558
ม.แม่โจ้ ประกาศรายชื่อบุคลากรสายสนับสนุนดีเด่น ปี 2566 เตรียมมอบโล่ประกาศเกียรติคุณ
ม.แม่โจ้ ประกาศรายชื่อบุคลากรสายสนับสนุนดีเด่น ปี 2566 เตรียมมอบโล่ประกาศเกียรติคุณมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยสภาพนักงาน ได้ดำเนินการพิจารณาคัดเลือก บุคลากรสายสนับสนุนดีเด่น ประจำปี 2566 ซึ่งเป็นบุคลากรอันทรงคุณค่าของมหาวิทยาลัย ผู้ปฏิบัติหน้าที่ของตนเป็นอย่างดี อุทิศตนให้แก่หน่วยงาน องค์กร และสังคมอย่างเต็มกำลังความสามารถ  ประพฤติปฏิบัติตนดี มีผลงานเชิงประจักษ์ดีเด่นเป็นที่ยอมรับ มีความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวมเป็นอย่างดี  เป็นแบบอย่างที่ดีสมควรได้รับการยกย่องเชิดชู  ซึ่งคณะกรรมการได้พิจารณาตามหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกที่วางไว้  ซึ่งมีผู้ผ่านการพิจารณาได้รับการ จำนวน 4 ราย  ตามประกาศมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เรื่อง รายชื่อบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการดีเด่นของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปี 2566 ลงวันที่ 2 กรกฎาคม 2567 ดังนี้บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการดีเด่น ด้านบริการดีเด่น ได้แก่  นางเยาวภา เขื่อนคํา สังกัด สำนักหอสมุดบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการดีเด่น ด้านวิชาชีพดีเด่น ได้แก่ นางสาววัชรินทร์ จันทวรรณ์ สังกัด สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตรบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการดีเด่น ด้านนวัตกรรมดีเด่น ได้แก่ นางสาวช่อทิพย์ สิทธิ  สังกัด คณะวิทยาศาสตร์บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการดีเด่น ลูกจ้างของมหาวิทยาลัยผู้มีผลงานดีเด่น ได้แก่ นายนันทวัฒน์ รักษ์เผ่าสุวรรณ สังกัด คณะวิทยาศาสตร์ทั้งนี้ ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกทั้ง 4  ท่าน จะเข้ารับโล่ประกาศเกียรติคุณและรางวัลเข็มเพชรแม่โจ้เชิดชูเกียรติ จาก อธิการบดี ในพิธีไหว้ครูประจำปี 2567  วันที่ 15 สิงหาคม 2567  ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ต่อไป
5 กรกฎาคม 2567     |      1898
อุทยานวิทย์ฯ ม. แม่โจ้ ปั้น ผู้ประกอบการคว้ารางวัลชนะเลิศภาคเหนือ ได้สิทธิ์เป็นตัวแทนลุยเวที Innovations Award 2024 ระดับประเทศ
เมื่อเร็วๆนี้  อุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้ (MAP) นำโดย รศ.ดร. ชัยยศ สัมฤทธิ์สกุล รักษาการแทนรองอธิการบดี และ ดร. กัลย์ กัลยาณมิตร ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ฯ  พร้อมทีมงาน  ได้ส่งผู้ประกอบการภายใต้การดูแลของอุทยานฯ  (MAP) จำนวน 2 ผลงาน เข้าร่วมประกวดรายการ  "Innovation Awards 2024 ภายในงาน “มหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์ อววน. เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืนด้วยพลังสหวิทยาการ” (อว.แฟร์ : SCI POWER FOR FUTURE THAILAND) ระดับภูมิภาค ภาคเหนือ  มีผู้ประกอบการทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคชุมชน ร่วมนำเสนอผลงานในการแข่งขันครั้งนี้เป็นจำนวนมาก  เพื่อเฟ้นหาตัวแทนระดับภูมิภาคในการเข้าประกวดรางวัล Innovation Awards 2024 ระดับประเทศต่อไป   ซึ่ง “ผลิตภัณฑ์วัสดุเพาะเมล็ดและต้นกล้าจากวัตถุอินทรีย์ธรรมชาติ” จากบริษัท ผู้ใหญ่มูล จำกัด โดย นายเกรียงไกร ใจยสุข  ศิษย์เก่าแม่โจ้รุ่น 72  ซึ่งเป็นบริษัทที่อยู่ภายใต้การดูแลของอุทยานฯ  ได้รับ รางวัลชนะเลิศ ประเภท สาขานวัตกรรมเชิงพาณิชย์  “ผลิตภัณฑ์วัสดุเพาะเมล็ดและต้นกล้าจากวัตถุอินทรีย์ธรรมชาติ”  ทำจากกากวัสดุเหลือทิ้งจากโรงไฟฟ้า, วัสดุอินทรีย์จากธรรมชาติ และเติมธาตุอาหารที่จำเป็นต่อต้นกล้า ปราศจากเชื้อรา มีค่ากรดด่างเป็นกลาง ช่วยให้ต้นกล้าเจริญเติบโตได้ดี และเพิ่มอัตราการงอกของเมล็ดสูงถึง 90-95% โอกาสนี้  คุณสุนีย์ เลิศเพียรธรรม หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวง อว. ได้ให้เกียรติมอบรางวัลขนะเลิศแก่ บริษัท ผู้ใหญ่มูล จำกัด  ณ  Rice Grain Auditorium อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคเหนือ (จังหวัดเชียงใหม่) เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา   ทั้งนี้  บริษัท ผู้ใหญ่มูล จำกัด  จะเป็นตัวแทนของภูมิภาคภาคเหนือ เข้าแข่งในระดับประเทศต่อไป ในวันที่ 25 กรกฎาคม 2567 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพมหานครฯ
2 กรกฎาคม 2567     |      523
“สายลับล็อตเตอรี่” ผลงาน นศ.ศิลปศาสตร์ ม.แม่โจ้ คว้ารองอันดับ 2 ระดับประเทศ GLO Innovation For Better Life Short Film Contest 2567
ทีม  Top Rank เกินต้านผ้าม่านสีน้ำเงิน" คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 การประกวดหนังสั้น “โครงการ GLO Innovation For Better Life Short Film Contest 2567” ภายใต้แนวคิด นวัตกรรมที่สะดวกต่อการใช้ชีวิต จัดโดย สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล และ บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ จำกัด เพื่อเป็นพื้นที่ให้ นิสิตนักศึกษาจากทั่วประเทศได้แสดงออกถึงจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ และแสดงศักยภาพทักษะ ความรู้ ความสามารถทางนวัตกรรม อย่างเต็มที่ โดยมีผู้สนใจส่งผลงานเข้าร่วมประกวดเป็นจำนวนมาก  ผลงาน “สายลับล็อตเตอรี่” ของทีม  Top Rank เกินต้านผ้าม่านสีน้ำเงิน" สามารถผ่านการคัดเลือกเข้าสู่รอบสุดท้าย และคว้ารางวัล รองชนะเลิศอันดับ 2 ในระดับประเทศ  รับทุนการศึกษา 50000 บาท ทั้งนี้ ได้เข้ารับรางวัลในงานประกาศผล ณ โรงภาพยนตร์ Samsung LED Cinema @ Paragon Cineplex เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมาสำหรับทีม Top Rank เกินต้านผ้าม่านสีน้ำเงิน"  เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชานิเทศศาสตร์บูรณาการ คณะศิลปศาสตร์  มีสมาชิก ดังนี้  นางสาวกนกดารินทร์  แก่นคำ   นายกนกพล  แสนคำหมื่น  นายธนวันต์  สนธิกุล  และนายธีรวุฒิ  มหาพรม โดยมี ดร.วีรินทร์ภัทร์ บูรณะสระกวี เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโอกาสนี้  ทีมนักศึกษาได้มอบโล่รางวัลการประกวดให้กับมหาวิทยาลัยเพื่อเป็นเกียรติประวัติ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล  ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ รับมอบ พร้อมนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชนาพร ขันธบุตร คณบดีคณะศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มอบเงินสนับสนุนให้กับทีมนักศึกษาเพื่อสร้างขวัญกำลังใจ โดยมีคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยร่วมแสดงความยินดี  ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัย ชั้น 5 สำนักงานมหาวิทยาลัย ลิงก์ ชมผลงาน https://drive.google.com/drive/folders/1tCHO3nwvGByjjP4yUQhKtb9aTUyiFzjS?usp=sharing
28 มิถุนายน 2567     |      347