ฝ่ายสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
MJU Corporate Communication Center


มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับรางวัล "Gold Award" จากผลงานวิจัย "กำเนิดพันธุ์ข้าวหอมแม่โจ้" ซึ่งได้ส่งเข้าร่วมประกวดและจัดแสดงในงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566 (Thailand Research Expo 2023)” ภายใต้ แนวคิด งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG ระหว่างวันที่ 7-11 สิงหาคม 2566 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิรด์ กรุงเทพมหานคร

โอกาสนี้ ช่วงเช้าวันที่ 11 สิงหาคม 2566 ผู้ช่วยศาสตราจารย์พาวิน มะโนชัย รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมนักวิจัย ร่วมเข้าเฝ้ารับเสด็จฯ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และในช่วงบ่ายของวันเดียวกัน รองศาสตราจารย์ ดร. อภินันท์ สุวรรณรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร เป็นตัวแทนมหาวิทยาลัยเข้ารับรางวัล "Golden Award" จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

สำหรับผลงาน "กำเนิดพันธุ์ข้าวหอมแม่โจ้" ผลงานของทีมนักวิจัยหน่วยความเป็นเลิศด้านการปรับปรุงพันธุ์ข้าวมหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำโดย ผศ.ดร.วราภรณ์ แสงทอง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งได้เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2547 ด้วยความมุ่งมั่น ทุ่มเท ของทีมนักวิจัย ในการพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์มาอย่างต่อเนื่อง โดยใช้เทคโนโลยีเครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือกเอาคุณสมบัติเด่นที่ต้องการให้ได้พันธุ์ข้าวหอมคุณภาพเพื่อคนไทย ได้ลงแปลงปลูกกระจายไปทั่วประเทศ และพร้อมที่จะผลิตเมล็ดพันธุ์เพื่อเผยแพร่ออกสู่เกษตรกรต่อไป ซึ่งได้ความสนใจจากคณะกรรมการและผู้ร่วมงานเป็นอย่างมาก ส่งผลให้ ผลงาน "กำเนิดพันธุ์ข้าวหอมแม่โจ้" ได้รับรางวัล Gold Award ในครั้งนี้ สร้างความภาคภูมิใจให้กับทีมงาน และมหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นอย่างมาก

??เตรียมพบกับการเปิดตัว "ข้าวพันธุ์ใหม่" ในงานเกษตรแม่โจ้ 90 ปี เกษตร : อาหาร : สุขภาพ ระหว่างวันที่ 16-24 ธันวาคม 2566 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
...........
ฝ่ายสื่อสาร ม.แม่โจ้ // รายงาน

ปรับปรุงข้อมูล : 15/8/2566 12:06:11     ที่มา : ฝ่ายสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 710

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวงานวิจัย ข่าวประชาสัมพันธ์

ข่าวล่าสุด

ม.แม่โจ้ ยกทัพขึ้นห้าง เตรียมแถลงข่าวงานเกษตรแม่โจ้ 90 ปี 28 พ.ย.66 นี้ พบกันที่ เซ็นทรัลเฟสติวัล เชียงใหม่
มหาวิทยาลัยแม่โจ้  เตรียมจัดงานแถลงข่าว “งานเกษตรแม่โจ้ 90 ปี : เกษตร อาหาร สุขภาพ”  อธิการบดีนำทีมผู้บริหาร ยกทัพจัดโชว์เคสผลงานเด่น เรียกน้ำย่อยลองไฟก่อนพบงานจริงยิ่งใหญ่ปลายปี ย่อส่วนงานเกษตรแม่โจ้ ไปพบกับพ่อแม่พี่น้องประชาชนให้ร่วมกิจกรรม ชม ชิม ช้อป และรับของรางวัล  ในวันอังคารที่ 28 พฤศจิกายน 2566  ณ ลานโปรโมชั่น 2 ชั้น 1 เซ็นทรัลเฟสติวัล เชียงใหม่  งานแถลงข่าวในครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆ ของงานเกษตรแม่โจ้ 90 ปี : เกษตร | อาหาร สุขภาพ”  ที่จะจัดอย่างยิ่งใหญ่ ระหว่างวันที่ 16-24 ธันวาคม 2566  ณ มหาวิท-ยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่  นำทีมโดย   รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล       ทองมา  อธิการบดีมหาวิทยลัยแม่โจ้  พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร คณะกรรมการจัดงาน ร่วมแถลงข่าวสร้างการรับรู้แก่คณะสื่อมวลชนและประชาชน  มีการจัดนิทรรศการโชว์ผลงานเด่น 9 ไฮไลต์ ทั้งด้านการปรับปรุงพันธุ์พืช ได้แก่ กำเนิดข้าวหอมแม่โจ้  ข้าวเหนียวหอมพันธุ์ใหม่สำหรับผู้บริโภค  กล้วยไม้รองเท้านารีพันธุ์ใหม่ของโลก ปทุมมาสายพันธุ์ล่าสุดสำหรับตลาดไม้ดอกเพื่อการส่งออก และพันธุ์ผักชื่อพระราชทานที่ได้รับการส่งต่อสู่เกษตรกร นอกจากนี้ ยังมีการค้นพบสายพันธุ์ใหม่ของโลกทั้งสัตว์และประมง  ได้แก่ การค้นพบปลาค้อแสดงถึงระบบนิเวศน์ที่สมบูรณ์ของป่าต้นน้ำ  การค้นพบตั๊กแตนแม่โจ้-แพร่  รวมถึงองค์ความรู้เกษตรและนวัตกรรมอื่น ๆ ที่ส่งเสริมภาคเศรษฐกิจของประชาชนในทุกมิติเชื่อมโยงไปสู่เทรนด์ใหม่ของโลกด้วยนวัตกรรมอีกมากมายที่ต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ  ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของผลงานจากแม่โจ้ที่ได้รับการเผยแพร่และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อภาคการเกษตรไทย พร้อมมีกิจกรรมให้ผู้ร่วมงานได้มีส่วนร่วมทั้ง ชม ชิม ช้อป การแสดงดนตรีของศิลปินรับเชิญ  และกิจกรรมร่วมสนุกรับของรางวัลพิเศษภายในงานขอเชิญท่านที่สนใจเข้าร่วมงานแถลงข่าว “งานเกษตรแม่โจ้ 90 ปี : เกษตร | อาหาร สุขภาพ ในวันอังคารที่ 28 พฤศจิกายน  2566 ตั้งแต่เวลา 10.00 – 19.30 น. ณ ลานโปรโมชั่น 2 ชั้น 1 เซ็นทรัลเฟสติวัล เชียงใหม่
27 พฤศจิกายน 2566     |      302
ขอเชิญร่วมระลึกถึง ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย อธิการบดีคนแรก คนต้นแบบลูกแม่โจ้
งานหนัก ไม่เคยฆ่าคน ใครที่ตายเพราะทำงานหนัก ครูจะสร้างอนุสาวรีย์ ไว้ให้แม่โจ้" อมตะโอวาทศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย อธิการบดีคนแรก คนต้นแบบลูกแม่โจ้  ชาวแม่โจ้ ร่วม“ระลึกถึง ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย” วันจันทร์ที่ 30 ตุลาคม 2566  ณ ลานอนุสาวรีย์ฯ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่น 1 อธิการบดีคนแรกของแม่โจ้ เป็นชาวจังหวัดแพร่ เกิดเมื่อวันที่ 12  มีนาคม 2459  หลังจากสอบไล่ได้มัธยมปีที่ 6 จากโรงเรียนพิริยาลัย จ.แพร่ก็ได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จ.เชียงใหม่และย้ายมาเรียนที่โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมแม่โจ้ เมื่อปี 2477  ซึ่งถือเป็นรุ่น 1 รุ่นบุกเบิกและสร้างแม่โจ้เมื่อจบจากแม่โจ้ท่านสอบชิงทุนหลวงไปศึกษาต่อมหาวิทยาลัยในฟิลิปปินส์ จนจบปริญญาตรี ปี พ.ศ. 2484  จึงกลับมารับราชการเป็นอาจารย์ที่แม่โจ้ ตำแหน่งอาจารย์ผู้ปกครองนาน 6 ปี จากนั้นท่านไปลงสมัครผู้แทนราษฎร 2 ครั้ง  พอถึงปี พ.ศ. 2497 ท่านกลับเข้ารับราชการเป็นอาจารย์ใหญ่ชั้นเอกของโรงเรียนเกษตรกรรมแม่โจ้ จวบจนกระทั่งได้เป็นอธิการบดีคนแรกของสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ถึง 2 สมัยศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย ท่านเป็นนักประชาธิปไตยตัวอย่าง เป็นผู้มีเมตตาธรรม เป็นผู้ริเริ่มและพัฒนางานใหม่ๆเสมอ เป็นนักพัฒนาชนบท เป็นนักปกครองที่ดีเยี่ยม เป็นครู”ที่ประเสริฐ จากการทำงานหนักและผ่านประสบการณ์ต่างๆ ทำให้ชีวิตท่านแข็งแกร่ง ทรหดอดทน ไม่ท้อถอยและยอมแพ้ต่อปัญหา การดำเนินชีวิตที่ผ่านอุปสรรคมาได้ทำให้เกิดปรัชญาความจริงของชีวิต  ท่านได้ตระหนักถึงการเรียนและฝึกอบรมนักเรียนเกษตรต้องให้มีความอดทน ไม่ท้อถอย จึงจะสู้งานได้ทุกอย่างเป็นการหล่อหลอมนิสัยให้ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถเผชิญกับอุปสรรคและสามารถแก้ปัญหาลุล่วงได้ต่อไปจึงนับเป็นช่วงสำคัญของการพัฒนาแม่โจ้สู่มิติใหม่ นักเรียนต้องมีความพร้อมและต้องการเรียนเกษตรจริง ๆ ซึ่งท่านได้กล่าวแสดงความยินดีต่อนักศึกษาที่ผ่านการทดสอบว่า  การเรียนเกษตรที่แม่โจ้นี้ ต้องฝึกความทรหดสู้งานทุกอย่างได้ ไม่ท้อถอย เพื่อจะได้เป็นลูกแม่โจ้ที่อดทน เข้มแข็ง ไม่กลัวงานหนัก งานหนักไม่เคยฆ่าคน ใครตายเพราะงานหนัก ครูจะสร้างอนุสาวรีย์ไว้ให้ที่แม่โจ้”ตลอดระยะเวลาท่านได้สร้างการเปลี่ยนแปลงพัฒนาทั้งระบบการปกครอง บุคลากรและนักเรียนแม่โจ้อย่างก้าวกระโดด ท่านได้สร้างคุณประโยชน์นานัปการ  เป็นผู้บุกเบิกและสร้างงานอาชีวเกษตรของประเทศริเริ่มกิจกรรม อกท. (องค์การเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทย) ก่อตั้ง อกท.หน่วยแม่โจ้ เป็นแห่งแรกของประเทศไทย รวมถึง โครงการเกษตรกรหนุ่มแห่งประเทศไทย (Young Farmers Pilot Project of Thailand : YTF จัดให้มีขึ้นครั้งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยขณะนั้นท่านร่วมจัดตั้งโครงการหลวงเกษตรภาคเหนือ  จัดตั้งและสนับสนุนโครงการอาสาพัฒนาแม่โจ้ นำนักศึกษา อาจารย์ ออกพัฒนาชนบท  อึกทั้งยังได้ถวายงานด้านการเกษตรและงานโครงการตามพระราชดำริหลายโครงการ และยังได้ริเริ่มจัดงานเกษตรแม่โจ้อีกทั้งยังได้ริเริ่มระบบการให้โควตาศึกษาต่อระบบปริญญาตรีที่แม่โจ้  ท่านคือผู้สร้างและพัฒนาให้แม่โจ้”เป็นแหล่งความรู้และหล่อหลอมบุคลากรการเกษตรทุกระดับที่มีคุณภาพ เพื่อพัฒนาประเทศชาติให้เจริญยิ่งๆ ขึ้นไปศาสตราจารย์ ดร.วิภาต  บุญศรีวังซ้ายได้ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่  30 ตุลาคม 2527  บรรดาศิษย์เก่าแม่โจ้ สมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จึงได้กำหนดวันที่ 30 ตุลาคม ให้เป็น “วันวิภาต บุญศรี วังซ้าย” เพื่อรำลึกถึงคุณงามความดีที่ท่านได้สร้างและพัฒนาแม่โจ้ให้เจริญ เป็นผู้มีคุณูปการต่อวงการอาชีวเกษตรของประเทศไทย ผู้เป็นต้นแบบนักต่อสู้เอาชนะอุปสรรค และปลดแอกข้อจำกัดของวงการอาชีวเกษตรในอดีต เป็นคนต้นแบบลูกแม่โจ้ ตามปรัชญางานหนักไม่เคยฆ่าคน”อันเป็นคติพจน์ประจำใจของ ลูกแม่โจ้จวบจนปัจจุบันขอเรียนเชิญคณาจารย์  นักศึกษา บุคลากร และศิษย์แม่โจ้ทุกรุ่นร่วมงาน “ระลึกถึง ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย”  ในวันจันทร์ที่ 30 ตุลาคม 2566  ตั้งแต่เวลา 07.30 น. เป็นต้นไป  ณ  ลานอนุสาวรีย์ ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้ายหน้าสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้หมายเหตุ การแต่งกายชุดพื้นเมือง หรือชุดสุภาพข้อมูลอ้างอิงหนังสืออนุสรณ์ 100 ปี ชาตกาลอาจารย์บุญศรี คนต้นแบบลูกแม่โจ้ “งานหนักไม่เคยฆ่าคน”                                                                    2459-2559 และ  http://www.archives.mju.ac.th/web/?p=448)
25 ตุลาคม 2566     |      232
ม.แม่โจ้ เตรียมจัดงานแสดงมุทิตาจิตแก่ผู้เกษียณอายุ ประจำปี 2566 “เกษียณเกษมสันต์ สายสัมพันธ์ชาวแม่โจ้”
มหาวิทยาลัยแม่โจ้จัดงานแสดงมุทิตาจิตแก่ผู้เกษียณอายุ ประจำปี 2566“เกษียณเกษมสันต์ สายสัมพันธ์แม่โจ้” เพื่อเป็นการแสดงความขอบคุณ ตระหนักถึงความสำคัญและความเสียสละของทุกๆท่าน ร่วมน้อมคารวะต่อผู้อาวุโสที่ครบวาระเกษียณ ผู้สร้างคุณูปการต่อองค์กรและต่อสังคม  ในวันพฤหัสบดีที่ 28 กันยายน 2566 เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้  ซึ่งในปีนี้มีจำนวน 34 ท่าน แบ่งเป็นข้าราชการ  จำนวน 1 รายผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชาญ คงธรรม ตำแหน่ง ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สังกัดคณะวิทยาศาสตร์ ลูกจ้างประจำ  จำนวน 2 รายนายประพันธ์ ปันพันธุ์  ตำแหน่ง พนักงานห้องปฏิบัติการ ระดับ ส 3 สังกัดงานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา สำนักงานคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์นายพรชัย ใจมุก ตำแหน่ง พนักงานห้องปฏิบัติการ ระดับ ส 2 สังกัดงานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา สำนักงานคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์         พนักงานมหาวิทยาลัย  จำนวน  22 รายรองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา ตำแหน่ง รองศาสตราจารย์ สังกัดวิทยาลัยนานาชาติผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธรรมพร ตันตรา ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สังกัดวิทยาลัยบริหารศาสตร์ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปรารถนา ยศสุข ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สังกัดวิทยาลัยบริหารศาสตร์รองศาสตราจารย์ ดร.นิวุฒิ หวังชัย ตำแหน่ง รองศาสตราจารย์ สังกัดคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำรองศาสตราจารย์ทิพสุคนธ์ พิมพ์พิมล ตำแหน่ง รองศาสตราจารย์ สังกัดคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภัทริกา มณีพันธ์ ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สังกัดคณะบริหารธุรกิจนางสาวบุษบงค์ ฝั้นแจ้ง ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ สังกัดงานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา สำนักงานคณบดี คณะบริหารธุรกิจ นางศศิธร ปัญญา ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ สังกัดงานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา สำนักงานคณบดี คณะผลิตกรรมการเกษตรผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วราภรณ์ แสงทอง ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์  สังกัดคณะวิทยาศาสตร์ผู้ช่วยศาสตราจารย์จินตนา จูมวงษ์ ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สังกัดคณะวิทยาศาสตร์นางชุลีพันธ์ วงศ์คำตัน ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานคณบดีคณะวิศวกรรมและ อุตสาหกรรมเกษตร สังกัดสำนักงานคณบดี คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตรนางสาวรัชนี ทัศเกตุ ตำแหน่ง หัวหน้างานบริหารและธุรการ สังกัดงานบริหารและธุรการสำนักงานคณบดี คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตรผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิคม  มูลเมือง ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สังกัดคณะศิลปศาสตร์นางสาวอำภา  วิรัตน์พฤกษ์ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ สังกัดสำนักงานคณบดี คณะเศรษฐศาสตร์      ผู้ช่วยศาสตราจารย์บรรจง สมบูรณ์ชัย ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สังกัดคณะสถาปัตยกรรม ศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อมผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จำรูญ มณีวรรณ ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สังกัดคณะสัตวศาสตร์ และเทคโนโลยีนายนิคม  วงศ์นันตา ตำแหน่ง ผู้อำนวยการกองบริหารงานบริการวิชาการ สังกัดกองบริหารงานบริการวิชาการ สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตรนายทองคำ  บุญเรือง ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปปฏิบัติการ สังกัดงานบริหารและ  ธุรการ กองบริหารงานสำนักหอสมุด สำนักหอสมุดนางโชติกา  ลายทิพย์ ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปปฏิบัติการ สังกัดงานการเงินและ  พัสดุ กองบริหารงานสำนักหอสมุด สำนักหอสมุดนายสุธรรม  อุมาแสงทองกุล ตำแหน่ง บรรณารักษ์ชำนาญการพิเศษ สังกัดฝ่ายพัฒนา  ทรัพยากรสารสนเทศ  สำนักหอสมุดนางวราภรณ์  ฟูกุล ตำแหน่ง ผู้อำนวยการกองพัฒนาคุณภาพ สังกัดกองพัฒนาคุณภาพ   สำนักงานมหาวิทยาลัยนางอำพร  เวียตตัน ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปชำนาญการ สังกัดงานอำนวยการ    กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม สำนักงานมหาวิทยาลัยพนักงานส่วนงาน  จำนวน 9 รายนายอุทิศ มหาวัน ตำแหน่ง ผู้ปฏิบัติงานการเกษตร สังกัดงานระบบสาธารณูปโภค กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม สำนักงานมหาวิทยาลัยนายสมพล ปาระมี ตำแหน่ง ผู้ปฏิบัติงานการเกษตร สังกัดงานจัดการสิ่งแวดล้อมและ ภัยพิบัติใหม่ กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม สำนักงานมหาวิทยาลัยนางสาวอนงค์ สมบูรณ์ชัย ตำแหน่ง ผู้ปฏิบัติงานการเกษตร สังกัดงานอาคารสถานที่และ ภูมิทัศน์ กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม สำนักงานมหาวิทยาลัยนายประสงค์ ขอดแก้ว ตำแหน่ง ผู้ปฏิบัติงานบริหาร สังกัดงานหอพัก กองพัฒนานักศึกษา สำนักงานมหาวิทยาลัยนายสุรินทร์ นันทะชมภู ตำแหน่ง ผู้ปฏิบัติงานการเกษตร สังกัดงานหอพัก กองพัฒนานักศึกษา สำนักงานมหาวิทยาลัยนายสมเกียรติ์ จันทิมา ตำแหน่ง ผู้ปฏิบัติงานบริหาร สังกัดงานพิพิธภัณฑ์การเกษตรและวัฒนธรรมไทย กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม สำนักงานมหาวิทยาลัยนายดวงจันทร์ จอมจันทร์ ตำแหน่ง ผู้ปฏิบัติงานการเกษตร สังกัดฝ่ายห้องปฏิบัติการ คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี   8. นายบุญรัตน์ ยิ่งโยชน์ ตำแหน่ง ผู้ปฏิบัติงานการเกษตร สังกัดงานปรับปรุงและขยายพันธุ์พืชและสัตว์ กองบริหารงานบริการวิชาการ สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร   9. นางวณิชยา เต๋จ๊ะ ตำแหน่ง ผู้ปฏิบัติงานบริหาร สังกัดงานบริหารและส่งเสริมการวิจัยกองบริหารงานวิจัย สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตรโอกาสนี้  ได้รับเกียรติจาก ดร.อำนวย  ยศสุข นายกสภามหาวิทยาลัย กล่าวขอบคุณและอวยพร พร้อมทั้งมอบโล่ประกาศเกียรติคุณและของที่ระลึกให้กับผู้เกษียณอายุ   ตามกำหนดการ ดังนี้เวลา 13.00 นลงทะเบียนรับหนังสือที่ระลึก เวลา 13.30 นผู้เข้าร่วมงานพร้อมกัน ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้เวลา 13.45 นพิธีกรแจ้งกำหนดการเวลา 13.50 นชมการแสดง จาก กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมเวลา 14.00 นนำเสนอ Presentation ประวัติและผลงานของผู้เกษียณอายุเวลา 14.10 นรองอธิการบดีรองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์  ศรีเงินยวงกล่าวรายงานเวลา 14.20 นนายกสภามหาวิทยาลัย มอบโล่และประกาศเกียรติคุณแด่อธิการบดีเวลา 14.30 นนายกสภามหาวิทยาลัยกล่าวขอบคุณและอวยพรแด่ผู้เกษียณอายุเวลา 14.40 นอธิการบดี มอบโล่และประกาศเกียรติคุณแด่ผู้เกษียณอายุเวลา 15.00 น.     อธิการบดีกล่าวขอบคุณและอวยพรแด่ผู้เกษียณอายุ   เวลา 15.30 น.     ผู้แทนผู้เกษียณอายุกล่าวแสดงความรู้สึกผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธรรมพร  ตันตรา)เวลา 15.40 นบันทึกภาพร่วมกันเวลา 16.30 นเสร็จพิธี ขอเชิญชาวแม่โจ้ร่วมแสดงมุทิตาจิต ในวันพฤหัสบดีที่ 28  กันยายน  2566  ตั้งแต่เวลา 13.00 น.เป็นต้นไป ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานมหาวิทยาลัย โทร.0 5387 3133หมายเหตุ  1. ส่วนงาน/หน่วยงานต่าง ๆ มอบของที่ระลึกแก่ผู้เกษียณอายุ ก่อนหรือหลังพิธีการตามอัธยาศัย สำหรับผู้เกษียณอายุท่านใดต้องการไฟล์ Presentation และไฟล์รูปภาพในงานดังกล่าว  ให้ติดต่อขอรับได้ที่ งานทะเบียนประวัติ กองบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานมหาวิทยาลัยการแต่งกาย : ชุดพื้นเมือง หรือชุดล้านนา
28 กันยายน 2566     |      507
ม.แม่โจ้ คว้ารางวัล "Gold Award" กำเนิดพันธุ์ข้าวหอมแม่โจ้ งาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับรางวัล "Gold Award" จากผลงานวิจัย "กำเนิดพันธุ์ข้าวหอมแม่โจ้" ซึ่งได้ส่งเข้าร่วมประกวดและจัดแสดงในงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566 (Thailand Research Expo 2023)” ภายใต้ แนวคิด งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG ระหว่างวันที่ 7-11 สิงหาคม 2566 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิรด์ กรุงเทพมหานครโอกาสนี้ ช่วงเช้าวันที่ 11 สิงหาคม 2566 ผู้ช่วยศาสตราจารย์พาวิน มะโนชัย รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมนักวิจัย ร่วมเข้าเฝ้ารับเสด็จฯ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และในช่วงบ่ายของวันเดียวกัน รองศาสตราจารย์ ดร. อภินันท์ สุวรรณรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร เป็นตัวแทนมหาวิทยาลัยเข้ารับรางวัล "Golden Award" จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)สำหรับผลงาน "กำเนิดพันธุ์ข้าวหอมแม่โจ้" ผลงานของทีมนักวิจัยหน่วยความเป็นเลิศด้านการปรับปรุงพันธุ์ข้าวมหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำโดย ผศ.ดร.วราภรณ์ แสงทอง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งได้เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2547 ด้วยความมุ่งมั่น ทุ่มเท ของทีมนักวิจัย ในการพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์มาอย่างต่อเนื่อง โดยใช้เทคโนโลยีเครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือกเอาคุณสมบัติเด่นที่ต้องการให้ได้พันธุ์ข้าวหอมคุณภาพเพื่อคนไทย ได้ลงแปลงปลูกกระจายไปทั่วประเทศ และพร้อมที่จะผลิตเมล็ดพันธุ์เพื่อเผยแพร่ออกสู่เกษตรกรต่อไป ซึ่งได้ความสนใจจากคณะกรรมการและผู้ร่วมงานเป็นอย่างมาก ส่งผลให้ ผลงาน "กำเนิดพันธุ์ข้าวหอมแม่โจ้" ได้รับรางวัล Gold Award ในครั้งนี้ สร้างความภาคภูมิใจให้กับทีมงาน และมหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นอย่างมาก??เตรียมพบกับการเปิดตัว "ข้าวพันธุ์ใหม่" ในงานเกษตรแม่โจ้ 90 ปี เกษตร : อาหาร : สุขภาพ ระหว่างวันที่ 16-24 ธันวาคม 2566 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ฝ่ายสื่อสาร ม.แม่โจ้ // รายงาน
15 สิงหาคม 2566     |      711