ฝ่ายสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
MJU Corporate Communication Center
กลับมาอีกครั้ง ประเพณีเดิน – วิ่งการกุศล ที่ไม่เหมือนใคร “ประเพณี เดิน – วิ่งการกุศล แม่โจ้-สันทราย กิจกรรมสร้างสัมพันธ์ชุมชนน้องใหม่แม่โจ้”
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับ  สมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ และองค์กรนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้  จัด โครงการประเพณี เดิน – วิ่ง การกุศล แม่โจ้ สันทราย  ในวันพฤหัสบดีที่ 29 มิถุนายน 2566 เวลา 05.30 น. เป็นต้นไป  ณ จุดปล่อยตัวประตูบางเขน (ข้างปั๊ม ปตท. ถนนสันทรายสายเก่า) มหาวิทยาลัยแม่โจ้  ประเพณี เดิน วิ่ง การกุศล แม่โจ้ สันทราย ได้เริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505 ซึ่งเป็นการสอบรับนักเรียนรุ่น 27 โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต  บุญศรี  วังซ้าย  ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่ (มหาวิทยาลัยแม่โจ้ในปัจจุบัน) เพื่อทดสอบสมรรถภาพความอดทน ของผู้ที่สมัครเข้าเรียนแม่โจ้สมัยนั้น แรกเริ่มเดิมที เป็นการทดสอบ วิ่งทน ของนักเรียนที่จะมาเรียนแม่โจ้ โดยวิ่งจากในเมืองมายังแม่โจ้ ถือเป็นคะแนนพิเศษเพิ่มจากการสอบสัมภาษณ์ เพราะผู้ที่จะทำการเกษตรต้องมีร่างกายแข็งแรงและสมบูรณ์ และเป็นการฝึกความอดทน ตามคติพจน์ของ ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต  บุญศรี  วังซ้าย ที่ว่า “งานหนักไม่เคยฆ่าคน  จนทำให้กิจกรรมการ เดิน วิ่ง การกุศล แม่โจ้ สันทราย  เกิดเป็นประเพณีขึ้นจวบจนปัจจุบัน หากแต่ในปัจจุบันมีวัตถุประสงค์สำคัญอีกประการของกิจกรรมนี้คือให้นักศึกษาใหม่เข้าเยี่ยมคารวะนายอำเภอสันทราย หัวหน้าส่วนราชการในอำเภอสันทราย  ได้แนะนำตัวกับประชาชนชาวอำเภอสันทราย ซึ่งจะมีประชาชนชาวอำเภอสันทราย  ศิษย์เก่าแม่โจ้รุ่นต่างๆ และรุ่นพี่แต่ละคณะ นำอาหาร เครื่องดื่ม ผลไม้ต่าง ๆ มาคอยต้อนรับและให้กำลังใจตลอดเส้นทางประมาณ 10 กิโลเมตร  ตั้งแต่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จนถึง สวนสาธารณเทศบาลตำบลสันทรายหลวง อำเภอสันทราย เป็นบรรยากาศที่อบอุ่น น่ารัก น่าประทับใจในปีการศึกษา 2566 จะมีนักศึกษาใหม่ ทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก (เชียงใหม่, แพร่ฯ,ชุมพร) เข้าร่วมกิจกรรมจำนวนกว่า 6,000  คน  โดยมีการแบ่งประเภทการแข่งขันเป็น  3 ประเภท ได้แก่ ประเภทประชาชนทั่วไป  ประเภทศิษย์เก่าแม่โจ้ และประเภทนักศึกษาใหม่ กิจกรรมเริ่มดังกำหนดการต่อไปนี้    เวลา  05.30 น.  ลงทะเบียนนักกีฬาทุกประเภท ณ  จุดปล่อยตัวประตูบางเขน (ข้างปั๊ม ปตท. ถนนสันทรายสายเก่า)เวลา  05.45 น.  พิธีเปิดการแข่งขันและปล่อยตัวนักกีฬา โดย ดร.อำนวย  ยศสุข  นายกสภามหาวิทยาลัย เวลา  06.00 น.  ปล่อยตัวนักกีฬาเดิน-วิ่ง การกุศลประจำปี 2566เวลา  09.00 น.  พิธีมอบรางวัลผู้ชนะการแข่งขันแต่ละประเภทณ สวนสาธารณะเทศบาลตำบลสันทรายหลวง(ตลอดเส้นทางจะมีประชาชน/ศิษย์เก่าแม่โจ้ นำอาหาร,เครื่องดื่มมาบริการ เป็นระยะ เพื่อคอยต้อนรับและให้กำลังใจ)จากนั้นจะเป็นพิธีการแนะนำหัวหน้าส่วนราชการในอำเภอสันทรายที่มาร่วมต้อนรับนักศึกษาใหม่ โดยได้รับเกียรติจาก นายศิวะ ธมิกานนท์ นายอำเภอสันทราย พร้อมด้วย  พ.ต.อ.สราวุธ  จันมะโน ผู้กำกับสถานีตำรวจภูธรสันทราย และ พ.ต.อ.นฤบาล  จิตทยานนท์  ผู้กำกับสถานีตำรวจภูธรแม่โจ้ มากล่าวต้อนรับ พร้อมให้โอวาทและแนะนำแนวทางการใช้ชีวิตร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข   ขอเชิญนักวิ่ง ศิษย์เก่า และท่านที่สนใจมาร่วมสร้างประวัติศาสตร์การวิ่งการกุศลที่ไม่เหมือนใครอีกครั้ง ร่วมสร้างสัมพันธ์ชุมชนที่มีคนให้กำลังใจนักวิ่งแบบอิ่มเอมตลอดเส้นทาง แล้วพบกันในวันที่ 29 มิถุนายน 2566 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้** สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้  โทร. 0 5335 3140** โปรดหลีกเลี่ยงเส้นทางสัญจรในช่วงวัน และเวลา ดังกล่าว ด้วยความขอบคุณเป็นอย่างสูงมา ณ โอกาสนี้(**ภาพประกอบจากแฟ้มข่าว)
27 มิถุนายน 2566     |      573
ม.แม่โจ้จัดปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2566 เตรียมความพร้อม สร้างความเข้าใจให้นักศึกษา
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เตรียมจัดโครงการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2566 ในวันจันทร์ที่ 26 มิถุนายน 2566 ตั้งแต่เวลา 08.00 เป็นต้นไป ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้โครงการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2566  มีนักศึกษาจากทุกวิทยาเขตเข้าร่วมจำนวนกว่า 6,000 คน  ซึ่งงานทุนการศึกษาและให้คำปรึกษา กองพัฒนานักศึกษา จัดขึ้นเพื่อให้นักศึกษาใหม่ได้รู้จักคณะผู้บริหาร คณาจารย์ และรับทราบเกี่ยวกับนโยบายของมหาวิทยาลัย  การพัฒนานักศึกษาในด้านต่างๆ ทั้งด้านวิชาการ กิจกรรมนักศึกษา การให้บริการและสวัสดิการต่างๆ เพื่อสร้างความเข้าใจในการใช้ชีวิตการเป็นนักศึกษา โอกาสนี้ยังได้รับเกียรติจาก จาก รศ.ดร.วีระพล  ทองมา  อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวปฐมโอวาท  แก่นักศึกษา  รศ.ดร.สมชาย  เขียวแดง นายกสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ ร่วมแสดงความยินดีและต้อนรับนักศึกษาใหม่ ในฐานะลูกแม่โจ้รุ่น 88 ,  และยังจัดให้มีการบรรยายพิเศษ  เรื่อง  “การใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยให้มีความสุขและเครือข่ายการพัฒนานักศึกษา” โดย ผศ.ว่าที่ร้อยตรี ดร.นิโรจน์  สินณรงค์ ผู้ช่วยอธิการบดี รวมถึงจะได้รับทราบการแนะนำการใช้ห้องสมุด ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยทีมงานสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้พิเศษไปกว่านั้น น้องๆ นักศึกษาจะได้ทำกิจกรรม #WeAreMaejo โดยฝ่ายสื่อสารองค์กร ซึ่งเป็นกิจกรรมเพื่อสร้างการรับรู้ข่าวสารต่างๆ นักศึกษาได้อัพเดทข้อมูลของมหาวิทยาลัยได้อย่างทันท่วงที พร้อมรับของที่ระลึกมากมาย พร้อมชม Live กิจกรรม #WeAreMaejo ได้ทางเฟสบุ๊คเพจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ https://www.facebook.com/MJUChiangmai/และในช่วงบ่ายของวันเดียวกัน ตั้งแต่เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป  นักศึกษาแต่คณะ/วิทยาลัย จะเข้าร่วมการปฐมนิเทศตามคณะ/วิทยาลัยที่ตนเองสังกัด เพื่อรับฟังโอวาทจากคณบดี และการแนะนำรายละเอียดการเรียนการสอนของหลักสูตรต่างๆ 
23 มิถุนายน 2566     |      261
ผู้บริหาร ม.แม่โจ้ เตรียมพบผู้ปกครองนักศึกษาใหม่ ประจำปี 2566
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดโครงการผู้บริหารพบผู้ปกครองนักศึกษาใหม่  ประจำปีการศึกษา 2566  ให้ผู้ปกครองรับทราบแนวคิด นโยบายมหาวิทยลัย สร้างความเข้าใจการใช้ชีวิตของนักศึกษา ระหว่างวันที่ 23 – 25 มิถุนายน  2566  เวลา 12.30 -15.30 น. ณ  ห้องประชุมข้าวหอมมะลิ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่โครงการ ผู้บริหารพบผู้ปกครองนักศึกษาใหม่ จัดขึ้นเพื่อให้ผู้ปกครองได้รับทราบแนวคิดและนโยบายของมหาวิทยาลัยเกี่ยวกับการพัฒนานักศึกษา รับทราบหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเรียนการสอน   การบริการ สวัสดิการ และการใช้ชีวิตของนักศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัย  และรวมถึงรายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ที่จะช่วยแบ่งเบาภาระของผู้ปกครอง ผู้ปกครองจะรู้สึกอบอุ่นใจ  ที่ไว้วางใจส่งบุตรหลานเข้ามาศึกษาต่อมหาวิทยาลัยแม่โจ้  เปรียบเสมือนบ้านหลังที่ 2 ให้บุตรหลานสามารถใช้ชีวิตในการเป็นนักศึกษาได้อย่างมีความสุขและประสบความสำเร็จผู้ปกครองที่เข้าร่วมโครงการจะได้พบปะกับคณะผู้บริหารของมหาวิทยาลัยจากทุกคณะ/วิทยาลัยที่มาร่วมต้อนรับ พร้อมทั้งรับฟังการเสวนา  ในหัวข้อ “ชีวิตนักศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัยแม่โจ้”นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล  ทองมา อธิการบดี, ผู้ช่วยศาสตราจารย์     ว่าที่ร้อยตรี ดร.นิโรจน์  สินณรงค์ ผู้ช่วยอธิการบดี และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สนิท สิทธิ ผู้อำนวยการสำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ ดำเนินรายการโดย ฝ่ายสื่อสารองค์กร สำนักงานมหาวิทยาลัย  จากนั้น จะได้รับฟังรายละเอียด “กองทุน กยศ. : หลักเกณฑ์และวิธีการกู้ยืม และสิ่งที่ผู้ปกครองควรทราบ”  โดย งานทุนการศึกษาและให้คำปรึกษา กองพัฒนานักศึกษา พร้อมทั้งเปิดให้ผู้ปกครองได้ซักถามในทุกๆ เรื่องที่เกี่ยวข้องทั้งนี้  สามารถรับชมการถ่ายทอดสดผ่าน Facebook Live หน้าเพจมหาวิทยาลัยแม่โจ้   https://www.facebook.com/MJUChiangmai  วันที่ 23-25 มิถุนายน  2566  เวลา12.30-15.30 น.สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  งานทุนการศึกษาและให้คำปรึกษา กองพัฒนานักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้  โทร.0 5387 3188-9  ในวันและเวลาทำการ **(ภาพประกอบจากแฟ้มภาพ)
21 มิถุนายน 2566     |      383
ม.แม่โจ้ ติดอันดับ 8 ของไทย กลุ่ม 401-600 ของโลก SDG Impact Ranking 2023 รับ 100 คะแนนเต็ม ด้านผลิตบัณฑิตภาคการเกษตรไทย 3 ปีซ้อน
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้รับการจัดอันดับเป็นอันดับที่ 8 ของมหาวิทยาลัยไทยจาก 65 สถาบัน และอยู่ช่วงอันดับที่ 401-600 ของโลกจากมหาวิทยาลัยทั้งหมด 1,591 แห่งทั่วโลก โดยเป็นอันดับ 2 ของประเทศ ใน SDG13 การรับมือจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Action) และ ได้คะแนน 100 เต็ม 3 ปีซ้อน ด้านการผลิตบัณฑิตภาคเกษตรใน SDG2 (ขจัดความหิวโหย) ซึ่ง Times Higher Education (THE) องค์กรจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกได้เผยแพร่ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่มีการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) หรือ THE Impact Rankings 2023 เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา การจัดอันดับอิมแพ็กต์ของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาโดย Times เป็นการจัดอันดับระดับโลกเพียงตารางเดียวที่ประเมินมหาวิทยาลัยโดยเทียบกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ โดยใช้ตัวบ่งชี้ ที่สอบเทียบอย่างระมัดระวังเพื่อให้การเปรียบเทียบที่ครอบคลุมและสมดุลใน 4 ด้านกว้าง ๆ ได้แก่ การวิจัย การดูแล การขยายงาน และการสอน สำหรับในปีนี้มหาวิทยาลัยแม่โจ้ส่งผลการดำเนินงานเพื่อเข้ารับจัดอันดับครบทั้ง 17 เป้าหมายเป็นปีแรก (จากเดิมที่ส่ง 5 เป้าหมาย) ได้รับคะแนนรวมเพิ่มขึ้นจากปี 2022 ร้อยละ 0.3 ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี มีเป้าหมายที่ได้รับการอันดับที่ 101-200 ของโลก ดังนี้ เป้าหมายที่ 6 การจัดการน้ำและสุขาภิบาล (อันดับที่ 6 ของประเทศ) เป้าหมายที่ 7 พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้ (อันดับที่ 8 ของประเทศ) เป้าหมายที่ 13 การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (อันดับที่ 2 ของประเทศ) เป้าหมายที่ 14 การใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล (อันดับที่ 8 ของประเทศ) นอกจากนั้น เป้าหมายที่ได้รับคะแนนสูงสุด 3 อันดับแรกเพื่อเข้ารับการจัดอันดับคือ เป้าหมายที่ 7 เป้าหมายที่ 12 (การผลิตและบริโภคที่รับผิดชอบและยั่งยืน-อันดับที่ 201-300 ของโลก และอันดับที่ 6 ของประเทศ) และเป้าหมายที่ 6 และที่สำคัญยังได้รับคะแนนเต็ม 100 คะแนน ด้านร้อยละของผู้สำเร็จการศึกษาด้านการเกษตร ในเป้าหมายที่ 2 ขจัดความหิวโหย (ได้รับการจัดอันดับเป็นลำดับที่ 201-300 ของโลก และอันดับที่ 9 ของประเทศ) ข้อมูลเพิ่มเติม www.timeshighereducation.com/impactrankingsฝ่ายสื่อสารองค์กร ม.แม่โจ้ // รายงาน
15 มิถุนายน 2566     |      2699
2 ผลงานวิจัย ม.แม่โจ้ คว้า 3 รางวัลระดับโลก งาน The 16th International Invention and Innovation show (INTARG 2023) ณ สาธารณรัฐโปแลนด์
2 ผลงานวิจัยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับการคัดเลือกจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมระดับนานาชาติ  ในงาน The 16th International Invention and Innovation show (INTARG 2023) ซึ่งจัดโดย  Eurobusiness-Haller ณ  เมืองคาโตไวซ์ สาธารณรัฐโปแลนด์ โดยมีประเทศต่างๆ ในภูมิภาคยุโรปและเอเชีย นำผลงานเข้าร่วมจัดแสดงมากกว่า 30 ประเทศ โดยผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับ 3 รางวัล ได้แก่ รางวัล เหรียญทอง ผลงานวิจัย เรื่อง "เทคโนโลยีเฮอร์เดิลด้วยโอโซนและเคมีเพื่อลดปริมาณไวรัสโคโรน่าปนเปื้อนในทุเรียนส่งออก"  โดย รศ. ดร.จตุรภัทร วาฤทธิ์  ประธานหลักสูตรวิศวกรรมอาหาร  คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ รศ.ดร.จตุรภัทร วาฤทธิ์   กว่าวว่า “เนื่องจากประเทศไทยส่งออกทุเรียนไปต่างประเทศ มากกว่า 5 แสนตัน/ปี ซึ่งเป็นผลไม้หลักในการส่งออก แต่ด้วยสถานการณ์ Covid-19 ประเทศจีนมีนโยบาย Zero-CoVid  ดังนั้นหากมีการตรวจพบการปนเปื้อนเชื้อ Covid-19 ที่ทุเรียน จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกทุเรียนไทยอย่างรุนแรง ทำให้ประเทศอาจสูญเสียรายได้ เกษตรกรได้รับผลกระทบ  ซึ่งเทคโนโลยีเฮอร์เดิลด้วยโอโซนและเคมี  หรือ เทคโนโลยีผสมผสาน โดยการใช้แก๊สโอโซน ร่วมกับสเปรย์โซเดี่ยม ไฮโปครอไรด์  เพื่อลดปริมาณไวรัสโคโรน่าปนเปื้อนในทุเรียนส่งออก เป็นการพัฒนาเทคโนโลยีเฮอร์เดิลระหว่างก๊าซโอโซนและสารเคมี เพื่อลดปริมาณไวรัสโคโรน่าที่ตกค้างปนเปื้อนในผลทุเรียน พบว่าการใช้สเปรย์ NaOCl และตามด้วยการรมก๊าซโอโซนที่ 900 ppm แล้วเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 13 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 12 ชั่วโมง สามารถลดปริมาณไวรัส PEDV ที่ตกค้างให้ต่ำกว่าเกณฑ์วัดขั้นต่ำ cut-off ของชุดทดลองที่ค่า Ct>36=negative ซึ่งถือว่าเป็นการลดปริมาณไวรัสปนเปื้อนได้ 100%   ผลทุเรียนที่ทดสอบมีอัตราสุกตามปกติ  ไม่มีผลกระทบต่อคุณภาพของทุเรียน ผู้บริโภคทุเรียนปลอดภัย สร้างความเชื่อมั่นในการส่งออกผลไม้ไปยังต่างประเทศอีกครั้ง”รางวัล เหรียญทองแดง และ รางวัล certificate of appreciation proudly presentation จาก Research Institute of creative education, Vietnam  ผลงานวิจัย เรื่อง "ต้นแบบการพัฒนาระบบผลิตน้ำเพื่อการเกษตรจากอากาศโดยใช้ความเย็นพื้นดินร่วมกับพลังงานแสงอาทิตย์"  โดย ผศ.ดร.นิกราน หอมดวง คณบดีวิทยาลัยพลังงานทดแทน และ ผศ. ดร.กิตติกร สาสุจิตต์ รองคณบดี วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผศ.ดร.นิกราน หอมดวง  ให้ข้อมูลว่า  “ต้นแบบระบบผลิตน้ำจากอากาศเป็นนวัตกรรมเพื่อสกัดน้ำในชั้นบรรยากาศ ช่วยปัญหาด้านภัยแล้งของเกษตรกร และส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อย รวมไปถึงการพัฒนาต่อยอดในการผลิตน้ำดื่มในพื้นที่โรงเรียนตระเวนชายแดน หรือพื้นที่ชุมชนบนพื้นที่สูง โดยนวัตกรรมดังกล่าวสามารถสกัดน้ำในชั้นบรรยากาศได้ในอัตรา 100-200 ลิตรต่อวัน และใช้พลังงานแสงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานหลักให้กับระบบนวัตกรรมดังกล่าว ทำให้สามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้อีกทางหนึ่ง”ด้าน ผศ. ดร.กิตติกร สาสุจิตต์ กล่าวเพิ่มเติมว่า  “ผลสำเร็จของโครงการได้มีการติตดั้งระบบทดสอบจริงให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านขุนคง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ และในปีถัดไปมีเป้าหมายการติดตั้งระบบให้กับโรงเรียนและชุมชนบนพื้นที่สูงในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อสำหรับการผลิตน้ำดื่มเพื่อการอุปโภคและบริโภค เพื่อให้สามารถลดค่าใช้จ่ายในการซื้อน้ำและน้ำที่ได้จากนวัตกรรมนี้มีผ่านการตรวจค่ามาตรฐานของน้ำดื่ม ก็อยู่ในเกณฑ์ที่บริโภคและอุปโภคได้ ซึ่งงานวิจัยนี้มีประโยชน์ต่อพื้นที่ไม่มีแหล่งน้ำ หรือมีน้ำน้อย ซึ่งพบในหลายพื้นที่ของประเทศไทย”
1 มิถุนายน 2566     |      5461
ม.แม่โจ้ ชวนรักษ์โลก จัด Big Cleaning Day แยกขยะ ปลูกผัก เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดกิจกรรมรณรงค์วันสิ่งแวดล้อมโลก และ MJU Big cleaning day ของส่วนงาน เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลกแสดงถึงความร่วมมือ สร้างความตระหนักในการรักษาสิ่งแวดล้อม  ให้ทุกคนได้มีส่วนในการร่วมขับเคลื่อน Green Office  และ Green University ในวันศุกร์ที่ 2 มิถุนายน  2564 พร้อมรับของที่ระลึกรักษ์โลก  ณ บริเวณโถงชั้น 1 อาคารสำนักงานมหาวิทยาลัย   เนื่องด้วยวันที่ 5 มิถุนายน ของทุกปีถือว่าเป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก”เพื่อตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัว ทั้งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ที่มีการเกื้อหนุนซึ่งกันละกัน เป็นวงจรและวัฏจักรที่เกี่ยวข้องกันทุกระบบ สร้างเข้าใจถึงผลกระทบจากปัญหาสิ่งแวดล้อม  สำหรับกิจกรรมจัดให้มีการส่งเสริม รณรงค์ลดขยะ ใช้ภาชนะจากใบไม้  กิจกรรมการให้ความรู้การคัดแยกขยะ การจัดการขยะในสำนักงาน กิจกรรม Big cleaning day โดยรอบสำนักงาน  กิจกรรมย่อยกระดาษรีไซเคิลก่อนจำหน่าย และกิจกรรมร่วมใจปิดไฟพร้อมกัน เวลา 11.00 – 13.00 น.(2 ชม.)   นอกจากนั้น ยังจัดให้มีกิจกรรม “ปลูกผักเพราะรักแม่(โจ้)” เพื่อให้บุคลากรมีผักสดปลอดภัยไว้บริโภค ขอเชิญทุกท่านเข้าร่วมกิจกรรม ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม  ในวันศุกร์ที่ 2 มิถุนายน 2566 ตั้งแต่เวลา 0900 น.เป็นต้นไป พร้อมรับของที่ระลึกรักษ์โลก  ณ บริเวณโถงชั้น 1 อาคารสำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม สำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 0 5387 3241
1 มิถุนายน 2566     |      384
สถาปนาแม่โจ้ 89 ปี พร้อมก้าวสู่...ทศวรรษใหม่
ตามรอยคุณพระช่วงฯ บิดาเกษตรแม่โจ้   89 ปี ก่อนจะเป็นมหาวิทยาลัยแม่โจ้ในปัจจุบัน14 สิงหาคม 2476 คุณพระช่วงเกษตรศิลปการ ยืมม้าจากนายอำเภอสันทราย บุกเข้าดงแม่โจ้ พร้อมคนนำทางมุ่งหน้าต่อไปตามทางเกวียนใช้เวลาชั่วโมงกว่าถึงดงไม้และป่าโปร่งที่เรียกว่า “ดงแม่โจ้” มีพื้นที่ประมาณ 800 ไร่ มีหมู่บ้านเล็กๆอยู่ชายป่าประมาณ 10 หลังคาเรือน ถึงแม้ผืนดินแห่งนี้จะมีสภาพเป็นดินเลว  แต่มีแหล่งน้ำเพียงพอที่สามารถปรับแก้ไขสภาพดินให้ดีขึ้นได้ ท่านจึงสร้างสถานีกสิกรรมภาคพายัพขึ้นบนผืนดินแห่งนี้ต้นเดือนเมษายน 2477 เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี รมต.กระทรวงธรรมการ(สมัยนั้น) มีบัญชาให้จัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมประจำภาคเหนือขึ้นที่ ดงแม่โจ้ ติดพื้นที่ด้านทิศใต้ของสถานีทดลองกสิกรรมภาคพายัพ แต่งตั้งให้ พระช่วงเกษตรศิลปการ ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่17 พฤษภาคม 2477 นักเรียนรุ่นแรกเดินทางมารายงานตัวครบทั้ง 46 คน(ภายหลังมาอีก 2 คน รวมเป็น 48คน)7 มิถุนายน 2477 ได้เปิดการเรียนการสอนครั้งแรก โดยคุณพระช่วงเกษตรศิลปการ บิดาเกษตรแม่โจ้ ผู้บุกเบิกและก่อตั้ง แม่โจ้ พร้อมทั้งจัดให้มีพิธีไหว้ครูขึ้นในวันนี้ได้เชิญข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ข้าหลวงประจำจังหวัดและธรรมการจังหวัดมาร่วมให้โอวาท ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนั้นได้ถูกจารึกเป็นประวัติศาสตร์อันสำคัญของแม่โจ้ ถือเป็นจุดกำเนิดแม่โจ้และพัฒนามาจนถึงปัจจุบันจวบจนวันนี้ 89 ปี จากโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมภาคเหนือ ได้บุกเบิก ฝ่าฟัน ต่อสู้ และ เจริญเติบโต สั่งสมประสบการณ์ บันทึกประวัติศาสตร์ด้านการเกษตรของไทย  สู่…มหาวิทยาลัยแม่โจ้  มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ก้าวสู่ทศวรรษใหม่แห่งการเปลี่ยนแปลงการเป็นมหาวิทยาลัย กลุ่มที่ 2 ที่มุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม เพื่อตอบโจทย์ของประเทศในการพัฒนาเกษตรกรรม  อุตสาหกรรม และบริการด้วยแผนพัฒนาความเป็นเลิศ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ พ.ศ.2566-2570 “พลิกโฉมมหาวิทยาลัยสู่การสร้างบัณฑิตผู้ประกอบการเศรษฐกิจสร้างคุณค่าด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรสมัยใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในระดับนานาชาติ”7 มิถุนายน 2566 แม่โจ้ครบ 89 ปี มหาวิทยาลัยจัดให้มีพิธีทำบุญวันคล้ายสถาปนาโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม ภาคเหนือ ประจำปี 2566 โดยจะมีกิจกรรมดังนี้เวลา 09 น. พิธีบวงสรวงพระพิรุณทรงนาค นำโดยนายกสภามหาวิทยาลัย นายกสมาคมศิษย์เก่า อธิการบดีพร้อมคณะผู้บริหาร ณ ประติมากรรมพระพิรุณทรงนาค เวลา 0845 น. พิธีทำบุญทางศาสนา ณ อาคารแผ่พืชน์เวลา 09.30 น. เป็นต้นไป พิธีวางพวงมาลาอนุสาวรีย์คุณพระช่วงเกษตรศิลปการ “บิดาเกษตรแม่โจ้” ผู้บุกเบิกก่อตั้งแม่โจ้ และได้รับเกียรติจาก ทายาทพระช่วงเกษตรศิลปการ เข้าร่วมพิธีเวลา 11.15 น. กิจกรรมปล่อยกล้วยไม้ 99 ต้น ร่วมฉลองแม่โจ้ 90 ปี ณ อุทยานกล้วยไม้ไทย เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี บริเวณศาลเจ้าแม่ แม่โจ้ ขอเชิญชาวแม่โจ้พร้อมใจกัน เข้าร่วมกิจกรรมวันคล้ายวันสถาปนาโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม ภาคเหนือ ประจำปี 2566 ในวันพุธที่ 7 มิถุนายน 2566 ตั้งแต่เวลา 0845 น.เป็นต้นไป มาร่วมกันแสดงพลังสามัคคี ร่วมรำลึกถึงเส้นทางการก้าวย่างของแม่โจ้ พร้อมก้าวสู่ทศวรรษใหม่แห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างภาคภูมิแม่โจ้: มหาวิทยาลัยแห่งชีวิต”**(ภาพประกอบจากแฟ้มภาพ)by ฝ่ายสื่อสารองค์กร ม.แม่โจ้ สอบถามเพิ่มเติม กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม 0 5387 3305สั่งจองพวงมาลา สมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้  0 53353140
30 พฤษภาคม 2566     |      443
ม.แม่โจ้ เตรียมรับอินทนิลช่อที่ 88 สู่รั้วอินทนิล บ้านหลังที่สองที่ให้ทั้งวิชาการและวิชาชีวิต
“มหาวิทยาลัยแม่โจ้” สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มีรากฐานทางการเกษตรเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ   มีประวัติศาสตร์ทางการศึกษายาวนาน นับจากปี 2477  ถึงวันนี้มีก้าวสู่ 90 ปี  ได้พัฒนาปรับเปลี่ยนสู่การเป็นมหาวิทยาลัย  กลุ่ม 2  กลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม ที่พร้อมผลิตบัณฑิตสู่ความเป็นผู้อุดมด้วยปัญญา อดทน สู้งาน เป็นผู้มีคุณธรรม และจริยธรรมเพื่อความเจริญรุ่งเรืองวัฒนาของสังคมไทยที่มีการเกษตรเป็นรากฐาน และอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย คือ “การพัฒนานักศึกษาให้เป็นนักปฏิบัติทันต่อการเปลี่ยนแปลงและเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชา”   นอกจากด้านการผลิตบัณฑิตแล้ว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ยังได้สนับสนุนและส่งเสริมด้านการวิจัยที่ต่อยอดองค์ความรู้จนเกิดเป็นรูปธรรม เป็นที่ยอมรับในเวทีระดับชาติและนานาชาติ สามารถนำไปช่วยเหลือ พัฒนาสังคมได้อย่างแท้จริง จนได้รับความไว้วางใจจากผู้ปกครองให้บุตรหลานเลือกเข้ามาศึกษาต่อ ณ สถาบันการศึกษาแห่งนี้ เรียนรู้การใช้ชีวิตในบ้านหลังที่สองที่พร้อมจะให้ทั้งวิชาการและวิชาชีวิตแก่ศิษย์แม่โจ้ทุกคนปีการศึกษา 2566 นักศึกษาใหม่จากทั่วทุกสารทิศ ทั้งแม่โจ้-แพร่ฯ และแม่โจ้-ชุมพร จำนวนกว่า 5,000 คน   กำลังจะก้าวเข้าสู่รั้วอินทนิล ในฐานะอินทนิลช่อที่ 88 ที่พร้อมจะเบ่งบานและเติบโตอย่างแข็งแกร่ง ซึ่งในปีนี้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้มีการจัดเตรียมกิจกรรมต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวก และเตรียมความพร้อมเสริมสร้างอัตลักษณ์ลูกแม่โจ้ หลากหลายกิจกรรม เริ่มตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2566  มีรายละเอียดดังนี้วันที่ 23-25 มิถุนายน 2566 เวลา 06.00 น. เป็นต้นไป โครงการต้อนรับอินทนิลช่อใหม่สู่บ้านหลังที่ 2 ได้จัดเตรียมรถคอยรับ-ส่ง อำนวยความ สะดวกให้กับน้อง ๆ และพ่อแม่ผู้ปกครอง  ณ สถานีรถไฟเชียงใหม่ สถานีขนส่งเชียงใหม่(อาเขต) และสนามบิน เดินทางสู่มหาวิทยาลัยแม่โจ้  และให้น้อง ๆ ได้รายงานตัวเข้าหอพักนักศึกษาที่ทางมหาวิทยาลัยจัดเตรียมไว้ให้ต่อไป (ข้อมูลเพิ่มเติมงานหอพัก 0 5387 3085/งานพัฒนานักศึกษาฯ 0 5387 3067-8)เวลา 12.30 – 15.30 น. โครงการผู้บริหารพบผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองได้รู้จักและรับทราบถึงนโยบายของมหาวิทยาลัยและแนวทางการใช้ชีวิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัยตลอดหลักสูตร รวมถึงรายละเอียดเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาแบ่งเบาภาระผู้ปกครอง ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ (ข้อมูลเพิ่มเติม งานทุนการศึกษาฯ  0 5387 3183)เวลา 17.00-22.00 น. กิจกรรมตลาดนัดรวมใจอินทนิล เพื่อจัดจำหน่ายสินค้าราคาประหยัดจากร้านค้านักศึกษา กิจกรรมให้ข้อมูลกิจกรรมนักศึกษา และกิจกรรมบันเทิง ณ ลานกิจกรรมหอพักนักศึกษาวันที่ 24-25 มิถุนายน 2566 เวลา 09.00 น.เป็นต้นไป  นักศึกษาใหม่เข้าร่วมกิจกรรม “เดินฐานตามรอยคุณพระช่วงเกษตรศิลปการ” บิดาการเกษตรแม่โจ้ ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกและก่อตั้งแม่โจ้ จนได้ชื่อว่า “ไม่มีพระช่วงฯ ไม่มีแม่โจ้วันที่ 26 มิถุนายน  2566  เวลา 08.00 - 12.00 น. โครงการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่(ทุกคน ทุกหลักสูตร)           ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ  และในเวลา 13.00 - 16.30 น. ปฐมนิเทศนักศึกษาตามคณะ/วิทยาลัย ที่นักศึกษาสังกัดวันที่ 27 มิถุนายน  2566 เวลา 08.00 – 12.00 น. กิจกรรม “แม่โจ้จิตอาสาพัฒนาชุมชนและกิจกรรม Big cleaning day ” (ภายใน/ภายนอก) เพื่อให้นักศึกษาใหม่ ได้มีส่วนร่วมในการดูแล พัฒนามหาวิทยาลัย  สังคม และชุมชนเวลา 17.00-22.00 น. นักศึกษาใหม่ทุกคน ทุกวิทยาเขต  จะเข้าร่วมงานเลี้ยงขันโตกต้อนรับนักศึกใหม่ อินทนิลช่อที่ 88“สู่รั้วอินทนิล” ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติวันที่ 28 มิถุนายน 2566 เวลา 12.00 – 17.30 น. กิจกรรมอบรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ให้กับนักศึกษาใหม่ เพื่อเรียนรู้ ป้องกัน บรรเทา หากเกิดภัยพิบัติ ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติวันที่ 29 มิถุนายน  2566  เวลา 05.00 – 12.00  น.  นักศึกษาใหม่ร่วมกิจกรรมประเพณีเดินวิ่ง แม่โจ้- สันทราย  เพื่อเข้าคารวะนายอำเภอสันทราย  และหัวหน้าส่วนราชการต่างๆ รวมทั้งฝากเนื้อฝากตัวกับพี่น้องชาวอำเภอสันทราย โดยมีชาวอำเภอสันทรายมาคอยต้อนรับตลอดเส้นทางอย่างอบอุ่นตลอดสองข้างทางวันที่ 30 มิถุนายน  2566 เวลา 09.00 - 20.00 น. นักศึกษาใหม่เข้าร่วมโครงการ เสริมสร้างอัตลักษณ์ลูกแม่โจ้ ได้เรียนรู้ วิถีแม่โจ้ ลูกแม่โจ้: เลิศน้ำใจ วินัยดี เชิดชูประเพณี สามัคคี อาวุโส เรียนรู้บทเพลงประจำสถาบัน  พร้อมการเชื่อมต่อความสัมพันธ์กับศิษย์เก่าแม่โจ้ มีคณาจารย์ ศิษย์เก่า ร่วมต้อนรับ เจิมหน้าผากอย่างอบอุ่น ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ  ทุกกิจกรรมที่ทางมหาวิทยาลัยได้จัดเตรียมไว้ก็เพื่อให้นักศึกษาใหม่ อินทนิลช่อที่ 88 ได้พัฒนาศักยภาพ รู้จักการปรับตัวในการใช้ชีวิตการเป็นนักศึกษาเพื่อทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุดตลอดหลักสูตรจนกว่าจะสำเร็จการศึกษา  ซึ่งคือเป้าหมายสำคัญของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพเพราะแม่โจ้  คือ แม่โจ้  ถึงแม้กาลเวลาจะล่วงผ่านมาจนมีอายุก้าวสู่ 90 ปี บรรดาเพื่อนพ้องน้องพี่ ลูกแม่โจ้ ก็ยังคงกอดคอ ประคอง ช่วยเหลือ ผลักดัน รักและผูกพัน ดูแลซึ่งกันและกันตลอดไป ช่วยกันฟูมฟักอินทนิลช่อใหม่ให้เติบใหญ่อย่างมั่นคงมหาวิทยาลัยแม่โจ้ : มหาวิทยาลัยแห่งชีวิต(**ภาพประกอบจากแฟ้มภาพ)
1 มิถุนายน 2566     |      631
ม.แม่โจ้ ประกาศยกย่องอาจารย์ดีเด่น ประจำปี 2565 เตรียมมอบรางวัลเข็มเพชรแม่โจ้เชิดชูเกียรติ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ดำเนินการพิจารณาคัดเลือกอาจารย์ดีเด่น ประจำปี 2565 ซึ่งเป็นบุคลากรอันทรงคุณค่าของมหาวิทยาลัย ผู้ปฏิบัติหน้าที่ของตนเป็นอย่างดี มีความสามารถในการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ อุทิศตนให้แก่มหาวิทยาลัยแม่โจ้และสังคมอย่างเต็มกำลังความสามารถ ค้นคว้าวิจัย ถ่ายทอดความรู้แก่นักศึกษาและชุมชนอย่างเต็มที่ พร้อมกับประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นตัวอย่างแก่เพื่อนร่วมงานและนักศึกษา มีความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวมเป็นอย่างดี มหาวิทยาลัยได้ประกาศรายชื่ออาจารย์ดีเด่นของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อเป็นการประกาศเกียรติคุณยกย่อง สร้างขวัญกำลังใจในการทำงาน โดยมีผู้ผ่านการพิจารณาได้รับการคัดเลือกเป็นอาจารย์ดีเด่น ประจำปี 2565 ตามหลักเกณฑ์ที่วางไว้ จำนวน 3 ท่าน ดังนี้1. อาจารย์ดีเด่นด้านการเรียนการสอน ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์พันธ์ศักดิ์ ภักดี สังกัด คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ สิ่งแวดล้อม2. อาจารย์ดีเด่นด้านการวิจัยและนวัตกรรม ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.วีรนันท์ ไชยมณี สังกัด มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ3. อาจารย์ดีเด่นด้านบริการวิชาการ ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.นัฐพร ไชยญาติ สังกัด วิทยาลัยพลังงานทดแทนทั้งนี้ ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกทั้ง 3 ท่าน จะเข้ารับโล่ประกาศเกียรติคุณและเข็มเพชรแม่โจ้ จาก อธิการบดี ในพิธีไหว้ครูประจำปี 2566 ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมีคณะผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษากว่า ร่วมเชื่นชมยินดี กับการได้รับรางวัลอันทรงคุณค่าในครั้งนี้
27 เมษายน 2566     |      680
ม.แม่โจ้ ผนึกกำลังเครือข่ายสื่อสารองค์กรมหาวิทยาลัย จัด KM “Reinventing U. สู่การเป็นมหาวิทยาลัยกลุ่ม 2 และเสริมทักษะเทคนิคพิธีกรดำเนินรายการ”
ฝ่ายสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เตรียมจัดโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เครือข่ายสื่อสารองค์กรมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปี 2566 (KM)  “Reinventing U. สู่การเป็นมหาวิทยาลัยกลุ่ม 2 และการเสริมทักษะเทคนิคพิธีกรดำเนินรายการ ในวันศุกร์ที่ 24 มีนาคม 2566 ณ Co-working Space คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อมการสื่อสารองค์กรและการประชาสัมพันธ์ ถือเป็นกลยุทธ์สำคัญในการผลักดันนโยบายตามแนวยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยให้บรรลุผลสำเร็จได้เป็นอย่างดี และยังเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์และสร้างการรับรู้ให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อก่อให้เกิดความผูกพันต่อองค์กรต่อยอดไปจนถึงการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานตามนโยบายยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยได้ต่อไปการจัดโครงการฯครั้งนี้ จึงเป็นการสร้างการรับรู้ข้อมูลนโยบายยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย Reinventing U. สู่การเป็นมหาวิทยาลัยกลุ่ม 2  ในทิศทางเดียวกัน พร้อมทั้งเป็นการเสริมทักษะเทคนิคพิธีกรดำเนินรายการให้กับคณะกรรมการเครือข่ายสื่อสารองค์ของมหาวิทยาลัยเพื่อขยายผลการสื่อสารในวงกว้างอย่างทั่วถึงต่อไป โดยได้รับเกียรติจาก คุณวรุณสิริ  สุจินดา  หัวหน้างานยุทธศาสตร์และติดตามประเมินผล กองแผนงาน และ คุณจิตร ศรีจันทร์ดร พร้อมทีมงานพิธีกรชายเชียงใหม่ ให้เกียรติมาเป็นวิทยากร ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำงานให้กับผู้เข้าร่วมโครงการฯ ได้ร่วมพูดคุยและฝึกปฏิบัติการเสมือนจริงนอกจากนั้นโครงการในครั้งนี้ยังเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีให้กับคณะกรรมการเครือข่ายสื่อสารองค์กรของมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นตัวแทนจากทุกคณะ/สำนัก ได้ร่วมกันทำงานเพื่อองค์กรได้ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
20 มีนาคม 2566     |      21639
พิธีพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ครั้งที่ 45 ประจำปีการศึกษา 2564-2565
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีการศึกษา 2564-2565 (ครั้งที่ 45 ) ในวันที่ 17 - 18 กุมภาพันธ์ 2566 โดยมีบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต จำนวน 2,639 ราย พระดุษฎีบัณฑิต จำนวน 1 รูป เข้าร่วมพิธี ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ในการนี้  สภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีมติอนุมัติปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ให้แก่ผู้สร้างคุณประโยชน์ต่อองค์กรและสังคมประเทศชาติมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดี และศิษย์เก่าแม่โจ้ดีเด่น เพื่อเข้ารับพระราชทานโล่ศิษย์เก่าแม่โจ้ดีเด่น ประจำปี 2565  รวมจำนวน 10 ราย  ดังนี้ผู้ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จำนวน 5  ราย  นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ (แม่โจ้รุ่น 51 )อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ดิจิทัลและการสหกรณ์พลตำรวจโท ปิยะ ต๊ะวิชัยผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาบริหารศาสตร์นายรุ่งอรุณ การรัตน์ (แม่โจ้รุ่น 59ประธานกรรมการบริษัท และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร  บริษัท ซิลเวอร์ ฟาร์ม เซ็นเตอร์ จำกัด และ บริษัท โกลเดนท์ ฟาร์ม เซ็นเตอร์ จำกัดปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์  สาขาวิชาสัตวศาสตร์Zhu Guiling (นางจู กุ้ยหลิน) Chairman of Guangxi University of Foreign Languagesปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์  สาขาวิชาบริหารศาสตร์ Chen-Ming Cho (นาง เฉิน-หมิง จั๋ว) ประธานกรรมการ Toucheng Leisure Farmปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวผู้ได้รับโล่ศิษย์เก่าแม่โจ้ดีเด่น ประจำปี 2565 จำนวน  5 ราย   1.  นายสุรเดช ปรีชาหาญ ศิษย์เก่าแม่โจ้รุ่นที่  45 เจ้าของธุรกิจเคมีภัณฑ์ทางการเกษตร / ทำสวนทุเรียนเพื่อการส่งออก   2.  นายเทพนคร เปี่ยมเพ็ชร์ ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่นที่ 47  ที่ปรึกษา สำนักวางแผนผลิตภัณฑ์และโครงการพิเศษ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โปรดิ๊วส จำกัด เครือเจริญโภคภัณฑ์    3. นางณิชสาคร พรมลี  ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่นที่ 54 กรรมการบริหาร บริษัท สยามสตาร์ ซีดส์ จำกัด และบริษัท บ้านนอกคอกนา จำกัด    4. นายสุวัฒน์ มัตราช  ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่นที่ 55ปศุสัตว์จังหวัด อำนวยการระดับสูง (ผู้อำนวยการเฉพาะด้าน (วิชาการสัตวบาล)) สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเลย   5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร.นิโรจน์ สินณรงค์  ศิษย์เก่าแม่โจ้รุ่นที่ 64 ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้สำหรับ บัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต สามารถตรวจสอบรายชื่อและพิมพ์แบบฟอร์มสำหรับยืนยันตัวตน ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2566 ที่เว็บไซต์ http://www.education.mju.ac.th/graduate/ และให้มารายงานตัวด้วยตนเองตามกำหนดการอีกครั้ง  ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.education.mju.ac.th/graduate/    หรือ โทรศัพท์  0 5387 3459 ในวันและเวลาทำการ(ฝ่ายสื่อสารองค์กร ม.แม่โจ้// รายงาน)
30 มกราคม 2566     |      12073
อธิการบดี ม.แม่โจ้ ได้รับคัดเลือก “นักเรียนเก่าฟิลิปปินส์ดีเด่น ปี 2565” จากสมาคมนักเรียนเก่าฟิลิปปินส์ในพระบรมราชูปถัมภ์
รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับการคัดเลือกให้เข้ารับโล่เกียรติยศนักเรียนเก่าฟิลิปปินส์ดีเด่น ปี 2565 จากสมาคมนักเรียนเก่าฟิลิปปินส์ในพระบรมราชูปถัมภ์รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา ศิษย์เก่าแม่โจ้รุ่นที่ 49 ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้  สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาวิชา Extension Education, College of Public Affairs and Development จาก University of the Philippines Los Baños ประเทศฟิลิปปินส์ ในปี พ.ศ.2543  เคยได้รับรางวัล UPLBAA Presidential Award ในงาน 103rd  UPLB Loyalty Day ประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นรางวัลสูงสุดของรางวัลทั้งหมด (Best of The Best) ในฐานะศิษย์เก่า UPLB จาก University of the Philippines Los Baños Alumni Association  รวมถึงได้รับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่นประจำปี พ.ศ. 2562 (2019 Outstanding UPLB Alumnus Award) และศิษย์เก่าดีเด่นประจำปี 2562 ในด้านการเป็นผู้นำการศึกษา (2019 College Distinguished Alumnus for Educational Leadership Award) ในงานฉลอง 101st UPLB Loyalty Day ณ มหาวิทยาลัยแห่งชาติประเทศฟิลิปปินส์ (University of the Philippines Los Baños)ในปี 2565  รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับการคัดเลือกให้เข้ารับโล่เกียรติยศนักเรียนเก่าฟิลิปปินส์ดีเด่น ปี 2565 จากสมาคมนักเรียนเก่าฟิลิปปินส์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นรางวัลอันทรงคุณค่าในฐานะนักเรียนเก่าฟิลิปปินส์ที่ได้สร้างผลงานอันเป็นคุณูปการแก่วงการศึกษาไทย   ทั้งนี้  จะเดินทางเข้ารับรางวัลดังกล่าว ในงาน Sampaguita Day วันเสาร์ที่ 14 มกราคม 2566 ณ ห้องมัฆวานรังสรรค์ AB สโมสรกองทัพบก ถนนวิภาวดี กรุงเทพมหานคร
15 ธันวาคม 2565     |      3259
ทั้งหมด 24 หน้า