ฝ่ายสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
MJU Corporate Communication Center

มหาวิทยาลัยแม่โจ้จัดงานแสดงมุทิตาจิตแก่ผู้เกษียณอายุ ประจำปี 2566 “เกษียณเกษมสันต์ สายสัมพันธ์แม่โจ้” เพื่อเป็นการแสดงความขอบคุณ ตระหนักถึงความสำคัญและความเสียสละของทุกๆท่าน ร่วมน้อมคารวะต่อผู้อาวุโสที่ครบวาระเกษียณ ผู้สร้างคุณูปการต่อองค์กรและต่อสังคม  ในวันพฤหัสบดีที่ 28 กันยายน 2566 เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้  ซึ่งในปีนี้มีจำนวน 34 ท่าน แบ่งเป็น

 ข้าราชการ  จำนวน 1 ราย

  1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชาญ คงธรรม ตำแหน่ง ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์
    สังกัดคณะวิทยาศาสตร์
                    

ลูกจ้างประจำ  จำนวน 2 ราย

  1. นายประพันธ์ ปันพันธุ์  ตำแหน่ง พนักงานห้องปฏิบัติการ ระดับ ส 3 สังกัดงานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา สำนักงานคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์
  2. นายพรชัย ใจมุก ตำแหน่ง พนักงานห้องปฏิบัติการ ระดับ ส 2 สังกัดงานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา สำนักงานคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์        

  พนักงานมหาวิทยาลัย  จำนวน  22 ราย

  1. รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา ตำแหน่ง รองศาสตราจารย์ สังกัดวิทยาลัยนานาชาติ
  2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธรรมพร ตันตรา ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สังกัดวิทยาลัยบริหารศาสตร์
  3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปรารถนา ยศสุข ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สังกัดวิทยาลัยบริหารศาสตร์
  4. รองศาสตราจารย์ ดร.นิวุฒิ หวังชัย ตำแหน่ง รองศาสตราจารย์ สังกัดคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
  5. รองศาสตราจารย์ทิพสุคนธ์ พิมพ์พิมล ตำแหน่ง รองศาสตราจารย์ สังกัดคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
  6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภัทริกา มณีพันธ์ ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สังกัดคณะบริหารธุรกิจ
  7. นางสาวบุษบงค์ ฝั้นแจ้ง ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ สังกัดงานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา สำนักงานคณบดี คณะบริหารธุรกิจ 
  8. นางศศิธร ปัญญา ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ สังกัดงานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา สำนักงานคณบดี คณะผลิตกรรมการเกษตร
  9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วราภรณ์ แสงทอง ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์  สังกัดคณะวิทยาศาสตร์
  10. ผู้ช่วยศาสตราจารย์จินตนา จูมวงษ์ ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สังกัดคณะวิทยาศาสตร์
  1. นางชุลีพันธ์ วงศ์คำตัน ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานคณบดีคณะวิศวกรรมและ
    อุตสาหกรรมเกษตร สังกัดสำนักงานคณบดี คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร
  2. นางสาวรัชนี ทัศเกตุ ตำแหน่ง หัวหน้างานบริหารและธุรการ สังกัดงานบริหารและธุรการสำนักงานคณบดี คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร
  1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิคม  มูลเมือง ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สังกัดคณะศิลปศาสตร์
  2. นางสาวอำภา  วิรัตน์พฤกษ์ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ สังกัดสำนักงานคณบดี คณะเศรษฐศาสตร์      
  1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์บรรจง สมบูรณ์ชัย ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สังกัดคณะสถาปัตยกรรม ศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม
  2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จำรูญ มณีวรรณ ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สังกัดคณะสัตวศาสตร์ และเทคโนโลยี
  3. นายนิคม  วงศ์นันตา ตำแหน่ง ผู้อำนวยการกองบริหารงานบริการวิชาการ
     สังกัดกองบริหารงานบริการวิชาการ สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร
  4. นายทองคำ  บุญเรือง ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปปฏิบัติการ สังกัดงานบริหารและ
     ธุรการ กองบริหารงานสำนักหอสมุด สำนักหอสมุด
  5. นางโชติกา  ลายทิพย์ ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปปฏิบัติการ สังกัดงานการเงินและ
     พัสดุ กองบริหารงานสำนักหอสมุด สำนักหอสมุด
  6. นายสุธรรม  อุมาแสงทองกุล ตำแหน่ง บรรณารักษ์ชำนาญการพิเศษ สังกัดฝ่ายพัฒนา
     ทรัพยากรสารสนเทศ  สำนักหอสมุด
  7. นางวราภรณ์  ฟูกุล ตำแหน่ง ผู้อำนวยการกองพัฒนาคุณภาพ สังกัดกองพัฒนาคุณภาพ 
     สำนักงานมหาวิทยาลัย
  8. นางอำพร  เวียตตัน ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปชำนาญการ สังกัดงานอำนวยการ  
     กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม สำนักงานมหาวิทยาลัย

 

พนักงานส่วนงาน  จำนวน 9 ราย

  1. นายอุทิศ มหาวัน ตำแหน่ง ผู้ปฏิบัติงานการเกษตร สังกัดงานระบบสาธารณูปโภค
    กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม สำนักงานมหาวิทยาลัย
  2. นายสมพล ปาระมี ตำแหน่ง ผู้ปฏิบัติงานการเกษตร สังกัดงานจัดการสิ่งแวดล้อมและ
    ภัยพิบัติใหม่ กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม สำนักงานมหาวิทยาลัย
  3. นางสาวอนงค์ สมบูรณ์ชัย ตำแหน่ง ผู้ปฏิบัติงานการเกษตร สังกัดงานอาคารสถานที่และ
    ภูมิทัศน์ กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม สำนักงานมหาวิทยาลัย
  4. นายประสงค์ ขอดแก้ว ตำแหน่ง ผู้ปฏิบัติงานบริหาร สังกัดงานหอพัก กองพัฒนานักศึกษา สำนักงานมหาวิทยาลัย
  5. นายสุรินทร์ นันทะชมภู ตำแหน่ง ผู้ปฏิบัติงานการเกษตร สังกัดงานหอพัก กองพัฒนานักศึกษา สำนักงานมหาวิทยาลัย
  6. นายสมเกียรติ์ จันทิมา ตำแหน่ง ผู้ปฏิบัติงานบริหาร สังกัดงานพิพิธภัณฑ์การเกษตรและวัฒนธรรมไทย กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม สำนักงานมหาวิทยาลัย
  7. นายดวงจันทร์ จอมจันทร์ ตำแหน่ง ผู้ปฏิบัติงานการเกษตร สังกัดฝ่ายห้องปฏิบัติการ
    คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี

   8. นายบุญรัตน์ ยิ่งโยชน์ ตำแหน่ง ผู้ปฏิบัติงานการเกษตร สังกัดงานปรับปรุงและขยายพันธุ์พืชและสัตว์ กองบริหารงานบริการวิชาการ สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร

   9. นางวณิชยา เต๋จ๊ะ ตำแหน่ง ผู้ปฏิบัติงานบริหาร สังกัดงานบริหารและส่งเสริมการวิจัยกองบริหารงานวิจัย สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร

โอกาสนี้  ได้รับเกียรติจาก ดร.อำนวย  ยศสุข นายกสภามหาวิทยาลัย กล่าวขอบคุณและอวยพร พร้อมทั้งมอบโล่ประกาศเกียรติคุณและของที่ระลึกให้กับผู้เกษียณอายุ   ตามกำหนดการ ดังนี้

เวลา 13.00 .    – ลงทะเบียนรับหนังสือที่ระลึก

เวลา 13.30 .    – ผู้เข้าร่วมงานพร้อมกัน ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

เวลา 13.45 .     พิธีกรแจ้งกำหนดการ

เวลา 13.50 .     ชมการแสดง จาก กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม

เวลา 14.00 .    – นำเสนอ Presentation ประวัติและผลงานของผู้เกษียณอายุ

เวลา 14.10 .    – รองอธิการบดี (รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์  ศรีเงินยวง) กล่าวรายงาน

เวลา 14.20 .     นายกสภามหาวิทยาลัย มอบโล่และประกาศเกียรติคุณแด่อธิการบดี

เวลา 14.30 .    – นายกสภามหาวิทยาลัยกล่าวขอบคุณและอวยพรแด่ผู้เกษียณอายุ

เวลา 14.40 .     อธิการบดี มอบโล่และประกาศเกียรติคุณแด่ผู้เกษียณอายุ

เวลา 15.00 น.     อธิการบดีกล่าวขอบคุณและอวยพรแด่ผู้เกษียณอายุ   

เวลา 15.30 น.     ผู้แทนผู้เกษียณอายุกล่าวแสดงความรู้สึก (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธรรมพร  ตันตรา)

เวลา 15.40 .     บันทึกภาพร่วมกัน

เวลา 16.30 .    – เสร็จพิธี

 

 ขอเชิญชาวแม่โจ้ร่วมแสดงมุทิตาจิต ในวันพฤหัสบดีที่ 28  กันยายน  2566  ตั้งแต่เวลา 13.00 น.เป็นต้นไป ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานมหาวิทยาลัย โทร.0 5387 3133

 

หมายเหตุ :-  1. ส่วนงาน/หน่วยงานต่าง ๆ มอบของที่ระลึกแก่ผู้เกษียณอายุ ก่อนหรือหลังพิธีการตามอัธยาศัย

  1.  สำหรับผู้เกษียณอายุท่านใดต้องการไฟล์ Presentation และไฟล์รูปภาพในงานดังกล่าว  ให้ติดต่อขอรับได้ที่ งานทะเบียนประวัติ กองบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานมหาวิทยาลัย
  1. การแต่งกาย : ชุดพื้นเมือง หรือชุดล้านนา

 

ปรับปรุงข้อมูล : 28/9/2566 13:03:44     ที่มา : ฝ่ายสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 2480

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวประชาสัมพันธ์

ข่าวล่าสุด

นศ.วิศวะฯ ม.แม่โจ้ คว้า 2 รางวัล ระดับชาติ งาน FENETT 2024
นักศึกษาสาขาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้  คว้ารางวัลระดับชาติ ในการนำเสนอผลงานภาคบรรยาย งานประชุมวิชาการวิศวกรรมอาหารแห่งชาติ ครั้งที่ (The 10th National Food Engineering Conferentce, FENETT2024 ณ  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา เมื่อต้นเดือนเมษายน 2567 ซึ่งมีสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศส่งผลงานเข้าร่วมจำนวนมาก โดยมหาวิทยาลัยแม่โจ้สามารถคว้ารางวัลมาได้ 2  ผลงาน  ได้แก่รางวัลชนะเลิศภาคบรรยาย เรื่อง“การออกแบบและพัฒนาเครื่องคัดเมล็ดกาแฟพีเบอร์รี่” ผลงานวิจัยของนายอนุพงศ์ เขื่อนแก้ว และ นายอำนาจ ธนูไตร นักศึกษาสาขาวิศวกรรมเกษตร โดยมี รศ.ดร.จตุรภัทร วาฤทธิ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา สำหรับเครื่องคัดเมล็ดกาแฟพีเบอร์รี่  จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เกษตรกร สามารถคัดเกรดเมล็ดกาแฟพีเบอร์รี่ ซึ่งเป็นเมล็ดกาแฟขนาดที่มีรสชาติกลมกล่อมกว่าปกติและปะปนมาในเมล็ดกาแฟธรรมดาโดยสามารถคัดแยกเกรดได้เร็วขึ้น 216% เมื่อเทียบกับใช้คนคัดแยก ช่วยเพิ่มรายได้จากการคัดเกรดกาแฟพีเบอร์รี่ได้มากกว่าเดิมถึง 6 เท่ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ภาคบรรยาย เรื่อง “การวิเคราะห์การไหลของอากาศแบบบังคับ ภายในตู้รมแก๊สโอโซนสำหรับลำไยสดผลเดี่ยว ด้วยเทคนิคพลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณ” ผลงานวิจัยของ นายอนุชา ประมวล และ นายมนัญชัย  บุญคง นักศึกษาสาขาวิศวกรรมเกษตร โดยมี รศ.ดร.จตุรภัทร วาฤทธิ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ซึ่งผลงานวิจัยนี้จะช่วยคำนวณการไหลของแก๊สโอโซนในตู้รมแก๊สฯ ให้ไหลผ่านผลลำไยบรรจุกล่องให้เหมาะสม  สัมผัสผลลำไยได้สม่ำเสมอ และปลอดเชื้อได้ทั่วถึง  ลำไยที่ผ่านการรมด้วยแก๊สโอโซน มีอายุการเก็บรักษานานขึ้น คงความสดได้ดี ชะลอการเกิดเชื้อราบนผลลำไยได้ถึง  18 วัน เหมาะสำหรับการเพิ่มมูลค่าลำไยผลเดี่ยวให้เป็นสินค้าพรีเมี่ยมปลอดสารพิษ เป็นทางเลือกเพื่อทดแทนการใช้สารซัลเฟอร์ไดออกไซด์กับลำไยสดได้ด้าน รศ.ดร.จตุรภัทร วาฤทธิ์  อาจารย์ที่ปรึกษางานวิจัย กล่าวว่า  “นอกเหนือจากรางวัลที่นักศึกษาได้รับในครั้งนี้ คือ นักศึกษาได้มีประสบการณ์ในการนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานให้เกิดประโยชน์ได้จริง  เป็นแรงผลักสำคัญที่จะทำให้นักศึกษาได้ต่อยอดความคิด และพัฒนาผลงานออกมาเรื่อย ๆ  และสำหรับผลงาน 2 ชิ้นนี้ อยู่ในระหว่างการจดอนุสิทธิบัตรและวางแผนในการพัฒนาเชิงพาณิชย์เพื่อให้เกษตรกรได้ใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัย ได้อย่างทั่วถึงมากยิ่งขึ้น โดยทางคณะและมหาวิทยาลัยพร้อมที่จะสนับสนุนนักศึกษาให้ถึงที่สุด ” ฝ่ายสื่อสารองค์กร  ม.แม่โจ้  // รายงาน
25 เมษายน 2567     |      206
นศ.บริหารธุรกิจ ม.แม่โจ้ รับรางวัล “นำเสนอดี” งานประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 8 พัฒนาระบบตรวจนับครุภัณฑ์แบบคิวอาร์โค้ด ช่วยให้งานตรวจนับครุภัณฑ์เป็นเรื่องง่ายๆ
นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้รับรางวัล “นำเสนอดี” ภาคบรรยาย จากผลงาน การพัฒนาระบบตรวจนับครุภัณฑ์โดยใช้คิวอาร์โค้ด : กรณีศึกษาสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ  ในการประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 8  ซึ่งจัดขึ้นโดยคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพฯการพัฒนาระบบตรวจนับครุภัณฑ์โดยใช้คิวอาร์โค้ด :  กรณีศึกษาสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ” ผลงานของ นางสาวขวัญจิรา ชมภู และ นางสาวสวิณี มูลฟอง นักศึกษาสาขาระบบสารสนเทศทางธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฉัตร ชูชื่น อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต  เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา  โดยระบบนี้เป็นการเก็บข้อมูลจากปัญหา (Pain Point) ที่เกิดขึ้นและความต้องการ (requirement) จากผู้ใช้งานจริงมาพัฒนาชิ้นงานจนได้ทำการพัฒนาเป็นระบบตรวจนับครุภัณฑ์ โดยใช้เทคโนโลยี  QrCode  ลดความยุ่งยากซับซ้อน ที่ช่วยในเรื่องของการตรวจนับได้อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องจดบันทึกลงเล่มครุภัณฑ์ มีความแม่นยำในการตรวจนับ มีการแสดงข้อมูลครุภัณฑ์ที่สแกนได้ทันที สามารถสแกนทำการตรวจนับได้ทุกที่ รวมถึงการเรียกดูข้อมูลที่ง่ายขึ้นและข้อมูลเป็นแบบเรียลไทม์ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฉัตร ชูชื่น อาจารย์ที่ปรึกษา กล่าวเพิ่มเติมว่า “การพัฒนาระบบตรวจนับครุภัณฑ์โดยใช้คิวอาร์โค้ด  กรณีศึกษาสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ  เป็นผลงานที่ให้นักศึกษาได้นำความรู้ที่เรียนมาต่อยอดจากงานที่พัฒนาในรายวิชาสหกิจศึกษาและรายวิชาโครงงานระบบสารสนเทศทางธุรกิจ โดยได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากปัญหา รวมถึงความต้องการ จากผู้ใช้งานจริงมาพัฒนาชิ้นงานดังกล่าวนี้ออกมา จนได้ทำการพัฒนาระบบที่สามารถนำไปใช้ได้จริงในการทำงาน และยังสามารถเป็นต้นแบบในการพัฒนาระบบเพื่อปรับใช้กับงานอื่นๆ ได้อีกด้วย รางวัลในครั้งนี้จึงเป็นเหมือนแรงบันดาลใจให้นักศึกษาได้พัฒนาผลงานอื่นๆ ต่อเนื่องไปได้อีกเรื่อย ๆ ช่วยให้นักศึกษาพัฒนาศักยภาพของตนเองได้อีกทางหนึ่ง” ฝ่ายสื่อสารองค์กร ม.แม่โจ้ // รายงาน
21 มีนาคม 2567     |      514
เด็กวิศวะฯ การยางฯ ม.แม่โจ้ คว้า 2 เหรียญทอง I-New Gen Award 2024 สร้างสรรค์นวัตกรรมทางการเกษตร สร้างรายได้ ลดใช้พลังงาน รักษ์โลก
 นักศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ คว้า 2 รางวัลเหรียญทอง จากการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม “Thailand New Gen Inventors Award 2024” (I-New Gen Award 2024) จัดขึ้นโดย สํานักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา  ซึ่งมีการแสดงผลงานสิ่งประดิษฐ์จากนักประดิษฐ์รุ่นใหม่ 3 ระดับ ได้แก่ ระดับมัธยม อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา ในปีนี้คัดเลือกผลงานจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ จากทั่วประเทศกว่า 1,000 ผลงาน จาก 330 สถาบันทั่วประเทศ  และมหาวิทยาลัยแม่โจ้สามารถคว้ามาได้ถึง  2 เหรียญทอง ในระดับอุดมศึกษา ได้แก่รางวัลเหรียญทอง กลุ่มเกษตร จากการคิดค้นนวัตกรรม “พอรัส มัลซ์ (ผ้ายางคลุมดินอัจฉริยะ)” โดย นางสาวรัชนี จิระพาณิชย์ และ นางสาวศศินิภา บุญมา  นักศึกษาชั้นปีที่ 1“พอรัส มัลซ์ (ผ้ายางคลุมดินอัจฉริยะ)” เป็นนวัตกรรมผ้ายางคลุมดินที่ช่วยระบายอากาศและน้ำได้ดี ลดการเกิดเชื้อโรค พืชเจริญเติบโตดี ลดการใช้พลังงานในการแปรรูป ลดการเกิดไมโครพลาสติกที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและมนุษย์ ใช้เทคโนโลยี IOT ควบคุมอุณหภูมิและความชื้นในดิน เหมาะแก่การใช้งานปลูกพืชอินทรีย์รางวัลเหรียญทอง กลุ่มพลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ จากการคิดค้นนวัตกรรม “กรีนโกร์ว (ถุงเพาะชำยางรักษ์โลก)” โดย นายวรพงศ์ ชูใจ นักศึกษาชั้นปีที่ 1“กรีนโกร์ว (ถุงเพาะชำยางรักษ์โลก)” เป็นถุงเพาะชำที่สามารถย่อยสลายได้โดยธรรมชาติ พืชเจริญเติบโตได้ดี ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ใช้เทคนิคพิเศษในการผสมยางพารากับแป้งมาเคลือบถุงกระดาษคราฟท์ที่ทำจากเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ช่วยลดการเผา ลด PM 2.5 และช่วยลดปริมาณขยะพลาสติกได้ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิวโรฒ บุญราศรี อาจารย์ที่ปรึกษาจากหลักสูตรเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวเพิ่มเติมว่า “สำหรับทั้ง 2 ผลงานที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้ นอกจากจะเป็นเวทีให้นักศึกษาได้ใช้ความรู้ คิดค้นนวัตกรรมต่างๆ ที่มาช่วยแก้ปัญหาด้านการเกษตรในมิติต่าง ๆ แล้วยังช่วยเพิ่มช่องทางสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับยางพาราซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของประเทศ ช่วยเกษตรกรชาวสวนยางให้มีรายได้เพิ่มขึ้นจากเดิม   ซึ่งผลงานนวัตกรรมดังกล่าว ขณะนี้อยู่ในกระบวนการจดสิทธิบัตร เตรียมต่อยอดขยายผลเผยแพร่องค์ความรู้ให้กับเกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจชุมหรือผู้ประกอบการ เพื่อให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงนวัตกรรมนี้ได้อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น”สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ หลักสูตรเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทร. 053 875000  และ  090 519 4926 ฝ่ายสื่อสารองค์กร ม.แม่โจ้ // รายงาน
12 มีนาคม 2567     |      1313
คณะวิศวะฯ ม.แม่โจ้ นำร่อง “ลดเผา ลดควัน แป๋งปุ๋ยบนดอย” ชูนวัตกรรมปุ๋ยหมักไม่พลิกกลับกองฯ จัดการเศษข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เหลือทิ้งจากการเก็บเกี่ยวบนพื้นที่สูงลดการเผา ลดฝุ่น PM2.5
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำโดย อาจารย์ ดร.แสนวสันต์ ยอดคำ รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและกิจการพิเศษ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนวัฒน์ นิทัศน์วิจิตร อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร  ร่วมกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ่อแก้ว ลัวฉือนี ต.บ่อแก้ว อ.สะเมิง จ. เชียงใหม่ ได้ดำเนินโครงการ ลดเผา ลดควัน แป๋งปุ๋ยบนดอย โดยได้นำร่องรับซื้อเศษข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ ราคากิโลกรัมละ 1 บาท จำนวนกว่า 40,000 กิโลกรัม (40 ตัน) เพื่อนำมาทำปุ๋ยอินทรีย์ลดการเผา โดยใช้ วิธีการหมักปุ๋ยอินทรีย์แบบไม่พลิกกลับกอง วิธีวิศวกรรมแม่โจ้ 1 ที่เป็นนวัตกรรมองค์ความรู้ของอาจารย์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ให้เป็นพื้นที่ต้นแบบในการลดปัญหาการเผาเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ลดปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศ (PM2.5) ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเผาที่ส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อนนอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมให้ชุมชนมีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ที่มีคุณภาพใช้ในพื้นที่ เพื่อลดต้นทุนการผลิต และสามารถต่อยอดจำหน่ายเชิงพาณิชย์เพื่อสร้างรายได้ให้แก่กลุ่มวิสาหกิจ ซึ่งถือเป็นการแก้ปัญหาการเผาตั้งแต่ต้นทาง และเป็นการสร้างมูลค่าจากเศษวัสดุเหลือทิ้ง ตามแนวทางโมเดลการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อความยั่งยืนของประเทศไทย (BCG Model) และเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา นายวิโรจน์ ดวงสุวรรณ์นายอำเภอสะเมิง ได้เข้าเยี่ยมชมการดำเนินกิจกรรมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อลดการเผาของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ่อแก้ว ลัวฉือนี ต.บ่อแก้ว  อ.สะเมิง จ. เชียงใหม่ พร้อมทั้งในกำลังใจทีมงานให้การดำเนินโครงการประสบความสำเร็จอาจารย์ ดรแสนวสันต์ ยอดคำ รองคณบดีฯ คณะวิศวะกรรมฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า วิธีการหมักปุ๋ยอินทรีย์แบบไม่พลิกกลับกอง วิธีวิศวกรรมแม่โจ้ 1 เป็นนวัตกรรมที่ไม่ซับซ้อน เพียงแค่นำเศษพืชผลเหลือทิ้งทางการเกษตรมาหมักรวมกับมูลสัตว์ แล้วดูแลความชื้นในกองให้เหมาะสม ไม่ต้องพลิกกลับกองปุ๋ยให้ยุ่งยาก โดยใช้เวลาหมักเพียง 2 เดือนเท่านั้น  ซึ่งจากโครงการในครั้งนี้เราจะได้ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีคุณภาพตามมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ตามเกณฑ์ของกรมวิชาการเกษตรประมาณ 60 ตัน มีมูลค่าประมาณ 480,000 บาท เกษตรกรสามารถนำไปใช้ในพื้นที่การเกษตรของตนเองเพื่อลดต้นทุน หรือนำไปจำหน่ายได้ โดยหวังว่าโครงการนี้จะเป็นพื้นที่ต้นแบบในการจัดการเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร หรือจากการเก็บเกี่ยวเพื่อลดการเผา ลดฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศ PM2.5) ได้อย่างเป็นรูปธรรม”สำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน หรือหน่วยงานต่างๆ ที่สนใจนวัตกรรมการหมักปุ๋ยอินทรีย์แบบไม่พลิกกลับกอง วิธีวิศวกรรมแม่โจ้ 1 สามารถติดต่อรายละเอียดได้ที่  คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทรศัพท์ 0-5387-5000 ถึง 15 ฝ่ายสื่อสารองค์กร ม.แม่โจ้ // รายงาน
8 มีนาคม 2567     |      760