ฝ่ายสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
MJU Corporate Communication Center

"...งานหนัก ไม่เคยฆ่าคน ใครที่ตายเพราะทำงานหนัก ครูจะสร้างอนุสาวรีย์ ไว้ให้แม่โจ้" อมตะโอวาท  ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย อธิการบดีคนแรก คนต้นแบบลูกแม่โจ้  ชาวแม่โจ้ ร่วม“ระลึกถึง ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย” วันจันทร์ที่ 30 ตุลาคม 2566  ณ ลานอนุสาวรีย์ฯ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่น 1 อธิการบดีคนแรกของแม่โจ้ เป็นชาวจังหวัดแพร่ เกิดเมื่อวันที่ 12  มีนาคม 2459  หลังจากสอบไล่ได้มัธยมปีที่ 6 จากโรงเรียนพิริยาลัย จ.แพร่  ก็ได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จ.เชียงใหม่  และย้ายมาเรียนที่โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมแม่โจ้ เมื่อปี 2477  ซึ่งถือเป็นรุ่น 1 รุ่นบุกเบิกและสร้างแม่โจ้   เมื่อจบจากแม่โจ้ท่านสอบชิงทุนหลวงไปศึกษาต่อมหาวิทยาลัยในฟิลิปปินส์     จนจบปริญญาตรี ปี พ.ศ. 2484  จึงกลับมารับราชการเป็นอาจารย์ที่แม่โจ้ ตำแหน่งอาจารย์ผู้ปกครองนาน 6 ปี จากนั้นท่านไปลงสมัครผู้แทนราษฎร 2 ครั้ง  พอถึงปี พ.ศ. 2497 ท่านกลับเข้ารับราชการเป็นอาจารย์ใหญ่ชั้นเอกของโรงเรียนเกษตรกรรมแม่โจ้ จวบจนกระทั่งได้เป็นอธิการบดีคนแรกของสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ถึง 2 สมัย

ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย ท่านเป็นนักประชาธิปไตยตัวอย่าง เป็นผู้มีเมตตาธรรม เป็นผู้ริเริ่มและพัฒนางานใหม่ๆเสมอ เป็นนักพัฒนาชนบท เป็นนักปกครองที่ดีเยี่ยม เป็น “ครู” ที่ประเสริฐ จากการทำงานหนักและผ่านประสบการณ์ต่างๆ ทำให้ชีวิตท่านแข็งแกร่ง ทรหดอดทน ไม่ท้อถอยและยอมแพ้ต่อปัญหา การดำเนินชีวิตที่ผ่านอุปสรรคมาได้ทำให้เกิดปรัชญาความจริงของชีวิต  ท่านได้ตระหนักถึงการเรียนและฝึกอบรมนักเรียนเกษตรต้องให้มีความอดทน ไม่ท้อถอย จึงจะสู้งานได้ทุกอย่าง  เป็นการหล่อหลอมนิสัยให้ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถเผชิญกับอุปสรรคและสามารถแก้ปัญหาลุล่วงได้ต่อไป  จึงนับเป็นช่วงสำคัญของการพัฒนาแม่โจ้สู่มิติใหม่ นักเรียนต้องมีความพร้อมและต้องการเรียนเกษตรจริง ๆ ซึ่งท่านได้กล่าวแสดงความยินดีต่อนักศึกษาที่ผ่านการทดสอบว่า  การเรียนเกษตรที่แม่โจ้นี้ ต้องฝึกความทรหดสู้งานทุกอย่างได้ ไม่ท้อถอย เพื่อจะได้เป็นลูกแม่โจ้ที่อดทน เข้มแข็ง ไม่กลัวงานหนัก งานหนักไม่เคยฆ่าคน ใครตายเพราะงานหนัก ครูจะสร้างอนุสาวรีย์ไว้ให้ที่แม่โจ้”

ตลอดระยะเวลาท่านได้สร้างการเปลี่ยนแปลงพัฒนาทั้งระบบการปกครอง บุคลากรและนักเรียนแม่โจ้อย่างก้าวกระโดด ท่านได้สร้างคุณประโยชน์นานัปการ  เป็นผู้บุกเบิกและสร้างงานอาชีวเกษตรของประเทศ  ริเริ่มกิจกรรม อกท. (องค์การเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทย) ก่อตั้ง อกท.หน่วยแม่โจ้ เป็นแห่งแรกของประเทศไทย รวมถึง โครงการเกษตรกรหนุ่มแห่งประเทศไทย (Young Farmers Pilot Project of Thailand : YTF จัดให้มีขึ้นครั้งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยขณะนั้น  ท่านร่วมจัดตั้งโครงการหลวงเกษตรภาคเหนือ  จัดตั้งและสนับสนุนโครงการอาสาพัฒนาแม่โจ้ นำนักศึกษา อาจารย์ ออกพัฒนาชนบท  อึกทั้งยังได้ถวายงานด้านการเกษตรและงานโครงการตามพระราชดำริหลายโครงการ และยังได้ริเริ่มจัดงานเกษตรแม่โจ้  อีกทั้งยังได้ริเริ่มระบบการให้โควตาศึกษาต่อระบบปริญญาตรีที่แม่โจ้  ท่านคือผู้สร้างและพัฒนาให้ “แม่โจ้” เป็นแหล่งความรู้และหล่อหลอมบุคลากรการเกษตรทุกระดับที่มีคุณภาพ เพื่อพัฒนาประเทศชาติให้เจริญยิ่งๆ ขึ้นไป

ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต  บุญศรี วังซ้าย  ได้ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่  30 ตุลาคม 2527  บรรดาศิษย์เก่าแม่โจ้ สมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จึงได้กำหนดวันที่ 30 ตุลาคม ให้เป็น “วันวิภาต บุญศรี วังซ้าย” เพื่อรำลึกถึงคุณงามความดีที่ท่านได้สร้างและพัฒนาแม่โจ้ให้เจริญ เป็นผู้มีคุณูปการต่อวงการอาชีวเกษตรของประเทศไทย ผู้เป็นต้นแบบนักต่อสู้เอาชนะอุปสรรค และปลดแอกข้อจำกัดของวงการอาชีวเกษตรในอดีต เป็นคนต้นแบบลูกแม่โจ้ ตามปรัชญา “งานหนักไม่เคยฆ่าคน” อันเป็นคติพจน์ประจำใจของ ลูกแม่โจ้จวบจนปัจจุบัน

ขอเรียนเชิญคณาจารย์  นักศึกษา บุคลากร และศิษย์แม่โจ้ทุกรุ่นร่วมงาน “ระลึกถึง ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย”  ในวันจันทร์ที่ 30 ตุลาคม 2566  ตั้งแต่เวลา 07.30 น. เป็นต้นไป  ณ  ลานอนุสาวรีย์ ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย  หน้าสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 

 

 หมายเหตุ : การแต่งกายชุดพื้นเมือง หรือชุดสุภาพ

 

(ข้อมูลอ้างอิง : หนังสืออนุสรณ์ 100 ปี ชาตกาลอาจารย์บุญศรี คนต้นแบบลูกแม่โจ้ “งานหนักไม่เคยฆ่าคน”                                                                    2459-2559 และ  http://www.archives.mju.ac.th/web/?p=448)

 

ปรับปรุงข้อมูล : 25/10/2566 22:27:44     ที่มา : ฝ่ายสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 2342

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวกิจกรรม ข่าวประชาสัมพันธ์

ข่าวล่าสุด

2 นศ.ชาวต่างประเทศ ม.แม่โจ้ คว้ารางวัล เสน่ห์เสียงไทย 2024 การประกวดอ่านออกเสียงร้อยแก้วสำหรับ นิสิตนักศึกษาชาวต่างประเทศ
นักศึกษาชาวต่างประเทศ หลักสูตรภาษาไทยสำหรับชาวต่างประเทศ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ คว้า 2 รางวัล ในโครงการ "เสน่ห์เสียงไทย : การประกวดอ่านออกเสียงร้อยแก้วสำหรับ นิสิตนักศึกษาชาวต่างประเทศ ประจำปี 2024" ผ่านระบบออนไลน์ Zoom meeting เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2567 ที่ผ่านมา ซึ่งจัดขึ้นโดย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับภาควิชาภาษาไทย วิทยาลัยภาษาต่างประเทศและวิเทศสัมพันธ์ฉงชิ่ง เพื่อให้นักศึกษาชาวต่างประเทศได้ ร่วมแสดงความสามารถและเรียนรู้เสน่ห์ของการอ่านออกเสียงภาษาไทย โดยมี นักศึกษาต่างชาติ จากสถาบันต่างๆ เข้าร่วมโครงการกว่า 40 มหาวิทยาลัยทั้งในและต่างประเทศ โดย 2 นักศึกษาชาวต่างประเทศ ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ สามารถคว้ารางวัลมาได้ ดังนี้ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่  Mr. Sai Swan Kan (กานต์)  จากประเทศเมียนมา นักศึกษาชั้นปีที่ 1 จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ชมผลงาน   https://youtu.be/qatxED84ZN0- รางวัลรางวัลชมเชย ได้แก่ Sai Kwan Khay (กรณ์) จากประเทศเมียนมา นักศึกษาชั้นปีที่ 1 จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ชมผลงาน  https://youtu.be/TyC15rOXPO0ผศ.ดร. ชนาพร ขันธบุตร  คณบดีคณะศิลปศาสตร์ กล่าวว่า "คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีหลักสูตรภาษาไทยสำหรับชาวต่างประเทศ ที่เปิดสอนนักศึกษาต่างประเทศ ทั้งนี้ ได้มีการส่งเสริมกิจกรรมต่าง ๆ  ให้นักศึกษาชาวต่างประเทศอยู่เสมอ เพื่อเป็นการพัฒนาทักษะภาษาไทยทั้งการฟัง พูด อ่าน และเขียน  ซึ่งกิจกรรมนี้ ชี้ให้เห็นว่า นักศึกษาชาวต่างประเทศของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ สามารถเรียนรู้การใช้ภาษา สืบสานและเข้าใจวัฒนธรรมไทย ได้เป็นที่ประจักษ์ และใช้ชีวิตในประเทศไทยได้อย่างมีความสุข” ฝ่ายสื่อสารองค์กร ม.แม่โจ้ // รายงาน
1 พฤษภาคม 2567     |      65
นศ.วิศวะฯ ม.แม่โจ้ คว้า 2 รางวัล ระดับชาติ งาน FENETT 2024
นักศึกษาสาขาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้  คว้ารางวัลระดับชาติ ในการนำเสนอผลงานภาคบรรยาย งานประชุมวิชาการวิศวกรรมอาหารแห่งชาติ ครั้งที่ (The 10th National Food Engineering Conferentce, FENETT2024 ณ  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา เมื่อต้นเดือนเมษายน 2567 ซึ่งมีสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศส่งผลงานเข้าร่วมจำนวนมาก โดยมหาวิทยาลัยแม่โจ้สามารถคว้ารางวัลมาได้ 2  ผลงาน  ได้แก่รางวัลชนะเลิศภาคบรรยาย เรื่อง“การออกแบบและพัฒนาเครื่องคัดเมล็ดกาแฟพีเบอร์รี่” ผลงานวิจัยของนายอนุพงศ์ เขื่อนแก้ว และ นายอำนาจ ธนูไตร นักศึกษาสาขาวิศวกรรมเกษตร โดยมี รศ.ดร.จตุรภัทร วาฤทธิ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา สำหรับเครื่องคัดเมล็ดกาแฟพีเบอร์รี่  จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เกษตรกร สามารถคัดเกรดเมล็ดกาแฟพีเบอร์รี่ ซึ่งเป็นเมล็ดกาแฟขนาดที่มีรสชาติกลมกล่อมกว่าปกติและปะปนมาในเมล็ดกาแฟธรรมดาโดยสามารถคัดแยกเกรดได้เร็วขึ้น 216% เมื่อเทียบกับใช้คนคัดแยก ช่วยเพิ่มรายได้จากการคัดเกรดกาแฟพีเบอร์รี่ได้มากกว่าเดิมถึง 6 เท่ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ภาคบรรยาย เรื่อง “การวิเคราะห์การไหลของอากาศแบบบังคับ ภายในตู้รมแก๊สโอโซนสำหรับลำไยสดผลเดี่ยว ด้วยเทคนิคพลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณ” ผลงานวิจัยของ นายอนุชา ประมวล และ นายมนัญชัย  บุญคง นักศึกษาสาขาวิศวกรรมเกษตร โดยมี รศ.ดร.จตุรภัทร วาฤทธิ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ซึ่งผลงานวิจัยนี้จะช่วยคำนวณการไหลของแก๊สโอโซนในตู้รมแก๊สฯ ให้ไหลผ่านผลลำไยบรรจุกล่องให้เหมาะสม  สัมผัสผลลำไยได้สม่ำเสมอ และปลอดเชื้อได้ทั่วถึง  ลำไยที่ผ่านการรมด้วยแก๊สโอโซน มีอายุการเก็บรักษานานขึ้น คงความสดได้ดี ชะลอการเกิดเชื้อราบนผลลำไยได้ถึง  18 วัน เหมาะสำหรับการเพิ่มมูลค่าลำไยผลเดี่ยวให้เป็นสินค้าพรีเมี่ยมปลอดสารพิษ เป็นทางเลือกเพื่อทดแทนการใช้สารซัลเฟอร์ไดออกไซด์กับลำไยสดได้ด้าน รศ.ดร.จตุรภัทร วาฤทธิ์  อาจารย์ที่ปรึกษางานวิจัย กล่าวว่า  “นอกเหนือจากรางวัลที่นักศึกษาได้รับในครั้งนี้ คือ นักศึกษาได้มีประสบการณ์ในการนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานให้เกิดประโยชน์ได้จริง  เป็นแรงผลักสำคัญที่จะทำให้นักศึกษาได้ต่อยอดความคิด และพัฒนาผลงานออกมาเรื่อย ๆ  และสำหรับผลงาน 2 ชิ้นนี้ อยู่ในระหว่างการจดอนุสิทธิบัตรและวางแผนในการพัฒนาเชิงพาณิชย์เพื่อให้เกษตรกรได้ใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัย ได้อย่างทั่วถึงมากยิ่งขึ้น โดยทางคณะและมหาวิทยาลัยพร้อมที่จะสนับสนุนนักศึกษาให้ถึงที่สุด ” ฝ่ายสื่อสารองค์กร  ม.แม่โจ้  // รายงาน
25 เมษายน 2567     |      291
นศ.บริหารธุรกิจ ม.แม่โจ้ รับรางวัล “นำเสนอดี” งานประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 8 พัฒนาระบบตรวจนับครุภัณฑ์แบบคิวอาร์โค้ด ช่วยให้งานตรวจนับครุภัณฑ์เป็นเรื่องง่ายๆ
นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้รับรางวัล “นำเสนอดี” ภาคบรรยาย จากผลงาน การพัฒนาระบบตรวจนับครุภัณฑ์โดยใช้คิวอาร์โค้ด : กรณีศึกษาสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ  ในการประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 8  ซึ่งจัดขึ้นโดยคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพฯการพัฒนาระบบตรวจนับครุภัณฑ์โดยใช้คิวอาร์โค้ด :  กรณีศึกษาสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ” ผลงานของ นางสาวขวัญจิรา ชมภู และ นางสาวสวิณี มูลฟอง นักศึกษาสาขาระบบสารสนเทศทางธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฉัตร ชูชื่น อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต  เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา  โดยระบบนี้เป็นการเก็บข้อมูลจากปัญหา (Pain Point) ที่เกิดขึ้นและความต้องการ (requirement) จากผู้ใช้งานจริงมาพัฒนาชิ้นงานจนได้ทำการพัฒนาเป็นระบบตรวจนับครุภัณฑ์ โดยใช้เทคโนโลยี  QrCode  ลดความยุ่งยากซับซ้อน ที่ช่วยในเรื่องของการตรวจนับได้อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องจดบันทึกลงเล่มครุภัณฑ์ มีความแม่นยำในการตรวจนับ มีการแสดงข้อมูลครุภัณฑ์ที่สแกนได้ทันที สามารถสแกนทำการตรวจนับได้ทุกที่ รวมถึงการเรียกดูข้อมูลที่ง่ายขึ้นและข้อมูลเป็นแบบเรียลไทม์ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฉัตร ชูชื่น อาจารย์ที่ปรึกษา กล่าวเพิ่มเติมว่า “การพัฒนาระบบตรวจนับครุภัณฑ์โดยใช้คิวอาร์โค้ด  กรณีศึกษาสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ  เป็นผลงานที่ให้นักศึกษาได้นำความรู้ที่เรียนมาต่อยอดจากงานที่พัฒนาในรายวิชาสหกิจศึกษาและรายวิชาโครงงานระบบสารสนเทศทางธุรกิจ โดยได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากปัญหา รวมถึงความต้องการ จากผู้ใช้งานจริงมาพัฒนาชิ้นงานดังกล่าวนี้ออกมา จนได้ทำการพัฒนาระบบที่สามารถนำไปใช้ได้จริงในการทำงาน และยังสามารถเป็นต้นแบบในการพัฒนาระบบเพื่อปรับใช้กับงานอื่นๆ ได้อีกด้วย รางวัลในครั้งนี้จึงเป็นเหมือนแรงบันดาลใจให้นักศึกษาได้พัฒนาผลงานอื่นๆ ต่อเนื่องไปได้อีกเรื่อย ๆ ช่วยให้นักศึกษาพัฒนาศักยภาพของตนเองได้อีกทางหนึ่ง” ฝ่ายสื่อสารองค์กร ม.แม่โจ้ // รายงาน
21 มีนาคม 2567     |      524
เด็กวิศวะฯ การยางฯ ม.แม่โจ้ คว้า 2 เหรียญทอง I-New Gen Award 2024 สร้างสรรค์นวัตกรรมทางการเกษตร สร้างรายได้ ลดใช้พลังงาน รักษ์โลก
 นักศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ คว้า 2 รางวัลเหรียญทอง จากการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม “Thailand New Gen Inventors Award 2024” (I-New Gen Award 2024) จัดขึ้นโดย สํานักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา  ซึ่งมีการแสดงผลงานสิ่งประดิษฐ์จากนักประดิษฐ์รุ่นใหม่ 3 ระดับ ได้แก่ ระดับมัธยม อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา ในปีนี้คัดเลือกผลงานจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ จากทั่วประเทศกว่า 1,000 ผลงาน จาก 330 สถาบันทั่วประเทศ  และมหาวิทยาลัยแม่โจ้สามารถคว้ามาได้ถึง  2 เหรียญทอง ในระดับอุดมศึกษา ได้แก่รางวัลเหรียญทอง กลุ่มเกษตร จากการคิดค้นนวัตกรรม “พอรัส มัลซ์ (ผ้ายางคลุมดินอัจฉริยะ)” โดย นางสาวรัชนี จิระพาณิชย์ และ นางสาวศศินิภา บุญมา  นักศึกษาชั้นปีที่ 1“พอรัส มัลซ์ (ผ้ายางคลุมดินอัจฉริยะ)” เป็นนวัตกรรมผ้ายางคลุมดินที่ช่วยระบายอากาศและน้ำได้ดี ลดการเกิดเชื้อโรค พืชเจริญเติบโตดี ลดการใช้พลังงานในการแปรรูป ลดการเกิดไมโครพลาสติกที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและมนุษย์ ใช้เทคโนโลยี IOT ควบคุมอุณหภูมิและความชื้นในดิน เหมาะแก่การใช้งานปลูกพืชอินทรีย์รางวัลเหรียญทอง กลุ่มพลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ จากการคิดค้นนวัตกรรม “กรีนโกร์ว (ถุงเพาะชำยางรักษ์โลก)” โดย นายวรพงศ์ ชูใจ นักศึกษาชั้นปีที่ 1“กรีนโกร์ว (ถุงเพาะชำยางรักษ์โลก)” เป็นถุงเพาะชำที่สามารถย่อยสลายได้โดยธรรมชาติ พืชเจริญเติบโตได้ดี ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ใช้เทคนิคพิเศษในการผสมยางพารากับแป้งมาเคลือบถุงกระดาษคราฟท์ที่ทำจากเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ช่วยลดการเผา ลด PM 2.5 และช่วยลดปริมาณขยะพลาสติกได้ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิวโรฒ บุญราศรี อาจารย์ที่ปรึกษาจากหลักสูตรเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวเพิ่มเติมว่า “สำหรับทั้ง 2 ผลงานที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้ นอกจากจะเป็นเวทีให้นักศึกษาได้ใช้ความรู้ คิดค้นนวัตกรรมต่างๆ ที่มาช่วยแก้ปัญหาด้านการเกษตรในมิติต่าง ๆ แล้วยังช่วยเพิ่มช่องทางสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับยางพาราซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของประเทศ ช่วยเกษตรกรชาวสวนยางให้มีรายได้เพิ่มขึ้นจากเดิม   ซึ่งผลงานนวัตกรรมดังกล่าว ขณะนี้อยู่ในกระบวนการจดสิทธิบัตร เตรียมต่อยอดขยายผลเผยแพร่องค์ความรู้ให้กับเกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจชุมหรือผู้ประกอบการ เพื่อให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงนวัตกรรมนี้ได้อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น”สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ หลักสูตรเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทร. 053 875000  และ  090 519 4926 ฝ่ายสื่อสารองค์กร ม.แม่โจ้ // รายงาน
12 มีนาคม 2567     |      1327