ฝ่ายสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
MJU Corporate Communication Center
คณะวิศวะฯ ม.แม่โจ้ เจ้าภาพเตรียมจัดประชุมวิชาการวิศวกรรมเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 30 “เกษตรปราดเปรื่อง (Intelligent Agriculture)” ยกระดับระบบการเกษตรอย่างยั่งยืน
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นเจ้าภาพจัดประชุมวิชาการวิศวกรรมเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 30 ในหัวข้อ “เกษตรปราดเปรื่อง (Intelligent Agriculture)” เตรียมต้อนรับวิศวกรการเกษตรจาก 13 สถาบันด้านวิศวกรรมเกษตรทั่วประเทศ ร่วมเวทีวิชาการและเปลี่ยนเรียนรู้สู่สังคมวิชาชีพ ระหว่างวันที่ 1-2 กุมภาพันธ์ 2567  ณ  คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ผศ.ดร.กาญจนา  นาคประสม คณบดีคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า  “หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ได้รับเกียรติจาก สมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทยให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการวิศวกรรมเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 30 ขึ้น เพื่อเป็นเวทีให้นักศึกษาในระดับปริญญาตรี สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร ได้มีโอกาสนำเสนอผลงานทางวิชาการ แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ความคิดเห็นทางวิชาการ และการแข่งขันทักษะทางวิชาการ อันจะส่งผลให้นักศึกษาเกิดความกระตือรือร้น ความมุ่งมั่นที่จะศึกษาค้นคว้าและทำโครงงานวิศวกรรมเกษตรให้ดีที่สุด โดยจัดให้มีกิจกรรม  แสดงความสามารถของนักศึกษาในรูปแบบต่างๆ 3 กิจกรรม ได้แก่ การแข่งขันทางวิชาการด้านการนำเสนอโครงงานวิศวกรรมเกษตรภาคบรรยาย  การแข่งขันทางวิชาการด้านการนำเสนอโครงงานวิศวกรรมเกษตรภาคนิทัศน์หรือโปสเตอร์ และการแข่งขันทักษะทางวิศวกรรมเกษตร  ซึ่งจะมีคณาจารย์ บุคลากร นิสิต นักศึกษาจากสถาบันการศึกษาต่างๆ ที่เปิดการสอนด้านวิศวกรรมเกษตร 13 สถาบันจากทั่วประเทศ จำนวนเกือบ 400 คน เข้าร่วมงานในครั้งนี้ จึงเป็นการสร้างความร่วมมือในการสร้างสรรค์เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางวิศวกรรมเกษตร ช่วยยกระดับระบบการเกษตรไทยอย่างยั่งยืน”นอกจากนั้น ยังมีการบรรยายพิเศษในหัวข้อ “ความรู้ เทคโนโลยี การวิจัยและการสร้างนวัตกรรมกรณีนวัตกรรมรถตัดอ้อยของ SMKY โดย ศ.ดร.สุรินทร์ พงศ์ศุภสมิทธิ์ กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ และคุณสามารถ ลี้ธีระนานนท์  กรรมการผู้จัดการ บริษัท สามารถเกษตรยนต์ จำกัด เป็นวิทยากรให้ความรู้และถ่ายทอดประสบการณ์  ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในพิธี และคุณดาเรศร์ กิตติโยภาส นายกสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมงาน ณ ห้องประชุม E101 อาคารเรียนรวมคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่
30 มกราคม 2567     |      468
พิธีพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ครั้งที่ 46 ประจำปีการศึกษา 2565-2566
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีการศึกษา 2565-2566 (ครั้งที่ 46) ในวันที่ 18 - 19 กุมภาพันธ์ 2567 โดยมีบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต จำนวน 2,059 ราย เข้าร่วมพิธี ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่    ในการนี้  สภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีมติอนุมัติปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ให้แก่ผู้สร้างคุณประโยชน์ต่อองค์กรและสังคมประเทศชาติมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดี และศิษย์เก่าแม่โจ้ดีเด่น เพื่อเข้ารับพระราชทานโล่ศิษย์เก่าแม่โจ้ดีเด่น ประจำปี 2566 รวมจำนวน 15 ราย ดังนี้ผู้ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จำนวน 9  ราย  ได้แก่  1. นางสาวจารุวรรณ โชติเทวัญประธานสายบัญชี การเงิน ประธานสายการตลาดต่างประเทศ และ เลขานุการประธานกรรมการบริหาร บริษัท สหฟาร์ม จำกัด และบริษัทในเครือ     ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการตลาดดิจิทัล 2. นายเจริญ แก้วสุกใจ   ผู้บริหาร บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด (มหาชน)     ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร นายโชตินรินทร์ เกิดสม (แม่โจ้รุ่น 53)  รองปลัดกระทรวงมหาดไทยปรัชญาดุษฎีบัณฑิตติมศักดิ์  สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ 4. นายถาวร สงคราม (แม่โจ้รุ่น 54)  ประธานกรรมการ บริษัท โอท๊อป-มาดเท่ จำกัดปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ประยุกต์5. นายธีรพงศ์ จันศิริ  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตติมศักดิ์  สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการธุรกิจประมง 6. นายบรรเทิง ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการ กลุ่มมิตรผลปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์  สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ 7. นายประธาน ปิ่นแก้ว (แม่โจ้รุ่น 49) ประธานกรรมการ บริษัท 9 แกลเลอรี่ จำกัดปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์  สาขาวิชาบริหารธุรกิจ 8. พล.ต.อ. มนู เมฆหมอก   กรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิปรัชญาดุษฎีบัณฑิตติมศักดิ์  สาขาวิชาบริหารศาสตร์ 9. นายอนุวัธ วงศ์วรรณ   นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัตแพร่ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการชุมชนผู้ได้รับปริญญามหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จำนวน 1 ราย  ได้แก่ 1. นายสามารถ ลี้ธีระนานนท์กรรมการผู้จัดการ บริษัท สามารถเกษตรยนต์ จำกัดปรัชญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตรผู้ได้รับโล่ศิษย์เก่าแม่โจ้ดีเด่น ประจำปี 2566 จำนวน  5 ราย1. นายกฤษฎา กสิวิวัฒน์ ศิษย์เก่าแม่โจ้รุ่นที่ 47 ประธานฝ่ายปฏิบัติการ (COO) บริษัท พนัสโพลทรี่ กรุ๊ป จำกัด2. นายแสวง ทาวดีศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่นที่ 49  รองผู้อำนวยการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 1 สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษา  กระทรวงศึกษาธิการ  3. นายแดง มาประกอบศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่นที่ 51 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม รับจัดการงานพิธีและวิทยากรท้องถิ่น4. นางรุ่งทิพย์ อินปาศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่นที่ 54กรรมการผู้จัดการ บจก. รุ่งทิพย์ทรานสปอร์ต แอนด์เซอร์วิส5. นายสิทธาไชย์ วัฒนคงเศรษฐ์ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่น 59  ประธานกรรมการ บริษัท สยาม ไทเกอร์  อะโกร จำกัด   สำหรับ บัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต พิมพ์แบบฟอร์มสำหรับยืนยันตัวตน และให้มารายงานตัวด้วย ตนเองอีกครั้ง ในวันพฤหัสบดีที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ http://www.education.mju.ac.th/graduate/
7 กุมภาพันธ์ 2567     |      3945
ม.แม่โจ้ ยกทัพขึ้นห้าง เตรียมแถลงข่าวงานเกษตรแม่โจ้ 90 ปี 28 พ.ย.66 นี้ พบกันที่ เซ็นทรัลเฟสติวัล เชียงใหม่
มหาวิทยาลัยแม่โจ้  เตรียมจัดงานแถลงข่าว “งานเกษตรแม่โจ้ 90 ปี : เกษตร อาหาร สุขภาพ”  อธิการบดีนำทีมผู้บริหาร ยกทัพจัดโชว์เคสผลงานเด่น เรียกน้ำย่อยลองไฟก่อนพบงานจริงยิ่งใหญ่ปลายปี ย่อส่วนงานเกษตรแม่โจ้ ไปพบกับพ่อแม่พี่น้องประชาชนให้ร่วมกิจกรรม ชม ชิม ช้อป และรับของรางวัล  ในวันอังคารที่ 28 พฤศจิกายน 2566  ณ ลานโปรโมชั่น 2 ชั้น 1 เซ็นทรัลเฟสติวัล เชียงใหม่  งานแถลงข่าวในครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆ ของงานเกษตรแม่โจ้ 90 ปี : เกษตร | อาหาร สุขภาพ”  ที่จะจัดอย่างยิ่งใหญ่ ระหว่างวันที่ 16-24 ธันวาคม 2566  ณ มหาวิท-ยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่  นำทีมโดย   รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล       ทองมา  อธิการบดีมหาวิทยลัยแม่โจ้  พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร คณะกรรมการจัดงาน ร่วมแถลงข่าวสร้างการรับรู้แก่คณะสื่อมวลชนและประชาชน  มีการจัดนิทรรศการโชว์ผลงานเด่น 9 ไฮไลต์ ทั้งด้านการปรับปรุงพันธุ์พืช ได้แก่ กำเนิดข้าวหอมแม่โจ้  ข้าวเหนียวหอมพันธุ์ใหม่สำหรับผู้บริโภค  กล้วยไม้รองเท้านารีพันธุ์ใหม่ของโลก ปทุมมาสายพันธุ์ล่าสุดสำหรับตลาดไม้ดอกเพื่อการส่งออก และพันธุ์ผักชื่อพระราชทานที่ได้รับการส่งต่อสู่เกษตรกร นอกจากนี้ ยังมีการค้นพบสายพันธุ์ใหม่ของโลกทั้งสัตว์และประมง  ได้แก่ การค้นพบปลาค้อแสดงถึงระบบนิเวศน์ที่สมบูรณ์ของป่าต้นน้ำ  การค้นพบตั๊กแตนแม่โจ้-แพร่  รวมถึงองค์ความรู้เกษตรและนวัตกรรมอื่น ๆ ที่ส่งเสริมภาคเศรษฐกิจของประชาชนในทุกมิติเชื่อมโยงไปสู่เทรนด์ใหม่ของโลกด้วยนวัตกรรมอีกมากมายที่ต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ  ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของผลงานจากแม่โจ้ที่ได้รับการเผยแพร่และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อภาคการเกษตรไทย พร้อมมีกิจกรรมให้ผู้ร่วมงานได้มีส่วนร่วมทั้ง ชม ชิม ช้อป การแสดงดนตรีของศิลปินรับเชิญ  และกิจกรรมร่วมสนุกรับของรางวัลพิเศษภายในงานขอเชิญท่านที่สนใจเข้าร่วมงานแถลงข่าว “งานเกษตรแม่โจ้ 90 ปี : เกษตร | อาหาร สุขภาพ ในวันอังคารที่ 28 พฤศจิกายน  2566 ตั้งแต่เวลา 10.00 – 19.30 น. ณ ลานโปรโมชั่น 2 ชั้น 1 เซ็นทรัลเฟสติวัล เชียงใหม่
27 พฤศจิกายน 2566     |      7687
ขอเชิญร่วมระลึกถึง ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย อธิการบดีคนแรก คนต้นแบบลูกแม่โจ้
งานหนัก ไม่เคยฆ่าคน ใครที่ตายเพราะทำงานหนัก ครูจะสร้างอนุสาวรีย์ ไว้ให้แม่โจ้" อมตะโอวาทศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย อธิการบดีคนแรก คนต้นแบบลูกแม่โจ้  ชาวแม่โจ้ ร่วม“ระลึกถึง ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย” วันจันทร์ที่ 30 ตุลาคม 2566  ณ ลานอนุสาวรีย์ฯ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่น 1 อธิการบดีคนแรกของแม่โจ้ เป็นชาวจังหวัดแพร่ เกิดเมื่อวันที่ 12  มีนาคม 2459  หลังจากสอบไล่ได้มัธยมปีที่ 6 จากโรงเรียนพิริยาลัย จ.แพร่ก็ได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จ.เชียงใหม่และย้ายมาเรียนที่โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมแม่โจ้ เมื่อปี 2477  ซึ่งถือเป็นรุ่น 1 รุ่นบุกเบิกและสร้างแม่โจ้เมื่อจบจากแม่โจ้ท่านสอบชิงทุนหลวงไปศึกษาต่อมหาวิทยาลัยในฟิลิปปินส์ จนจบปริญญาตรี ปี พ.ศ. 2484  จึงกลับมารับราชการเป็นอาจารย์ที่แม่โจ้ ตำแหน่งอาจารย์ผู้ปกครองนาน 6 ปี จากนั้นท่านไปลงสมัครผู้แทนราษฎร 2 ครั้ง  พอถึงปี พ.ศ. 2497 ท่านกลับเข้ารับราชการเป็นอาจารย์ใหญ่ชั้นเอกของโรงเรียนเกษตรกรรมแม่โจ้ จวบจนกระทั่งได้เป็นอธิการบดีคนแรกของสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ถึง 2 สมัยศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย ท่านเป็นนักประชาธิปไตยตัวอย่าง เป็นผู้มีเมตตาธรรม เป็นผู้ริเริ่มและพัฒนางานใหม่ๆเสมอ เป็นนักพัฒนาชนบท เป็นนักปกครองที่ดีเยี่ยม เป็นครู”ที่ประเสริฐ จากการทำงานหนักและผ่านประสบการณ์ต่างๆ ทำให้ชีวิตท่านแข็งแกร่ง ทรหดอดทน ไม่ท้อถอยและยอมแพ้ต่อปัญหา การดำเนินชีวิตที่ผ่านอุปสรรคมาได้ทำให้เกิดปรัชญาความจริงของชีวิต  ท่านได้ตระหนักถึงการเรียนและฝึกอบรมนักเรียนเกษตรต้องให้มีความอดทน ไม่ท้อถอย จึงจะสู้งานได้ทุกอย่างเป็นการหล่อหลอมนิสัยให้ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถเผชิญกับอุปสรรคและสามารถแก้ปัญหาลุล่วงได้ต่อไปจึงนับเป็นช่วงสำคัญของการพัฒนาแม่โจ้สู่มิติใหม่ นักเรียนต้องมีความพร้อมและต้องการเรียนเกษตรจริง ๆ ซึ่งท่านได้กล่าวแสดงความยินดีต่อนักศึกษาที่ผ่านการทดสอบว่า  การเรียนเกษตรที่แม่โจ้นี้ ต้องฝึกความทรหดสู้งานทุกอย่างได้ ไม่ท้อถอย เพื่อจะได้เป็นลูกแม่โจ้ที่อดทน เข้มแข็ง ไม่กลัวงานหนัก งานหนักไม่เคยฆ่าคน ใครตายเพราะงานหนัก ครูจะสร้างอนุสาวรีย์ไว้ให้ที่แม่โจ้”ตลอดระยะเวลาท่านได้สร้างการเปลี่ยนแปลงพัฒนาทั้งระบบการปกครอง บุคลากรและนักเรียนแม่โจ้อย่างก้าวกระโดด ท่านได้สร้างคุณประโยชน์นานัปการ  เป็นผู้บุกเบิกและสร้างงานอาชีวเกษตรของประเทศริเริ่มกิจกรรม อกท. (องค์การเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทย) ก่อตั้ง อกท.หน่วยแม่โจ้ เป็นแห่งแรกของประเทศไทย รวมถึง โครงการเกษตรกรหนุ่มแห่งประเทศไทย (Young Farmers Pilot Project of Thailand : YTF จัดให้มีขึ้นครั้งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยขณะนั้นท่านร่วมจัดตั้งโครงการหลวงเกษตรภาคเหนือ  จัดตั้งและสนับสนุนโครงการอาสาพัฒนาแม่โจ้ นำนักศึกษา อาจารย์ ออกพัฒนาชนบท  อึกทั้งยังได้ถวายงานด้านการเกษตรและงานโครงการตามพระราชดำริหลายโครงการ และยังได้ริเริ่มจัดงานเกษตรแม่โจ้อีกทั้งยังได้ริเริ่มระบบการให้โควตาศึกษาต่อระบบปริญญาตรีที่แม่โจ้  ท่านคือผู้สร้างและพัฒนาให้แม่โจ้”เป็นแหล่งความรู้และหล่อหลอมบุคลากรการเกษตรทุกระดับที่มีคุณภาพ เพื่อพัฒนาประเทศชาติให้เจริญยิ่งๆ ขึ้นไปศาสตราจารย์ ดร.วิภาต  บุญศรีวังซ้ายได้ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่  30 ตุลาคม 2527  บรรดาศิษย์เก่าแม่โจ้ สมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จึงได้กำหนดวันที่ 30 ตุลาคม ให้เป็น “วันวิภาต บุญศรี วังซ้าย” เพื่อรำลึกถึงคุณงามความดีที่ท่านได้สร้างและพัฒนาแม่โจ้ให้เจริญ เป็นผู้มีคุณูปการต่อวงการอาชีวเกษตรของประเทศไทย ผู้เป็นต้นแบบนักต่อสู้เอาชนะอุปสรรค และปลดแอกข้อจำกัดของวงการอาชีวเกษตรในอดีต เป็นคนต้นแบบลูกแม่โจ้ ตามปรัชญางานหนักไม่เคยฆ่าคน”อันเป็นคติพจน์ประจำใจของ ลูกแม่โจ้จวบจนปัจจุบันขอเรียนเชิญคณาจารย์  นักศึกษา บุคลากร และศิษย์แม่โจ้ทุกรุ่นร่วมงาน “ระลึกถึง ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย”  ในวันจันทร์ที่ 30 ตุลาคม 2566  ตั้งแต่เวลา 07.30 น. เป็นต้นไป  ณ  ลานอนุสาวรีย์ ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้ายหน้าสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้หมายเหตุ การแต่งกายชุดพื้นเมือง หรือชุดสุภาพข้อมูลอ้างอิงหนังสืออนุสรณ์ 100 ปี ชาตกาลอาจารย์บุญศรี คนต้นแบบลูกแม่โจ้ “งานหนักไม่เคยฆ่าคน”                                                                    2459-2559 และ  http://www.archives.mju.ac.th/web/?p=448)
25 ตุลาคม 2566     |      2710
ม.แม่โจ้ เตรียมจัดงานแสดงมุทิตาจิตแก่ผู้เกษียณอายุ ประจำปี 2566 “เกษียณเกษมสันต์ สายสัมพันธ์ชาวแม่โจ้”
มหาวิทยาลัยแม่โจ้จัดงานแสดงมุทิตาจิตแก่ผู้เกษียณอายุ ประจำปี 2566“เกษียณเกษมสันต์ สายสัมพันธ์แม่โจ้” เพื่อเป็นการแสดงความขอบคุณ ตระหนักถึงความสำคัญและความเสียสละของทุกๆท่าน ร่วมน้อมคารวะต่อผู้อาวุโสที่ครบวาระเกษียณ ผู้สร้างคุณูปการต่อองค์กรและต่อสังคม  ในวันพฤหัสบดีที่ 28 กันยายน 2566 เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้  ซึ่งในปีนี้มีจำนวน 34 ท่าน แบ่งเป็นข้าราชการ  จำนวน 1 รายผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชาญ คงธรรม ตำแหน่ง ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สังกัดคณะวิทยาศาสตร์ ลูกจ้างประจำ  จำนวน 2 รายนายประพันธ์ ปันพันธุ์  ตำแหน่ง พนักงานห้องปฏิบัติการ ระดับ ส 3 สังกัดงานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา สำนักงานคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์นายพรชัย ใจมุก ตำแหน่ง พนักงานห้องปฏิบัติการ ระดับ ส 2 สังกัดงานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา สำนักงานคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์         พนักงานมหาวิทยาลัย  จำนวน  22 รายรองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา ตำแหน่ง รองศาสตราจารย์ สังกัดวิทยาลัยนานาชาติผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธรรมพร ตันตรา ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สังกัดวิทยาลัยบริหารศาสตร์ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปรารถนา ยศสุข ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สังกัดวิทยาลัยบริหารศาสตร์รองศาสตราจารย์ ดร.นิวุฒิ หวังชัย ตำแหน่ง รองศาสตราจารย์ สังกัดคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำรองศาสตราจารย์ทิพสุคนธ์ พิมพ์พิมล ตำแหน่ง รองศาสตราจารย์ สังกัดคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภัทริกา มณีพันธ์ ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สังกัดคณะบริหารธุรกิจนางสาวบุษบงค์ ฝั้นแจ้ง ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ สังกัดงานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา สำนักงานคณบดี คณะบริหารธุรกิจ นางศศิธร ปัญญา ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ สังกัดงานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา สำนักงานคณบดี คณะผลิตกรรมการเกษตรผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วราภรณ์ แสงทอง ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์  สังกัดคณะวิทยาศาสตร์ผู้ช่วยศาสตราจารย์จินตนา จูมวงษ์ ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สังกัดคณะวิทยาศาสตร์นางชุลีพันธ์ วงศ์คำตัน ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานคณบดีคณะวิศวกรรมและ อุตสาหกรรมเกษตร สังกัดสำนักงานคณบดี คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตรนางสาวรัชนี ทัศเกตุ ตำแหน่ง หัวหน้างานบริหารและธุรการ สังกัดงานบริหารและธุรการสำนักงานคณบดี คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตรผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิคม  มูลเมือง ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สังกัดคณะศิลปศาสตร์นางสาวอำภา  วิรัตน์พฤกษ์ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ สังกัดสำนักงานคณบดี คณะเศรษฐศาสตร์      ผู้ช่วยศาสตราจารย์บรรจง สมบูรณ์ชัย ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สังกัดคณะสถาปัตยกรรม ศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อมผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จำรูญ มณีวรรณ ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สังกัดคณะสัตวศาสตร์ และเทคโนโลยีนายนิคม  วงศ์นันตา ตำแหน่ง ผู้อำนวยการกองบริหารงานบริการวิชาการ สังกัดกองบริหารงานบริการวิชาการ สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตรนายทองคำ  บุญเรือง ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปปฏิบัติการ สังกัดงานบริหารและ  ธุรการ กองบริหารงานสำนักหอสมุด สำนักหอสมุดนางโชติกา  ลายทิพย์ ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปปฏิบัติการ สังกัดงานการเงินและ  พัสดุ กองบริหารงานสำนักหอสมุด สำนักหอสมุดนายสุธรรม  อุมาแสงทองกุล ตำแหน่ง บรรณารักษ์ชำนาญการพิเศษ สังกัดฝ่ายพัฒนา  ทรัพยากรสารสนเทศ  สำนักหอสมุดนางวราภรณ์  ฟูกุล ตำแหน่ง ผู้อำนวยการกองพัฒนาคุณภาพ สังกัดกองพัฒนาคุณภาพ   สำนักงานมหาวิทยาลัยนางอำพร  เวียตตัน ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปชำนาญการ สังกัดงานอำนวยการ    กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม สำนักงานมหาวิทยาลัยพนักงานส่วนงาน  จำนวน 9 รายนายอุทิศ มหาวัน ตำแหน่ง ผู้ปฏิบัติงานการเกษตร สังกัดงานระบบสาธารณูปโภค กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม สำนักงานมหาวิทยาลัยนายสมพล ปาระมี ตำแหน่ง ผู้ปฏิบัติงานการเกษตร สังกัดงานจัดการสิ่งแวดล้อมและ ภัยพิบัติใหม่ กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม สำนักงานมหาวิทยาลัยนางสาวอนงค์ สมบูรณ์ชัย ตำแหน่ง ผู้ปฏิบัติงานการเกษตร สังกัดงานอาคารสถานที่และ ภูมิทัศน์ กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม สำนักงานมหาวิทยาลัยนายประสงค์ ขอดแก้ว ตำแหน่ง ผู้ปฏิบัติงานบริหาร สังกัดงานหอพัก กองพัฒนานักศึกษา สำนักงานมหาวิทยาลัยนายสุรินทร์ นันทะชมภู ตำแหน่ง ผู้ปฏิบัติงานการเกษตร สังกัดงานหอพัก กองพัฒนานักศึกษา สำนักงานมหาวิทยาลัยนายสมเกียรติ์ จันทิมา ตำแหน่ง ผู้ปฏิบัติงานบริหาร สังกัดงานพิพิธภัณฑ์การเกษตรและวัฒนธรรมไทย กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม สำนักงานมหาวิทยาลัยนายดวงจันทร์ จอมจันทร์ ตำแหน่ง ผู้ปฏิบัติงานการเกษตร สังกัดฝ่ายห้องปฏิบัติการ คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี   8. นายบุญรัตน์ ยิ่งโยชน์ ตำแหน่ง ผู้ปฏิบัติงานการเกษตร สังกัดงานปรับปรุงและขยายพันธุ์พืชและสัตว์ กองบริหารงานบริการวิชาการ สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร   9. นางวณิชยา เต๋จ๊ะ ตำแหน่ง ผู้ปฏิบัติงานบริหาร สังกัดงานบริหารและส่งเสริมการวิจัยกองบริหารงานวิจัย สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตรโอกาสนี้  ได้รับเกียรติจาก ดร.อำนวย  ยศสุข นายกสภามหาวิทยาลัย กล่าวขอบคุณและอวยพร พร้อมทั้งมอบโล่ประกาศเกียรติคุณและของที่ระลึกให้กับผู้เกษียณอายุ   ตามกำหนดการ ดังนี้เวลา 13.00 นลงทะเบียนรับหนังสือที่ระลึก เวลา 13.30 นผู้เข้าร่วมงานพร้อมกัน ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้เวลา 13.45 นพิธีกรแจ้งกำหนดการเวลา 13.50 นชมการแสดง จาก กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมเวลา 14.00 นนำเสนอ Presentation ประวัติและผลงานของผู้เกษียณอายุเวลา 14.10 นรองอธิการบดีรองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์  ศรีเงินยวงกล่าวรายงานเวลา 14.20 นนายกสภามหาวิทยาลัย มอบโล่และประกาศเกียรติคุณแด่อธิการบดีเวลา 14.30 นนายกสภามหาวิทยาลัยกล่าวขอบคุณและอวยพรแด่ผู้เกษียณอายุเวลา 14.40 นอธิการบดี มอบโล่และประกาศเกียรติคุณแด่ผู้เกษียณอายุเวลา 15.00 น.     อธิการบดีกล่าวขอบคุณและอวยพรแด่ผู้เกษียณอายุ   เวลา 15.30 น.     ผู้แทนผู้เกษียณอายุกล่าวแสดงความรู้สึกผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธรรมพร  ตันตรา)เวลา 15.40 นบันทึกภาพร่วมกันเวลา 16.30 นเสร็จพิธี ขอเชิญชาวแม่โจ้ร่วมแสดงมุทิตาจิต ในวันพฤหัสบดีที่ 28  กันยายน  2566  ตั้งแต่เวลา 13.00 น.เป็นต้นไป ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานมหาวิทยาลัย โทร.0 5387 3133หมายเหตุ  1. ส่วนงาน/หน่วยงานต่าง ๆ มอบของที่ระลึกแก่ผู้เกษียณอายุ ก่อนหรือหลังพิธีการตามอัธยาศัย สำหรับผู้เกษียณอายุท่านใดต้องการไฟล์ Presentation และไฟล์รูปภาพในงานดังกล่าว  ให้ติดต่อขอรับได้ที่ งานทะเบียนประวัติ กองบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานมหาวิทยาลัยการแต่งกาย : ชุดพื้นเมือง หรือชุดล้านนา
28 กันยายน 2566     |      2731
ม.แม่โจ้ คว้ารางวัล "Gold Award" กำเนิดพันธุ์ข้าวหอมแม่โจ้ งาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับรางวัล "Gold Award" จากผลงานวิจัย "กำเนิดพันธุ์ข้าวหอมแม่โจ้" ซึ่งได้ส่งเข้าร่วมประกวดและจัดแสดงในงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566 (Thailand Research Expo 2023)” ภายใต้ แนวคิด งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG ระหว่างวันที่ 7-11 สิงหาคม 2566 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิรด์ กรุงเทพมหานครโอกาสนี้ ช่วงเช้าวันที่ 11 สิงหาคม 2566 ผู้ช่วยศาสตราจารย์พาวิน มะโนชัย รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมนักวิจัย ร่วมเข้าเฝ้ารับเสด็จฯ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และในช่วงบ่ายของวันเดียวกัน รองศาสตราจารย์ ดร. อภินันท์ สุวรรณรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร เป็นตัวแทนมหาวิทยาลัยเข้ารับรางวัล "Golden Award" จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)สำหรับผลงาน "กำเนิดพันธุ์ข้าวหอมแม่โจ้" ผลงานของทีมนักวิจัยหน่วยความเป็นเลิศด้านการปรับปรุงพันธุ์ข้าวมหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำโดย ผศ.ดร.วราภรณ์ แสงทอง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งได้เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2547 ด้วยความมุ่งมั่น ทุ่มเท ของทีมนักวิจัย ในการพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์มาอย่างต่อเนื่อง โดยใช้เทคโนโลยีเครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือกเอาคุณสมบัติเด่นที่ต้องการให้ได้พันธุ์ข้าวหอมคุณภาพเพื่อคนไทย ได้ลงแปลงปลูกกระจายไปทั่วประเทศ และพร้อมที่จะผลิตเมล็ดพันธุ์เพื่อเผยแพร่ออกสู่เกษตรกรต่อไป ซึ่งได้ความสนใจจากคณะกรรมการและผู้ร่วมงานเป็นอย่างมาก ส่งผลให้ ผลงาน "กำเนิดพันธุ์ข้าวหอมแม่โจ้" ได้รับรางวัล Gold Award ในครั้งนี้ สร้างความภาคภูมิใจให้กับทีมงาน และมหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นอย่างมาก??เตรียมพบกับการเปิดตัว "ข้าวพันธุ์ใหม่" ในงานเกษตรแม่โจ้ 90 ปี เกษตร : อาหาร : สุขภาพ ระหว่างวันที่ 16-24 ธันวาคม 2566 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ฝ่ายสื่อสาร ม.แม่โจ้ // รายงาน
15 สิงหาคม 2566     |      1466
มหาวิทยาลัยแม่โจ้เตรียมจัดพิธีไหว้ครู ประจำปีการศึกษา 2566
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เตรียมจัดพิธีไหว้ครู ประจำปีการศึกษา 2566 ในวันพฤหัสบดีที่ 27 กรกฎาคม  2566   ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้  ตั้งแต่เวลา 08.00 น. เป็นต้นไปครู อาจารย์ เป็นผู้ประสิทธิ์ ประสาทวิชา ความรู้ เป็นปูชนียบุคคลที่เหล่าลูกศิษย์ควรให้ความเคารพ บูชา กตัญญู  กตเวที  พิธีไหว้ครู เป็นพิธีกรรมที่เป็นประเพณีของไทยที่นิยมปฏิบัติมาแต่สมัยโบราณ แสดงถึงความระลึกถึงบุญคุณของครู บูรพาจารย์ การไหว้ครูเป็นการแสดงตนว่าขอเป็นศิษย์ของท่านโดยตรง  ได้แสดงออกถึงความกตัญญู รับฟังโอวาทคำสอนจากอาจารย์“แม่โจ้” ได้มีการจัดพิธีไหว้ครูครั้งแรกเมื่อวันที่  7  มิถุนายน  2477  ซึ่งเป็นวันเปิดเรียนวันแรกของโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมภาคเหนือ(แม่โจ้) ทางโรงเรียนจึงจัดให้มีการไหว้ครูขึ้นที่โรงอาหารของโรงเรียน นักเรียนทุกคนแต่งเครื่องแบบตามระเบียบของโรงเรียนดูสะอาดเรียบร้อยเป็นนักเรียนอย่างเต็มภาคภูมิทางโรงเรียนได้เชิญข้าหลวงประจำจังหวัดและธรรมการจังหวัดมาให้โอวาท มีพระช่วงเกษตรศิลปการ เป็นอาจารย์ใหญ่ อาจารย์สวัสดิ์ วีระเดชะ เป็นอาจารย์ประจำโรงเรียนนายตง วระนันท์นายสนิท ศิริเผ่าและมีนายสีมุ วงศ์จินดารักษ์ เป็นครูรอง   พิธีเปิดเริ่มขึ้นโดยอาจารย์ใหญ่กล่าวชี้แจงการจัดตั้งโรงเรียน กล่าวเชิญผู้มีเกียรติแสดงความคิดเห็นและให้โอวาทแก่นักเรียนทุกคน  แล้วพิธีไหว้ครูก็เริ่มขึ้นโดยหัวหน้านักเรียน (นายบุญนาคมหาเกตุ)เป็นผู้กล่าวนำคำไหว้บูชาครูเมื่อจบแล้วรวบรวมดอกไม้ธูปเทียนของทุกคนใส่ขันโตกแล้วนำไปมอบแก่ท่านอาจารย์ใหญ่และครูอาจารย์ทุกคนพร้อมกันนักเรียนต่างรู้สึกเป็นเกียรติและภาคภูมิใจในเกียรติที่ได้รับในครั้งนี้โดยทั่วกันทุกคนซึ่งเหตุการณ์ครั้งนั้นได้ถูกจารึกเป็นประวัติศาสตร์อันสำคัญของแม่โจ้  ถือเป็นจุดกำเนิดแม่โจ้และพัฒนาเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ในปีนี้มหาวิทยาลัยได้กำหนดจัดพิธีไหว้ครูขึ้นในวันพฤหัสบดีที่    27  กรกรฎาคม  2566 และยังคงมีพิธีระลึกถึงปูชนียบุคคลสำคัญของแม่โจ้  โดยจะมีการวางพานดอกไม้ ธูป เทียน คารวะ อำมาตย์โทพระช่วงเกษตรศิลปการผู้ก่อตั้ง/อาจารย์ใหญ่คนแรก และศาสตราจารย์  ดร.วิภาต  บุญศรี วังซ้ายอธิการบดีคนแรก โดยได้รับเกียรติจาก  รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล  ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้  เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร อาจารย์อาวุโส  คณาจารย์จากทุกคณะ/ทุกวิทยาลัย เข้าร่วมพิธี จากนั้นจะเป็นพิธีมอบโล่เชิดชูเกียรติแก่อาจารย์ดีเด่นและบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการดีเด่นของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นการยกย่องเชิดชูและให้กำลังใจบุคลากร ซึ่งเป็นอีกฟันเฟืองสำคัญที่ร่วมกันขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยให้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง
18 กรกฎาคม 2566     |      1539
กลับมาอีกครั้ง ประเพณีเดิน – วิ่งการกุศล ที่ไม่เหมือนใคร “ประเพณี เดิน – วิ่งการกุศล แม่โจ้-สันทราย กิจกรรมสร้างสัมพันธ์ชุมชนน้องใหม่แม่โจ้”
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับ  สมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ และองค์กรนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้  จัด โครงการประเพณี เดิน – วิ่ง การกุศล แม่โจ้ สันทราย  ในวันพฤหัสบดีที่ 29 มิถุนายน 2566 เวลา 05.30 น. เป็นต้นไป  ณ จุดปล่อยตัวประตูบางเขน (ข้างปั๊ม ปตท. ถนนสันทรายสายเก่า) มหาวิทยาลัยแม่โจ้  ประเพณี เดิน วิ่ง การกุศล แม่โจ้ สันทราย ได้เริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505 ซึ่งเป็นการสอบรับนักเรียนรุ่น 27 โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต  บุญศรี  วังซ้าย  ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่ (มหาวิทยาลัยแม่โจ้ในปัจจุบัน) เพื่อทดสอบสมรรถภาพความอดทน ของผู้ที่สมัครเข้าเรียนแม่โจ้สมัยนั้น แรกเริ่มเดิมที เป็นการทดสอบ วิ่งทน ของนักเรียนที่จะมาเรียนแม่โจ้ โดยวิ่งจากในเมืองมายังแม่โจ้ ถือเป็นคะแนนพิเศษเพิ่มจากการสอบสัมภาษณ์ เพราะผู้ที่จะทำการเกษตรต้องมีร่างกายแข็งแรงและสมบูรณ์ และเป็นการฝึกความอดทน ตามคติพจน์ของ ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต  บุญศรี  วังซ้าย ที่ว่า “งานหนักไม่เคยฆ่าคน  จนทำให้กิจกรรมการ เดิน วิ่ง การกุศล แม่โจ้ สันทราย  เกิดเป็นประเพณีขึ้นจวบจนปัจจุบัน หากแต่ในปัจจุบันมีวัตถุประสงค์สำคัญอีกประการของกิจกรรมนี้คือให้นักศึกษาใหม่เข้าเยี่ยมคารวะนายอำเภอสันทราย หัวหน้าส่วนราชการในอำเภอสันทราย  ได้แนะนำตัวกับประชาชนชาวอำเภอสันทราย ซึ่งจะมีประชาชนชาวอำเภอสันทราย  ศิษย์เก่าแม่โจ้รุ่นต่างๆ และรุ่นพี่แต่ละคณะ นำอาหาร เครื่องดื่ม ผลไม้ต่าง ๆ มาคอยต้อนรับและให้กำลังใจตลอดเส้นทางประมาณ 10 กิโลเมตร  ตั้งแต่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จนถึง สวนสาธารณเทศบาลตำบลสันทรายหลวง อำเภอสันทราย เป็นบรรยากาศที่อบอุ่น น่ารัก น่าประทับใจในปีการศึกษา 2566 จะมีนักศึกษาใหม่ ทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก (เชียงใหม่, แพร่ฯ,ชุมพร) เข้าร่วมกิจกรรมจำนวนกว่า 6,000  คน  โดยมีการแบ่งประเภทการแข่งขันเป็น  3 ประเภท ได้แก่ ประเภทประชาชนทั่วไป  ประเภทศิษย์เก่าแม่โจ้ และประเภทนักศึกษาใหม่ กิจกรรมเริ่มดังกำหนดการต่อไปนี้    เวลา  05.30 น.  ลงทะเบียนนักกีฬาทุกประเภท ณ  จุดปล่อยตัวประตูบางเขน (ข้างปั๊ม ปตท. ถนนสันทรายสายเก่า)เวลา  05.45 น.  พิธีเปิดการแข่งขันและปล่อยตัวนักกีฬา โดย ดร.อำนวย  ยศสุข  นายกสภามหาวิทยาลัย เวลา  06.00 น.  ปล่อยตัวนักกีฬาเดิน-วิ่ง การกุศลประจำปี 2566เวลา  09.00 น.  พิธีมอบรางวัลผู้ชนะการแข่งขันแต่ละประเภทณ สวนสาธารณะเทศบาลตำบลสันทรายหลวง(ตลอดเส้นทางจะมีประชาชน/ศิษย์เก่าแม่โจ้ นำอาหาร,เครื่องดื่มมาบริการ เป็นระยะ เพื่อคอยต้อนรับและให้กำลังใจ)จากนั้นจะเป็นพิธีการแนะนำหัวหน้าส่วนราชการในอำเภอสันทรายที่มาร่วมต้อนรับนักศึกษาใหม่ โดยได้รับเกียรติจาก นายศิวะ ธมิกานนท์ นายอำเภอสันทราย พร้อมด้วย  พ.ต.อ.สราวุธ  จันมะโน ผู้กำกับสถานีตำรวจภูธรสันทราย และ พ.ต.อ.นฤบาล  จิตทยานนท์  ผู้กำกับสถานีตำรวจภูธรแม่โจ้ มากล่าวต้อนรับ พร้อมให้โอวาทและแนะนำแนวทางการใช้ชีวิตร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข   ขอเชิญนักวิ่ง ศิษย์เก่า และท่านที่สนใจมาร่วมสร้างประวัติศาสตร์การวิ่งการกุศลที่ไม่เหมือนใครอีกครั้ง ร่วมสร้างสัมพันธ์ชุมชนที่มีคนให้กำลังใจนักวิ่งแบบอิ่มเอมตลอดเส้นทาง แล้วพบกันในวันที่ 29 มิถุนายน 2566 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้** สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้  โทร. 0 5335 3140** โปรดหลีกเลี่ยงเส้นทางสัญจรในช่วงวัน และเวลา ดังกล่าว ด้วยความขอบคุณเป็นอย่างสูงมา ณ โอกาสนี้(**ภาพประกอบจากแฟ้มข่าว)
27 มิถุนายน 2566     |      834
ม.แม่โจ้จัดปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2566 เตรียมความพร้อม สร้างความเข้าใจให้นักศึกษา
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เตรียมจัดโครงการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2566 ในวันจันทร์ที่ 26 มิถุนายน 2566 ตั้งแต่เวลา 08.00 เป็นต้นไป ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้โครงการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2566  มีนักศึกษาจากทุกวิทยาเขตเข้าร่วมจำนวนกว่า 6,000 คน  ซึ่งงานทุนการศึกษาและให้คำปรึกษา กองพัฒนานักศึกษา จัดขึ้นเพื่อให้นักศึกษาใหม่ได้รู้จักคณะผู้บริหาร คณาจารย์ และรับทราบเกี่ยวกับนโยบายของมหาวิทยาลัย  การพัฒนานักศึกษาในด้านต่างๆ ทั้งด้านวิชาการ กิจกรรมนักศึกษา การให้บริการและสวัสดิการต่างๆ เพื่อสร้างความเข้าใจในการใช้ชีวิตการเป็นนักศึกษา โอกาสนี้ยังได้รับเกียรติจาก จาก รศ.ดร.วีระพล  ทองมา  อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวปฐมโอวาท  แก่นักศึกษา  รศ.ดร.สมชาย  เขียวแดง นายกสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ ร่วมแสดงความยินดีและต้อนรับนักศึกษาใหม่ ในฐานะลูกแม่โจ้รุ่น 88 ,  และยังจัดให้มีการบรรยายพิเศษ  เรื่อง  “การใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยให้มีความสุขและเครือข่ายการพัฒนานักศึกษา” โดย ผศ.ว่าที่ร้อยตรี ดร.นิโรจน์  สินณรงค์ ผู้ช่วยอธิการบดี รวมถึงจะได้รับทราบการแนะนำการใช้ห้องสมุด ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยทีมงานสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้พิเศษไปกว่านั้น น้องๆ นักศึกษาจะได้ทำกิจกรรม #WeAreMaejo โดยฝ่ายสื่อสารองค์กร ซึ่งเป็นกิจกรรมเพื่อสร้างการรับรู้ข่าวสารต่างๆ นักศึกษาได้อัพเดทข้อมูลของมหาวิทยาลัยได้อย่างทันท่วงที พร้อมรับของที่ระลึกมากมาย พร้อมชม Live กิจกรรม #WeAreMaejo ได้ทางเฟสบุ๊คเพจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ https://www.facebook.com/MJUChiangmai/และในช่วงบ่ายของวันเดียวกัน ตั้งแต่เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป  นักศึกษาแต่คณะ/วิทยาลัย จะเข้าร่วมการปฐมนิเทศตามคณะ/วิทยาลัยที่ตนเองสังกัด เพื่อรับฟังโอวาทจากคณบดี และการแนะนำรายละเอียดการเรียนการสอนของหลักสูตรต่างๆ 
23 มิถุนายน 2566     |      383
ผู้บริหาร ม.แม่โจ้ เตรียมพบผู้ปกครองนักศึกษาใหม่ ประจำปี 2566
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดโครงการผู้บริหารพบผู้ปกครองนักศึกษาใหม่  ประจำปีการศึกษา 2566  ให้ผู้ปกครองรับทราบแนวคิด นโยบายมหาวิทยลัย สร้างความเข้าใจการใช้ชีวิตของนักศึกษา ระหว่างวันที่ 23 – 25 มิถุนายน  2566  เวลา 12.30 -15.30 น. ณ  ห้องประชุมข้าวหอมมะลิ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่โครงการ ผู้บริหารพบผู้ปกครองนักศึกษาใหม่ จัดขึ้นเพื่อให้ผู้ปกครองได้รับทราบแนวคิดและนโยบายของมหาวิทยาลัยเกี่ยวกับการพัฒนานักศึกษา รับทราบหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเรียนการสอน   การบริการ สวัสดิการ และการใช้ชีวิตของนักศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัย  และรวมถึงรายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ที่จะช่วยแบ่งเบาภาระของผู้ปกครอง ผู้ปกครองจะรู้สึกอบอุ่นใจ  ที่ไว้วางใจส่งบุตรหลานเข้ามาศึกษาต่อมหาวิทยาลัยแม่โจ้  เปรียบเสมือนบ้านหลังที่ 2 ให้บุตรหลานสามารถใช้ชีวิตในการเป็นนักศึกษาได้อย่างมีความสุขและประสบความสำเร็จผู้ปกครองที่เข้าร่วมโครงการจะได้พบปะกับคณะผู้บริหารของมหาวิทยาลัยจากทุกคณะ/วิทยาลัยที่มาร่วมต้อนรับ พร้อมทั้งรับฟังการเสวนา  ในหัวข้อ “ชีวิตนักศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัยแม่โจ้”นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล  ทองมา อธิการบดี, ผู้ช่วยศาสตราจารย์     ว่าที่ร้อยตรี ดร.นิโรจน์  สินณรงค์ ผู้ช่วยอธิการบดี และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สนิท สิทธิ ผู้อำนวยการสำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ ดำเนินรายการโดย ฝ่ายสื่อสารองค์กร สำนักงานมหาวิทยาลัย  จากนั้น จะได้รับฟังรายละเอียด “กองทุน กยศ. : หลักเกณฑ์และวิธีการกู้ยืม และสิ่งที่ผู้ปกครองควรทราบ”  โดย งานทุนการศึกษาและให้คำปรึกษา กองพัฒนานักศึกษา พร้อมทั้งเปิดให้ผู้ปกครองได้ซักถามในทุกๆ เรื่องที่เกี่ยวข้องทั้งนี้  สามารถรับชมการถ่ายทอดสดผ่าน Facebook Live หน้าเพจมหาวิทยาลัยแม่โจ้   https://www.facebook.com/MJUChiangmai  วันที่ 23-25 มิถุนายน  2566  เวลา12.30-15.30 น.สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  งานทุนการศึกษาและให้คำปรึกษา กองพัฒนานักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้  โทร.0 5387 3188-9  ในวันและเวลาทำการ **(ภาพประกอบจากแฟ้มภาพ)
21 มิถุนายน 2566     |      498
ม.แม่โจ้ ติดอันดับ 8 ของไทย กลุ่ม 401-600 ของโลก SDG Impact Ranking 2023 รับ 100 คะแนนเต็ม ด้านผลิตบัณฑิตภาคการเกษตรไทย 3 ปีซ้อน
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้รับการจัดอันดับเป็นอันดับที่ 8 ของมหาวิทยาลัยไทยจาก 65 สถาบัน และอยู่ช่วงอันดับที่ 401-600 ของโลกจากมหาวิทยาลัยทั้งหมด 1,591 แห่งทั่วโลก โดยเป็นอันดับ 2 ของประเทศ ใน SDG13 การรับมือจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Action) และ ได้คะแนน 100 เต็ม 3 ปีซ้อน ด้านการผลิตบัณฑิตภาคเกษตรใน SDG2 (ขจัดความหิวโหย) ซึ่ง Times Higher Education (THE) องค์กรจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกได้เผยแพร่ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่มีการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) หรือ THE Impact Rankings 2023 เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา การจัดอันดับอิมแพ็กต์ของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาโดย Times เป็นการจัดอันดับระดับโลกเพียงตารางเดียวที่ประเมินมหาวิทยาลัยโดยเทียบกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ โดยใช้ตัวบ่งชี้ ที่สอบเทียบอย่างระมัดระวังเพื่อให้การเปรียบเทียบที่ครอบคลุมและสมดุลใน 4 ด้านกว้าง ๆ ได้แก่ การวิจัย การดูแล การขยายงาน และการสอน สำหรับในปีนี้มหาวิทยาลัยแม่โจ้ส่งผลการดำเนินงานเพื่อเข้ารับจัดอันดับครบทั้ง 17 เป้าหมายเป็นปีแรก (จากเดิมที่ส่ง 5 เป้าหมาย) ได้รับคะแนนรวมเพิ่มขึ้นจากปี 2022 ร้อยละ 0.3 ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี มีเป้าหมายที่ได้รับการอันดับที่ 101-200 ของโลก ดังนี้ เป้าหมายที่ 6 การจัดการน้ำและสุขาภิบาล (อันดับที่ 6 ของประเทศ) เป้าหมายที่ 7 พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้ (อันดับที่ 8 ของประเทศ) เป้าหมายที่ 13 การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (อันดับที่ 2 ของประเทศ) เป้าหมายที่ 14 การใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล (อันดับที่ 8 ของประเทศ) นอกจากนั้น เป้าหมายที่ได้รับคะแนนสูงสุด 3 อันดับแรกเพื่อเข้ารับการจัดอันดับคือ เป้าหมายที่ 7 เป้าหมายที่ 12 (การผลิตและบริโภคที่รับผิดชอบและยั่งยืน-อันดับที่ 201-300 ของโลก และอันดับที่ 6 ของประเทศ) และเป้าหมายที่ 6 และที่สำคัญยังได้รับคะแนนเต็ม 100 คะแนน ด้านร้อยละของผู้สำเร็จการศึกษาด้านการเกษตร ในเป้าหมายที่ 2 ขจัดความหิวโหย (ได้รับการจัดอันดับเป็นลำดับที่ 201-300 ของโลก และอันดับที่ 9 ของประเทศ) ข้อมูลเพิ่มเติม www.timeshighereducation.com/impactrankingsฝ่ายสื่อสารองค์กร ม.แม่โจ้ // รายงาน
15 มิถุนายน 2566     |      3331
2 ผลงานวิจัย ม.แม่โจ้ คว้า 3 รางวัลระดับโลก งาน The 16th International Invention and Innovation show (INTARG 2023) ณ สาธารณรัฐโปแลนด์
2 ผลงานวิจัยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับการคัดเลือกจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมระดับนานาชาติ  ในงาน The 16th International Invention and Innovation show (INTARG 2023) ซึ่งจัดโดย  Eurobusiness-Haller ณ  เมืองคาโตไวซ์ สาธารณรัฐโปแลนด์ โดยมีประเทศต่างๆ ในภูมิภาคยุโรปและเอเชีย นำผลงานเข้าร่วมจัดแสดงมากกว่า 30 ประเทศ โดยผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับ 3 รางวัล ได้แก่ รางวัล เหรียญทอง ผลงานวิจัย เรื่อง "เทคโนโลยีเฮอร์เดิลด้วยโอโซนและเคมีเพื่อลดปริมาณไวรัสโคโรน่าปนเปื้อนในทุเรียนส่งออก"  โดย รศ. ดร.จตุรภัทร วาฤทธิ์  ประธานหลักสูตรวิศวกรรมอาหาร  คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ รศ.ดร.จตุรภัทร วาฤทธิ์   กว่าวว่า “เนื่องจากประเทศไทยส่งออกทุเรียนไปต่างประเทศ มากกว่า 5 แสนตัน/ปี ซึ่งเป็นผลไม้หลักในการส่งออก แต่ด้วยสถานการณ์ Covid-19 ประเทศจีนมีนโยบาย Zero-CoVid  ดังนั้นหากมีการตรวจพบการปนเปื้อนเชื้อ Covid-19 ที่ทุเรียน จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกทุเรียนไทยอย่างรุนแรง ทำให้ประเทศอาจสูญเสียรายได้ เกษตรกรได้รับผลกระทบ  ซึ่งเทคโนโลยีเฮอร์เดิลด้วยโอโซนและเคมี  หรือ เทคโนโลยีผสมผสาน โดยการใช้แก๊สโอโซน ร่วมกับสเปรย์โซเดี่ยม ไฮโปครอไรด์  เพื่อลดปริมาณไวรัสโคโรน่าปนเปื้อนในทุเรียนส่งออก เป็นการพัฒนาเทคโนโลยีเฮอร์เดิลระหว่างก๊าซโอโซนและสารเคมี เพื่อลดปริมาณไวรัสโคโรน่าที่ตกค้างปนเปื้อนในผลทุเรียน พบว่าการใช้สเปรย์ NaOCl และตามด้วยการรมก๊าซโอโซนที่ 900 ppm แล้วเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 13 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 12 ชั่วโมง สามารถลดปริมาณไวรัส PEDV ที่ตกค้างให้ต่ำกว่าเกณฑ์วัดขั้นต่ำ cut-off ของชุดทดลองที่ค่า Ct>36=negative ซึ่งถือว่าเป็นการลดปริมาณไวรัสปนเปื้อนได้ 100%   ผลทุเรียนที่ทดสอบมีอัตราสุกตามปกติ  ไม่มีผลกระทบต่อคุณภาพของทุเรียน ผู้บริโภคทุเรียนปลอดภัย สร้างความเชื่อมั่นในการส่งออกผลไม้ไปยังต่างประเทศอีกครั้ง”รางวัล เหรียญทองแดง และ รางวัล certificate of appreciation proudly presentation จาก Research Institute of creative education, Vietnam  ผลงานวิจัย เรื่อง "ต้นแบบการพัฒนาระบบผลิตน้ำเพื่อการเกษตรจากอากาศโดยใช้ความเย็นพื้นดินร่วมกับพลังงานแสงอาทิตย์"  โดย ผศ.ดร.นิกราน หอมดวง คณบดีวิทยาลัยพลังงานทดแทน และ ผศ. ดร.กิตติกร สาสุจิตต์ รองคณบดี วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผศ.ดร.นิกราน หอมดวง  ให้ข้อมูลว่า  “ต้นแบบระบบผลิตน้ำจากอากาศเป็นนวัตกรรมเพื่อสกัดน้ำในชั้นบรรยากาศ ช่วยปัญหาด้านภัยแล้งของเกษตรกร และส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อย รวมไปถึงการพัฒนาต่อยอดในการผลิตน้ำดื่มในพื้นที่โรงเรียนตระเวนชายแดน หรือพื้นที่ชุมชนบนพื้นที่สูง โดยนวัตกรรมดังกล่าวสามารถสกัดน้ำในชั้นบรรยากาศได้ในอัตรา 100-200 ลิตรต่อวัน และใช้พลังงานแสงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานหลักให้กับระบบนวัตกรรมดังกล่าว ทำให้สามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้อีกทางหนึ่ง”ด้าน ผศ. ดร.กิตติกร สาสุจิตต์ กล่าวเพิ่มเติมว่า  “ผลสำเร็จของโครงการได้มีการติตดั้งระบบทดสอบจริงให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านขุนคง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ และในปีถัดไปมีเป้าหมายการติดตั้งระบบให้กับโรงเรียนและชุมชนบนพื้นที่สูงในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อสำหรับการผลิตน้ำดื่มเพื่อการอุปโภคและบริโภค เพื่อให้สามารถลดค่าใช้จ่ายในการซื้อน้ำและน้ำที่ได้จากนวัตกรรมนี้มีผ่านการตรวจค่ามาตรฐานของน้ำดื่ม ก็อยู่ในเกณฑ์ที่บริโภคและอุปโภคได้ ซึ่งงานวิจัยนี้มีประโยชน์ต่อพื้นที่ไม่มีแหล่งน้ำ หรือมีน้ำน้อย ซึ่งพบในหลายพื้นที่ของประเทศไทย”
1 มิถุนายน 2566     |      5778
ทั้งหมด 26 หน้า