ฝ่ายสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
MJU Corporate Communication Center
ม.แม่โจ้ รับรางวัล 6 Gทอง 2 Gเงิน และ 1 Gทองแดง รางวัลประเมินสำนักงานสีเขียว (Green Office) ปี 2566 ระดับประเทศ
เมื่อเร็วๆ นี้ กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  แจ้งผลการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียว (Green office) ประจำปี 2566 ระดับประเทศ ซึ่งมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีหน่วยงานที่ผ่านการรับรอง ระดับดีเยี่ยม (G ทอง) จำนวน 6 หน่วยงาน รางวัลระดับดีมาก (G เงิน) จำนวน 2 หน่วยงาน และรางวัลระดับดี ( G ทองแดง) 1 หน่วยงานสำหรับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้เข้าร่วมรับการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียวมาตั้งแต่ปี 2558 เริ่มจากคณะเศรษฐศาสตร์เป็นหน่วยงานแรก ต่อมามีหน่วยงานต่างๆ ในสังกัดมหาวิทยาลัยแม่โจ้เข้ารับการตรวจประเมินสำนักสีเขียวเพิ่มขึ้นอีกหลายหน่วยงาน และในปี 2566 มีหน่วยงานที่ขอเข้ารับการประเมิน 9 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานมหาวิทยาลัย (เพื่อต่ออายุ), สำนักหอสมุด(เพื่อต่ออายุ),  คณะวิทยาศาสตร์ (เพื่อต่ออายุ), คณะสารสนเทศและการสื่อสาร (เพื่อต่ออายุ), อาคารรัตนโกสินทร์ 200 ปี คณะผลิตกรรมการเกษตร(ครั้งแรก), อาคารสำนักงานคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ (ครั้งแรก),  อาคารนำชัย ทนุผล มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ(ครั้งแรก) วิทยาลัยบริหารศาสตร์ (ครั้งแรก) และอาคารเรียนรวม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม โดยผ่านการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียว (Green Office) ในระดับดีเยี่ยม (G ทอง)  ดีมาก (G เงิน) และรางวัลระดับดี ( G ทองแดง) ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดใน 6 หมวด ได้แก่ 1.) การกำหนดนโยบายและการปรับปรุง อย่างต่อเนื่อง  2.) การสื่อสารและการสร้างจิตสำนึก 3.) การใช้ทรัพยากรและพลังงาน 4.) การจัดการของเสีย 5.) สภาพแวดล้อมและความปลอดภัยในสำนักงาน  6.) การจัดซื้อจัดจ้าง ผลการตรวจประเมินหน่วยงาน ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ทั้ง 9 หน่วยงาน มีดังนี้รางวัลระดับดีเยี่ยม (G ทอง) ได้แก่ สำนักงานมหาวิทยาลัย (รางวัลระดับดีเยี่ยมต่อเนื่อง 3 รอบ) สำนักหอสมุด (รางวัลระดับดีเยี่ยมต่อเนื่อง  3 รอบ) คณะวิทยาศาสตร์ (รางวัลดีเยี่ยมต่อเนื่อง 2 รอบ) อาคารรัตนโกสินทร์ 200 ปี คณะผลิตกรรมการเกษตร (เข้ารับประเมินครั้งแรก) อาคารสำนักงานคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ (เข้ารับการประเมินครั้งแรก) และ อาคารเรียนรวม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม (เข้ารับการประเมินครั้งแรก)รางวัลระดับดีมาก (G เงิน) ได้แก่ คณะสารสนเทศและการสื่อสาร (รางวัลระดับดีมากต่อเนื่อง 2 รอบ) อาคารนำชัย ทนุผล มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - แพร่ฯ  (เข้ารับการประเมินครั้งแรก)รางวัลระดับดี (G ทองแดง) ได้แก่ วิทยาลัยบริหารศาสตร์ (เข้ารับการประเมินครั้งแรก) ทั้งนี้  หน่วยงานที่ผ่านการประเมินจะเข้ารับมอบรางวัลอย่างเป็นทางการในเดือนกรกฎาคม 2567 ต่อไป ฝ่ายสื่อสารองค์กร ม.แม่โจ้ // รายงาน
6 มิถุนายน 2567     |      568
ก้าวสู่ทศวรรษใหม่ 90 ปีแม่โจ้ 7 มิถุนายน วันคล้ายวันสถาปนาโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมภาคเหนือ (มหาวิทยาลัยแม่โจ้)
ก่อร่าง ก้าวย่าง เติบโต ยิ่งใหญ่ 90 ปีก่อนจะเป็นมหาวิทยาลัยแม่โจ้ในปัจจุบัน “ไม่มีพระช่วงฯ ไม่มีแม่โจ้” ตามรอยคุณพระช่วงฯ บิดาเกษตรแม่โจ้  14 สิงหาคม 2476 คุณพระช่วงเกษตรศิลปการ ยืมม้าจากนายอำเภอสันทราย บุกเข้าดงแม่โจ้ พร้อมคนนำทางมุ่งหน้าต่อไปตามทางเกวียนใช้เวลาชั่วโมงกว่าถึงดงไม้และป่าโปร่งที่เรียกว่า “ดงแม่โจ้” มีพื้นที่ประมาณ 800 ไร่ มีหมู่บ้านเล็กๆอยู่ชายป่าประมาณ 10 หลังคาเรือน ถึงแม้ผืนดินแห่งนี้จะมีสภาพเป็นดินเลว  แต่มีแหล่งน้ำเพียงพอที่สามารถปรับแก้ไขสภาพดินให้ดีขึ้นได้ ท่านจึงสร้างสถานีกสิกรรมภาคพายัพขึ้นบนผืนดินแห่งนี้ต้นเดือนเมษายน 2477 เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี รมต.กระทรวงธรรมการ(สมัยนั้น) มีบัญชาให้จัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมประจำภาคเหนือขึ้นที่ ดงแม่โจ้ ติดพื้นที่ด้านทิศใต้ของสถานีทดลองกสิกรรมภาคพายัพ แต่งตั้งให้ พระช่วงเกษตรศิลปการ ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่17 พฤษภาคม 2477 นักเรียนรุ่นแรกเดินทางมารายงานตัวครบทั้ง 46 คน(ภายหลังมาอีก 2 คน รวมเป็น 48 คน)7 มิถุนายน 2477 ได้เปิดการเรียนการสอนครั้งแรก โดย คุณพระช่วงเกษตรศิลปการ บิดาเกษตรแม่โจ้ ผู้บุกเบิกและก่อตั้ง แม่โจ้ พร้อมทั้งจัดให้มีพิธีไหว้ครูขึ้นในวันนี้ ได้เชิญข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ข้าหลวงประจำจังหวัดและธรรมการจังหวัดมาร่วมให้โอวาท ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนั้นได้ถูกจารึกเป็นประวัติศาสตร์อันสำคัญของแม่โจ้ ถือเป็นจุดกำเนิดแม่โจ้และพัฒนามาจนถึงปัจจุบัน90 ปีแม่โจ้ จากโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมภาคเหนือ ได้ก่อร่าง ก้าวย่าง  ฝ่าฟัน ต่อสู้ และ เจริญเติบโต สั่งสมประสบการณ์ บันทึกประวัติศาสตร์ด้านการเกษตรของไทย  สู่…มหาวิทยาลัยแม่โจ้  มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ก้าวสู่ทศวรรษใหม่แห่งการเปลี่ยนแปลงการเป็นมหาวิทยาลัย กลุ่มที่ 2 ที่มุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม ซึ่งขับเคลื่อนตามกรอบนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.) พ.ศ. 2566 - 2570 โดยยังคงมุ่งพัฒนาบัณฑิตสู่ความเป็นผู้อุดมด้วยปัญญา อดทน สู้งานเป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม เพื่อความเจริญรุ่งเรืองวัฒนาของสังคมไทยที่มีการเกษตรเป็นรากฐาน7 มิถุนายน 2567 แม่โจ้ครบ 90 ปี มหาวิทยาลัยจัดให้มีพิธีทำบุญวันคล้ายสถาปนาโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม ภาคเหนือ ประจำปี 2567 โดยจะมีกิจกรรมดังนี้เวลา 07.09 น. พิธีบวงสรวงพระพิรุณทรงนาค นำโดยนายกสภามหาวิทยาลัย นายกสมาคมศิษย์เก่า อธิการบดีพร้อมคณะผู้บริหาร ณ ประติมากรรมพระพิรุณทรงนาค เวลา 0800 น. พิธีทำบุญทางศาสนาเจริญพระพุทธมนต์สืบชะตาฉลองครบรอบ 90 ปีแม่โจ้ ณ อาคารแผ่พืชน์เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป พิธีวางพวงมาลาอนุสาวรีย์คุณพระ-ช่วงเกษตรศิลปการ “บิดาเกษตรแม่โจ้” ผู้บุกเบิกก่อตั้งแม่โจ้ และได้รับเกียรติจาก ทายาทพระช่วงเกษตรศิลปการ เข้าร่วมพิธีขอเชิญชาวแม่โจ้พร้อมใจกัน เข้าร่วมกิจกรรมวันคล้ายวันสถาปนา  โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม ภาคเหนือ  ประจำปี 2567 ในวันศุกร์ที่ 7 มิถุนายน 2567 ตั้งแต่เวลา 0800 น.เป็นต้นไป มาร่วมกันแสดงพลังสามัคคี ร่วมรำลึกถึงเส้นทางการก้าวย่างของแม่โจ้ พร้อมก้าวสู่ทศวรรษใหม่แห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างภาคภูมิแม่โจ้: มหาวิทยาลัยแห่งชีวิต”**(ภาพประกอบจากแฟ้มภาพ)สอบถามเพิ่มเติม กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม 0 5387 3305สั่งจองพวงมาลา สมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้  0 5335 3140
30 พฤษภาคม 2567     |      393
ม.แม่โจ้ ชวนรักษ์โลก จัด Big Cleaning Day เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก 2567
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เตรียมจัดกิจกรรมรณรงค์วันสิ่งแวดล้อมโลก และ MJU Big cleaning day ของส่วนงาน เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลกแสดงถึงความร่วมมือ สร้างความตระหนักในการรักษาสิ่งแวดล้อมให้ทุกคนได้มีส่วนในการร่วมขับเคลื่อน Green Office  และ Green University ในวันพุธที่ 5 มิถุนายน  2567พร้อมรับของที่ระลึกรักษ์โลก  ณ บริเวณโถงชั้น 1 อาคารสำนักงานมหาวิทยาลัย  เนื่องด้วยวันที่ 5 มิถุนายน ของทุกปีถือว่าเป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก”เพื่อตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัว ทั้งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ที่มีการเกื้อหนุนซึ่งกันละกัน เป็นวงจรและวัฏจักรที่เกี่ยวข้องกันทุกระบบ สร้างเข้าใจถึงผลกระทบจากปัญหาสิ่งแวดล้อม  สำหรับมหาวิทยาลัยแม่โจ้เตรียมจัดกิจกรรมการส่งเสริม รณรงค์ลดขยะ กิจกรรมการมีส่วนร่วมของบุคลากร ตอบคำถามรับรางวัลสร้างการรับรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น กิจกรรม Big cleaning day โดยรอบสำนักงานขอเชิญทุกท่านเข้าร่วมกิจกรรม ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม  ในวันพุธที่ 5 มิถุนายน 2567 ตั้งแต่เวลา 09.00 น.เป็นต้นไป   ณ บริเวณโถงชั้น 1 อาคารสำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้  สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม สำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้  0 5387 3241
27 พฤษภาคม 2567     |      245
ม.แม่โจ้ ประกาศยกย่องอาจารย์ดีเด่น ประจำปี 2566 เตรียมมอบรางวัลเข็มเพชรแม่โจ้เชิดชูเกียรติ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ดำเนินการพิจารณาคัดเลือกอาจารย์ดีเด่นเป็นประจำทุกปี ซึ่งเป็นการยกย่องบุคลากรอันทรงคุณค่าของมหาวิทยาลัย ผู้ปฏิบัติหน้าที่ของตนเป็นอย่างดี มีความสามารถในการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ อุทิศตนให้แก่มหาวิทยาลัยแม่โจ้และสังคมอย่างเต็มกำลังความสามารถ ค้นคว้าวิจัย ถ่ายทอดความรู้แก่นักศึกษาและชุมชนอย่างเต็มที่ พร้อมกับประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นตัวอย่างแก่เพื่อนร่วมงานและนักศึกษา มีความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวมเป็นอย่างดีในปี 2566 มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการคัดเลือกและประกาศรายชื่ออาจารย์ดีเด่นของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อเป็นการประกาศเกียรติคุณยกย่อง สร้างขวัญกำลังใจในการทำงาน โดยมีผู้ผ่านการพิจารณาได้รับการคัดเลือกเป็นอาจารย์ดีเด่น ประจำปี 2566 ตามหลักเกณฑ์ที่วางไว้ จำนวน 4 ท่าน ดังนี้ 1. อาจารย์ดีเด่นด้านการเรียนการสอน ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิวโรฒ บุญราศี สังกัด คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร 2. อาจารย์ดีเด่นด้านการวิจัยและนวัตกรรม ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฉัตร ชูชื่น สังกัด คณะบริหารธุรกิจ 3. อาจารย์ดีเด่นด้านบริการวิชาการ ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุบรรณ ฝอยกลาง สังกัด คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี 4. อาจารย์ดีเด่นด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ได้แก่ อาจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร.ปรมินทร์ นาระทะ สังกัดคณะผลิตกรรมการเกษตร ทั้งนี้ ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกทั้ง 4 ท่าน จะเข้ารับโล่ประกาศเกียรติคุณและเข็มเพชรแม่โจ้ จาก อธิการบดี ในพิธีไหว้ครูประจำปี 2567 ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมีคณะผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษากว่า ร่วมชื่นชมยินดี กับการได้รับรางวัลอันทรงคุณค่าในครั้งนี้
17 พฤษภาคม 2567     |      523
ม.แม่โจ้ - ชุมพร ปล่อยปลาคาร์ฟกว่าพันตัว เตรียมพัฒนาเป็นพ่อแม่พันธุ์สร้างมูลค่าเพิ่ม
 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร ร่วมกับ คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ  มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และชมรมศิษย์เก่าแม่โจ้ชุมพร  ร่วมกิจกรรมปล่อยปลาคาร์ฟ จำนวน 1,500 ตัว  นำโดย  อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จอมสุดา ดวงวงษา รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและกิจการพิเศษ  คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ พร้อมด้วย คณาจารย์ นักศึกษา และศิษย์เก่า เข้าร่วมกิจกรรม ณ บ่อน้ำ 35 ไร่ (บ่อเลี้ยงระบบปิด) ฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพ ตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2567 ที่ผ่านมา      โอกาสนี้ นางสาวเกศณีย์ แท่นนิล ประมงจังหวัดชุมพร เป็นผู้แทนมอบพันธุ์ปลาคาร์ฟ จำนวน 1,500 ตัว  ซึ่งได้รับการสนับสนุน จากนายสุชาติ จุลอดุง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำชุมพร เพื่อใช้ในกิจกรรมครั้งนี้   โดยมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ได้เตรียมพัฒนาพันธุ์ ปลาคาร์ฟดังกล่าวให้เป็นพ่อแม่พันธุ์ภายใต้การดูแลของนักวิชาการประมง  เพื่อใช้ในการเรียนการสอน ตลอดจนจำหน่ายพันธุ์ปลาต่อยอดเชิงธุรกิจ สร้างรายได้ให้มหาวิทยาลัยต่อไป
3 พฤษภาคม 2567     |      522
2 นศ.ชาวต่างประเทศ ม.แม่โจ้ คว้ารางวัล เสน่ห์เสียงไทย 2024 การประกวดอ่านออกเสียงร้อยแก้วสำหรับ นิสิตนักศึกษาชาวต่างประเทศ
นักศึกษาชาวต่างประเทศ หลักสูตรภาษาไทยสำหรับชาวต่างประเทศ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ คว้า 2 รางวัล ในโครงการ "เสน่ห์เสียงไทย : การประกวดอ่านออกเสียงร้อยแก้วสำหรับ นิสิตนักศึกษาชาวต่างประเทศ ประจำปี 2024" ผ่านระบบออนไลน์ Zoom meeting เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2567 ที่ผ่านมา ซึ่งจัดขึ้นโดย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับภาควิชาภาษาไทย วิทยาลัยภาษาต่างประเทศและวิเทศสัมพันธ์ฉงชิ่ง เพื่อให้นักศึกษาชาวต่างประเทศได้ ร่วมแสดงความสามารถและเรียนรู้เสน่ห์ของการอ่านออกเสียงภาษาไทย โดยมี นักศึกษาต่างชาติ จากสถาบันต่างๆ เข้าร่วมโครงการกว่า 40 มหาวิทยาลัยทั้งในและต่างประเทศ โดย 2 นักศึกษาชาวต่างประเทศ ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ สามารถคว้ารางวัลมาได้ ดังนี้ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่  Mr. Sai Swan Kan (กานต์)  จากประเทศเมียนมา นักศึกษาชั้นปีที่ 1 จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ชมผลงาน   https://youtu.be/qatxED84ZN0- รางวัลรางวัลชมเชย ได้แก่ Sai Kwan Khay (กรณ์) จากประเทศเมียนมา นักศึกษาชั้นปีที่ 1 จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ชมผลงาน  https://youtu.be/TyC15rOXPO0ผศ.ดร. ชนาพร ขันธบุตร  คณบดีคณะศิลปศาสตร์ กล่าวว่า "คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีหลักสูตรภาษาไทยสำหรับชาวต่างประเทศ ที่เปิดสอนนักศึกษาต่างประเทศ ทั้งนี้ ได้มีการส่งเสริมกิจกรรมต่าง ๆ  ให้นักศึกษาชาวต่างประเทศอยู่เสมอ เพื่อเป็นการพัฒนาทักษะภาษาไทยทั้งการฟัง พูด อ่าน และเขียน  ซึ่งกิจกรรมนี้ ชี้ให้เห็นว่า นักศึกษาชาวต่างประเทศของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ สามารถเรียนรู้การใช้ภาษา สืบสานและเข้าใจวัฒนธรรมไทย ได้เป็นที่ประจักษ์ และใช้ชีวิตในประเทศไทยได้อย่างมีความสุข” ฝ่ายสื่อสารองค์กร ม.แม่โจ้ // รายงาน
1 พฤษภาคม 2567     |      451
นศ.วิศวะฯ ม.แม่โจ้ คว้า 2 รางวัล ระดับชาติ งาน FENETT 2024
นักศึกษาสาขาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้  คว้ารางวัลระดับชาติ ในการนำเสนอผลงานภาคบรรยาย งานประชุมวิชาการวิศวกรรมอาหารแห่งชาติ ครั้งที่ (The 10th National Food Engineering Conferentce, FENETT2024 ณ  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา เมื่อต้นเดือนเมษายน 2567 ซึ่งมีสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศส่งผลงานเข้าร่วมจำนวนมาก โดยมหาวิทยาลัยแม่โจ้สามารถคว้ารางวัลมาได้ 2  ผลงาน  ได้แก่รางวัลชนะเลิศภาคบรรยาย เรื่อง“การออกแบบและพัฒนาเครื่องคัดเมล็ดกาแฟพีเบอร์รี่” ผลงานวิจัยของนายอนุพงศ์ เขื่อนแก้ว และ นายอำนาจ ธนูไตร นักศึกษาสาขาวิศวกรรมเกษตร โดยมี รศ.ดร.จตุรภัทร วาฤทธิ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา สำหรับเครื่องคัดเมล็ดกาแฟพีเบอร์รี่  จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เกษตรกร สามารถคัดเกรดเมล็ดกาแฟพีเบอร์รี่ ซึ่งเป็นเมล็ดกาแฟขนาดที่มีรสชาติกลมกล่อมกว่าปกติและปะปนมาในเมล็ดกาแฟธรรมดาโดยสามารถคัดแยกเกรดได้เร็วขึ้น 216% เมื่อเทียบกับใช้คนคัดแยก ช่วยเพิ่มรายได้จากการคัดเกรดกาแฟพีเบอร์รี่ได้มากกว่าเดิมถึง 6 เท่ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ภาคบรรยาย เรื่อง “การวิเคราะห์การไหลของอากาศแบบบังคับ ภายในตู้รมแก๊สโอโซนสำหรับลำไยสดผลเดี่ยว ด้วยเทคนิคพลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณ” ผลงานวิจัยของ นายอนุชา ประมวล และ นายมนัญชัย  บุญคง นักศึกษาสาขาวิศวกรรมเกษตร โดยมี รศ.ดร.จตุรภัทร วาฤทธิ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ซึ่งผลงานวิจัยนี้จะช่วยคำนวณการไหลของแก๊สโอโซนในตู้รมแก๊สฯ ให้ไหลผ่านผลลำไยบรรจุกล่องให้เหมาะสม  สัมผัสผลลำไยได้สม่ำเสมอ และปลอดเชื้อได้ทั่วถึง  ลำไยที่ผ่านการรมด้วยแก๊สโอโซน มีอายุการเก็บรักษานานขึ้น คงความสดได้ดี ชะลอการเกิดเชื้อราบนผลลำไยได้ถึง  18 วัน เหมาะสำหรับการเพิ่มมูลค่าลำไยผลเดี่ยวให้เป็นสินค้าพรีเมี่ยมปลอดสารพิษ เป็นทางเลือกเพื่อทดแทนการใช้สารซัลเฟอร์ไดออกไซด์กับลำไยสดได้ด้าน รศ.ดร.จตุรภัทร วาฤทธิ์  อาจารย์ที่ปรึกษางานวิจัย กล่าวว่า  “นอกเหนือจากรางวัลที่นักศึกษาได้รับในครั้งนี้ คือ นักศึกษาได้มีประสบการณ์ในการนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานให้เกิดประโยชน์ได้จริง  เป็นแรงผลักสำคัญที่จะทำให้นักศึกษาได้ต่อยอดความคิด และพัฒนาผลงานออกมาเรื่อย ๆ  และสำหรับผลงาน 2 ชิ้นนี้ อยู่ในระหว่างการจดอนุสิทธิบัตรและวางแผนในการพัฒนาเชิงพาณิชย์เพื่อให้เกษตรกรได้ใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัย ได้อย่างทั่วถึงมากยิ่งขึ้น โดยทางคณะและมหาวิทยาลัยพร้อมที่จะสนับสนุนนักศึกษาให้ถึงที่สุด ” ฝ่ายสื่อสารองค์กร  ม.แม่โจ้  // รายงาน
25 เมษายน 2567     |      552
นศ.บริหารธุรกิจ ม.แม่โจ้ รับรางวัล “นำเสนอดี” งานประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 8 พัฒนาระบบตรวจนับครุภัณฑ์แบบคิวอาร์โค้ด ช่วยให้งานตรวจนับครุภัณฑ์เป็นเรื่องง่ายๆ
นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้รับรางวัล “นำเสนอดี” ภาคบรรยาย จากผลงาน การพัฒนาระบบตรวจนับครุภัณฑ์โดยใช้คิวอาร์โค้ด : กรณีศึกษาสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ  ในการประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 8  ซึ่งจัดขึ้นโดยคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพฯการพัฒนาระบบตรวจนับครุภัณฑ์โดยใช้คิวอาร์โค้ด :  กรณีศึกษาสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ” ผลงานของ นางสาวขวัญจิรา ชมภู และ นางสาวสวิณี มูลฟอง นักศึกษาสาขาระบบสารสนเทศทางธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฉัตร ชูชื่น อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต  เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา  โดยระบบนี้เป็นการเก็บข้อมูลจากปัญหา (Pain Point) ที่เกิดขึ้นและความต้องการ (requirement) จากผู้ใช้งานจริงมาพัฒนาชิ้นงานจนได้ทำการพัฒนาเป็นระบบตรวจนับครุภัณฑ์ โดยใช้เทคโนโลยี  QrCode  ลดความยุ่งยากซับซ้อน ที่ช่วยในเรื่องของการตรวจนับได้อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องจดบันทึกลงเล่มครุภัณฑ์ มีความแม่นยำในการตรวจนับ มีการแสดงข้อมูลครุภัณฑ์ที่สแกนได้ทันที สามารถสแกนทำการตรวจนับได้ทุกที่ รวมถึงการเรียกดูข้อมูลที่ง่ายขึ้นและข้อมูลเป็นแบบเรียลไทม์ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฉัตร ชูชื่น อาจารย์ที่ปรึกษา กล่าวเพิ่มเติมว่า “การพัฒนาระบบตรวจนับครุภัณฑ์โดยใช้คิวอาร์โค้ด  กรณีศึกษาสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ  เป็นผลงานที่ให้นักศึกษาได้นำความรู้ที่เรียนมาต่อยอดจากงานที่พัฒนาในรายวิชาสหกิจศึกษาและรายวิชาโครงงานระบบสารสนเทศทางธุรกิจ โดยได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากปัญหา รวมถึงความต้องการ จากผู้ใช้งานจริงมาพัฒนาชิ้นงานดังกล่าวนี้ออกมา จนได้ทำการพัฒนาระบบที่สามารถนำไปใช้ได้จริงในการทำงาน และยังสามารถเป็นต้นแบบในการพัฒนาระบบเพื่อปรับใช้กับงานอื่นๆ ได้อีกด้วย รางวัลในครั้งนี้จึงเป็นเหมือนแรงบันดาลใจให้นักศึกษาได้พัฒนาผลงานอื่นๆ ต่อเนื่องไปได้อีกเรื่อย ๆ ช่วยให้นักศึกษาพัฒนาศักยภาพของตนเองได้อีกทางหนึ่ง” ฝ่ายสื่อสารองค์กร ม.แม่โจ้ // รายงาน
21 มีนาคม 2567     |      670
เด็กวิศวะฯ การยางฯ ม.แม่โจ้ คว้า 2 เหรียญทอง I-New Gen Award 2024 สร้างสรรค์นวัตกรรมทางการเกษตร สร้างรายได้ ลดใช้พลังงาน รักษ์โลก
 นักศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ คว้า 2 รางวัลเหรียญทอง จากการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม “Thailand New Gen Inventors Award 2024” (I-New Gen Award 2024) จัดขึ้นโดย สํานักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา  ซึ่งมีการแสดงผลงานสิ่งประดิษฐ์จากนักประดิษฐ์รุ่นใหม่ 3 ระดับ ได้แก่ ระดับมัธยม อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา ในปีนี้คัดเลือกผลงานจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ จากทั่วประเทศกว่า 1,000 ผลงาน จาก 330 สถาบันทั่วประเทศ  และมหาวิทยาลัยแม่โจ้สามารถคว้ามาได้ถึง  2 เหรียญทอง ในระดับอุดมศึกษา ได้แก่รางวัลเหรียญทอง กลุ่มเกษตร จากการคิดค้นนวัตกรรม “พอรัส มัลซ์ (ผ้ายางคลุมดินอัจฉริยะ)” โดย นางสาวรัชนี จิระพาณิชย์ และ นางสาวศศินิภา บุญมา  นักศึกษาชั้นปีที่ 1“พอรัส มัลซ์ (ผ้ายางคลุมดินอัจฉริยะ)” เป็นนวัตกรรมผ้ายางคลุมดินที่ช่วยระบายอากาศและน้ำได้ดี ลดการเกิดเชื้อโรค พืชเจริญเติบโตดี ลดการใช้พลังงานในการแปรรูป ลดการเกิดไมโครพลาสติกที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและมนุษย์ ใช้เทคโนโลยี IOT ควบคุมอุณหภูมิและความชื้นในดิน เหมาะแก่การใช้งานปลูกพืชอินทรีย์รางวัลเหรียญทอง กลุ่มพลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ จากการคิดค้นนวัตกรรม “กรีนโกร์ว (ถุงเพาะชำยางรักษ์โลก)” โดย นายวรพงศ์ ชูใจ นักศึกษาชั้นปีที่ 1“กรีนโกร์ว (ถุงเพาะชำยางรักษ์โลก)” เป็นถุงเพาะชำที่สามารถย่อยสลายได้โดยธรรมชาติ พืชเจริญเติบโตได้ดี ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ใช้เทคนิคพิเศษในการผสมยางพารากับแป้งมาเคลือบถุงกระดาษคราฟท์ที่ทำจากเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ช่วยลดการเผา ลด PM 2.5 และช่วยลดปริมาณขยะพลาสติกได้ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิวโรฒ บุญราศรี อาจารย์ที่ปรึกษาจากหลักสูตรเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวเพิ่มเติมว่า “สำหรับทั้ง 2 ผลงานที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้ นอกจากจะเป็นเวทีให้นักศึกษาได้ใช้ความรู้ คิดค้นนวัตกรรมต่างๆ ที่มาช่วยแก้ปัญหาด้านการเกษตรในมิติต่าง ๆ แล้วยังช่วยเพิ่มช่องทางสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับยางพาราซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของประเทศ ช่วยเกษตรกรชาวสวนยางให้มีรายได้เพิ่มขึ้นจากเดิม   ซึ่งผลงานนวัตกรรมดังกล่าว ขณะนี้อยู่ในกระบวนการจดสิทธิบัตร เตรียมต่อยอดขยายผลเผยแพร่องค์ความรู้ให้กับเกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจชุมหรือผู้ประกอบการ เพื่อให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงนวัตกรรมนี้ได้อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น”สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ หลักสูตรเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทร. 053 875000  และ  090 519 4926 ฝ่ายสื่อสารองค์กร ม.แม่โจ้ // รายงาน
12 มีนาคม 2567     |      1593
คณะวิศวะฯ ม.แม่โจ้ นำร่อง “ลดเผา ลดควัน แป๋งปุ๋ยบนดอย” ชูนวัตกรรมปุ๋ยหมักไม่พลิกกลับกองฯ จัดการเศษข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เหลือทิ้งจากการเก็บเกี่ยวบนพื้นที่สูงลดการเผา ลดฝุ่น PM2.5
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำโดย อาจารย์ ดร.แสนวสันต์ ยอดคำ รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและกิจการพิเศษ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนวัฒน์ นิทัศน์วิจิตร อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร  ร่วมกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ่อแก้ว ลัวฉือนี ต.บ่อแก้ว อ.สะเมิง จ. เชียงใหม่ ได้ดำเนินโครงการ ลดเผา ลดควัน แป๋งปุ๋ยบนดอย โดยได้นำร่องรับซื้อเศษข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ ราคากิโลกรัมละ 1 บาท จำนวนกว่า 40,000 กิโลกรัม (40 ตัน) เพื่อนำมาทำปุ๋ยอินทรีย์ลดการเผา โดยใช้ วิธีการหมักปุ๋ยอินทรีย์แบบไม่พลิกกลับกอง วิธีวิศวกรรมแม่โจ้ 1 ที่เป็นนวัตกรรมองค์ความรู้ของอาจารย์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ให้เป็นพื้นที่ต้นแบบในการลดปัญหาการเผาเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ลดปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศ (PM2.5) ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเผาที่ส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อนนอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมให้ชุมชนมีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ที่มีคุณภาพใช้ในพื้นที่ เพื่อลดต้นทุนการผลิต และสามารถต่อยอดจำหน่ายเชิงพาณิชย์เพื่อสร้างรายได้ให้แก่กลุ่มวิสาหกิจ ซึ่งถือเป็นการแก้ปัญหาการเผาตั้งแต่ต้นทาง และเป็นการสร้างมูลค่าจากเศษวัสดุเหลือทิ้ง ตามแนวทางโมเดลการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อความยั่งยืนของประเทศไทย (BCG Model) และเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา นายวิโรจน์ ดวงสุวรรณ์นายอำเภอสะเมิง ได้เข้าเยี่ยมชมการดำเนินกิจกรรมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อลดการเผาของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ่อแก้ว ลัวฉือนี ต.บ่อแก้ว  อ.สะเมิง จ. เชียงใหม่ พร้อมทั้งในกำลังใจทีมงานให้การดำเนินโครงการประสบความสำเร็จอาจารย์ ดรแสนวสันต์ ยอดคำ รองคณบดีฯ คณะวิศวะกรรมฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า วิธีการหมักปุ๋ยอินทรีย์แบบไม่พลิกกลับกอง วิธีวิศวกรรมแม่โจ้ 1 เป็นนวัตกรรมที่ไม่ซับซ้อน เพียงแค่นำเศษพืชผลเหลือทิ้งทางการเกษตรมาหมักรวมกับมูลสัตว์ แล้วดูแลความชื้นในกองให้เหมาะสม ไม่ต้องพลิกกลับกองปุ๋ยให้ยุ่งยาก โดยใช้เวลาหมักเพียง 2 เดือนเท่านั้น  ซึ่งจากโครงการในครั้งนี้เราจะได้ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีคุณภาพตามมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ตามเกณฑ์ของกรมวิชาการเกษตรประมาณ 60 ตัน มีมูลค่าประมาณ 480,000 บาท เกษตรกรสามารถนำไปใช้ในพื้นที่การเกษตรของตนเองเพื่อลดต้นทุน หรือนำไปจำหน่ายได้ โดยหวังว่าโครงการนี้จะเป็นพื้นที่ต้นแบบในการจัดการเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร หรือจากการเก็บเกี่ยวเพื่อลดการเผา ลดฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศ PM2.5) ได้อย่างเป็นรูปธรรม”สำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน หรือหน่วยงานต่างๆ ที่สนใจนวัตกรรมการหมักปุ๋ยอินทรีย์แบบไม่พลิกกลับกอง วิธีวิศวกรรมแม่โจ้ 1 สามารถติดต่อรายละเอียดได้ที่  คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทรศัพท์ 0-5387-5000 ถึง 15 ฝ่ายสื่อสารองค์กร ม.แม่โจ้ // รายงาน
8 มีนาคม 2567     |      1202
ม. แม่โจ้ คว้าอันดับ 9 ของมหาวิทยาลัยไทย การจัดอันดับ SCImago Institution Rankings 2023 องค์กรที่มีผลงานวิจัยระดับโลก
วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2567  SciMago Institutions Rankings  สถาบันการจัดอันดับที่เน้นให้ความสำคัญกับการทำวิจัยและคุณภาพทางวิชาการในเวทีโลก เปิดเผยข้อมูลการจัดอันดับองค์กรที่มีผลงานวิจัยระดับโลก ประจำปี 2023 ซึ่ง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ คว้าอันดับที่ 9 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย SciMago Institutions Rankings เป็นระบบการจัดอันดับที่ได้รับความนับถือจากทั่วโลก โดยมีการประเมินมหาวิทยาลัยตามเกณฑ์ต่าง ๆ เช่น ผลการวิจัย ความร่วมมือระหว่างประเทศ และผลกระทบระดับสากล ระบบการจัดอันดับของ SciMago Institutions Rankings นอกจากใช้วิธีการพิจารณาปริมาณงานวิจัย แต่ยังมีการประเมินคุณภาพของงานวิจัยอีกด้วยวิธีการจัดอันดับ SciMago Institutions Rankings:ผลการวิจัย: SciMago วิเคราะห์ปริมาณผลงานวิจัยที่มหาวิทยาลัยผลิต ซึ่งรวมถึงบทความทางวิทยาศาสตร์ บทความที่นำเสนอในการประชุม และงานวิจัยทางวิชาการอื่น ๆความร่วมมือระหว่างประเทศ: ระดับของความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและนักวิจัยนานาชาติมีผลกระทบมากที่สุดต่อการจัดอันดับ ดังนั้นสถาบันที่มีเครือข่ายทั่วโลกและมีความร่วมมือที่แข็งแกร่งมักได้รับคะแนนสูงนวัตกรรมและผลกระทบ: SciMago พิจารณาผลกระทบของงานวิจัยโดยการวัดการอ้างอิง (Citation) และการมีผลต่องานวิจัยในวรรณกรรมทางวิทยาศาสตร์ (Impact) มหาวิทยาลัยที่ผลิตงานวิจัยที่มีผลกระทบ (Impact) จะได้รับคะแนนสูงการตีพิมพ์เผยแพร่เป็นสาธารณะ: ระบบการจัดอันดับให้ความสำคัญมหาวิทยาลัยที่ส่งเสริมการเผยแพร่งานวิจัย ดังนั้นสถาบันที่สนับสนุนการกระจายความรู้ไปยังสาธารณะจะได้รับคะแนนสูงความเป็นเลิศในวารสาร: SciMago ประเมินคุณภาพของวารสารที่มหาวิทยาลัยเผยแพร่งานวิจัย วารสารที่ได้รับการจัดอันดับสูงมีผลทำให้ได้คะแนนสูงความสำเร็จของมหาวิทยาลัยแม่โจซึ่งได้รับอันดับที่ 9 จากสถาบันการศึกษาในประเทศไทย ใน SciMago Institutions Rankings ไม่เพียงสะท้อนถึงการทุ่มเทในการวิจัยคุณภาพสูง ความร่วมมือระหว่างประเทศ และนวัตกรรมทางวิชาการ แต่ยังส่งเสริมให้สถาบันการศึกษาของไทยเป็นที่นับถือในเวทีวิชาการในระดับโลกอ้างอิง : https://www.scimagoir.com/institution.php?idp=8229
13 กุมภาพันธ์ 2567     |      1948
คณะวิศวะฯ ม.แม่โจ้ เจ้าภาพเตรียมจัดประชุมวิชาการวิศวกรรมเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 30 “เกษตรปราดเปรื่อง (Intelligent Agriculture)” ยกระดับระบบการเกษตรอย่างยั่งยืน
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นเจ้าภาพจัดประชุมวิชาการวิศวกรรมเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 30 ในหัวข้อ “เกษตรปราดเปรื่อง (Intelligent Agriculture)” เตรียมต้อนรับวิศวกรการเกษตรจาก 13 สถาบันด้านวิศวกรรมเกษตรทั่วประเทศ ร่วมเวทีวิชาการและเปลี่ยนเรียนรู้สู่สังคมวิชาชีพ ระหว่างวันที่ 1-2 กุมภาพันธ์ 2567  ณ  คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ผศ.ดร.กาญจนา  นาคประสม คณบดีคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า  “หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ได้รับเกียรติจาก สมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทยให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการวิศวกรรมเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 30 ขึ้น เพื่อเป็นเวทีให้นักศึกษาในระดับปริญญาตรี สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร ได้มีโอกาสนำเสนอผลงานทางวิชาการ แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ความคิดเห็นทางวิชาการ และการแข่งขันทักษะทางวิชาการ อันจะส่งผลให้นักศึกษาเกิดความกระตือรือร้น ความมุ่งมั่นที่จะศึกษาค้นคว้าและทำโครงงานวิศวกรรมเกษตรให้ดีที่สุด โดยจัดให้มีกิจกรรม  แสดงความสามารถของนักศึกษาในรูปแบบต่างๆ 3 กิจกรรม ได้แก่ การแข่งขันทางวิชาการด้านการนำเสนอโครงงานวิศวกรรมเกษตรภาคบรรยาย  การแข่งขันทางวิชาการด้านการนำเสนอโครงงานวิศวกรรมเกษตรภาคนิทัศน์หรือโปสเตอร์ และการแข่งขันทักษะทางวิศวกรรมเกษตร  ซึ่งจะมีคณาจารย์ บุคลากร นิสิต นักศึกษาจากสถาบันการศึกษาต่างๆ ที่เปิดการสอนด้านวิศวกรรมเกษตร 13 สถาบันจากทั่วประเทศ จำนวนเกือบ 400 คน เข้าร่วมงานในครั้งนี้ จึงเป็นการสร้างความร่วมมือในการสร้างสรรค์เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางวิศวกรรมเกษตร ช่วยยกระดับระบบการเกษตรไทยอย่างยั่งยืน”นอกจากนั้น ยังมีการบรรยายพิเศษในหัวข้อ “ความรู้ เทคโนโลยี การวิจัยและการสร้างนวัตกรรมกรณีนวัตกรรมรถตัดอ้อยของ SMKY โดย ศ.ดร.สุรินทร์ พงศ์ศุภสมิทธิ์ กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ และคุณสามารถ ลี้ธีระนานนท์  กรรมการผู้จัดการ บริษัท สามารถเกษตรยนต์ จำกัด เป็นวิทยากรให้ความรู้และถ่ายทอดประสบการณ์  ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในพิธี และคุณดาเรศร์ กิตติโยภาส นายกสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมงาน ณ ห้องประชุม E101 อาคารเรียนรวมคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่
30 มกราคม 2567     |      449
ทั้งหมด 26 หน้า