ฝ่ายสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
MJU Corporate Communication Center
ม.แม่โจ้ เจ้าภาพจัดประชุมสัมมนาวิชาการรูปแบบพลังงานทดแทนสู่ชุมชนแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 14
วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับ สมาคมพลังงานทดแทนสู่ชุมชนแห่งประเทศไทย เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสัมมนาวิชาการรูปแบบพลังงานทดแทนสู่ชุมชนแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 14 (14th  Thailand Renewable Energy for Community Conference ) เปิดเวทีแสดงผลงานด้านพลังงานทดแทนในประเทศไทยให้สังคมได้เรียนรู้ร่วมกัน ในรูปแบบ Online และ Onsite  ระหว่างวันที่ 10-12 พฤศจิกายน 2564  โดยได้รับเกียรติจาก  ผู้แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุม (ระบบออนไลน์) พร้อมด้วย นายชัชวาล ฉายะบุตร รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ และ นางกนกพร รอดรุ่งเรือง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารชื่อเสียงองค์กรและกิจการเพื่อสังคม บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ร่วมเป็นประธานเปิดงาน ในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2564  เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป  ณ วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้  จ.เชียงใหม่ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิกราน หอมดวง คณบดีวิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า “การเป็นเจ้าภาพจัดประชุมสัมมนาวิชาการรูปแบบพลังงานทดแทนสู่ชุมชนแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 14  เพื่อร่วมขับเคลื่อนและสนับสนุนงานวิชาการพลังงานทดแทนให้เกิดประโยชน์กับภาคชุมชนและประชาชน อีกทั้งยังสอดคล้องกับ มิติที่ 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC) ด้านการวิจัยและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นการเปิดโอกาสให้เครือข่ายพลังงานทดแทนในประเทศไทย นำผลงานทางวิชาการ องค์ความรู้ใหม่ด้านพลังงาน มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ่ายทอด และเผยแพร่ให้สังคมได้เรียนรู้ร่วมกัน การสร้างเครือข่ายระหว่างกัน ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนางานเชิงบูรณาการและความร่วมมือทางด้านวิชาการในอนาคต นอกจากนี้การเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมยังเป็นการสร้างเสริมประสบการณ์นอกห้องเรียนให้นักศึกษาได้เรียนรู้กระบวนการ ขั้นตอนการจัดกิจกรรมทั้งระบบ เรียนรู้การเป็นเจ้าบ้านที่ดี อันจะเป็นช่องทางการพัฒนานักศึกษาให้พร้อมก้าวไปสู่โลกของการทำงานอย่างมีศักยภาพอีกด้วย”กิจกรรมมีทั้งการจัดบรรยายพิเศษ การเสวนา โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ การบรรยายพิเศษ Energy Disruption and Thailand Energy Community in The Future”, “การพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้สู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งความยั่งยืนเพื่อชุมชน”, “โรงเรือนอัจฉริยะกับสมุนไพรทางเลือกสำหรับพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากชุมชน”  การเสวนาพิเศษ “วิกฤติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกต่อวิถีชีวิตของสังคมเกษตรกรไทย”, “บทบาทหน้าที่ ของสมาคมฯ ต่อการขับเคลื่อนด้านพลังงานชุมชน” และการประชุมวิชาการ โดยแยกนำเสนอเป็น 6 กลุ่ม คือ กลุ่มนวัตกรรมด้านพลังงาน  กลุ่มพลังและการบริหารจัดการเพื่อการเกษตร กลุ่มสิ่งแวดล้อมชุมชน กลุ่มเชื้อเพลิงและความร้อนชุมชน กลุ่มไฟฟ้าชุมชน และกลุ่มการบริหารจัดการพลังงานชุมชนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งมี  นักวิชการ นักวิจัย นักศึกษา และผู้สนใจจากหน่วยงานต่างๆจากทั่วประเทศเข้าร่วมกิจกรรม ทั้งระบบ Online และ Onsite ประมาณ 200 คน อย่างไรก็ตามคณะทำงานฯ ได้ดำเนินกิจกรรมภายใต้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 อย่างเคร่งครัด
5 พฤศจิกายน 2564     |      489
ขอเชิญร่วมรำลึกถึง ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย อธิการบดีคนแรก คนต้นแบบลูกแม่โจ้
ไม่ว่ากาลเวลาจะผ่านเลยมาสักเท่าใด ชาวแม่โจ้ยังคงรำลึกถึง ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย ศิษย์เก่าแม่โจ้รุ่น 1 อธิการบดีคนแรก ผู้ให้อมตะโอวาท “งานหนัก ไม่เคยฆ่าคน”  ปูชนียบุคคลของชาวแม่โจ้  จัดโครงการ “รำลึกถึง ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย” วันเสาร์ที่ 30 ตุลาคม 2564  ณ ลานอนุสาวรีย์ฯ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้ายศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่น 1 อธิการบดีคนแรกของแม่โจ้ เป็นชาวจังหวัดแพร่ เกิดเมื่อวันที่ 12มีนาคม 2459  หลังจากสอบไล่ได้มัธยมปีที่ 6 จากโรงเรียนพิริยาลัย จ.แพร่  ก็ได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จ.เชียงใหม่  และย้ายมาเรียนที่โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมแม่โจ้ เมื่อปี 2477  ซึ่งถือเป็นรุ่น 1 รุ่นบุกเบิกและสร้างแม่โจ้   เมื่อจบจากแม่โจ้ท่านสอบชิงทุนหลวงไปศึกษาต่อมหาวิทยาลัยในฟิลิปปินส์ จนจบปริญญาตรี ปี พ.ศ. 2484  จึงกลับมารับราชการเป็นอาจารย์ที่แม่โจ้ ตำแหน่งอาจารย์ผู้ปกครองนาน 6 ปี จากนั้นท่านไปลงสมัครผู้แทนราษฎร 2 ครั้ง  พอถึงปี พ.ศ. 2497ท่านกลับเข้ารับราชการเป็นอาจารย์ใหญ่ชั้นเอกของโรงเรียนเกษตรกรรมแม่โจ้ จวบจนกระทั่งได้เป็นอธิการบดีคนแรกของสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ถึง 2 สมัยศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย ท่านเป็นนักประชาธิปไตยตัวอย่าง เป็นผู้มีเมตตาธรรม เป็นผู้ริเริ่มและพัฒนางานใหม่ๆเสมอ เป็นนักพัฒนาชนบท เป็นนักปกครองที่ดีเยี่ยม เป็น “ครู” ที่ประเสริฐ จากการทำงานหนักและผ่านประสบการณ์ต่างๆ ทำให้ชีวิตท่านแข็งแกร่ง ทรหดอดทน ไม่ท้อถอยและยอมแพ้ต่อปัญหา การดำเนินชีวิตที่ผ่านอุปสรรคมาได้ทำให้เกิดปรัชญาความจริงของชีวิต  ท่านได้ตระหนักถึงการเรียนและฝึกอบรมนักเรียนเกษตรต้องให้มีความอดทน ไม่ท้อถอย จึงจะสู้งานได้ทุกอย่าง  เป็นการหล่อหลอมนิสัยให้ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถเผชิญกับอุปสรรคและสามารถแก้ปัญหาลุล่วงได้ต่อไป  จึงนับเป็นช่วงสำคัญของการพัฒนาแม่โจ้สู่มิติใหม่ นักเรียนต้องมีความพร้อมและต้องการเรียนเกษตรจริง ๆ ซึ่งท่านได้กล่าวแสดงความยินดีต่อนักศึกษาที่ผ่านการทดสอบว่าการเรียนเกษตรที่แม่โจ้นี้ ต้องฝึกความทรหดสู้งานทุกอย่างได้ ไม่ท้อถอย เพื่อจะได้เป็นลูกแม่โจ้ที่อดทน เข้มแข็ง ไม่กลัวงานหนัก งานหนักไม่เคยฆ่าคน ใครตายเพราะงานหนัก ครูจะสร้างอนุสาวรีย์ไว้ให้ที่แม่โจ้”ตลอดระยะเวลาท่านได้สร้างการเปลี่ยนแปลงพัฒนาทั้งระบบการปกครอง บุคลากรและนักเรียนแม่โจ้อย่างก้าวกระโดด ท่านได้สร้างคุณประโยชน์นานัปการ  เป็นผู้บุกเบิกและสร้างงานอาชีวเกษตรของประเทศ  ริเริ่มกิจกรรม อกท. (องค์การเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทย) ก่อตั้ง อกท.หน่วยแม่โจ้ เป็นแห่งแรกของประเทศไทย รวมถึง โครงการเกษตรกรหนุ่มแห่งประเทศไทย (Young Farmers Pilot Project of Thailand : YTF จัดให้มีขึ้นครั้งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยขณะนั้น  ท่านร่วมจัดตั้งโครงการหลวงเกษตรภาคเหนือ  จัดตั้งและสนับสนุนโครงการอาสาพัฒนาแม่โจ้ นำนักศึกษา อาจารย์ ออกพัฒนาชนบท  อึกทั้งยังได้ถวายงานด้านการเกษตรและงานโครงการตามพระราชดำริหลายโครงการ และยังได้ริเริ่มจัดงานเกษตรแม่โจ้  อีกทั้งยังได้ริเริ่มระบบการให้โควตาศึกษาต่อระบบปริญญาตรีที่แม่โจ้  ท่านคือผู้สร้างและพัฒนาให้ “แม่โจ้” เป็นแหล่งความรู้และหล่อหลอมบุคลากรการเกษตรทุกระดับที่มีคุณภาพ เพื่อพัฒนาประเทศชาติให้เจริญยิ่งๆ ขึ้นไปศาสตราจารย์ ดร.วิภาตบุญศรีวังซ้ายได้ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่  30 ตุลาคม 2527   บรรดาศิษย์เก่าแม่โจ้ สมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จึงได้กำหนดวันที่ 30 ตุลาคม ให้เป็น “วันวิภาต บุญศรี วังซ้าย” เพื่อรำลึกถึงคุณงามความดีที่ท่านได้สร้างและพัฒนาแม่โจ้ให้เจริญ เป็นผู้มีคุณูปการต่อวงการอาชีวเกษตรของประเทศไทย ผู้เป็นต้นแบบนักต่อสู้เอาชนะอุปสรรค และปลดแอกข้อจำกัดของวงการอาชีวเกษตรในอดีต เป็นคนต้นแบบลูกแม่โจ้ ตามปรัชญา “งานหนักไม่เคยฆ่าคน” อันเป็นคติพจน์ประจำใจของ ลูกแม่โจ้จวบจนปัจจุบันขอเรียนเชิญคณาจารย์  นักศึกษา บุคลากร และศิษย์แม่โจ้ทุกรุ่นร่วมรำลึกถึง ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย  ในวันเสาร์ที่ 30 ตุลาคม 2564  โดยมีกำหนดพิธีวางพวงมาลาตั้งแต่เวลา 08.30 น. เป็นต้นไป  ณ  ลานอนุสาวรีย์ ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย หน้าสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ทั้งนี้ ดำเนินกิจกรรมตามมาตรการป้องกันโรคระบาดของโรคไวรัสโคโรน่า (COVID-19)ข้อมูลอ้างอิง หนังสืออนุสรณ์ 100 ปี ชาตกาลอาจารย์บุญศรี คนต้นแบบลูกแม่โจ้ “งานหนักไม่เคยฆ่าคน” 2459-2559 และ  http://www.archives.mju.ac.th/web/?p=448)
29 ตุลาคม 2564     |      521
MJU Hospitech เตรียมเปิดรองรับกลุ่มผู้กักตัว "สีเขียว" เป็นศูนย์พักคอย Community Isolation อำเภอสันทราย ดำเนินงานตามมาตรฐานความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เตรียมเปิดMJU Hospitechเป็นศูนย์พักคอยCommunity IsolationCI)ของอำเภอสันทราย รองรับกลุ่มผู้กักตัว “สีเขียว” ตามที่คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่ได้สั่งการให้ทุกอำเภอเตรียมความพร้อมในการจัดตั้งศูนย์พักคอยในชุมชน ร่วมแก้ไขสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID – 19) ในจังหวัดเชียงใหม่ที่ได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากผลการประชุมหารือร่วมกันของทั้ง 3 ฝ่าย คือ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอสันทราย และโรงพยาบาลสันทราย เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2564 ได้พิจารณาใช้สถานที่ภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ คือ สถานพักฟื้นและดูแลสุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ : MJU Well-Being Hospitech(ศูนย์การศึกษาและฝึกอบรมนานาชาติ) และ อาคารธรรมศักดิ์มนตรี เป็นศูนย์พักคอยCommunity IsolationCI)ซึ่งสามารถรองรับผู้สัมผัสเชื้อได้รวม 120 คนนายแพทย์ยุทธศาสตร์ จันทร์ทิพย์ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลสันทราย กล่าวว่าจากการที่มหาวิทยาลัย  แม่โจ้ได้เคยจัดตั้งโรงพยาบาลสนามเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยการทำงานร่วมกันของทั้ง 3 ฝ่าย คือ มหาวิทยาลัย   แม่โจ้ อำเภอสันทราย และโรงพยาบาลสันทราย ซึ่งมีการบริหารจัดการอย่างรัดกุมและเป็นระบบจนสามารถช่วยแก้ไขสถานการณ์วิกฤตของจังหวัดเชียงใหม่ในช่วงนั้นได้เป็นอย่างดี  รวมถึงยังได้มีการลงนามความร่วมมือของทั้ง 3 หน่วยงานในการจัดตั้ง สถานพักฟื้นและดูแลสุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่โจ้: MJU Well-Being Hospitechเตรียมรองรับผู้สัมผัสเชื้อที่ผ่านการคัดกรองจากโรงพยาบาลสันทรายตามข้อวินิจฉัยของทีมแพทย์  ด้วยศักยภาพดังกล่าว ทั้ง 3 ฝ่าย ได้เตรียมเปิดMJU Hospitechเป็นศูนย์พักคอยCommunity IsolationCI)ของอำเภอสันทราย เพื่อช่วยกันแก้ไขสถานการณ์การแพร่ระบาดของCovid-19ที่กำลังวิกฤตในขณะนี้สำหรับกลุ่มผู้เข้าพักในMJU Hospitechเป็นกลุ่ม“สีเขียว”ที่ต้องผ่านการคัดกรองจากโรงพยาบาลสนาม ตามข้อวินิจฉัยของแพทย์เท่านั้น  และจะมีทีมบุคลากรทางการแพทย์จาก รพ.สันทราย บริหารจัดการระบบโดยติดตามสถานการณ์ตลอด 24 ชั่วโมงผ่านระบบกล้อง CCTV มีทีมคณะพยาบาล ม.แม่โจ้ ร่วมดูแลในพื้นที่ มีระบบการกำจัดขยะทั้งหมดจะมีบริษัทที่รับเหมาดำเนินการเกี่ยวกับขยะติดเชื้อจัดการอย่างปลอดภัยทั้งระบบ  และมีการจัดสรรเส้นทางสัญจรเข้า-ออก แยกเฉพาะไม่ปะปนกับผู้สัญจรทั่วไปทั้งนี้  ทางโรงพยาบาลสันทราย จะดูแลมาตรฐานความปลอดภัย กำกับมาตรการทางสาธารณสุข และการป้องกันโรคอย่างเคร่งครัด เพื่อเป็นการป้องกันโรคและปกป้องบุคลากร นักศึกษาของมหาวิทยาลัยแม่โจ้อย่างดีที่สุด”แม่โจ้มหาวิทยาลัยแห่งชีวิต
25 ตุลาคม 2564     |      769
ขอเชิญรวมพลังสามัคคี ปรับปรุงภูมิทัศน์ “จั๋ดแจ๋งแต่งสวนหื้อแม่” เตรียมจัดบวงสรวงศาลเจ้าแม่แม่โจ้ 28 ต.ค. นี้
สมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และเครือข่ายศิษย์เก่าแม่โจ้ทั่วประเทศจัด โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์“จั๋ดแจ๋งแต่งสวนหื้อแม่” ณ บริเวณศาลเจ้าแม่แม่โจ้  ซึ่งจะมีพิธีบวงสรวงเพื่อเริ่มดำเนินโครงการฯ ในวันพฤหัสบดีที่ 28 ตุลาคม 2564 ตั้งแต่เวลา 08.09 น. เป็นต้นไป  โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในพิธี“ศาลเจ้าแม่แม่โจ้” สิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญอันเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวแม่โจ้ ได้จัดสร้างมาตั้งแต่สมัยครั้ง คุณพระช่วงเกษตรศิลปการ เป็นอาจารย์ใหญ่ ได้มีการปรับปรุงและย้ายสถานที่หลายครั้ง กระทั่งเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2551 ได้มีการก่อสร้างและปรับปรุงภูมิทัศน์ศาลเจ้าแม่แม่โจ้ (ปัจจุบัน) ณ บริเวณอุทยานกล้วยไม้ไทย เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในมหามงคลสมัยทรงเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ วันที่  2 เมษายน 2534 (ทางเข้าประตูใหญ่มหาวิทยาลัย)โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์  “จั๋ดแจ๋งแต่งสวนหื้อแม่” เกิดจากความตั้งใจของศิษย์เก่าแม่โจ้ที่อยากพัฒนาปรับปรุงภูมิทัศน์ บริเวณศาลเจ้าแม่แม่โจ้ให้สวยงามอย่างต่อเนื่อง และเป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านการจัดการภูมิทัศน์ ตลอดจนเป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์พืชหลากชนิด ตามระบบการจัดสวนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยจะมีการปรับปรุงในส่วนงานวางผัง ปรับระดับ งานสระน้ำ งานลานพื้นทางเข้าหลัก งานระบบน้ำพ่นหมอก งานระบบไฟฟ้า งานน้ำตก ลำธาร และงานปลูกต้นไม้เสริมเพิ่มเติม  ซึ่งแสดงถึงพลังสามัคคีของลูกแม่โจ้ที่ได้ร่วมกันทำนุบำรุงสถานที่อันเป็นศูนย์รวมจิตใจของลูกแม่โจ้ทุกคน  พร้อมร่วมโปรโมทกิจกรรมดีๆ  โดยโพสต์สลิปโอนเงินสนับสนุนผ่านโลก Social  และติด hashtagจั๋ดแจ๋งแต่งสวนหื้อแม่  พร้อมติดต่อรับของที่ระลึกได้เลย ขอเชิญชวนทุกท่าน ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ “จั๋ดแจ๋งแต่งสวนหื้อแม่” โดยสามารถร่วมสมทบทุนสนับสนุนโครงการฯ เข้าบัญชี  “โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์จั๋ดแจ๋งแต่งสวนฮื้อแม่โจ้” เลขที่บัญชี 375-3-01757-4 ธนาคารกรุงไทย สาขาแม่โจ้สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ โทรศัพท์ 0 5335 3140  และ 09 6713 5040       
21 ตุลาคม 2564     |      718
อธิการบดี ม.แม่โจ้ รับรางวัล UPLB Presidential Award ... Best of The Best รางวัลศิษย์เก่า UPLB ประเทศฟิลิปปินส์
รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล  ทองมา  อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้  ได้รับรางวัล UPLB Presidential Award ในงาน 103rdUPLB Loyalty Day ประเทศฟิลิปปินส์ รางวัลสูงสุดของรางวัลทั้งหมด (Best of The Best) ในฐานะศิษย์เก่า UPLB ซึ่งเป็นผู้บริหารระดับสูงสุดขององค์กรจากประเทศไทย ผู้ปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่อันแสดงให้เห็นถึงการเป็นที่ยอมรับในระดับสากล  เตรียมเข้าร่วมพิธีรับรางวัลในวันอาทิตย์ที่ 10 ตุลาคม 2564  เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป (ตามเวลาในประเทศไทย) ถ่ายทอดสัญญาณจากประเทศฟิลิปปินส์ ทาง YouTube Channel UPLB Official  https://www.youtube.com/channel/UCWzdLfWzwImGXVVC607_WEwรางวัล UPLB Presidential Awardเป็นรางวัลสูงสุดที่ University of the Philippines Los Baños Alumni Association, Inc.(สมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยแห่งชาติฟิลิปปินส์ลอสบัญญอส) ได้พิจารณาผู้เข้ารับรางวัลจากประวัติและผลงานของศิษย์เก่าที่สำเร็จการศึกษาของ UPLB  ทั่วโลก เพียง 1 ท่านเท่านั้นในปีนี้ UPLB ได้พิจารณามอบรางวัลดังกล่าวให้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก Ph.D. in Extension Education ในปีพ.ศ.2544 โดยทุน German Academic Exchange Service (DAAD) เพื่อเป็นเกียรติในฐานะศิษย์เก่าที่มีผลงานเชิงประจักษ์ในด้านการบริหารจัดการด้านอุดมศึกษา และเป็นผู้บริหารสูงสุดของมหาวิทยาลัย มีวิสัยทัศน์ด้านการพัฒนา นำพาองค์กรให้มีคุณภาพและเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ  โดย รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา ยังได้ยกระดับการวิจัยในสถาบันการศึกษาที่มีรากฐานทางการเกษตรที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศไทย หลายโครงการ เช่น การเผยแพร่การเพาะปลูกกัญชาและพัฒนาคุณภาพในการวิจัยทางการแพทย์ รวมถึงส่งเสริมงานวิจัยอื่น ๆ ด้านการเกษตรและนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์แก่สังคมนอกจากนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา ในฐานะประธานของ Asian Association of Agricultural Colleges and Universities (AAACU) และ ประธานของ ASEAN Agriculture University Network (AAUN) ยังมีผลงานในการดำเนินการความร่วมมือหลายมิติ ระหว่างสถาบันการเรียนรู้ระดับสูงในภูมิภาค รวมถึงได้มุ่งเน้นส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในการท่องเที่ยวระดับภูมิภาคในขณะที่ดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าสมาคมการจัดการการท่องเที่ยวแห่งเอเชีย (Asian Tourism Management Association) อีกด้วย อีกทั้งท่านยังเคยได้รับรางวัล 2019 The Outstanding UPLB Alumnus & 2019 College Distinguished Alumnus for Educational Leadership และยังดำรงตำแหน่งเป็นประธานสมาคมศิษย์เก่า UPLB (ประเทศไทย) แสดงให้เห็นว่าท่านเป็นผู้ที่จงรักต่อสถาบันการศึกษา UPLB ให้การสนับสนุนและเชื่อมโยงเครือข่ายศิษย์เก่ามาโดยตลอด จึงเป็นบุคคลที่สมควรยกย่องให้เกียรติได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติสูงสุด UPLB Presidential Awardฝ่ายสื่อสารองค์กร ม.แม่โจ้ // รายงาน
7 ตุลาคม 2564     |      866
ม.แม่โจ้ ผ่านประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส ITA ในระดับ A
เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2564 คณะกรรมการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ได้มีการประกาศผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ในงาน “ITA DAY 2021: More Open, More Transparent” โดยได้รับเกียรติจากนางสุวณา สุวรรณจูฑะ ประธานกรรมการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ เป็นผู้ประกาศผล  ซึ่งมีทั้งหมด 8 ประเภทหน่วยงาน โดยพิจารณาจาก10 ตัวชี้วัด  ได้แก่ 1) การปฏิบัติหน้าที่  2) การใช้งบประมาณ  3)การใช้อำนาจ  4) การใช้ทรัพย์สินของราชการ  5)การแก้ไขปัญหาการทุจริต 6)คุณภาพการดำเนินงาน  7)ประสิทธิภาพการสื่อสาร 8)การปรับปรุงการทำงาน 9)การเปิดเผยข้อมูล  และ  10)การป้องกันการทุจริตมหาวิทยาลัยแม่โจ้จัดอยู่ในหน่วยงานประเภทที่ 6 คือ สถาบันอุดมศึกษา ซึ่งได้รับผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานอยู่ในระดับ  A ด้วยผลคะแนน  91.87 คะแนน  จัดอยู่ในลำดับที่ 23 ของสถาบันอุดมศึกษาของไทย ทั้งหมด 76 สถาบันนับเป็นเครื่องชี้วัดที่แสดงให้เห็นถึงความโปร่งใสในการมุ่งมั่นพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้ก้าวสู่ปีที่ 100 อย่างภาคภูมิและยั่งยืน..ฝ่ายสื่อสารองค์กร ม.แม่โจ้ // รายงาน
30 สิงหาคม 2564     |      615
ขอเชิญชาวแม่โจ้ ร่วมส่งขวดช่วยหมอ ผลิตชุด PPE สู้โควิด-19
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดย กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับ คณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University) ด้านการจัดการของเสีย และคณะกรรมการสำนักงานสีเขียว (Green Office) สำนักงานมหาวิทยาลัย หมวดที่ 4 การจัดการของเสีย จัดโครงการ MJU ส่งขวดช่วยหมอ ผลิตชุด PPE ระดมรวบรวมขวด PET  เพื่อส่งให้เครือข่ายสังคมลดขยะ Less Plastic Thailand และพันธมิตร นำไปผลิตเป็นเส้นใยแปรรูปเป็นชุด PPE ซึ่งกำลังขาดแคลน ให้กับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้าดูแลผู้ป่วยโควิด-19 เตรียมส่งมอบ Lot แรก  ในวันอังคารที่  17  สิงหาคม 2564  กิจกรรมในครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อรณรงค์สร้างจิตสำนึกให้ชาวแม่โจ้เห็นความสำคัญของการแยกขยะ ส่งเสริมกิจกรรมรีไซเคิล/การนำกลับไปใช้ใหม่ และที่สำคัญได้ร่วมสร้างประโยชน์เพื่อสังคมส่วนรวมนำไปผลิตเป็นเส้นใยแปรรูปเป็นชุด PPE ที่กำลังขาดแคลนเป็นอย่างมาก มอบให้กับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้าในการดูแลผู้ป่วยโควิด-19สำหรับขวดพลาสติกใสที่ใช้แล้ว ที่สามารถนำไปแปรรูป/ตัดเย็บเป็นชุด PPE ได้นั้น จะต้องเป็นขวดที่มีสัญลักษณ์ PET หรือ หมายเลข 1 ระบุที่ไว้ที่ขวด ล้างให้สะอาด ตากขวดให้แห้ง บีบขวดให้แน่นเพื่อประหยัดพื้นที่ จากนั้นรวบรวมนำมาชั่งและลงทะเบียนบริจาค พร้อมรับของที่ระลึกบริเวณจุดจัดกิจกรรม ขอเชิญชาวแม่โจ้ ระดมขวดพลาสติกใสใช้แล้ว เข้าร่วมกิจกรรม MJU ส่งขวดช่วยหมอ ผลิตชุด PPE สู้โควิด-19  ในวันที่ 17 สิงหาคม  2564  ตั้งแต่เวลา 09.00 – 12.00 น. ณ  อาคารแผ่พืชน์  มหาวิทยาลัยแม่โจ้สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  งานจัดการสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติใหม่  กองกายภายและสิ่งแวดล้อม  หมายเลขโทรศัพท์  0 5387 3231, 0 5387 3226, 06 3991 6545 , 08 5036 4548
13 สิงหาคม 2564     |      436
ม.แม่โจ้ รับรางวัล 3 G ทอง และ 1 G เงิน รางวัลประเมินสำนักงานสีเขียว (Green Office) ระดับประเทศ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมรับมอบรางวัลตราสัญลักษณ์ G-Green รางวัล Green office ระดับประเทศ จากกรมส่งเสริมคุณภาพและสิ่งแวดล้อม  กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยระบบออนไลน์ Green to Nature พร้อมกันทั่วประเทศ ในวันจันทร์ที่ 16  สิงหาคม  2564 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้เข้าร่วมรับการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียวมาตั้งแต่ปี 2559 เริ่มจากคณะเศรษฐศาสตร์เป็นหน่วยงานแรก ต่อมาในปี 2560 ได้เพิ่มอาคารสำนักงานมหาวิทยาลัย  และอาคารสำนักหอสมุด   จากนั้น ปี 2561 อาคารอำนวย ยศสุข, ปี 2562 มี อาคารคณะบริหารธุรกิจ และอาคารคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี เข้าร่วมรับการตรวจประเมินสำหรับในปี 2563 มีหน่วยงานที่ขอเข้ารับการประเมิน 4 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักหอสมุด (เพื่อต่ออายุ)  สำนักงานมหาวิทยาลัย (เพื่อต่ออายุ) คณะวิทยาศาสตร์(ครั้งแรก) และคณะสารสนเทศและการ สื่อสาร(ครั้งแรก) โดยได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน)  และผ่านการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียว (Green Office) ในระดับดีเยี่ยม (G ทอง) และดีมาก (G เงิน) ตามโครงการส่งเสริมสำนักงานสีเขียว ปี 2563 ของกรม ส่งเสริมคุณภาพและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นรางวัลที่มอบ ให้กับหน่วยงาน ที่ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในสำนักงาน ลดการใช้ พลังงานและทรัพยากร ลดการเกิดของเสีย ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Green House Gases: GHG) ออกสู่บรรยากาศ และดำเนินกิจกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ย่างต่อเนื่องซึ่งคณะกรรมการ ตรวจประเมิน สำนักงานสีเขียว ระดับประเทศได้ตรวจประเมินสำนักงานที่ขอรับการรับรองเรียบร้อยแล้วรางวัลดังกล่าว คณะกรรมการได้ทำการตรวจประเมินตามเกณฑ์ใน 6 หมวด ได้แก่ 1.)การกำหนดนโยบายและการปรับปรุง อย่างต่อเนื่อง  2.)การสื่อสารและการสร้างจิตสำนึก  3.)การใช้ทรัพยากรและพลังงาน  4.)การจัดการของเสีย 5.) สภาพแวดล้อม และความปลอดภัยในสำนักงาน 6.)การจัดซื้อจัดจ้าง  และผลการตรวจประเมินหน่วยงาน ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ทั้ง 4 หน่วยงาน มีดังนี้รางวัลระดับดีเยี่ยม (G ทอง) ได้แก่  สำนักหอสมุด  สำนักงานมหาวิทยาลัย (รางวัลระดับดีเยี่ยมต่อเนื่อง 2 ปีซ้อน) และ คณะวิทยาศาสตร์ (เข้ารับการประเมินครั้งแรก)รางวัลระดับดีมาก (G เงิน) ได้แก่ คณะสารสนเทศและการสื่อสาร (เข้ารับการประเมินครั้งแรก) ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยได้ร่วมพิธีมอบรางวัลสัญลักษณ์ G-Green ระบบออนไลน์  Green to Natureพร้อมส่งมอบรางวัลดังกล่าวให้เป็นเกียรติประวัติกับหน่วยงานที่ผ่านการตรวจประเมินทั้ง 4 หน่วยงาน โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา  อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร คณะกรรมสำนักงานสีเขียว ร่วมแสดงความยินดี ในวันที่ 16 สิงหาคม 2564 เวลา 10.00 น. เป็นต้นไป ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัย ชั้น 5 อาคารสำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้
13 สิงหาคม 2564     |      706
ม.แม่โจ้ เดินหน้านโยบาย นศ.-บุคลากร รับวัคซีนโควิด-19 ครบ 100 % สร้างภูมิคุ้มกันหมู่ป้องกันโควิด-19
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ยังคงทวีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง ด้วยความห่วงใยในสุขภาพของทุกคน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีนโยบายให้บุคลากรและนักศึกษาได้รับวัคซีนโควิด-19 ครบ 100 % โดยได้ประสานงานจัดหาวัคซีนจากทุกช่องทางที่จะสามารถจัดสรรและอำนวยความสะดวกให้กับบุคลากร และนักศึกษา รวมถึงผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่เกี่ยวของกับมหาวิทยาลัยอย่างครอบคลุม  นับตั้งแต่ผู้ที่ปฏิบัติงานส่วนหน้า โรงพยาบาลสนามมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผู้บริหาร บุคลากร ผู้นำนักศึกษา รวมถึงผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่มหาวิทยาลัย และนักศึกษาฝึกงานสหกิจศึกษาที่ลงทะบียนแจ้งความจำนงค์ตามระบบของมหาวิทยาลัย ขณะนี้มีผู้ได้รับการฉีดวัคซีนแล้วจำนวน 1,882 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 20 ก.ค.64) แยกเป็น - รับวัคซีน Sinovac จำนวน 226 คน  - รับวัคซีน AstraZeneca โควต้าจากกระทรวง อว. รอบแรก (เข็มที่ 1) จำนวน 1,656 คน (รวม มจ.แพร่ฯ และ ชุมพร)หลังจากนี้ ทางกระทรวง อว. และมหาวิทยาลัยได้เร่งดำเนินจัดสรรวัคซีนให้กับนักศึกษาเพิ่มเติมต่อไป โดยให้ทุกคนเข้าถึงวัคซีนอย่างเป็นระบบและเท่าเทียม เพื่อเป็นการร่วมสร้างภูมิคุ้มกันหมู่โควิด-19 ลดความเสี่ยง และยังเป็นการสร้างความมั่นใจให้บุคากร นักศึกษา ผู้ปกครอง และสังคม ตามนโยบายกระทรวง อว. และนโยบายมหาวิทยาลัยให้บุคลากรได้รับวัคซีนโควิด-19 ครบ 100 %"แม่โจ้ร่วมใจสู้ภัยโควิด-19"
20 กรกฎาคม 2564     |      586
นศ.วิศวะฯ แม่โจ้ คว้า 2 รางวัล งานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ประเทศอินโดนีเซีย
นักศึกษาคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ม.แม่โจ้ คว้า 2 รางวัล “Best Project Awards” และ “Top Project Awards” จากงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ประเทศอินโดนีเซียงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ International Virtual Undergraduate Symposium 2021 (NIVUS 2021) เป็นงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติของนักศึกษาระดับปริญญาตรี จัดโดย Universiti Teknologi MARA (UiTM) Cawangan Negeri Sembilan Kampus Kuala Pilah ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่ง นางสาวเบญญาภา นามดำรัสศิริ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้  ได้รับ 2 รางวัล “Best Project Awards” และ “Top Project Awards” จากผลงานวิจัยเรื่อง การพัฒนาผงปรุงรสจากผักคะน้าแม๊กซิโกสูตรโซเดียมต่ำ (Development of Low Sodium Seasoning Powder Product from Chaya Leaves) โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีระพล เสนพันธุ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษานางสาวเบญญาภา นามดำรัสศิริ กล่าวเพิ่มเติมว่า  "ผักไชยา หรือผักคะน้าแม๊กซิโก มีคุณค่าทางโภชนาการสูง อุดมไปด้วยโปรตีน การนำผักไชยาหรือ คะน้าเม็กซิโก มาทำเป็นผงปรุงรสจากธรรมชาติสูตรโซเดียมต่ำ ได้เป็นผลิตภัณฑ์ปรุงรสที่ปราศจากผงชูรส ใช้ปรุงรสอาหารที่ให้รสอร่อยหรือรสอูมามิ เหมาะสำหรับคนทั่วไปและผู้ที่รักสุภาพอย่างแท้จริง "ทั้งนี้ผลงานวิจัยดังกล่าวอกำลังอยู่ในขั้นตอนการวิจัยต่อยอดเพื่อจำหน่ายทางการค้าและยื่นขอจดอนุสิทธิบัตรกับกรมทรัพย์สินทางปัญญาต่อไปในอนาคต ฝ่ายสื่อสารองค์กร ม.แม่โจ้ // รายงาน
19 กรกฎาคม 2564     |      615
ม.แม่โจ้ ขอเชิญ นศ.-บุคลากร ทำแบบสำรวจข้อมูลฉีดวัคซีนป้องกันโควิด -19 เตรียมแผนเสริมให้ นศ.-บุคลากร รับวัคซีน 100 %
ตามที่รัฐบาลได้มีการปรับหลักเกณฑ์การฉีดวัคซีนโควิด-19 ใหม่ โดยเน้นที่พื้นที่ ทั้งพื้นที่สีแดงเข้ม และพื้นที่เศรษฐกิจ และจะปูพรมฉีดตั้งแต่เดือนมิถุนายน เป็นต้นไป ซึ่งให้ประชาชนลงทะเบียนจองคิวการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 หลายช่องทาง เช่น แอพพลิเคชั่นหมอพร้อม แอพพลิเคชั่นของแต่ละจังหวัด สำนักงานประกันสังคม สถานพยาบาล สาธารณสุข อสม.ใกล้บ้าน หรือช่องทางอื่นๆ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงวัคซีนได้เร็วที่สุด โดยการบริหารจัดการวัคซีนของแต่ละจังหวัดสำหรับนักศึกษาและบุคลากร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่มีทะเบียนบ้านอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ และยังไม่ได้ดำเนินการจองวัคซีน ขอให้ท่านดำเนินการลงทะเบียนจองวัคซีนทางแอพพลิเคชั่น “ก๋ำแปงเวียง”https://wallofcm.chiangmaihealth.go.th/  โดยใช้เลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลักในการลงทะเบียน และสำหรับท่านที่มีทะเบียนบ้านอยู่จังหวัดอื่น ๆ ลงทะเบียนได้ที่แอพพลิเคชั่นของจังหวัดนั้นๆ หรือโรงพยาบาล อสม. หน่วยงานสาธารณสุขใกล้บ้านจากคำแนะนำของแพทย์ ในกรณีที่นักศึกษาได้คิวการฉีดวัคซีนจากจังหวัดของท่านแล้ว เช่น กรุงเทพฯ ปทุมธานี นนทบุรี ซึ่งเป็นจังหวัดที่อยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุด (ตามประกาศ ศบค.) ถ้าได้ฉีด Sinovac ให้รอฉีดที่จังหวัดตัวเองให้ครบทั้ง 2 เข็ม ในช่วงมิถุนายน-กรกฎาคม (ช่วงเรียนออนไลน์) จึงค่อยเดินทางมาเรียนตามปกติที่มหาวิทยาลัย  แต่หากนักศึกษาที่มีโอกาสได้ฉีด AstraZeneca เมื่อฉีดเข็มแรกที่จังหวัดตัวเองแล้วสามารถมาเรียนได้ตามกำหนดการของมหาวิทยาลัย เนื่องจากวัคซีนเข็มสองวัคซีนจะมาประมาณเดือนสิงหาคมเป็นต้นไป แพทย์จึงแนะนำว่าอาจจะมาฉีดที่เชียงใหม่ได้ ทั้งนี้  มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีความห่วงใยสุขภาพของนักศึกษาและบุคลากร จึงขอความร่วมมือทุกท่านกรอกแบบสำรวจข้อมูลการฉีดวัคซีนป้องกันโควิค-19 ตามลิงค์  https://forms.gle/qgyVVWvjFiuHD3497   โดยจะนำข้อมูลที่ได้ประสานงานกับโรงพยาบาลเพื่อทำ White list (รายชื่อผู้ที่ทำงานหรือเรียนอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่แต่ทะเบียนบ้านอยู่จังหวัดอื่น)*ศูนย์ประสานงานเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มหาวิทยาลัยแม่โจ้โทร. 0 5387 3017-8
14 มิถุนายน 2564     |      2279
จากวันนั้นถึงวันนี้....แม่โจ้ครบ ๘๗ ปีที่ภาคภูมิ วันคล้ายวันสถาปนาโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมภาคเหนือ
“ไม่มีพระช่วงฯ...ไม่มีแม่โจ้” หากย้อนเวลากลับไปเมื่อ ๘๗ ปี ก่อนจะเป็นมหาวิทยาลัยแม่โจ้ในปัจจุบัน๑๔ สิงหาคม ๒๔๗๖ คุณพระช่วงเกษตรศิลปการ บุกเข้าดงแม่โจ้ โดยรถยนต์กระบะบรรทุก ๖ ล้อของกรมตรวจกสิกรรมมาถึงที่ว่าการอำเภอสันทราย จากนั้นยืมม้าจากนายอำเภอ พร้อมคนนำทางเดินทาง มุ่งหน้าต่อไปตามทางเกวียนใช้เวลาชั่วโมงกว่าถึงดงไม้และป่าโปร่งที่เรียกว่า “ดงแม่โจ้” มีพื้นที่ประมาณ ๘๐๐ ไร่ มีหมู่บ้านเล็กๆอยู่ชายป่าประมาณ ๑๐ หลังคาเรือน ถึงแม้ผืนดินแห่งนี้จะมีสภาพเป็นดินเลว แต่มีแหล่งน้ำเพียงพอที่สามารถปรับแก้ไขสภาพดินให้ดีขึ้นได้ ท่านจึงสร้างสถานีกสิกรรมภาคพายัพขึ้นบนผืนดินแห่งนี้ต้นเดือนเมษายน ๒๔๗๗ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี รมต.กระทรวงธรรมการ(สมัยนั้น) มีบัญชาให้จัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมประจำภาคเหนือขึ้นที่  ดงแม่โจ้ ติดพื้นที่ด้านทิศใต้ของสถานีทดลองกสิกรรมภาคพายัพ แต่งตั้งให้ พระช่วงเกษตรศิลปการ ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่๑๗ พฤษภาคม ๒๔๗๗ นักเรียนรุ่นแรกเดินทางมารายงานตัวครบทั้ง ๔๖ คน (ภายหลังมาอีก ๒ คน รวมเป็น ๔๘ คน)๗ มิถุนายน ๒๔๗๗  ได้เปิดการเรียนการสอนครั้งแรก  โดยคุณพระช่วงเกษตรศิลปการบิดาเกษตรแม่โจ้  ผู้บุกเบิกและก่อตั้งแม่โจ้ พร้อมทั้งจัดให้มีพิธีไหว้ครูขึ้นในวันนี้ได้เชิญข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ข้าหลวงประจำจังหวัดและธรรมการจังหวัดมาร่วมให้โอวาท ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนั้นได้ถูกจารึกเป็นประวัติศาสตร์อันสำคัญของแม่โจ้ ถือเป็นจุดกำเนิดแม่โจ้และพัฒนามาจนถึงปัจจุบัน๘๗ ปี จากโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมภาคเหนือ  สู่...มหาวิทยาลัยแม่โจ้ในวันนี้  แม่โจ้ได้บุกเบิก ฝ่าฟัน ต่อสู้ และ เจริญเติบโต สั่งสมประสบการณ์ บันทึกประวัติศาสตร์ด้านการเกษตรของไทย ยึดมั่นไว้ซึ่งอุดมการณ์ มุ่งสู่วิสัยทัศน์การ“เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำ ที่มีความเป็นเลิศทางด้านการเกษตรในระดับนานาชาติ” ด้วยปรัชญาที่แน่วแน่ “มุ่งมั่นพัฒนาบัณฑิต สู่ความเป็นผู้อุดมด้วยปัญญา  อดทนสู้งานเป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม เพื่อความเจริญรุ่งเรืองวัฒนาของสังคมไทยที่มีการเกษตรเป็นรากฐาน” พร้อมที่จะเดินหน้าต่อไปด้วยยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้สู่ปีที่ ๑๐๐ (จาก ๒๔๗๗ - ๒๕๗๗)  และหากจะเอ่ยถึงบัณฑิตแม่โจ้ แม้กาลเวลาจะล่วงผ่านมาหลายยุคหลายสมัย บัณฑิตแม่โจ้ก็ยังคงมีอัตลักษณ์ที่โดดเด่น “เป็นนักปฏิบัติที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชา” ด้วยบุคลิกของผู้ที่ “เลิศน้ำใจ  วินัยดี  เชิดชูประเพณี  สามัคคี อาวุโส” ซึ่งแสดงถึงความเป็นลูกแม่โจ้มาจวบจนปัจจุบัน โดยมีบทบัญญัติแม่โจ้เป็นกรอบแนวทางในการปฏิบัติ  ด้วยความเหนียวแน่น กลมเกลียว ชาวแม่โจ้ระลึกถึงคุณแผ่นดิน แม่โจ้จึงยืนหยัดมาจนถึงวันนี้ และพร้อมที่จะก้าวต่อไปด้วยความภาคภูมิในปีนี้ ได้จัดให้มีพิธีทำบุญวันคล้ายสถาปนาโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม ภาคเหนือ ประจำปี ๒๕๖๔ แม่โจ้ครบ ๘๗ ปีในวันจันทร์ที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๖๔  แต่เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัส COVID – ๑๙  มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีความห่วงใยต่อนักศึกษา บุคลากร และผู้มาร่วมพิธีทุกท่าน จึงได้มีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค กำหนดรูปแบบการจัดกิจกรรมตามมาตรการทางสาธารณสุข เว้นระยะห่างทางกายภาพ และเน้นสุขอนามัยของผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นสำคัญ โดยกิจกรรมจะเริ่มตั้งแต่เวลา  ๐๘.๐๙ น. เป็นต้นไป จะมีพิธีบวงสรวงพระพิรุณทรงนาค นำโดยอธิการบดี นายกสมาคมศิษย์เก่า และคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย  ต่อด้วยพิธีวางพวงมาลาคารวะอนุสาวรีย์คุณพระช่วงเกษตรศิลปการ โดยผู้แทนองค์กรหลัก และพิธีทำบุญทางศาสนา ณ อาคารแผ่พืชน์ จากนั้นผู้เข้าร่วมพิธีร่วมกิจกรรมปลูกต้นไม้ (ต้นพิกุล) เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก จำนวน ๑๒ ต้น ณ ลานจอดรถ กาดแม่โจ้ ๒๔๗๗“แม่โจ้ มหาวิทยาลัยแห่งชีวิต”
4 มิถุนายน 2564     |      686
ทั้งหมด 26 หน้า